Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน14 มีนาคม 2551
จัดสรรวงเงินลุยตปท.ลงตัว บุคคล5ล้าน$สถาบัน10เท่า             
 


   
search resources

Investment




ก.ล.ต.จัดสรรวงเงินไพรเวตฟันด์ลุยต่างประเทศแล้ว เผยนิติบุคคลรับไปรายละ 50 ล้าน$ แต่ทยอยรับครั้งละไม่เกิน 5 ล้าน$ เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ลงทุนได้ไม่เกินครั้งละ 5 แสน$จนกว่าจะเต็มเพดานที่ 5 ล้าน$ สุดไฮเทค ยื่นขอผ่านระบบอัติโนมัติ พร้อมตัดเงินทันทีหาก 30 วันไม่มีการใช้เงิน ส่วนวงเงิน FIF ทบทวนการจัดสรรใหม่ทุกๆ 3 เดือน มีผล14 มีนาคมนี้

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า สำนักงานได้ออกประกาศซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดสรรวงเงินลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งลงนามโดยนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานก.ล.ต.ให้กับบริษัทจัดการกองทุนรับทราบ หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดสรรวงเงินลงทุนเพิ่มอีกจำนวน 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแนวทางการจัดสรรวงเงินดังกล่าว แยกออกเป็นวงเงินสำหรับกองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมถึงวงเงินสำหรับกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวตฟันด์)

โดยในส่วนของกองทุนส่วนบุคคล สำนักงานได้กำหนดวงเงินลงทุนต่างประเทศให้กับผู้ลงทุนที่เป็นนิติบุคคลตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป รายละไม่เกิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะทยอยจัดสรรให้ครั้งละไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อใช้ไปถึง 4 ล้านเหรียญสหรัฐ สามารถขอจัดสรรเพิ่มเติมได้จนกว่าจะเต็มวงเงินที่ได้รับอนุมัติในแต่ละราย

ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาและผู้ลงทุนอื่นๆ นอกเหนือจากนิติบุคคล กำหนดวงเงินลงทุนรายละไม่เกิน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะทยอยจัดสรรวงเงินให้ครั้งละไม่เกิน 5 แสนเหรียญสหรัฐ และเมื่อใช้ไปถึง 4 แสนเหรียญสหรัฐ สามารถขอจัดสรรเพิ่มเติมได้จนกว่าจะเต็มวงเงินที่ได้รับอนุมัติในแต่ละรายเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ การจัดสรรวงเงินลงทุนในต่างประเทศของสำนักงานในกรณีของกองทุนส่วนบุคคลนั้น จะไม่นับรวมกรณีบุคคลต่างชาติหรือนิติบุคคลต่างชาติที่จดทะเบียนในต่างประเทศ และกรณีที่นิติบุคคลสามารรถขอวงเงินลงทุนต่างประเทศได้โดยตรงจากธปท. หากประสงค์จะลงทุนในต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคล จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุมัติวงเงินจากสำนักงาน

โดยขั้นตอนของการขอวงเงินนั้น ให้บริษัทจัดการยื่นขออนุมัติผ่านระบบควบคุมวงเงินในต่างประเทศของสำนักงาน (ระบบ FIA) ซึ่งการยื่นขออนุมัติวงเงินดังกล่าว จะพิจารณาโดยระบบในลักษณะ real time โดยวงเงินดังกล่าวจะมีอายุ 30 วัน หากไม่มีการแจ้งการใช้วงเงินไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อครบระยะเวลาระบบจะดึงวงเงินคงเหลือคืนทั้งหมดโดยอัติโนมัติ ซึ่งระบบดังกล่าวจะเปิดใช้งานในวันที่ 14 มีนาคมนี้

สำหรับการจัดสรรวงเงินของกองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำนักงานกำหนดให้กองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในต่างประเทศ ต้องขอวงเงินจากสำนักงานก่อน โดยให้บริษัทจัดการยื่นคำขออนุมัติจัดตั้งกองทุนพร้อมทั้งระบุจำนวนเงินทุนโครงการต่อสำนักงาน ส่วนกองทุนที่มีนโยบายลงทุนต่างประเทศบางส่วน ให้ระบุสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศด้วย และเมื่อสำนักงานอนุมัติกองทุนดังกล่าว จะนำส่งรายชื่อต่อธปท.ต่อไป

