Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กันยายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กันยายน 2538
รอสซาริโอ โลเปซ VS. เอกกมล คีรีวัฒน์             
โดย ภัทราวรรณ พูลทวีเกียรติ
 


   
search resources

เอกกมล คีรีวัฒน์
รอสซาริโอ โลเปซ




จะเป็นเพราะทุกวันนี้โลกการเงินแคบลงหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ ตลาดทุน 2 ประเทศในอาเซียน ไทย-ฟิลิปปินส์ จึงเกิดเหตุวิกฤตในเวลาใกล้เคียงกันโดยมิได้นัดหมาย

หากเปรียบตลาดทุนของแต่ละประเทศเป็นละครโรงใหญ่ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาทั้ง 2 ประเทศ ต่างภูมิใจเสนอเรื่องราวเร้าใจเรียกความสนใจจากผู้ชมได้ไม่แพ้กัน

บทละครของตลาดทุนทั้งสองประเทศมีแกนหลักเป็นเรื่องเดียวกันว่าด้วย "ศักดิ์ศรี" และ "ความเป็นอิสระจากการเมือง" ขององค์กร Securities and Exchange Commission เรียกย่อๆ ว่า SEC อันเป็นหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุน (เมืองไทยใช้ชื่อเฉพาะว่า ก.ล.ต. ย่อมาจาก "สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์")

ตัวเอกของเรื่องก็เหมือนกัน คือหมายเลข 1 ของ SEC ทั้งคู่ ฝั่งฟิลิปปินส์ คือ นางสาวรอสซาริโอ โลเปซ วัย 60 ปี เธอเป็น Chairman ของ SEC ฟิลิปปินส์ ซึ่งนับได้ว่าเป็น SEC เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย (ตั้งเมื่อพ.ศ.2479) เธออยู่ในตำแหน่งนี้ตั้งแต่ปี 2533 หากนับตามวาระคราวละ 7 ปี เธอจะหมดวาระในปี 2540

ส่วนฝั่งไทยคือ นายเอกกมล คีรีวัฒน์ วัย 50 ปี เขาเป็นเลขาธิการก.ล.ต.คนแรกของไทย ซึ่งนับตามวาระคราวละ 5 ปี เขาจะหมดวาระในอีก 6 เดือนข้างหน้าช่วงมีนาคม 2539

ผู้กำกับการแสดงยังเหมือนกันอีกคือ ระดับสูงสุดของประเทศ อันได้แก่ ประธานาธิบดีฟิเดล รามอส โดยมีผู้ช่วยคือรัฐมนตรีคลังโรเบอร์โต เดอ โอแคมโปแห่งฟิลิปปินส์ ประชันกับนายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชาและรัฐมนตรีคลังสุรเกียรติ เสถียรไทย

แต่วิธีดำเนินเรื่องนี่สิที่ดิฉันว่าน่าสนใจ !

SEC ของทั้งไทยและฟิลิปปินส์ ต่างเผชิญมรสุมทางการเมืองที่รุนแรงอย่างโดดเดี่ยว

โฟกัสมาที่ประเทศไทย ความตึงเครียดในก.ล.ต.พุ่งสูงขึ้นทันทีที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 บรรหาร ศิลปอาชาขึ้นรับตำแหน่ง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยตกไปร่วม 70 จุดต้อนรับรัฐบาลใหม่ ทว่านายกรัฐมนตรีให้เหตุผลชวนให้ตีความทำนองว่า "หุ้นขึ้นหรือลง อยู่ที่ฝีมือของคนคุม คือ ก.ล.ต."

ระหว่างนั้นเริ่มมีข่าวลือผสมโรงในตลาดหลักทรัพย์ว่าเอกกมลจะยกทีมลาออกเพราะผู้นำไม่ไว้วางใจ จุดแตกหักเกิดขึ้นเมื่อปรากฎข่าวในหนังสือพิมพ์อ้างแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้เปิดเผยเบื้องหลังว่า นายเอกกมลปล่อยข่าวก.ล.ต.ยกทีมลาออกเพื่อต่อรองเก้าอี้หมายเลข 1 ไว้

เท่านั้นเองเอกกมลก็ทิ้งไพ่ใบสุดท้ายด้วยความมั่นใจ เขาลาออกทันที "เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ และรักษาความน่าเชื่อถือของสถาบันก.ล.ต."

การลาออกของเขาทำให้มีโอกาสได้เคลียร์ตัวเองกับรมว.คลังยันนายกรัฐมนตรี ผลสุดท้ายได้กลับมานั่งเก้าอี้ตัวเดิมต่อไป และแล้วพายุทางการเมืองที่พัดผ่าน ก.ล.ต.ก็สงบลงชั่วคราว

ทางด้านฟิลิปปินส์นั้นตรงกันข้าม รอสซาริโอ โลเปซยืนกรานรักษาศักดิ์ศรีของตัวเธอและ SEC แม้ว่าแรงกดดันนั้นจะสาหัสเพียงใด

ทว่าเธอไม่ลาออกเด็ดขาด!!

