Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 มิถุนายน 2546
"สุวรรณ"จ้องขายทรัพย์สินTPI             
 


   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
เอ็ฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ส
ผู้บริหารแผนไทย
พละ สุขเวช
สุวรรณ วลัยเสถียร




"สุวรรณ" เปิดแผนฟื้นฟูฯทีพีไอ เตรียมโละขายสินทรัพย์บริษัทต่อเนื่อง รวมถึงดึงอดีตผู้ว่าการ ปตท. เป็นที่ปรึกษาด้านปิโตรเคมีบริษัท ผู้บริหาร แผนไทย หวังศาลแต่งตั้งบริหารแผนฟื้นฟูฯ ทีพีไอ 11 มิ.ย.นี้ขณะที่สหภาพแรงงานทีพีไอค้าน เจ้าหนี้ตั้งผู้บริหาร แผนไทย หวั่นกลายพันธุ์เป็น "อีพีแอล 2" บริหารงานทีพีไอผิดพลาดอีก ด้านทีพีไอออกแถลงการณ์เสนอแนว ทางการฟื้นฟูทีพีไอภายใต้แนวทางคำแนะนำของศาลล้มละลายกลาง

จากการประชุมเจ้าหนี้บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมี กัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) ได้โหวตเลือกบริษัท ผู้บริหารแผนไทย จำกัด เป็นผู้บริหารแผน คนใหม่ด้วยคะแนนเสียงกว่า 90% ของมูลหนี้ ล่าสุดทางคณะกรรมการ เจ้าหนี้ ได้ติดต่อนายพละ สุขเวช อดีตผู้ว่าการปตท. เป็นที่ปรึกษาพลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา ประธานกรรมการบริษัท ผู้บริหารแผนไทย

นายสุวรรณ วลัยเสถียร กรรมการบริษัท ผู้บริหารแผนไทย จำกัด กล่าวว่า สาเหตุที่ติดต่อนายพละเป็นที่ปรึกษาบริษัท เพื่อต้องการคำแนะนำอุตสาหกรรมปิโตรเคมี จะมีผลให้บริษัท ผู้บริหารแผนไทยบริหาร งานครบวงจร

การแก้ไขแผนฟื้นฟูฯTPI ขณะนี้มีรายละเอียด แล้ว กำลังรอศาลล้มละลายกลางแต่งตั้งให้บริษัท ผู้บริหารแผนไทย เป็นผู้บริหารแผนฯทีพีไออย่างเป็น ทางการ

เดินหน้าขายทรัพย์สินทีพีไอ

ส่วนเรื่องหลักที่จะอยู่ในแผนฟื้นฟูฯ ได้แก่ การ ทำความเข้าใจกับพนักงาน TPI ขอให้เจ้าหนี้นำเงินทุนหมุนเวียน 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,280 ล้านบาท) ใส่ให้บริษัท เหมือนที่เคยปฏิบัติก่อนหน้านี้ที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และอดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ ทีพีไอ เข้ามาเป็นผู้บริหารแผนชั่วคราว หลังจากปลดบริษัท เอ็ฟเฟ็คทีฟ แพลนเนอร์ส ในเครือเฟอร์เรียร์ ฮอดจ์สัน ที่จดทะเบียนที่หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์ จากการเป็นผู้บริหารแผนฯ ทำให้เจ้าหนี้ระงับหนี้เงินทุนดังกล่าว

รวมทั้ง ทบทวนรายละเอียดแผนฯเดิม และรับทราบตัวเลขที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะประเมินฐานะแท้จริงทีพีไอ และจะหาหนทางแก้ไขต่อไป และการ ขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก TPI ซึ่งมีมาก โดยราคาเสนอขาย จะต้องเป็นราคาที่ดี และโปร่งใส

เรื่องการขายสินทรัพย์ จะแตกต่างจากการปฏิบัติของผู้บริหารแผนฯ เดิม คืออีพีแอล เนื่องจาก ผู้บริหารแผนฯ เดิม ต้องการขายสินทรัพย์เพื่อชำระคืนให้เจ้าหนี้

