อัศวิน คงศิริ ได้ชื่อว่า เป็นผู้จัดการทั่วไปคนแรกของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ที่ก้าวขึ้นมาจากความเป็นลูกหม้อเก่าด้วยอายุการทำงานยาวนานถึง 15 ปีเต็ม
จังหวะที่เขาได้รับเลือกสรรให้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในการบริหาร บรรษัทฯ ตรงกันข้ามกับขวบปีแรกของทศวรรษที่
4 ของบรรษัทพอดี เป็นขวบปีแรกของการพลิกโฉมหน้าบทบาทของบรรษัทฯ ในอนาคตด้วยการปรับปรุงโครงสร้างการบริหาร
เน้นจริยธรรมของการเป็นนักพัฒนาอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ก็พยายามแก้ปัญหาเรื้อรังเรื่องแหล่งเงินทุน
สิ่งที่อัศวินริเริ่มนี้จะทำให้บทบาทของบรรษัทฯ เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็นมากว่า
30 ปีหรือไม่ เป็เรื่องที่ต้องใช้เวลาพิสูจน์กันอีกนาน!!!
ตลอดเวลากว่า 3 ศตวรรษ ของ
การก่อตั้งบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไม่เคยมีการตั้งคำถามให้เป็นที่คลางแคลงใจกับบรรดาผู้บริหารระดับสูงแต่อย่างใด
ว่าบรรษัทฯมีความจำเป็นแค่ไหนต่อการพัฒนาอุตสหกรรมในประเทศ?
แต่ครั้นเศรษฐกิจกลับมาคึกคักเฟื่องฟูขึ้น อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่ปี 2529
ก็เริ่มมีคำถามประเภทนี้เกิดขึ้น และล่าสุด ในการประชุมผุ้บริหารระดับสูงของบรรษัทฯประจำปี
2538 ก็ยังมีการอภิปรายประเด็นนี้กันอย่างกว้างขวาง
อัศวิน คงศิริ กรรมการ และผู้จัดการทั่วไป บรรษัทฯ กล่าวกับ " ผู้จัดการ"
ว่าในที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น คณะกรรมการฯ
มีความเห็นตรงกันว่า จำเป็นที่จะต้องมีบรรษัทฯอยู่ต่อไป เราเชื่อว่ายังมีกลุ่มอุตสาหกรรมหลายกลุ่มที่ยังต้องการความช่วยเหลือ
ในฐานะที่บรรษัทฯเป็นสถาบันที่เป็นกลางและระบบการเงินไทยยังเป็นกลุ่มๆ มีหลายอุตสาหกรรมที่ขึ้นอยู่กับกลุ่มนั้น
ซึ่งผูที่เข้ามาแข่งขันใหม่อาจจะไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นกลาง
ว่าไปแล้วเรื่องของเรื่องเกิดขึ้นจากรายงานการศึกษาของธนาคารโลกที่เสนอผลการ
ศึกษาว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตขึ้นมายยู่ในระดับที่ไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานพิเศษเพื่อ
คอยช่วยอุดหนุนการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมอีกต่อไป
นั่นคือบรรษัทฯ หมดสิ้นบทบาทสนับสนุนการลงทุนที่ทำมาเป็นอย่างดีถึง 30
ปีแล้ว
มันเป็นความเห็นส่วนหนึ่งของสถาบันระหว่างประเทศที่มีผู้คัดค้านมากมาย
ม.ร.ว.จตุมงคล โสนกุล อธิบดีกรมบัญชีกลาง ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการบรรษัทฯ
และเป็นผุ้หนึ่งที่คัดค้านผลการศึกษาของธนาคารโลกกล่าวว่า " ผมมคิดว่าบรรษัทควรจะเน้นการสนับสนุนอุตสาหกรรมเกิดใหม่มากว่าอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือกลางที่ก่อตั้งขึ้นมาแล้ว"
