Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 มิถุนายน 2546
เลื่อนตั้งผู้บริหารแผนTPI13มิ.ย.             
 


   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
เอ็ฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ส
บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ - IFC
ผู้บริหารแผนไทย
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
สุวรรณ วลัยเสถียร




ศาลสั่งเลื่อนพิจารณาผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ ทีพีไอรายใหม่เป็นศุกร์นี้ ขณะที่สหภาพแรงงานทีพีไอ ที่ยกพลกว่า 300 ชีวิตร่วมฟังคำพิพากษาวานนี้ ค้านตั้งผู้บริหารแผนไทย บริหาร แผนฯ บริษัท แต่ไอเอฟซี ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ กระต่ายขาเดียวหนุนผู้บริหารแผนไทยเต็มที่ ส่วนประชัยหนุนแผนทักษิณ ที่ให้ตั้งตัวแทนเจ้าหนี้-ลูกหนี้ฝ่ายละครึ่ง และตัวแทนรัฐร่วมบริหารแผนฯ ด้านสำนักวิจัยไทยธนาคาร แนะรัฐบาลช่วยแก้ปัญหานี้ ไม่ให้ลุกลาม

วานนี้- (11 มิ.ย.) ศาลล้มละลายกลางนัดฟังคำพิจารณาตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.) แจ้งผลประชุมเจ้าหนี้ทีพีไอ 99.68% ของมูลหนี้ 9.18 หมื่น ล้านบาท ที่ลงมติเลือกบริษัท ผู้บริหารแผนไทย จำกัด บริหารแผนฯ ทีพีไอรายใหม่
คณะกรรมการเจ้าหนี้ ประกอบด้วย ธนาคารซิตี้แบงก์ สาขากรุงเทพ บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (IFC) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งสหรัฐฯ (US EXIM) ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเยอรมนี (KfW) และธนาคารกรุงเทพ ยื่นคำร้องสนับสนุนเมื่อวันที่ 10 มิ.ย.

ขณะที่ผู้บริหารลูกหนี้ และบริษัท ทีพีไอ อินเทอร์เน็ต พอร์ทอล จำกัด ยื่นคำร้องคัดค้านการตั้งผู้บริหารแผนไทย บริหารแผนฯ ทีพีไอรายใหม่ เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. โดยขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งตัวแทนจากเจ้าหนี้ และลูกหนี้ฝ่ายละ 7 คน ร่วมกับตัวแทนจากรัฐบาล 1 คน ตามข้อเสนอแนะของรัฐบาล

นายกมล ธีรเวชพลกุล ผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง กล่าวว่าวันที่ศาลนัดประชุมไกล่เกลี่ยระหว่างเจ้าหนี้ ลูกหนี้ จพท.และตัวแทนจากคลัง เมื่อวันที่ 28 พ.ค. เขาไม่ได้ร่วมรับฟัง แต่รับทราบว่า ผลประชุมไม่สบความสำเร็จ เนื่องจากตัวแทนเจ้าหนี้ไม่ได้รับมอบอำนาจ ซึ่งคดีนี้ ศาลต้องการให้ ยุติด้วยดี เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย เพื่อให้ประเทศชาติรอดพ้นวิกฤต หากทีพีไอแก้ปัญหาได้

"จากภาระหนี้ที่สูงถึง 1.4 แสนล้านบาทของทีพีไอ ถือเป็นโจทก์ที่ค่อนข้างยาก เพราะการบริหารงานท่ามกลางความขัดแย้งอย่างสูง เป็นเรื่องที่ศาลมี ความกังวลอย" นายกมลกล่าว

ศาลให้ตัวแทนเจ้าหนี้ ลูกหนี้ สหภาพแรงงานทีพีไอ แสดงความเห็นการแต่งตั้งผู้บริหารแผน และบริษัท ผู้บริหารแผนไทยชี้แจงแนวทางฟื้นฟูกิจการและแก้ไขแผนฯ ทีพีไอ

