ยูคอมรุกตลาดบรอดแบนด์ ด้วยแพกเกจบริการ สร้างความแตกต่าง ประเดิมด้วย อี-เลิร์นนิ่งกับธรรมศาสตร์
บริการ ตรวจสอบบัญชีออนไลน์ (e-Auditing) แผนที่ดิจิตอล เน้นลูกค้า ประกันภัย กระตุ้นใช้อินเทอร์เน็ต
ความเร็วสูง ส่วนโครงการซีดีเอ็มเอ บิ๊กบอสกลุ่ม "บุญชัย" สารภาพไม่สน สนแต่ธุรกิจที่ทำเงินมากกว่า
นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท
ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี (ยูคอม) กล่าวว่าช่วงครึ่งหลังปีนี้ กลุ่มยูคอมจะมีบริการรูปแบบใหม่ด้านอิเล็กทรอนิกส์
ในเว็บท่าหรือพอร์ทัล ใหม่ของยูคอม ซึ่งบริการดังกล่าว จะอยู่ภายใต้กลุ่มยูคอม
ไม่ว่าจะเป็นบริษัทลูก หรือร่วมทุน หรือแบ่งรายได้
ถนัดบุกเบิก
"ผมถนัดบุกเบิก ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ซึ่งรูปแบบบริการใหม่ ด้านไอทีของเรา จะเป็นการนำเอาทรัพย์สินทางปัญญาที่เรามีอยู่แล้ว
มาคิดค้นบริการใหม่ๆ ภายใต้โครง ข่ายโทรคมนาคมของเรา"
บริการใหม่ๆ ที่ยูคอมเตรียมให้บริการ อาทิ e-Auditing หรือการตรวจสอบบัญชีออนไลน์
ซึ่งเหมาะกับกลุ่มธุรกิจขนากลางหรือขนาดเล็ก ที่ไม่ต้องการเสียเงินจำนวนมาก กับค่าจ้างแพงๆ
ของผู้สอบบัญชีบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งในแง่ดี จะช่วยผู้ประกอบการรายย่อยๆ สามารถรับงานดาวน์โหลดมาทำได้
บริการนี้ จะสอดคล้องกับบริการด้านภาษีออนไลน์ของกรมสรรพากร รวมทั้งยังมีบริการลักษณะ
ASP หรือแอปพลิเคชั่น เซอร์วิส โพรวายเดอร์ อย่างระบบบัญชี
บริการแผนที่ดิจิตอล ซึ่งแผนที่กลุ่มยูคอม จะเป็นลักษณะมุมมองแบบ Side Profile
มอง เห็นด้านข้าง เหมือนมุมมองสายตาจริงๆ สามารถ พิมพ์ออกมาได้ ต่างจากผู้ให้บริการแผนที่ดิจิตอล
รายอื่น ที่ทำแผนที่ด้วยมุมมองแบบ Bird Eye View หรือมองจากด้านบนลงมา
เจาะกลุ่มประกันภัย
ลูกค้าเป้าหมายกลุ่มนี้ ชัดเจนว่าจะเจาะกลุ่ม ธุรกิจประกันภัย ที่จำเป็นต้องรู้สถานที่ตั้งของลูกค้าที่จะทำประกัน
หรือธุรกิจส่งสินค้าต่างๆ (Delivery) รวมทั้งในแง่ประกันภัยรถ หากรถหาย ยังสามารถตามได้ว่า
ขณะนี้ รถอยู่ในเส้นทางไหน ยังสามารถออกอากาศทางวิทยุผ่านคลื่น เอฟเอ็ม 96.5 เมกะเฮิรตซ์ได้ด้วย
เขามองว่า ในแง่ธุรกิจด้านคอนเทนต์ หรือ เนื้อหาสาระ ทุกวันนี้ มีแต่ความบันเทิงที่ต้องเสียเงิน
คอนเทนต์ลักษณะสร้างโอกาส หรือทำให้มีเงินในประเป๋ามากขึ้น ยังไม่มี ไม่ว่าจะเป็น
เว็บบนอินเทอร์เน็ต หรือผ่านโทรศัพท์มือถือ เพราะต่างประเทศอย่าง KDDI หรือ DoCoMo
ของญี่ปุ่น มีมากกว่า 2 แสนคอนเทนต์ แต่เมืองไทยมีไม่ถึง 200 คอนเทนต์
จับมือธรรมศาสตร์
การพัฒนาธุรกิจใหม่ของกลุ่มยูคอมที่อาศัย โครงสร้างพื้นฐานด้านระบบสื่อสารโทรคมนาคม
คือร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้บริการ โครงการ อี-เลิร์นนิ่ง โดยใช้วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษาทำโครงการนำร่อง
ลักษณะหลักสูตรฝึกอบรม ซึ่งจะเริ่มพ.ย. นี้ ก่อนขายไประดับปริญญาโท
"ยูคอมลงทุนประมาณ 20 ล้านบาท ธรรม-ศาสตร์ทำด้านหลักสูตร แล้วแบ่งรายได้กัน"