มันเป็นความเห็นที่สอดคล้องกับสิงที่อัศวิน กล่าว แต่บรรษัทฯ จะสามารถดำเนินงานตามบทบาทนี้ได้
มากน้อยแค่ไหน คงต้องพิจารณาแนวการบริหารนโยบายของอัศวินเป็นผู้บิรหารบรรษัทฯ
คนปัจจุบัน
ในบรรดาอุตสาหกรรมที่มีอยู่มากมาย บรรษัทฯได้ให้ความสนับสนุนกับอุตสาหกรรมสำคัญฯ
ที่มผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศสูง เช่นปิโตรเคมี รวมทั้งอุตสาหกรรมขนายย่อมและอุตสาหกรรมท้องถิ่นด้วย
นี่คือกลุ่มอุตสาหรรมที่บรรษัทฯ จะให้การสนุนสนุนต่อไป โดยการสนับสนุนนั้นไม่ได้ทำเฉพาะด้านเงินกู้เพียงอย่างเดียว
แต่รวมถึงการให้คำปรึกษาการจัดโครงการ จัดการเรื่องการก่อสร้าง โรงงานมาตรฐานสำเร็จรูปพร้อมสาธารณูปโภค
บริการเช่าซื่อทรัพย์สินที่จำเป็นในการประกอบการ และบริการจัดหาผู้ร่มทุนและรวมกิจการ
บริการจัดหาแหล่งเงินกู้
แทบจะเรียกได้ว่า บรรษัทฯ จัดหาทุกอย่างให้ผู้ประกอบการกันเลยทีเดียว
และนี่ยังเป็นนโยบายที่อัศวินยึดถือต่อไปในทศวรรษที่ 4 หลังจากที่นโยบายนี้ริเริ่มมาตั้งแต่ยุคปลายของอดีตผู้จัดการศุกรีย์
แก้วเจริญ ซึ่งครองอำนาจการบริหารตลอดทศววรรษที่ 3 ของบรรษัทฯ
อัศวิน กล่าวว่า " ปี 2534 าจะเป็นปีที่น่าท้าทายในเรื่องการพัฒนประเทศอย่างยิ่ง
เพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีมาอย่าง่ตอ่เนื่องจะเริ่มชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี
บรรษํทฯ ยังคงมุ่งที่จะเป็นสถาบันการรเงินเพื่อการพัฒนา สนับสนุนการเพิ่มกำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม"
ทั้งนี้เป็นทีถกเถียงกันเสมอว่าบทบาทของบรรษัทฯควรจะเป็ฯสถาบันการเงินแบบไหนกันแน่
ระหว่างการเป็น development bank และ development finance ซึ่งมีรูปแบบที่ดำเนินการโดยรัฐบาลหรือเอกชนก็มี
ได้รับการสนับสนุนจากรัฐในเรื่องของแหล่งเงินทุน การค้ำประกันเงินกู้และสิทธิพิเศษต่างๆ
หรือการเป็นสถาบันการเงินที่เน้นการร่วมทุนเป็นหลัก ( development corporation)
มีการให้กู้ช่วยก่อตั้ง จัดการและสนับสนุนด้านการดำเนินงานอื่น ๆ หรือการเป็นสถาบันการเงินที่ให้เงินกู้ระยะยาว
( long term credit bank) ซึ่งมีการดำเนินงานในเชิงธุรกิจแบบธนาคารพาณิชย์
ในบรรดาแนงคิดเหล่านี้ อัศวินได้เปิดเผยว่า บรรษัทฯไม่ได้ยึดถือรูปแบบสถาบันได้อย่างตายตัว
" การพูดถึง LTCB มักทำให้ไขว้เขว เพราะคนจะนึกถึงรูปแบบของญี่ปุ่น
ซึ่งเขาก็สามารถทำเรื่องเงินฝากแบบที่เราใช้มากที่สุด ดูเหมือนจะเป็นของเกาหลี
แต่เดิมเป็นแบบบรรษัท ในปัจจุบัน กอ่น แล้วต่อมา จึงเปลี่ยนเป็น Korea Long
term credit Bank ในภายหลัง
จุดที่อัศวินเน้นตรงนี้ก็คือ การที่บรรษัทไม่สามารถฯ ดำเนินงานอย่างธนาคารพาณิชย์ได้
ซึ่งทำให้บรรษัทฯ ไม่ใช่ LTCB แบบฉบับญี่ปุ่นเต็มตัว บรรษัทฯ จึงหันไปเพิ่มกิจกรรมอื่น
ๆ มากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการระดมเงินและข้อจำกัดในการแข่งขันกับสถาบันการเงินอื่น