หลังจากนั้น นัดฟังคำสั่งพิจารณาตั้งผู้บริหาร แผนรายใหม่วันศุกร์ที่ 13 มิ.ย.นี้ เวลา 13.30 น. ซึ่ง การพิจารณาคดีวานนี้ ได้รับความสนใจจากพนักงาน ทีพีไอ ซึ่งเดินทางมาฟังการพิจารณาคดีประมาณ 250-300 คน

"ผู้บริหารแผนไทย" ขาดความเป็นกลาง

นายเชาวลิต อัตถศาสตร์ ทนายความฝ่ายลูกหนี้ คือนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ กล่าวว่าผู้บริหารแผนฯ ทีพีไอ จำเป็นต้องมีตัวแทนฝ่ายลูกหนี้ร่วมบริหาร เนื่องจากเข้าใจกิจการบริษัทอย่างดี โดยฝ่าย ลูกหนี้เห็นด้วยกับสูตรการแก้ปัญหาของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เสนอให้มีตัวแทนจากเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และฝ่ายรัฐ เป็นผู้บริหารแผนฯ ร่วม ซึ่งการประชุมเจ้าหนี้ทั้ง 3 ครั้ง ฝ่ายลูกหนี้เสนอ แนวทางดังกล่าว แต่เจ้าหนี้ไม่เห็นด้วย

ที่ผ่านมา การแต่งตั้งเอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส (อีพีแอล) เป็นผู้บริหารแผนฯ ทีพีไอนั้น ขาดความเป็นกลาง เนื่องจากเจ้าหนี้เป็นผู้แต่งตั้งขึ้นเอง สร้างความเสียหายให้ทีพีไอ จะเห็นจากมูลค่าตามบัญชีทีพีไอก่อนการฟื้นฟูฯ อยู่ที่ 17.70 บาท/หุ้น แต่ ณ 31 ธ.ค. 45 มูลค่าตามบัญชีทีพีไอลดเหลือเพียง 20 สตางค์/หุ้น

ดังนั้น การที่เจ้าหนี้มีมติแต่งตั้งบริษัท ผู้บริหาร แผนไทยเป็นผู้บริหารแผนฯ รายใหม่ ลูกหนี้จึงยื่นคัดค้าน เนื่องจากขาดความเป็นกลาง

ขายหุ้นเพิ่มทุนให้เจ้าหนี้สูงกว่าราคาตลาด

ทางด้านนายสุวรรณ วลัยเสถียร รองประธานบริษัท ผู้บริหารแผนไทย กล่าวว่าหากบริษัทได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารแผนฯ ทีพีไอ เชื่อว่าเจ้าหนี้จะปล่อยเงินกู้ทุนหมุนเวียน เพื่อใช้ซื้อวัตถุดิบอีกครั้ง 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากระงับช่วงที่ศาลปลดอีพีอแอล และอยู่ในวิสัยที่จะกู้เงินเพิ่มเติมได้

ส่วนแนวทางการฟื้นฟูกิจการทีพีไอ เขาเตรียม จะแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ใหม่ เพื่อให้บริษัทแข็งแกร่งขึ้น การฟื้นฟูจะประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องลดความ ขัดแย้งกับลูกหนี้ โดยยอมให้ลูกหนี้เข้ามาเป็นเสียงส่วนน้อยได้ ซึ่งลูกหนี้จะเสนอใคร เจ้าหนี้พร้อมจะพิจารณา ส่วนตัวแทนภาครัฐ เขาอ้างว่า ขณะนี้เลือกนายพละ สุขเวช อดีตผู้ว่าการ ปตท. ซึ่งชำนาญ ธุรกิจปิโตรเคมี ตกลงจะเป็นที่ปรึกษาด้วย เชื่อว่าจะทำให้ทีพีไอแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

