Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 มิถุนายน 2546
ยำใหญ่สรรพสามิตค่ายรถจี้รัฐออกพ.ร.บ.รถยนต์             
 


   
search resources

ฟอร์ด มอเตอร์
กรมสรรพสามิต
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สมาคมผู้ประกอบการรถยนต์ไทย
ฉัตรชัย บุนนาค
อัจฉรินทร์ สารเสส
วิชัย จั่วแจ่มใส
วัลลภ เตียศิริ
Vehicle




ค่ายรถรุมยำหน่วยงานจัดเก็บภาษี โดยเฉพาะกรม สรรพสามิตดำเนินงานไม่ทันการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมอุตสาหกรรมยานยนต์ คิดอะไรง่ายๆ ไม่เข้าใจธุรกิจรถยนต์ ชอบแต่เล่นบทตัวถ่วงสวนทางนโยบายรัฐบาล เผยหากในปี 2549 ภาษีเป็นอุปสรรคทำให้ไทยไม่สามารถผลิตรถได้ 1 ล้านคันต่อปี ตามเป้าหมาย ที่รัฐบาลบรรจุไว้เป็นเป้าหมายแห่งชาติ กรมสรรพสามิตจะต้องไปตอบ คำถามนายกรัฐมนตรีเอง ขณะที่ ฟอร์ด ฟันธง! วิธีเดียวที่จะแก้ไขได้ รัฐบาลจะต้องออกพ.ร.บ.รถยนต์ จัดการแก้ไขปัญหาโครงสร้างภาษี ทั้งระบบด่วน

อุตสาหกรรมรถยนต์ปัจจุบันได้ถูกรัฐบาลจัดให้เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมหลักของไทย เนื่องจากมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจโดยรวมของไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการนำเงินทุนเข้าประเทศ,การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ,การสร้างรายได้ให้กับภาครัฐ,ตลอดจนถึงการสร้างงานเป็นจำนวนมาก แต่อุตสาหกรรมรถยนต์ก็ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากการ ดำเนินงานของหน่วยงานจัดเก็บรายได้ของรัฐ โดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตที่มีความซ้ำซ้อน และไม่ชัดเจน จนฉุดให้อุตสาหกรรมรถยนต์ในไทยพลอยสะดุดไปด้วย

เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น สมาคมผู้สื่อ ข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย จึงได้จัดเสวนาเรื่อง "โครงสร้างภาษีใหม่กับการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย"โดยได้เชิญ ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตชิ้นส่วน และตัวแทนหน่วยงานรัฐ มาร่วมเสวนาแสดงความคิดเห็นถึงข้อดีข้อเสียของโครงสร้างภาษีในปัจจุบัน และในอนาคตที่กำลังจะมีการแก้ไข ใหม่ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยโดยตรง และนำเสนอความคิดเพื่อหาจุดลงตัวที่ทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้บริโภคได้ประโยชน์มากที่สุด

นางวิไล ตันตินันทนา นักวิชาการภาษี 8 ว. กรม สรรพสามิต เปิดเผยว่า เกี่ยวกับนโยบายในการจัดทำโครงสร้างภาษีใหม่ หลักการคือต้องเรียบง่าย เป็น ธรรมกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ภาครัฐ และผู้บริโภค โดยเฉพาะภาษีจะต้องไม่ปิดกั้นเทคโนโลยีในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์

อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างภาษีใหม่แต่ละครั้งจะต้องส่งผลกระทบเกิดขึ้นแน่นอน ผู้ประกอบการบางรายอาจจะได้รับตรงๆ บางรายก็อาจ จะได้ประโยชน์ เพราะฉะนั้นกรมสรรพสามิตจึงต้องนำมาชั่งน้ำหนักว่า ภาษีที่จัดทำขึ้นใหม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมมากน้อยแค่ไหน แต่หลักการคือต้องเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ในส่วนรายละเอียดของโครงสร้างภาษีใหม่ ตอนนี้ยังเป็นขั้นตอนที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ และยังไม่สรุปชัดเจน ทราบเพียงคร่าวๆ จากการที่ท่านรัฐมนตรีฯ เปิดเผยว่า จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1.รถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง 2. รถยนต์นั่งมากกว่า 10 ที่นั่ง 3. รถปิกอัพ และสุดท้ายรถจักรยานยนต์ และรถสามล้อ แต่รายละเอียดมากกว่านี้ไม่ทราบ การมารับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเสวนากันในครั้งนี้ ก็จะรับฟังและนำไปแจ้งกับผู้อำนาจตัดสินใจ เพื่อหาจุดลงตัวที่เป็นธรรมกับทุกฝ่าย และไม่ขัดกับนโยบายของรัฐบาล

