Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 มิถุนายน 2546
มาตรการCSIสหรัฐฯทำไทยป่วนต้นทุนส่งออกพุ่ง800ล้านบาท/ปี             
 


   
search resources

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ชวลิต นิ่มละออ
Import-Export




ส.อ.ท. เผยผู้ส่งออกไทยกระอักต้นทุนส่งออกพุ่งกว่า 800 ล้านบาทต่อปีหลังสหรัฐฯนำมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าผ่านตู้คอนเทนเนอร์เข้าสหรัฐฯหรือ CSI เพื่อป้องกันการก่อการร้ายมาใช้ทำให้สายการเดินเรือเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น เตรียมยื่นพาณิชย์ตรวจสอบขัดกฏหมายแข่งขันการค้าหรือไม่ และดันเข้าสู่วาระประชุม APEC ต.ค.นี้

นายชวลิต นิ่มละออ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงมาตรการตรวจสอบความปลอดภัยในการขนส่งสินค้าผ่านตู้คอนเทน-เนอร์เข้าสหรัฐฯ หรือ CSI ที่ทางศุลกากรสหรัฐฯได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นมาตรการป้องกันภัยก่อการร้าย ว่ามาตรการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบ ต่อผู้ประกอบการส่งออกมีภาระการจ่ายค่าธรรมเนียมการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นประมาณ 700-800 ล้าน บาท/ปีโดยผู้ประกอบการสายเดินเรือผลักภาระดังกล่าวให้ผู้ส่งออกแทน

"อนาคตอันใกล้หากยังไม่มีการกำหนดหลักการที่ชัดเจนว่าใครควรเป็นผู้รับภาระค่าธรรมในการส่ง ข้อมูลดังกล่าวอาจทำให้ผู้ประกอบการต้องรับภาระค่าธรรมเนียมอื่นๆ ตามมาอีก ดังนั้น เรื่องนี้ส.อ.ท.จะเสนอเรื่องไปยังคณะกรรมการควบคุมราคาสินค้า และบริการ กระทรวงพาณิชย์ ตรวจสอบการดำเนินงานว่าขัดต่อกฎหมายหรือไม่" นายชวลิตกล่าว

นอกจากนี้ ส.อ.ท.จะเร่งดำเนิน การใน 4 แนวทางเพื่อช่วยเหลือไม่ให้ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้รับผิดชอบภาระดังกล่าวแต่ฝ่ายเดียวคือ

1.จะสอบถามข้อมูลผลกระทบ ในประเด็นดังกล่าวจากประเทศ อื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

2.เมื่อทราบข้อมูลแล้วส.อ.ท. จะนำเรื่องเข้าหารือกับฝ่ายศุลกากรสถานทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย รวมถึงผลักดันเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ การประชุม APEC ปี 2003 ช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพ

3.ศึกษาพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าว่าเป็นเรื่องขัดต่อกฎหมายหรือไม่

4.จะประสานงานไปยังกระ- ทรวงพาณิชย์เพื่อสอบถามความเป็น ไปได้ในการสร้างระบบ e-booking เนื่องจากจะเช่อมโยงไปยังโปรแกรม ของศุลกากรสหรัฐฯได้ทันทีโดยไม่ต้องแปลงข้อมูล

ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวได้เริ่มมีผลลงโทษแก่ผู้กระทำผิดตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2546 ทำให้สายการเดิน เรือบางแห่งที่ให้ความร่วมมือปฏิบัติ ตามได้กำหนดค่าธรรมเนียมซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งบัญชีรายการ สินค้าให้แก่ศุลกากรสหรัฐจาก ผู้ประกอบการเพิ่มเติมในอัตรา 25 เหรียญต่อ 1 ใบขนส่งสินค้า

นอกจากนี้ กรณีที่ต้องการแก้ไขบัญชีรายการสินค้า ที่ได้จัดส่งให้กับสายการเดินเรือเรียบร้อยแล้วผู้ประกอบการจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอีก 40 เหรียญต่อการแก้ไขครั้งหนึ่งๆ ซึ่งส.อ.ท.เห็นว่าการ ที่สายการเดินเรือให้ผู้ประกอบการเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการส่งข้อมูลให้แก่ศุลกากรสหรัฐโดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากสายการเดินเรือต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและปรับเปลี่ยนระบบข้อมูลต่างๆให้เป็น สิ่งที่ไม่ควรกระทำเพราะเสมือนเป็น การผลักภาระมายังผู้ประกอบการฝ่ายเดียว

"ล่าสุดทราบว่า Freight Forwards ต่างๆ เช่น MAERSK LOGISTICS ได้กำหนดที่จะขอเก็บค่า ธรรมเนียมเพิ่มเติมโดยให้เหตุผล ว่า แม้ผู้ประกอบการจะเสียค่าธรรมเนียมในการสำแดงบัญชีรายการสินค้าให้แก่สายการเดินเรือแล้วแต่ในส่วนของ Freight Forwards ก็จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนิน งานเช่นกัน" นายชวลิตกล่าว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us