ๆ นี่เป็นที่มาของการเน้นบริการด้านวานิธนกิจและการ่วมลงทุนมากขึ้นในปีแรกของทศวรรษที่4
อัศวิน เปิดเผยกับ " ผู้จัดการ" ด้วยว่า นโยบายสำคัญอีกประการหนึ่งที่เราเริ่มมาหลายปี
และยึดถือเป็นนโยบายระยะยาวในปีต่อ ๆ ไป คือการให้การสนับสนุนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
เรามีกู้พิเศษช่วยทางด้านี้ คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยปกติ และยังมีการให้ข้อมูลคำปรึกษาด้วย
สินเชื่อเพื่อป้องกันและขจัดมลพิษ และสินเชื่อเพื่อการประหยัดพลังงาน เป็น
2 โครงการเงินกู้ในด้านนี้
ส่วนอุตสาหกรรมที่ทางบรรษัทฯ ให้การสนับสนุนเพื่ออนุรักษ์เรื่องสิ่งแวดล้อม
21 กลุ่ม คือบรรดาโรงงานที่มีกากอุตสาหกรรมที่มีอันตราย จำเป็นที่จะต้องมีโรงงานพิเศษขึ้นมาดูแลในเรื่องนี้
ซึ่งแต่ละบริษัทคงไม่สามารถสร้างระบบขึ้นเอง โดบลำพังได้ เพราะจะไม่คุ้ม
แนวคิดของอัศวิน ในด้านนี้คือ " ผมพยายามจะสนับสนุนให้มี processing
plant รวบรวมโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีกากอุตสาหกรรมให้เข้ามาอยู่ด้วยกัน"
อีกกลุ่มหนึ่งเป็นอุตสหกรรมขนาดกลางและเล็ก บรรษัทฯ มีนโยบายที่จะแบ่งออกเป็นประเภทต่าง
ๆ เช่นกลุ่มอุตสาหกรรมอหาร กลุ่มเกษตรอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีกากอุตสาหกรรมต่างชนิดกัน
วิธีการที่บรรษัทฯ จะใช้เงินกู้อุตสาหกรรมที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมก็โดยการจัดสัมมนาให้ความรู้
ความเข้าใจต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม เสนอการป้องกันทางเลือกต่าง ๆ โดยพยายามชักจูงว่าทางเหล่านี้นับเป็นวิฤธีที่ราคาถูก
แถมท้ายด้วยการเสนอเทคโนโลยี ที่จะใช้ รวมทั้งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำและการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อกระแสเงินสดหมุนเวียนหากมีการลงทุนในด้านนี้
นี่เป็นข้อเสนอที่ปรุงใส่จานมาวางตรงหน้านักลงทุนไม่แตกต่างไปจากแนวทางที่บรรษัทฯ
เคยใช้มา ก่อนหน้านี้
สถาบันการเงินที่ให้การสนับสนุนเงินกู้เพือจัดการปํญหาสิ่งแวดล้อมเสมอมา
คือ KIW หรือสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาแห่งเยอรมันตะวัะตก ซึ่งเป็นแหล่งทุนสำคัญแหล่งใหญ่ของบรรษัทฯในเยอรมันี
อัศวิน กล่าวว่า " ทาง KIW พอใจกับเรามาก เงินกู้ก้อนนี้ เราได้มาเป็นที่
8 แล้ว มีส่วนหนึ่งของดอกเบี้ยที่เขายกให้เราใช้เป็นกองทุนช่วยในการพัฒนา
ซึ่งเราก็เอามาใช้จัดสัมมนา และลดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ให้กับโครงการสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน"
ในส่วนอุตสาหกรรมขนาดย่อมนั้น ปรากฏว่ากระทรวงการคลังแลกระทรวงอุตสาหกรรม
มีแนวทางล่าสุดออกมาในการที่จะจัดตั้งบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ
small industrial finance corp of thailand โดยจะมีการออกพระราชบัญญญัติคล้ายคลึงกับการจัดตั้งบรรษัทฯ
และจะให้เอกเชนเป็นผู้บริหาร
ลักษณะงานดูเหมือนจะซ้ำซ้อนกับนโยบายการสนับสนุนอุตสาหกรรมขนายย่อมของบรรษัทฯ
อย่างไรก็ดี อัศวินให้ความเห็นว่า " ทางบรรษัทฯ ไม่คัดค้านอยู่แล้ว
และคิดว่า เป็นการดีที่จะมีหน่วยการปล่อยสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมที่บรรษัทฯ
ทำอยู่ไม่ประสบความสำเร็จแต่อย่างใด แถมยังขาดทุนมา
โดยตลอด แต่ทำทำอยู่ได้ ก็เพราะมีแหล่งเงินทุนผ่อนปรนสนับสนุน
อัศวินกล่าว่า " สาเหตุที่ขาดทุน ก็เพราะสินเชื่อประเภทนี้ มีค่าใช้จ่ายสูง
จะต้องมีการสร้างระบบสาขา ขึ้นมาดูแลเพือ่ให้ความสะดวกแก่ผู้กู้รายย่อย ซึ่งต้องมีการลงทุนสูง
ผมมีความรู้สึกห่วงอยู่ และเรื่องแหล่งเงินกู้ ถ้าในประเทศก็คงจะมีรัฐบาลและธนาคารชาติ
ส่วนแหล่งเงินทุนในต่างประเทศก้มีแต่จะต้องเจอปัญหาเดียวกัน กับที่เราพบก็คือเรื่องความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน
ผมว่าการจัดตั้งอาจทำได้ลำบาก"
แนวคิดเรื่องบรรษัทเงินเทุนอุตสาหกรรม ขนาดย่อม นั้นมีมานานหลายปีแล้ว
กระทรวงการคลังเคยนำเสนอร่าวงเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแต่ไม่สำเร็จ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงในคณะรัฐบาล
หลายครั้งหลายหน ทว่าตอนนี้ ก็มีการกล่าวถึงกัน ขึ้นมาอีก และรัฐมนตรีคลังอนุมัติในหลักการแล้วด้วย
ดร.วีรพงา รามากูร อดีตรัฐมนตรี ว่าการกระทรวง การคลัง เคยเปิดเผยว่า "
แนวทางที่จะทำได้คือการ ยกระดับ สำนักงานธนกิจอุตสาหกรรม ขนาดย่อม ขึ้นมาเป็นบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นการเฉพาะกับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ในวงเงินไม่เกินรายละ
5 ล้านบาท ให้เอกชนบริหารงานและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ทางกระทรวงการคลังจะถือหุ้นรายย่อย
จัดตั้งบรรษัทฯ ขึ้น และคาดว่า จะมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้นประมาณ 150 ล้านบาท"
การปัดฝุ่น หยิบเรื่องบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมขึ้นมาในครั้งนี้
มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง ทางการเมืองอย่างไร หรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่น่าสงสัยอยู่
เพราะในภาวะเงินฝืดดอกเบี้ยแพง ค่าแรงสูง ใครที่คิดทำอุตสาหกรรมขนาดเล็กด้วยทุนเพียง
5 ล้านบาท คงไม่อาจอยู่รอดได้
ขนาดบรรษัทฯ ยังยอมรับว่าเงินปล่อยสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมรายละไม่เกิน
10 ล้านบาทนั้น ปีหนึ่ง ๆ ทำได้แค่ 1,000 กว่าล้านบาท เท่านั้น และก็ขาดทุนมาโดยตลอด
ปัญหาสำคัญมาก ๆ อย่างหนึ่ง ก็คือจะระดมทุนจากแหล่งเงินใดมาปล่อยกู้ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งเงินในประเทศ