หลักสูตรที่เริ่มทำ เช่น การใช้ประโยชน์สูงสุดจากด้านไอที ความรู้ด้านการตลาดใหม่ๆ
หรือความรู้เศรษฐกิจจีน อาจทำถึงขนาดสอนภาษาให้ด้วย หลักสูตรพวกนี้ จะเหมาะสำหรับฝึกอบรมพนักงานผู้บริหารหน่วยงานเอกชนและราชการ
เพื่อให้ทันยุครัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
จับกระแส e-Government
"เรามองว่ากลุ่มคน 10 ล้านคนที่เรียบจบมาพอสมควรแล้ว ต้องการมีฝึกอบรมพัฒนาตัวเอง
และพวกนี้ ทำงานในราชการ หรือเอกชน ที่ จำเป็นต้องมีการเรียนรู้ให้ทันกับ e-Goverment
ตามนโยบายรัฐบาล" เขากล่าว
ในแง่ธุรกิจ เขามองว่า คอนเทนต์เหล่านี้จะสร้างการเติบโตให้บริการสื่อสารอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
หรือบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตซึ่ง ใน การแข่งขันในธุรกิจ บรอดแบนด์ของใครๆ ก็เหมือนกัน
แต่ของยูคอม จะต่างจากคนอื่น โดยขายแบบแพกเกจ เช่น โทรศัพท์มือถือดีแทค เป็นระบบความเร็วสูง
GPRS สามารถเช็กหรือส่งอี-เมลได้ มีบริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง บรอด แบนด์ที่มีคอนเทนต์อย่างที่ยูคอมร่วมมือกับธรรมศาสตร์
จับมือกับไอเอสพี (ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) ที่มีจุดแข็งแต่ละพื้นที่ พ่วงสร้างแตก
ต่างบริการยูคอม
"ผมไม่ห่วงการแข่งขัน แต่ห่วงสปีดของเรา มากกว่า แต่ความร่วมมือกับธรรมศาสตร์
ถือว่า เราก้าวเข้ามาก่อน เพื่อศึกษาตลาด รับรู้ปัญหา หากหน่วยงานไหนอยากร่วมมือกับยูคอม
ก็ยินดี และเราก็ไม่ได้ปิดกั้นธรรมศาสตร์ สามารถเลือก ใช้บริการจากคนอื่นก็ได้"
ปลงตก CDMA
สำหรับโครงการโทรศัพท์มือถือระบบซีดีเอ็มเอในภูมิภาคมูลค่า 3 หมื่นล้านบาทของการสื่อสารแห่งประเทศไทย
(กสท.) ที่รอบอร์ดชี้ชะตาภายใน มิ.ย.นี้ ว่าบริษัท เรียลไทม์ ที่เสนออุปกรณ์นอร์เทลจากแดนมะกันจะชนะประมูล
หรือไม่
เน้นธุรกิจทำเงิน
นายบุญชัยกล่าวว่า "ผมไม่ค่อยใส่ใจ"พร้อม ขยายความว่า เขามี 2 บทบาท คือในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ยูคอม
ซึ่งเป็นตัวแทนประกวดราคา กับ ผู้ถือหุ้นใหญ่ดีแทค ที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์
มือถือ ซึ่งวันนี้ต้องโฟกัสว่าอะรไที่ทำเงิน และทำรายได้ให้มากกว่า
"ซีดีเอ็มเอเป็นเรื่องของคอนเทนต์ เพราะในสังคมไทย ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องเงินหรือรายได้กับคอนเทนต์
เหมือนในเกาหลีหรือญี่ปุ่น"
นอกจากนั้น พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็แตกต่างกัน เพราะคนในประเทศดังกล่าว ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือในรถไฟใต้ดิน
สิ่งที่ทำได้คือ การ เล่นคอนเทนต์ในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในไทยมัน ไม่ใช่ รวมทั้งสังคมในประเทศนั้นๆ
ยังมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบยั่งยืน ที่ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้งานด้านการสื่อสารข้อมูล
"ซีดีเอ็มเอ เป็นโจทย์ที่ยาก คือเรื่องลูกข่าย และคอนเทนต์ เพราะถ้ามีได้แค่ปัจจุบันนี้
MMS ของโทรศัพท์มือถือยังมีได้มากกว่า" เขากล่าว