นายฉัตรชัย บุนนาค ประธาน ฟอร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถปิกอัพที่ใหญ่ที่สุดในโลก รองจากสหรัฐอเมริกาเพียงแห่งเดียว ซึ่งก่อให้เกิดการพัฒนาผลิตรถปิกอัพในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แต่การพัฒนา และเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรม บาง ครั้งอาจจะเกิดความไม่สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต โดยเฉพาะในเรื่องของการตีความที่ไม่ตรงกัน ระหว่างภาครัฐ กับกลุ่มอุตสาหกรรม

ภาษีสรรพสามิตที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ครอบคลุม การจัดเก็บภาษีในวงกว้างมาก ตั้งแต่ไพ่ เหล้า บุหรี่ น้ำหอม และอื่นๆ รวมมาถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ และในอนาคตอันใกล้นี้ ยังจะครอบคลุมไปถึงภาษีธุรกิจ โทรคมนาคมอีกด้วย ซึ่งรูปแบบการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ เป็นการเก็บแบบภาษีซ้อนภาษี เป็นการเก็บภาษีที่หน้าโรงงาน เนื่องจากมีพ.ร.บ. เป็นตัวกำหนดวิธีการจัดเก็บไว้

ดังนั้น แนวทางที่กรมสรรพสามิต จะนำมาใช้ด้วยการจัดหมวดหมู่รถใหม่ ให้มีความชัดเจนขึ้น นับเป็นแนวทางที่ดี แต่การแก้ไขปัญหาในระยะยาว เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตรถปิกอัพโลก ต้องมองในแนวลึกไปถึงปัญหาที่แท้จริง เนื่องจากในอนาคตไม่อาจทราบได้ว่า รูปแบบของรถจะมีการพัฒนาออกมาเป็นอย่างไร รถรุ่น ใหม่ที่ผลิตออกมา อาจจะไม่เข้าข่ายหมวดหมู่ที่จัดวางไว้ จะต้องมีการตีความกันอีกว่า รถคันนี้ควรจะอยู่ในหมวดไหน ปัญหาก็จะย้อนกลับมาเช่นในปัจจุบันอีก

อุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่ใช่อุตสาหกรรมระดับพันล้าน หมื่นล้าน แต่เป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่า เกินกว่าล้านล้านบาท สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็น จำนวนมาก แต่น่าแปลกที่ไม่มี พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต ยานยนต์ที่ชัดเจน กำหนดขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมนี้ โดยเฉพาะ ซึ่งในอนาคตหากมีการแก้ไข พ.ร.บ. และเกิดความชัดเจนโปร่งใส ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต เชื่อว่าจะช่วยเอื้อประโยชน์ให้ประเทศไทย กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตรถปิกอัพของโลก และช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ผลิตของไทยมีความสามารถในการแข่งขันกับเวทีการค้าโลกได้อย่างไม่เป็นรองใคร

ด้วยเหตนี้การแก้ไขพ.ร.บ. จึงน่าจะเป็นแนวทาง สำคัญในการแก้ปัญหาระยะยาว เนื่องจากอุตสาห-กรรมยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีความ เฉพาะเจาะจง สามารถระบุได้ชัดเจนว่า รถแต่ละคันมีที่มาที่ไปอย่างไร ตรวจสอบได้แน่นอนว่ารถแต่ละคันขายให้ใครเมื่อไร เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจัดเก็บภาษีที่หน้าโรงงาน

สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ที่น่าจะมีการแก้ไข มีอยู่ 2 เรื่อง คือในเรื่องของสถานที่ในการจัดเก็บภาษี และการกำหนดอัตราภาษี ซึ่งในปัจจุบันใช้การเก็บที่หน้าโรงงาน รถยังไม่ได้ขาย ยังไม่ได้ส่งออก แต่กลุ่ม อุตสาหกรรมต้องจ่ายภาษีก่อน ควรแก้ไข พ.ร.บ.มาเก็บ ณ จุดขาย และคิดภาษีจากฐานราคาที่จำหน่าย