หรือต่างประเทศ นี่คือสิ่งที่อัศวินให้ความเป็นห่วงอย่างมาก ๆ
ในส่วนฯ ของบรรษัทฯ เองนั้น ก็มีปัฯหาเรื่องการระดมทุนไม่น้อย แต่อาศัยความชำนาญในกิจการมาหลายปี
และเชื่อถือในเครดิตที่สถาบันการเงินต่างประเทศมอบให้ ซึ่งไม่รู้ว่า เป็นนโยบายของสถาบันการเงินเหล่านั้น
ที่จัดสรรเงินช่วยหลือสำหรับประเทศกำลังพัฒนาอยู่แล้วหรืออย่างไร และบ้างว่าเป็นเครดิตจากการที่มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันมากกว่าที่จะเป็นเครดิตของบรรษัทฯเอง
ไม่ว่าจะอธิบายอย่างไร ข้อเท็จจริงคือ บรรษัทฯไม่มีปัญหาในเรื่องแหล่งงเงินกู้ต่างประเทศนัก
ที่มีปัญหามาก ๆ กลับเป็นเรื่องการบริหารเงินกู้ เหล่านั้น โดยเฉพาะในเรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
บรรษัทฯ ประสบปัญหาการขาดทุนจริง จากอัตราแลกเปลียน เป็นจำนวนมาก เมื่อปี
2530 ปรากกว่าผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงเขยิบพรวดจาก 437 ล้านบาท ในปี 2529
เป็น 705 ล้านบาท ในปี 2530 และยังเพิ่มขึ้นอีก 909 ล้านบาท ในปี 2531
เหตุแห่งการขาดทุนมีหลายประการ ตั้งแต่ การที่กระทรวงการคลังเปลี่ยนระบบการเทียบค่าเงินบาทไว้กับเงินสกุลต่าง
ๆ ในตะกร้าเมือ่ปี 2527 ซึ่งในจังหวะนั้น ค่าเงินเยน ดอยช์มาร์ก และสวิสฟรังก์มีแนวดน้มแข็งขึ้น
ในทางกลับกันก็คือ เงินขบาทมีค่าอ่อนตัวลง
เงิน 100 เยน เมื่อปี 2527 มีค่าเท่ากับ 10.89 บาท ปี 2528 เท่ากับ 13.28
และปี 2529 เท่ากับ 16.49 แต่ครั้นปี 2530 ค่าเงินกลับแข็งขึ้นถึง 20.42
ปัจจุบันบรรษัทฯ มีตัวเลขการขาดทุนมาก อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั้งหมดประมาณ
6,000 ล้านบาท แยกเป็นผลขาดทุน ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง รอตัดบัญชี 4,300 ล้านบาท
จำนวนหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมดในปัจจุบันเท่ากับ 13,000 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ทางการเงินให้ความเห็นว่า " บรรษัทน่าจะมีปัญหาเรื่องการบริหารหนี้
ค่อนข้างมาก เพราะยอดขาดทุนจริงจากอัตราแลกเปลี่ยนของปีนี้ คือตัวเลข 1,700
ล้านบาท ก็ปาเข้าไปตั้ง 13% ของยอดเงินกู้ทั้งหมด 13,000 ล้านบาทแล้ว ไม่รู้ว่า
เมือ่เอามาเปรียบเทียบเปอร์เซนต์ กับสุ่วนผู้ถือหุ้นในปีนี้จะเป็นเท่าไหร่
แต่อย่างไรก็ตาม บรรษัทฯ ก็คงจะมีวิธีที่จะไม่ให้ผลการขาดทุนนี้ไปกระทบผลการดำเนินงานของบรรษัทฯ
มากนั้ก
ขณะเดียวกัน สัดส่วนหนี้เงินกู้ของบรรษัทฯ ในส่วนที่เป็นเงินเยน ถึงจะมีเปอร์เซนต์ลดลงเมื่อเทียบกับวงเงินกู้ทั้งหมดของบรรษัทฯ
แต่ปรากฏว่า ยังคงมีสัดส่วนสูงกว่าสกุลเงินอื่นอย่างมาก
ในปี 2533 นีค้ อัศวิน เปิดเผยว่า " ในบรรดาเงินกู้ต่างประเทศทั้งหมด
จะมีเงินเยน 30 ดอยช์ มาร์ก และสวิสฟรังก์อย่างละ 15% และดอลลาร์กับสกุลอื่น
ๆ อีก 40%
