|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นักวิชาการชี้อสังหาฯไทยแนวโน้มเติบโตสูง ปัจจัยบวกเพียบ แถมรับอานิสงส์ค่าเงินดอลลาร์ลดกระแสเงินทุนโลกหันลงทุนเอเชีย เชื่อบ้านไฮเอนด์ของไทยได้ประโยชน์ หวั่นปัญหาการเมืองฉุดเศรษฐกิจร่วง
วานนี้ (19 มี.ค.51) สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “ ชี้ทิศทางอสังหาฯและการลงทุนปี 2008% โดยนายวิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ จำกัด กล่าวว่า อสังหาฯไทยมีแนวโน้มเติบโตขึ้นจากปัจจัยบวก 12-13 ประการ เช่น การเติบโตทางเศรษฐกิจที่คาดการณ์ว่าจะโตที่ 5-6% เงินเฟ้อสูง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำและคาดว่าจะลดลงอีก 0.25-0.50% ทำให้คนไม่อยากออมเงินและหันมาซื้ออสังหาฯแทน
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกในเรื่องราคาสินค้าเกษตรปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา การลดภาษีภาคอสังหาฯ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงพระราชบัญญัติรับประกันเงินฝาก ที่จะมีผลบังคับใช้ภายในปลายปีนี้หรือต้นปี2552 เพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคที่ซื้อบ้าน และการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้ารวมไปถึงการลงทุนในเมกะโปรเจกต์ จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ส่วนปัจจัยลบมีเพียงอย่างเดียวเท่านั้นคือความไม่เสถียรภาพทางการเมืองอาจส่งผลกระทบในภาพรวมได้
“ปัจจุบันแนวโน้มราคาอสังหาฯ ในยุโรปและอเมริกาจะลดลงเรื่อยๆ แต่จะมีเติบโตในเอเชีย ที่มีความมั่งคั่งขึ้นจากสินค้าเกษตรและแนวโน้มนี้จะเติบโตไปได้ถึงปี 2030 อีกทั้งราคาอสังหาฯบ้านเรายังมีถูกกว่าประเทศอื่น ทำให้กระแสเงินทุนโลกหลั่งไหลเข้ามาลงทุนในไทย และเชื่อว่าพันธบัตรสหรัฐฯจะมีผลตอบแทนต่ำที่สุดในช่วงพ.ค.-มิ.ย.ของปีนี้ ผลที่ตามมาคือจะมีเงินทุนหันมาลงทุนในหุ้นไทยมากขึ้น”
สำหรับการที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มลดลงได้อีก 5 -10% รวมไปถึงการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันอยู่ห่างจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย 1% ภาวะดังกล่าวจะส่งผลให้กระแสเงินทุนโลก ที่ส่วนใหญ่มาจากเงินทุนสำรองของแต่ละประเทศกว่า 2-3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ รวมถึงกำไรจากธุรกิจน้ำมันที่มีกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกลุ่มทุนเหล่านี้จะหันมาลงทุนในเอเชีย โดยกระแสเงินทุนโลกจะไหลเข้ามาลงทุนเป็นอันดับแรกๆ ได้แก่ สินค้าโภคภัณฑ์ อันดับที่สองพันธบัตร และภาคอสังหาฯเป็นอันดับที่สาม โดยกลุ่มทุนเหล่านี้จะเน้นการลงทุนซื้ออสังหาฯจริง ไม่ใช้กองทุนอสังหาฯหรือการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ โดยสังเกตได้จากเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศยกเลิก 30% มีเงินทุนน้อยมากที่เข้ามาลงทุนซื้อกองทุนอสังหาฯแต่กลับไปซื้ออสังหาฯจริง เนื่องจากผลตอบแทนจากการลงทุนยังไม่ดึงดูดนักลงทุนเท่าที่ควร
“อย่างไรก็ตาม อสังหาฯไทยยังไม่เกิดโอเวอร์ซัปพราย โดยเฉพาะการที่เงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทย ส่วนใหญ่จะมองไปที่ตลาดระดับไฮเอ็นใหญ่ จึงทำให้ตลาดทั้งบ้านเดี่ยว คอนโดมิเนียมระดับไฮเอนด์มีแนวโน้มที่ดี”
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยว่า ในปีนี้น่าจะมีอัตราการเติบโตอย่างน้อย 4.5% โดยเศรษฐกิจไทยจะมีสัญญาณฟื้นตัวในอีก 9 เดือนข้างหน้าหรือในช่วงไตรมาส 3 ของปีหนี้ ภายหลังจากที่รัฐบาลนำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาใช้
อย่างไรก็ตาม สมมุติฐานดังกล่าว ต้องอยู่บนปัจจัยราคาน้ำมันเริ่มมีแนวโน้มลดลง เงินบาทไม่ต่อกว่า 30 บาท/ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ทั้งนี้ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาการเมือง หากไม่สงบอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตได้
ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนั้น โดยส่วนตัวแล้วมองว่า ธปท. ยังไม่มีความจำเป็นที่จะลดอัตราดอกเบี้ยตามธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อไม่ให้เงินทุนไหล แต่หากธปท.ต้องการลดดอกเบี้ยลงเพื่อรักษาค่าเงินบาทถือว่าเป็นเรื่องปกติแต่จะสามารถลดได้อีก 0.50%
ด้านนายไพโรจน์ สุขจั่น นายกก่อตั้ง สมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า การที่รัฐบาลลดภาษีภาคอสังหาฯ เป็นตัวกระตุ้นตลาดได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้ประกอบการ แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือเมื่อได้รับประโยชน์จากภาษีถึง 3-4% จะกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเร่งสร้างบ้านให้เสร็จเพื่อให้ทันอายุมาตรการภายใน 1 ปี และอาจส่งผลให้มีสต๊อกบ้านเพิ่มขึ้นตลาดจำนวนมากจนทำให้ล้นตลาดและตามมาเป็นปัญหาในภายหลังได้ ดังนั้นผู้ประกอบการควรสร้างบ้านตามเป้าหมายการขายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจริงเพื่อป้องกันความเสี่ยง
|
|
|
|
|