และอีกเรื่องในส่วนของอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ร.บ.กำหนดไว้ว่าห้ามจัดเก็บเกิน 50% ซึ่งควรจะมีการแก้ไขเป็น พ.ร.บ. สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะ และเปิดช่องให้อัตราภาษีมีตัวเลขสูงกว่านี้ เพื่อป้องกันภาครัฐสูญเสียรายได้ จากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการจัดเก็บภาษี ส่วนการจะกำหนด อัตราภาษีอย่างไร เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ควรจะมีการศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ

ส่วนการเก็บภาษี ณ จุดขาย ไม่ใช่เป็นการผลักภาระให้กับผู้บริโภค เนื่องจากการเก็บภาษีหน้าโรงงาน ภาษีที่จ่ายไปก็รวมเข้ามาอยู่ในราคารถทุกคันอยู่ดี แต่ผลดีจากการเก็บภาษีในรูปแบบนี้ คือผู้ผลิต สามารถนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาสู่ตลาดโดยไม่ต้องสนใจกับเรื่องการตีความ มองที่ราคาเป็นหลัก อุตสาหกรรมยานยนต์โดยรวมเกิดการพัฒนา เกิดความชัดเจน โปร่งใส นักลงทุนกล้าที่จะลงทุนเพิ่ม ผู้บริโภคมีโอกาสที่จะได้เลือกใช้รถยนต์ที่มีเทคโนโลยี สูงขึ้น ภาครัฐเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยขึ้น และจะไม่สามารถเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายใดโดยเฉพาะได้

นายอัจฉรินทร์ สารสาส ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจัดทำโครงสร้างภาษีต้องดูความเป็นจริง อย่างเช่นรัฐบาลให้นโยบายจะตั้งภาษีขึ้นมาไม่ให้กระทบกับการพัฒนาเทคโนโลยี แต่แนวคิดโครง สร้างภาษีใหม่จัดให้รถบางประเภทที่มีพื้นฐานมาจากปิกอัพไปอยู่ในหมวดรถยนต์นั่ง

นั่นแสดงให้เห็นว่ากรมสรรพสามิตยังไม่เข้าใจ นโยบายรัฐบาล เพราะปัจจุบันรถหลายรุ่น เช่นรถอเนกประสงค์ขับเคลื่อน 4 ล้อ ล้วนมีพื้นฐานมาจากปิกอัพทั้งนั้น

นายวิชัย จั่วแจ่มใส เลขาธิการสมาคมผู้ประกอบการรถยนต์ไทยเปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาลได้บรรจุเป็นวาระแห่งชาติ โดยจะผลักดันให้ในอีก 5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะต้องผลิตรถให้ได้ครบ 1 ล้านคัน และรัฐบาลจะได้ภาษีโดยตรงสูงถึง 9.5 หมื่น ล้านบาท แต่หากกรมสรรพสามิตพิจารณาด้วย การออกภาษีอะไรมาหากเป็นอุปสรรค และทำให้โครงการ นี้ไม่ได้ตามที่วางไว้ กรมสรรพสามิตและผู้ที่เกี่ยวข้อง จะต้องไปแก้ตัวกับท่านนายกรัฐมนตรีเอง

นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยว่า โครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่รัฐบาลจะต้องมองให้รอบคอบ โดยเฉพาะกรมสรรพสามิตที่มีแนวคิดจะแบ่งประเภทการจัดเก็บภาษีใหม่เพียง 4 ประเภทนั้น ดูเหมือนจะง่ายไปเพราะรถยนต์แต่ละรุ่นมันมีอนุกรมของมัน

ฉะนั้นกรมสรรพสามิตจะต้องคิดให้กว้างกว่านี้ เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ประกอบการ และผู้บริโภค แต่ทั้งหมดก็ต้องเป็นไปตามนโยบายและหลักการของรัฐบาลที่วางไว้ ซึ่งเรื่องนี้จะต้องมีการพูดคุยและหาทางที่เหมาะสมที่สุด เพราะหากไทยจะเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชีย หรือจะเป็นฐานการผลิตปิกอัพ 1 ตันของโลกแล้ว ทุกอย่างจะต้องสนับสนุนไปในทิศทางเดียวกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us