เขากล่าวว่า บริษัท ผู้บริหารแผนไทย มีแผน จะเพิ่มทุนทีพีไอ โดยออกหุ้นใหม่ขายเจ้าหนี้ราคาสูง กว่าราคาตลาด ซึ่งเปรียบเหมือนแฮร์คัทหนี้ปัจจุบัน และดึงหน่วยงานรัฐถือหุ้นโรงกลั่นทีพีไอด้วย เช่นเดียวกับที่ถือหุ้นโรงกลั่นไทยออยล์ บางจากฯ หรือคาลเท็กซ์

"บริษัทฯ เชื่อมั่นว่า จะสามารถทำงานร่วมกับ ลูกหนี้และพนักงานได้ โดยหากบริษัทฯ ได้รับเลือกให้เป็นผู้บริหาร ก็เชื่อว่า เจ้าหนี้ที่เคยลงมติเลือกบริษัทฯ มากกว่า 99% ของมูลหนี้ จะหยุดการระงับการให้สภาพคล่องกระแสเงินเพิ่มเติม เพื่อให้กิจการ ของทีพีไอเดินหน้าต่อไปได้" นายสุวรรณกล่าว

สหภาพฯ ค้านตั้งผู้บริหารแผนไทย

นายวิชิต นิตยานนท์ ประธานสหภาพแรงงานผู้บริหารทีพีไอ กล่าวยืนยันไม่เห็นด้วยกับการตั้งบริษัท ผู้บริหารแผนไทย บริหารแผนฯ ทีพีไอ เพราะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเคมี แต่เห็นว่า ควรตั้งผู้บริหารแผนจากตัวแทน 5 ฝ่าย ประกอบด้วย เจ้าหนี้ ลูกหนี้ พนักงาน รัฐบาล และผู้ถือหุ้นทีพีไอ

สำหรับนายพละ ที่บริษัท ผู้บริหารแผนไทยเสนอให้ดูแลการฟื้นฟูกิจการทีพีไอ สหภาพฯ เห็นว่านายพละเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเลียมเพียงด้านเดียว ขณะที่ธุรกิจทีพีไอ มีความหลากหลาย การ บริหารอาจล้มเหลวเหมือนสมัยนายทองฉัตร หงศ์-ลดารมภ์ บริหารงานในทีพีไอ ยุคที่อีพีแอลเป็นผู้บริหารแผนฯ

ไอเอฟซีหนุน "ผู้บริหารแผนไทย"

ขณะที่บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (ไอเอฟซี) เจ้าหนี้ใหญ่อันดับ 2 ของทีพีไอ ออกแถลงการณ์ แสดงความเชื่อมั่นว่า ศาลล้มละลายกลางจะตัดสินให้ บริษัท ผู้บริหารแผนไทยบริหารฟื้นฟูกิจการทีพีไอราย ใหม่ ภายใต้การรองรับของกฎหมายล้มละลายของไทย ในการนัดพิจารณาครั้งหน้า หลังจากได้รับการ สนับสนุนท่วมท้นจากเจ้าหนี้

ไอเอฟซีคือองค์กรในกลุ่มธนาคารโลก ไทยเป็น หนึ่งใน 175 ประเทศผู้ถือหุ้นไอเอฟซี มีภาระกิจส่งเสริมการลงทุนอย่างยั่งยืนของภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อช่วยลดความยากจน พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชน

ที่ผ่านมา ไอเอฟซีอนุมัติเงินลงทุนให้ 56 โครง การในไทย เป็นเงิน 1,030 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4.32 หมื่นล้านบาท ปี 2545 ไอเอฟซีมีเงิน ลงทุนในไทย 462 ล้านดอลลาร์ หรือ 1.94 หมื่นล้านบาท

