|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ชูการวางธุรกิจเพลงใหม่เป็น 6 แนว สนองกลุ่มเป้าหมายชัดเจน พร้อมปรับทัพการทำงานใหม่ให้เข้าแต่ละแนวเพลง มั่นใจเสริมให้รายได้ปีนี้เพิ่มอีก 500 ล้านบาท จาก 3,500 ล้านบาทในปีก่อน
นางสาวบุษบา ดาวเรือง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา บริษัทฯได้ทำการรีเสริ์ช โดยได้จ้างบริษัทภายนอกให้เข้ามาดูแล และจากการสังเกตของพนักงานในบริษัทฯร่วมกัน พบว่าไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคได้เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก อีกทั้งยังพบว่าปัจจัยลบต่างๆยังรุมเร้าเข้ามาอีกด้วยไม่ว่าจะเป็นกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ยังมีต่อเนื่อง ทำให้ทางบริษัทฯต้องมีการปรับการทำงานใหม่
โดยได้วางแนวเพลงออกเป็น 6 แนวเพลงหลัก คือ 1.ทีน ไอดอล 2. ป็อป ไอดอล 3.ร็อก 4.เร็กโทรและวินเทจต์หรือแนวเพลงลิสซึ่นนิ่ง 5.นิช และ6.ลูกทุ่ง ซึ่งทาง 6 รูปแบบเพลงถือว่าเป็นการวางแนวเพลงที่ลงตัวในขณะนี้ และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
ทั้งนี้หลังจากที่บริษัทฯได้วางแนวเพลงใหม่แล้ว ภายใต้การทำงานในทุกๆหน่วยงานก็จะมีการแบ่งการทำงานใหม่หมด ยกตัวอย่างเช่น จากเดิมทีมการตลาดจะดูแลทำการตลาดแบบโดยรวม หลังจากนี้จะมีการคัดบุคคลากรด้านการตลาดที่มีความชื่นชอบส่วนตัวในแนวเพลงร็อก ก็ให้มาดูแลการตลาดเพลงร็อกโดยเฉพาะ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะนำไปใช้กับทุกหน่วยงาน ปรากฏว่าเป็นวิธีการที่ทำให้ผลประกอบการในส่วนของธุรกิจเพลงดีขึ้นค่อนข้างมาก จากผลประกอบการในปีก่อนที่ทำได้กว่า 3,500 ล้านบาท ส่วนปีนี้คาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีก 500 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากแนวเพลงหลัก อย่าง ลูกทุ่ง 35% ร็อก 35% และป๊อป 30%
นายกริช ทอมมัส รองการรการผู้อำนวยการสายงานธุรกิจเพลง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นอกจากนี้จากการรีเสริ์ชยังทำให้พบว่ารูปแบบเพลงทั้ง 6 รูปแบบ จะมีช่องทางจำหน่าย หรือการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไปด้วย ส่งผลให้บริษัทฯมีการจัดการเกี่ยวกับช่องทางการจำหน่ายและการผลิตแผ่นซีดีหรือวีซีดีที่ดีขึ้น ช่วยให้ลดต้นทุนการผลิตที่ไม่จำเป็นออกไปได้เป็นอย่างดี
ยกตัวอย่างเช่น ทีน ไอดอล และ ป็อป ไอดอล ช่องทางจำหน่ายในส่วนของดิจิตอลจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่วีซีดีและดีวีดีจะลดลง การเข้าถึงจะใช้สื่อแมสมีเดียค่อนข้างมาก ขณะที่ลูกทุ่งวีซีดีและดีวีดี จะเป็นช่องทางขายที่สำคัญ ส่วนการเข้าถึงจะเป็นรูปแบบให้ศิลปินได้ใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง ส่วนร็อกจะเป็นเรื่องของโชว์บิส หรือการแสดงคอนเสิร์ตและทางเว็บไซด์เป็นหลัก หรือร้านจำหน่ายแผ่นเพลง บางร้าน ทำให้รู้ว่าควรที่จะแนวไหน และในจำนวนเท่าไหร่จึงจะเพียงต่อต่อปริมาณที่ต้องการและตรงกับกลุ่มเป้าหมายชัดเจน
อย่างไรก็ตามต่อไปนี้ ศิลปินนักร้องของแกรมมี่ ที่ออกอัลบั้มจะขึ้นตรงกับจีเอ็มเอ็มเป็นอันดับแรก แต่ยังคงมีซับแรบนด์ที่สังกัดอยู่ ไม่ว่าจะเป็น จีนี่, อัพจี หรือแกรมมี่โกลด์ ที่ยังคงไว้อยู่ แต่ในอนาคตจะไม่มีซัพแบรนด์อีกต่อไป
|
|
|
|
|