อย่างไรก็ตาม นายสุวรรณกล่าวว่า บริษัทมั่นใจว่าวันที่ 11 มิ.ย.นี้ บริษัทจะได้รับเลือกเป็นผู้บริหาร แผนฯ ทีพีไอรายใหม่ เพราะได้รับอนุมัติจากเจ้าหนี้แล้ว เมื่อเจ้าหนี้ถือหุ้นทีพีไอ 45% การแต่งตั้งผู้บริหาร แผนฯ รายใหม่ ก็ไม่น่าจะมีปัญหา

หากตั้งผู้บริหารแผนฯรายใหม่เร็ว จะแก้ไขปัญหาทีพีไอได้ดี ซึ่งกรณี TPI มีผลกระทบภาพรวม เศรษฐกิจ และตลาดทุน ซึ่งราคาหุ้น TPI ปรับตัว ดีขึ้นจาก 3 บาท อยู่ที่ 5 บาทกว่าแล้ว

สหภาพฯค้านผู้บริหารแผนไทย

ทางด้านนายวิชิต นิตยานนท์ ประธานสหภาพแรงงานผู้บริหาร เครือทีพีไอ กล่าวว่า วานนี้ (9 มิ.ย.) ทางสหภาพทีพีไอฯได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อ ศาลล้มละลายกลาง เพื่อคัดค้านมติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่เลือกบริษัท ผู้บริหารแผนไทย มาเป็นบริหารแผนฟื้นฟูกิจการต่อจากอีพีแอล

เนื่องจากเห็นว่า การแต่งตั้งบริษัทดังกล่าว ไม่เคารพศาล เพราะศาลมีคำสั่งระบุชัดว่า การเลือก ผู้บริหารแผนรายใหม่ ต้องเป็นที่ยอมรับจากลูกหนี้ คือนายประชัย หรือคณะบุคคลภาครัฐที่เป็นกลาง และมีความสามารถบริหารงาน และจัดการทรัพย์สิน ลูกหนี้

มติดังกล่าว เป็นความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ฝ่ายเดียว สหภาพฯเกรงว่าเมื่อบริหารงานแล้วจะเกิด ความผิดพลาดได้ เหมือนผู้บริหารแผนรายเดิม คือ อีพีแอล

ที่ผ่านมา อีพีแอลได้สร้างความเสียหายซ้ำเติมให้ทีพีไอที่อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งพฤติกรรมและเจตนารมณ์ที่น่าเคลือบแคลงของเจ้าหนี้ที่กระทำผ่านอีพีแอล แสดงให้เห็นความไม่จริงใจในการฟื้นฟูทีพีไอ

ตลอดเวลาที่อีพีแอลเข้ามาเป็นผู้บริหารแผนทีพีไอ ได้ถลุงเงินทีพีไอไปทั้งสิ้น 2,155 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ถึง 1,231 ล้านบาท หรือสูงกว่า 133%

ทั้งที่ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นค่าใช้จ่ายที่อีพีแอลต้องจ่ายเองในการทำแผนบริหารกิจการ เป็นจำนวน ถึง 981 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายที่ปรึกษากฎหมาย 719 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายสำหรับคณะกรรมการเจ้าหนี้ 166 ล้านบาท ที่ปรึกษาทางด้านการเงินและเทคนิค 121 ล้านบาท และค่าบริการรักษาความปลอดภัย 114 ล้านบาท

TPI ออกแถลงการณ์อีก

ด้านทีพีไอได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 ระบุความล้มเหลวในการบริหารแผนทีพีไอ นอกจากขาดความรู้และความสามารถ ในการดำเนินธุรกิจแล้ว ศาลล้มละลายกลางได้ระบุในคำสั่งถอดถอนผู้บริหาร ไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้บริหารแผนขาดความจริงใจ และ ความตั้งใจในการบริหารกิจการ ขาดการควบคุมค่าใช้จ่าย และไม่สามารถดำเนินการผลิต และสร้างผลกำไรก่อนหักภาษี ค่าเสื่อม และดอกเบี้ยได้ตามเป้าหมาย จึงมีคำสั่งให้ถอดถอนผู้บริหารแผน