แบงก์กรุงเทพหวังเร่งแก้ปัญหา TPI

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่สุด ของทีพีไอ กล่าวว่ากรณีทีพีไอ หากล่าช้าในการเจรจา หรือการฟื้นฟูฯ ไม่เป็นไปตามแผนฯ เชื่อว่าจะไม่เป็น ภาระระบบธนาคารพาณิชย์ ในเรื่องหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ (เอ็นพีแอล) เนื่องจากทีพีไอเป็นกิจการที่มีศักยภาพ ชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ แต่ที่ยังเจรจากันอยู่ เป็นเรื่องการบริหารงาน

อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังเปิดโอกาสให้ตัวแทนรัฐบาลเข้ามาเป็นตัวกลางฟื้นฟูกิจการฯ ทีพีไอ แต่จะพบกันตรงไหน เป็นเรื่องของทุกฝ่ายที่จะหาจุด ที่เหมาะสม ขณะที่ศาลล้มละลายกลาง ที่เลื่อนการนัดฟังการพิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารแผนรายใหม่ ถือว่าเป็นโอกาสที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกัน แต่เนื่องจากทีพีไอมีเจ้าหนี้หลายราย ทำให้ต้องใช้เวลาเจรจามาก ขึ้น แต่เขาเชื่อว่าจะได้ข้อสรุป หากศาลมีคำสั่งกรณี ที่ตกลงกันไม่ได้ อาจมีคำสั่งให้ทีพีไอล้มละลาย หรือ ขายทอดตลาดสินทรัพย์ทีพีไอ ธนาคารก็จะเคารพคำตัดสินของศาล

สำนักวิจัยและวางแผน ธนาคารไทยธนาคาร เผยถ้าการฟื้นฟูกิจการทีพีไอยังคงยืดเยื้อ หรือล้มเหลว จะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทยหลายแห่ง โดยเฉพาะธนาคารกรุงเทพ จะได้รับผลกระทบมาก

สำนักวิจัยฯ ยังประเมินว่า จะทำให้ตัวเลข NPL ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้นเป็น 18.1% จาก NPL มี.ค. เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไทยเป็นเจ้าหนี้ทีพีไอ 1.4% ของสินเชื่อรวมทั้งหมดของธนาคาร พาณิชย์ และเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่จะส่งผลกระทบการขยายตัวของสินเชื่อ และผลประกอบการธนาคารพาณิชย์กรุงเทพ

สำนักวิจัยฯ ไทยธนาคาร เห็นว่าปัญหาการฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ยังส่งผลกระทบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมด้วย เนื่องจากทีพีไอมีภาระหนี้สินมาก โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ไทย เป็นเจ้าหนี้ทีพีไอ ถึง 66,321.7 ล้านบาท จะทำให้ธนาคารพาณิชย์เจ้าหนี้หลายแห่ง ระมัดระวังขยายสินเชื่อมากขึ้น

นอกจากนี้ การเป็นประกอบธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรรายใหญ่ และการฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ที่กำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั่วไป จะกระทบผู้ประกอบการธุรกิจต่อเนื่อง และบรรยากาศการลงทุนในประเทศ
แนะรัฐบาลร่วมแก้ปัญหา

สำนักวิจัยฯ มองว่า การแก้ปัญหาการฟื้นฟูกิจการทีพีไอต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน เพื่อไม่ให้ขาดความต่อเนื่อง โดยรัฐบาลควรมีส่วนร่วมแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ และมีบทบาทประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

รวมทั้งคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจสภาพตลาดโดยรวมของอุตสาหกรรม และทั้งฝ่ายเจ้าหนี้และลูกหนี้ไว้วางใจเข้ามาบริหาร เนื่องจากปัญหาทีพีไอ นอกจากเกิดจากปัญหาภายใน การแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรงของอุตสาหกรรม ยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการฟื้นฟูกิจการทีพีไอด้วย

ความล้มเหลวการบริหารแผนณ ที่ผ่านมา สำนักวิจัยฯ วิเคราะห์ว่าเกิดจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก โดยเฉพาะขาดความร่วมมือของผู้บริหารเดิมและพนักงานระดับปฏิบัติการ ที่จะปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us