โดยหลังจากสำนักงานอนุมัติวงเงินตามที่ขอไปแล้ว บริษัทจัดการต้องเสนอขายหน่วยลงทุนและจดทะเบียนกองทุนรวมภายในระยะเวลา 30 วันหลังจากวันที่ยื่นหนังสือชี้ชวน ซึ่งหากบริษัทจัดการนั้นไม่จดทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด สำนักงานจะยึดวงเงินคืนทั้งหมด แต่ในกรณีที่จดทะเบียนตามระยะเวลาที่กำหนด ในกรณีที่เป็นกองทุนปิดที่ไม่มีการเสนอขายเพิ่ม ให้บริษัทจัดการคืนวงเงินที่เกินกว่าจำนวนที่ขายได้

ทั้งนี้ สำนักงานจะทำการทบทวนวงเงินดังกล่าวทุกๆ 3 เดือน นับจากเดือนที่รับจดทะเบียน โดยจะพิจารณาวงเงินจากการรายงานยอดคงค้างที่บริษัทจัดการส่งให้ หากยอดคงค้างไม่ถึง 50% ของวงเงินที่ได้รับ สำนักงานจะยึดวงเงินคืนครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ยังไม่ได้นำไปลงทุนต่างประเทศ ณ ขณะนั้น สำหรับกองทุนเดิมที่ได้รับวงเงินไปแล้ว สำนักงานจะยึดคืนครั้งแรก โดยพิจารณาจากยอดคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551 ส่วนการขอวงเงินเพิ่ม กองทุนนั้นต้องมีการลงทุนในต่างประเทศตั้งแต่ 75% ของวงเงินที่ได้รับการจัดสรร

สำหรับกรณีพอร์ตของบริษัทจัดการ สำนักงานกำหนดวงเงินลงทุนในต่างประเทศสูงสุดบริษัทละไม่เกิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจัดสรรให้ครั้งละไม่เกิน 5 ล้านเหรียญ และสามารถขอการจัดสรรเพิ่มเติมได้จนกว่าจะเต็มวงเงินเมื่อใช้ไปถึง 4 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ บริษัทจัดการต้องยื่นขอใช้วงเงินผ่านระบบ FIA ซึ่งสำนักงานจะดึงวงเงินคืนโดยผ่านระบบหากวงเงินที่ได้รับการจัดสรรไม่ได้ถูกใช้ไปภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับการอนุมัติ

สำนักงาน ก.ล.ต. ระบุเพิ่มเติมว่า ให้บริษัทจัดการรายงานการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ และการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคล โดยรายงานแยกรายกองทุน และของบริษัทจัดการ เพื่อจัดส่งให้ ธปท. และสำนักงานเป็นรายเดือน ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2551 เป็นต้นไป

ก่อนหน้านี้ สำนักงานก.ล.ต. รายงานว่า หลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พิจารณาขยายวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศให้สำนักงาน ก.ล.ต. อีก 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้เมื่อรวมกับวงเงินการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่ง ธปท. ได้อนุมัติไว้แล้ว และวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศส่วนที่ต่ำกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ (เดิม ธปท. เป็นผู้อนุมัติให้ผู้ลงทุนโดยตรง) จะมีวงเงินต่างประเทศไว้จัดสรรรวมทั้งสิ้น 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ กำนหนดให้สำนักงาน จัดสรรวงเงินการลงทุนในรูปแบบต่างๆ และการโอนเงินออกต่างประเทศ ทั้งการลงทุนในกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทหลักทรัพย์ ที่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วย บุคคลทั่วไปที่ไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) หรือลงทุนตรงผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ไม่กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของคนไทยในบริษัทต่างประเทศมาจดทะเบียนเพื่อระดมเงินในตลาดหลักทรัพย์ที่ร้อยละ 25 และการสนับสนุนให้ออกตราสารทางการเงินสกุลบาทที่อ้างอิงกับหลักทรัพย์ต่างประเทศ เช่น Transferable Custody Receipt (TCR)

นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้บุคคลธรรมดาสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่าน บล. ในฐานะนายหน้าหรือผู้ค้าได้ โดยให้ลงทุนได้เฉพาะหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนใน Regulated Exchange หรือ Sovereign Bond เท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us