Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 มีนาคม 2551
ทุนนอกรุกคืบธุรกิจโบรกเกอร์             
 


   
search resources

กัมปนาท โลหเจริญวนิช
Investment




โบรกเกอร์สัญชาติเกาหลี-ญี่ปุ่น แห่ขอข้อมูลโบรกเกอร์ไทยหวังเข้ามาร่วมทำธุรกิจในประเทศไทย "กัมปนาท" ระบุเทกโอเวอร์ยาก เหตุต้องการฐานลูกค้าในประเทศ เชื่อคงถือหุ้นร่วมทำธุรกิจ ระบุปูทางก่อนเข้ามาลุยตลาดอนุพันธ์ ด้านบิ๊กโบรกเกอร์ ออกโรงเตือนดึงพันธมิตรต่างชาติร่วมถือหุ้นอาจจะไม่ใช่ทางรอด จี้ต้องเร่งสร้างฐานลูกค้าเฉพาะกลุ่มให้มากขึ้น

นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช กรรมการผู้อำนวยการบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนิตี้ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมามีบริษัทหลักทรัพย์จากประเทศเกาหลี และประเทศญี่ปุ่น เข้ามาหารือพร้อมขอข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหลักทรัพย์ในไทย เพื่อศึกษาโอกาสในการเข้ามาลงทุนร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ในประเทศไทย หลังจากที่คาดว่าจะมีการเปิดเสรีธุรกิจหลักทรัพย์ในปี 2555 นี้

ทั้งนี้ เชื่อว่ารูปแบบในการเข้ามาลงทุนของกลุ่มทุนจากเกาหลีและญี่ปุ่นจะแตกต่างจากกลุ่มทุนที่มาจากประเทศอื่นๆ เนื่องจากการเข้ามาลงทุนของกลุ่มดังกล่าวต้องการเข้ามาลงทุนในลักษณะร่วมลงทุนกับพันธมิตรในประเทศไทย เนื่องจากยังต้องการฐานลูกค้ารายย่อยในประเทศเป็นหลัก ขณะเดียวกันอาจจะมีคำสั่งซื้อขายาจากประเทศนั้นๆ ส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นเข้ามาบ้าง

"การเข้ามาคงเป็นการเข้ามาคู่เพื่อเป็นพันธมิตรมากกว่า เพราะส่วนใหญ่ต้องการฐานลูกค้าในประเทศจึงจำเป็นที่ต้องหาโบรกเกอร์ที่มีฐานลูกค้าอยู่แล้ว แต่การเข้ามาก็ต้องช่วยเพิ่มประโยชน์ให้ทั้ง 2 ฝ่าย"นายกัมปนาทกล่าว

สำหรับความแตกต่างของกลุ่มทุนที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ต้องการเข้ามาซื้อใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์อย่างชัดเจนโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์จากนักลงทุนในประเทศ เนื่องจากมีฐานลูกค้าในต่างประเทศที่มากพอสำหรับการเข้ามาส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นไทย ขณะที่อีกกลุ่มเป็นกลุ่มที่ยังต้องการรักษาลูกค้ารายย่อยในประเทศแต่ไม่มีช่องทางจึงจำเป็นที่จะต้องเข้ามาจับมือกับพันธมิตรในประเทศ

ส่วนโอกาสในการเข้ามาลงทุนนั้น คาดว่ากลุ่มทุนทั้งจากเกาหลีและญี่ปุ่นมีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจด้านตลาดอนุพันธ์ เนื่องจากในหลายประเทศอัตราการเติบโตธุรกิจดังกล่าวอยู่ในระดับที่สูงมาก ซึ่งที่ผ่านมาอัตราการเติบโตของตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทยก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ดี แม้ว่าจะยังไม่เติบโตมากเหมือนในหลายประเทศ

"เงินของกลุ่มทุนจากประเทศเหลือเยอะ เพราะรัฐบาลเค้าสนับสนุนให้ออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น ความสนใจต่อตลาดหุ้นไทยที่มีมากขึ้นเนื่องจากเค้ามองเห็นแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจในบ้านเรา แต่การหารือคงต้องดูกันยาวๆ ไม่ใช่มาคุยกันแค่ครั้งหรือสองครั้งแล้วร่วมทุนกัน "นายกัมปนาทกล่าว

แหล่งข่าวจากผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า แม้ว่าใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จะมีการเปิดขายแบบเสรีในช่วงปี 2555 แต่เชื่อว่าหลังจากนี้จะมีข่าวการเข้ามาจับมือร่วมทำธุรกิจระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ไทยกับบริษัทหลักทรัพย์ต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากในสภาวะที่ตลาดหุ้นยังไม่คึกคักการเร่งปรับตัวเพื่อรอจังหวะที่ตลาดหุ้นจะกลับมาสดใสเป็นเรื่องที่หลายคนเริ่มมองเห็น

ทั้งนี้ การจับคู่ทั้งการหาพันธมิตรทางธุรกิจ รวมถึงการเปิดโอกาสให้ทุนจากต่างประเทศเข้ามาร่วมถือหุ้นนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยในเรื่องข้อดีเครือข่ายทีเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการได้เงินเข้ามาเพื่อสภาพคล่องเพื่อศักยภาพในการแข่งขั้นถือว่าเป็นโอกาสในการปรับตัวเพื่อรองรับส่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันการไหลเข้ามาของทุนจากต่างประเทศจะส่งผลกระทบต่อบริษัทหลักทรัพย์ที่ยังไม่สามารถปรับตัวรองรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ทัน โดยบริษัทที่ไม่มีรูปแบบเฉพาะไม่มีความชัดเจนในการทำธุรกิจจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบที่สุด

"หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลยคงอยู่ไม่ได้แน่ แต่การเปลี่ยนแปลงโดยถึงทุนจากต่างชาติเข้ามาก็อาจไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด การปรับตัวในอยู่รอดนั้นในขณะนี้คงยังไม่มีรูปแบบที่ตายตัวคงต้องรออีกระยะถึงจะเริ่มเห็นลู่ทางที่ชัดเจนขึ้น"แหล่งข่าวกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us