"พวกเขาพยายามทำลายเกียรติและชื่อเสียงของดิฉัน บรรยากาศมีแต่ความหวาดระแวงสงสัย" แม้เธอไม่ยอมบอกว่า "พวกเขา" เป็นใคร แต่ก็รู้ได้ไม่ยาก

รอสซาริโอ โลเปซ ถูกกดดันอย่างหนักทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งต่อหน้าและลับหลังมาตั้งแต่กลางปี 2537

ในราวเดือนกันยายนปีที่แล้วหลังจากประธานาธิบดีรามอสขึ้นดำรงตำแหน่งได้ปีเศษๆ เขาเริ่มใช้มาตรการ "ปรับปรุง" SEC อย่างเฉียบพลัน เพื่อทำตลาดทุนให้เป็นกลไกในการออมและพัฒนาเศรษฐกิจฟิลิปปินส์

ในความคิดของเขาพบว่าผู้บริหาร SEC เป็นตัวถ่วงขัดขวางแผนสำคัญนี้

ระหว่างนั้นก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทางเสียๆ หายๆ จากตลาดหลักทรัพย์บ้าง โบรกเกอร์บ้างว่า เธอหวงอำนาจ กลัวหลุดจากเก้าอี้ SEC เป็นต้นตอของข่าว Inside และมีนอกมีในกรณีอนุมัติบริษัทที่ยื่นขอจดทะเบียนให้ทำ IPO (กระจายหุ้นสู่สาธารณชน) ข่าวนี้จะจริงเท็จอย่างไรคงยากต่อการพิสูจน์ขณะนี้

ประธานาธิบดีรามอสวางแผนให้ SEC ไปอยู่ภายใต้กระทรวงคลังที่เป็นแขนขาของรัฐโดยตรง

ทว่าในทางปฏิบัติกลับทำอะไร SEC แทบไม่ได้ เพราะหน่วยงานนี้อยู่ภายใต้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การตัดสินใจและคำสั่งของ SEC จะตรงไปที่ชั้นศาลทันที นั่นทำให้มีช่องกฎหมายเป็นข้ออ้างมากมาย และโลเปซเองก็ใช้มันอยู่บ่อยๆ

"ถ้าจะย้าย SEC เข้าไปอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงคลัง ก็ต้องไปแก้กฎหมายผ่านสภาคองเกรสเสียก่อนแล้วค่อยมาว่ากัน" ว่าแล้วเธอก็งัดเอาตัวบทมาคุ้มครองการให้ออกจากงานของเธอให้ดูซับซ้อนเข้าไปอีก

ถึงตอนนี้ประธานาธิบดีรามอสเริ่มมั่นใจขึ้นอีกว่าหนทางที่จะปรับปรุง SEC ได้ก็คือต้องกำจัดโลเปซออกไปให้พ้นเส้นทาง ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งดี

รอสซาริโอ โลเปซเผชิญสภาพนี้เป็นเวลาปีกว่าแล้ว มองในแง่ความอดทน Chairman SEC ฟิลิปปินส์กินขาดเลขาธิการก.ล.ต.ไทย

อันที่จริงตลอด 5 ปีในตำแหน่งนี้เธอผ่านศึกมาไม่น้อย ดิฉันมีโอกาสเข้าไปสัมผัสโดยตรงเมื่อครั้งที่ไปทำข่าวเรื่องตลาดทุนฟิลิปปินส์เมื่อปี 2535 ช่วงนั้นรัฐบาลอาคีโนยังเรืองอำนาจ ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ยังไม่เป็นหนึ่งเดียวเหมือนเดี๋ยวนี้ ทั้งตลาดหุ้นมะนิลาและมากาตีทะเลาะกันอย่างรุนแรง เธอถูกรัฐส่งมาเพื่อรวมตลาดทั้ง 2 โดยเฉพาะ ตอนนั้นดิฉันสัมภาษณ์โบรกเกอร์เอกชน ทุกคนก็ชื่นชมเธออยู่ลึกๆ ว่ากล้าหาญรับงานหฤโหดชิ้นนี้

ปัจจุบันโบรกเกอร์ทั้งสองตลาดเลิกทะเลาะกัน พวกเขาจับมือกันหันมาตะลุมบอนเธอคนเดียว

ในที่สุด SEC ฟิลิปปินส์ปิดฉากลงด้วยการลาออกของรอสซาริโอ โลเปซเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ขณะที่ก.ล.ต.ไทยจบฉากแรกด้วยบทสันติภาพและเสถียรภาพของเลขาธิการก.ล.ต.ยังดำรงอยู่ซึ่งไม่รู้ว่าจะนานขนาดไหน

ทว่าชีวิตจริงไม่ใช่ละครที่ปิดม่านแล้วลาโรงไป ตลาดทุนก็ยังดำรงความเป็นหัวใจสำคัญในระบบทุนนิยม และเป็นแหล่งผลประโยชน์ที่เกี่ยวพันกับคนหมู่มาก ความไม่ลงรอยระหว่าง "การเมือง" กับ "สถาบันกำกับตลาดทุน" หากเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตาม ย่อมส่งผลชะงักงันในการดูแลตลาดหลักทรัพย์ให้ดำเนินต่อไปอย่างเป็นปกติ และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บงานนี้ก็คือนักลงทุนทั่วไป

ที่น่าวิตกก็คือ เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ใช่ครั้งสุดท้ายและไม่มีใครบอกได้ว่าเมื่อไรมันจะเกิดขึ้นอีก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us