ขณะที่เจ้าหนี้ปล่อยปะละเลย ไม่ควบคุมการดำเนินการของผู้บริหารแผนอย่างใกล้ชิด ตามหลักการของ Good Governance ทั้งที่คณะกรรมการเจ้าหนี้ ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ที่ผู้บริหารแผนใช้เงินของลูกหนี้จ่ายให้ตลอดเวลาประมาณ 30 เดือน เป็นเงินประมาณ 320 ล้านบาท

ดังนั้น แนวทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามหลักการที่ศาลล้มละลายกลางให้แนวทางไว้ คือ ควรแต่งตั้งผู้บริหารแผนตามหลักการที่ศาลล้มละลาย กลางให้แนวทางไว้ และรัฐบาลได้เสนอแนวทางปฏิบัติ ในรูปแบบคณะผู้บริหารแผนร่วม เพื่อขจัดความขัดแย้งและกำกับดูแลการบริหารกิจการของลูกหนี้ให้เกิดความโปร่งใส ไม่มีผลประโยชน์ขัดกัน

ควรมีการประเมินฐานะทางการเงิน และธุรกิจ ของลูกหนี้ใหม่เพื่อทำการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ รวมทั้งให้ลูกหนี้บริหารกิจการ ต่อไปภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหนี้ เนื่องจากลูกหนี้ มีผู้บริหารที่มีคุณวุฒิและประสบการณ์และมีความสำพันธ์ที่ดีกับพนักงาน โดยลูกหนี้พร้อมจะยอมรับให้เจ้าหนี้เข้ามามีบทบาทในการกำกับดูแลและตรวจสอบ เพื่อให้การบริหารงานโปร่งใส มีจริยธรรม ไม่มี ผลประโยชน์ขัดกัน

รวมไปถึงการกำหนดขอบเขตอำนาจบริหาร และอำนาจอนุมัติ ทั้งด้านการบริหารจัดการ การจัดซื้อจัดจ้าง ตลอดทั้งการบริหารการเงินให้ชัดเจน เพื่อสร้าง Accountability และความชัดเจนในกระบวนการบริหารสรุป

ปัจจุบัน ทีพีไอในฐานะผู้บริหารแผนชั่วคราว ได้เร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจนได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ โดยเพิ่มกำลังการกลั่นน้ำมันได้เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนด อยู่ที่ 130,000 บาร์เรลต่อวัน รวมทั้งยังบริหาร สภาพคล่องให้เพียงพอภายใต้การถูกเจ้าหนี้ตัดสภาพ คล่องจำนวน 3,200 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ลูกหนี้รู้สึกเสียใจที่ไม่สามารถชำระดอกเบี้ยสำหรับเดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคม 2546 คิดเป็นเงินเดือนละประมาณ 320 ล้านบาท รวมเป็น 640 ล้านบาท ให้เจ้าหน้าที่ได้คามกำหนด เนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้เงินสดทั้งหมดที่มีเพื่อดำรงความอยู่รอดของกิจการ

ทั้งนี้ ลูกหนี้พร้อมที่จะชำระดอกเบี้ยให้กับกลุ่มเจ้าหนี้ทันทีที่เจ้าหนี้ยุติการระงับมิให้ลูกหนี้ใช้วงเงินที่อนุมัติอนุมัติเดิมให้กับลูกหนี้ โดยมีการจด จำนองหลักทรัพย์ไว้ถึง 61,000 ล้านบาท หรือเมื่อลูกหนี้มีสภาพคล่องเพียงพอที่จะชำระดอกเบี้ยได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us