"ผู้จัดการ" คาดหมายว่า เมื่อเทียบกับสัดส่วนเงินกู้ทั้งหมด
ก็คงจะอยุ่ในอัตราไล่เลี่ยนกับปีที่ผ่านมา ๆ ซึ่งบรรษัทฯมีทิศทางที่จะระดมเงินภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น
จากปี 2528 ที่มีเงินสกุลบาทเพียง 28% ของวงเงินที่ระดมมาทั้งหมด ก็ได้เพิ่มขึ้นเป็น61%
ในปี 2532
อัศวิน กล่าวว่า " บรรษัทฯ มีนโยบายที่จะรักษาสัดส่วนหนี้ต่างประเทศในประเทศที่
40:60"
แหล่งเงินกู้ในประเทศที่บรรษัทฯ สามารถหาได้เพิ่มมากขึ้น คือจาการออกหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของบรรษัทฯ
เอง และตราสารบรรษัทฯ โดยนักลงทุนรายใหญ่ คือธนาคารออมสิน ซึ่งลงทุนปีละประมาณ
3000-4,500 ล้านบาท และมีแนวโน้มว่าอาจจะเพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้บรรษัท ยังพยายามเสนอแนะและผลักดันให้ธนาคารชาติและกระทรวงการคลังอนุมัติให้หุ้นกู้ฯ
ของบรรษัทฯ ใช้ถือเป็นพันธมิตรสำรองของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินได้
เรือ่งนี้อัศวินเปิดเผย ว่า " ผู้ว่า วิจิตร รับปากจัดการให้ และกระทรวงการคลังก็
้ให้การสนับสนุนในทางหลักการแล้ว คิดว่าจะออกการสนับสนุนในทางหลักการแล้ว
คิดว่าจะออกมาก่อนปลายปี แต่พอดี แบงก์ชาติลดสำรองพันธบัตรลงอีก ทางบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
ก็ ลดสำรองลงด้วย ไม่อย่างนั้น จะช่วยให้เราขายหุ้นกู้ได้มากทีเดียว"
ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของบรรษัทฯ คือบรรษัทฯ มีทางเลือกไม่มากนักในการระดมทุนภายในประเทศ
โดยเฉพาะในภาวะที่อัตราการอมในประเทศยังมีไม่มากพอ และที่ร้าย คือเครื่องมือในการระดมเงินจาหนี้ในประเทศยังไม่พัฒนา
โดยเฉพาะ ในตลาดรอง ( secondary market)
นี่ไม่ใช่ปัญหาของบรรษัทฯ แต่เพียงรายเดียว สถาบันการเงินอื่น ๆ ก็มีปัญหานี้มาก
ๆ พอ แต่สำหรับบรรษัทฯ อาจจะร้ายแรงกว่าในแง่ที่ว่า บรรษัทฯ ไม่มีวิธีหารายได้ในทางอื่น
ๆ เหมือนสถาบันการเงินทั่วไป
บรรษัทฯ พยายามดิ้นรนดวยการเสนอเพิ่มวงเงินกู้จากธนาคารออมสินมากขึ้น ขอให้หุ้นกู้ของบบรษัทฯ
ใช้ถือเป็นพันธบัตรสำรองได้ และการพัฒนาเครื่องมือในการระดมเงิน เช่น exchange
ble security รวมทั้งการพัฒนาตลาดรองโดยเฉพาะทางด้านนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่บรรษัทฯ
ต้องการเป็นอย่างมาก
ในเรื่องของ wxchaneeable security นั้น อัศวิน เปิดเผย " ผู้จัดการ"
ว่าเรื่องนี้กำลังทำอยู่ รันเป็นเรื่องซับซ้อนและยุ่งยาก พอสมควร เรากำลังคุยกับอินเวสเม้นท์
แบงก์หลา
ยแห่งทั้งในและต่างประเทศ อย่างโซโลมอน บราเธอสร์ เชสแมนฃฮัตตัน เจพีมอร์แกน
พวกเขามีความคิดหลายอย่าง จะเอาหุ้นตัวไหนมาแหลง ในราคาเท่าไหร่ ดอกเบี้ยเท่าไหร่
และยังต้องดูภาวะตลาดด้วย ช่วงนี้ราคาหุ้นไม่ดี บรรษัทฯ อาจจะไม่ได้ประโยชน์เต็มที่
หากตลาดดีก็อาจจะเอามาทำ"
ส่วนการเจรจากับธนนาคารออมสิน ในการที่จะมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นนั้น
ปรากกกว่าอัศวินได้เจรจากับนิพนธ์ พร้อมพันธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและมีความเห็นสอดคล้องกันว่า
ในเรื่องที่จะให้ธนาคารออมสินเข้าถือหุ้นบรรษัทฯ และบรรษัทฯได้ถือหุ้นในธนาคารออมิสนด้วย
เมื่อความเห็นนี้แพร่งพรายออกมา ปรากฏว่า มีผู้คัดค้านมากมาย มร.ว. จตุมงคล
โสณกุล อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าวว่า " มันเป็นเรื่องผิดหลักกลางหากบรรษัทฯเกิดดำเนินธุรกิจผิดพลาดมีความเสียหาย
ก็จะพลอยมีผลกระทบไปถึงธนาคารด้วย ซึ่งเป็นเรื่องไม่น่าเสี่ยง"
ผลสุดท้าย อัศวินเปิดเผยว่า " จะเข้าไปถือหุ้นธนาคารออมสินนั้นคงตกไปแล้ว
บรรษัทฯ คงไมาเข้าไปถือหุ้นในธนาคารออมสิน แต่ธนาคารออมสินสามารถเข้ามาถือหุ้นในบรรษัทฯ
ได้"
ทั้งนี้ เป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่า เมื้อหุ้นกู้บรรษัทฯ ที่ธนาคารออมสินถืออยู่ครบกำหนดแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
หากธนาคารฯ ไม่ขายไปก่อน ธนาคารฯ ก็สามารถแปลงมาถือหุ้นสามัญของบรรษัทน ได้
บรรษัทฯ มีแผนการที่จะเพิ่มทุนในปี 2533 จำนวน 900 ล้านบาท โดย 400 ล้านบาท
ในจำนวนนี้ ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการฯ เรียบร้อยแล้ว
ส่วนมาตรการเพื่อแก้ปัญหาการชำระหนี้รวมส่วนที่เป็นผลจากากรขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนและมาตรการป้องกันความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนนั้น
อัศวินเปิดเผย "ผู้จัดการ" ว่า ผม ใช้วิธี swap หนี้มาหลายครั้ง
แล้วแต่ทำในสกุลเงินตราต่างประเทศ เพราะตลาดรองทาง
ด้านหนักในประเทศเรายังไม่เกิด ผมก็อยากทำ swap เป็นเงินบาทระยะยาว แต่ทำไม่ได้
นอกจากนี้ ก้ใช้วิธี deffasance โดยเริ่มกับเงินกู้เยน จำนวน 4,500 ล้านบาท
เดมื่อปีที่แล้ว ส่วนปีหน้า ผมจะทำ prepayment คือชำระคืนล่วงหน้า จำนวนหนี้ที่มีทั้งหมด
13,000 ล้านบาท โดยทะยอยชำระเป็นไปๆ ไป ซึ่งจะเริ่มในปีหน้า 3,000 ล้านบาทก่อน
เป็นเงินกู้ของ ADB และ World bank ซึ่งมีหลายสกุล
มาตรการ defeasance หมายถึงการนำเงินไปลงทุนในเงินต่างประเทศสกสุลเดียวกับที่เป็นหนี้ของบรรษัทฯ
โดยจำนวนเงินและระยะเวลาการลงทุนสอดคล้องกับตรารางชำระหนี้เงินกู้ เพื่อนำเงินจำนวนดังกล่าวและดอกผลที่เกิดขึ้นจาการลงทุนไปชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเงินกุที่เป็นสกุลเดียวกันตามตาราชำระหนี้นั้น
ส่วนการทำ prepayment เป็นการรชำระหนี้ก่อนครบกำหนด โดยบรรษัทฯ ไม่อยากจะ"
เสี่ยง" เสียอัตราดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น เมื่อครบกำหนดชำระและอีกประการหนึ่งก็สามารถป้องกัน
ความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนได้ด้วย
หลังจากที่บรรษัทฯ มีประสบการณ์ การขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน จนประเด้นนี้บานปลายกลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก
ในส่วนที่เกี่ยวกับการได้รับเงินชดเชยผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนของบรรษัทฯ
บรรษัทฯฯ ได้เริ่มใช้เครื่องมือการบริหารหนี้ต่าง ๆ ดังที่กล่าวมา และคาดว่าจะพิจารรามาตรการการบริหารนี้มากขึ้นนับจากช่วงนี้ไป
อย่างไรก็ดี ปัญหาเรื่องการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้มีผลกระทบในเรื่องการประกอบการของบรรษัทฯ
แต่อย่างใด บรรษัทฯ คงทำกไรสุทธิในแต่ละปีเพิ่มขึ้นเมาอ จากปี 2529 มีกำไรสุ่ทธิ
ในแต่ละปี เพิ่มขึ้นเสมอ จากปี 2529 ทำกำไรสุทธิ 256 ล้านบาท เพิ่มเป็น 276,352,และ
451 ในปี 2530 2531 และ 2532 ตามลำดับ
ในส่วนของอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น เฉลี่ยเป็นตัวเลขชี้วัดความสามารถในการดำเนินงานอย่างหนึ่ง
ปรากฏว่า ว่าแม้จะมีตัวเลขสูงสุดในปี 2528 ที่ 14.9% และลดลงเป็น 10.9 %
ในปี 2529 แต่บรรษัทฯ ก็ได้พยายามเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน จน มีผลตอบแทนแทนกระเตื้องขึ้นมาเป็นลำดับ
ณ ปี 2532 อยู่ที่ 11.5%
คาดหมายว่าสิ้นปี 2533 ตัวเลขน่าจะออกมาดีไม่แพ้กัน
กล่าวได้ว่าประเด็นเรื่องการบริหารหนี้ที่เป็นทุนไม่น่ามีปัญหาใหญ่ของบรรษัทฯในยุคของอัศวิน
ซึ่งรวมแก้ไขวิกฤติ บรรษัท ฯ เรื่องการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนมาก่อนหน้านี้แล้ว
แต่ปัญหาที่ท้าทายอัศวินในทศวรรษที่4จากนี้ไปคือเรื่องการบริหารภายในให้มีประสิทธิภาพ
ต่างหาก
อัศวิน ยอมรับกับ " ผู้จัดการ" ว่า " เจ้าหน้าที่ของบรรษัทฯยังไม่ได้ทำงานกันอย่างเต็มที่
ซึ่งมีนไม่ใช่ความผิดของพวกเขา มันเป็นเรื่องของระบบและสถาบัน ผมก็พยายามปรับเปลี่ยนโครงสร้างตำแหน่งงาน
มันคงต้องค่อย ๆ ดูว่า เราจะมีมีวิธีมำงานอย่างไร ตัดขั้นตอนการทำงานตรงไหนออกได้บ้าง
โดยไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของเรา"
ทั้งนี้หลัง จากการที่อัศวิน เข้ามาดำเรงตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการ ทั่วไปตามคาดหมาย
ขอองวงการเมือ่เดือน กุมภาพันธ์ 2533 สองเดือนให้หลังก็มีการเปลี่ยนแปลงดครงสร้างกากรบริหารงานใหม่
หลักการคือให้มีการคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น มีการตั้งหน่วยงานใหม่ ๆ เพื่อรองรับปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น
และคาดหมายว่าจะเป็นการขยายบริการในด้านนั้น ๆ ด้วยคือ สำนักโครงการร่วมทุนและสำนักวานิชธนกิจ
ใฝนส่วนของรองผู้จัดการทั่วไป คนที่ขึนมาแทน ก็เป็นไปตามความคาดหมาย ด้วยเหมือนกัน
คือ อโนทัย เตชะมนตรีกุล ส่วนกวี โตวิจิตร ได้รับเลื่อนขึ้นมาเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป
มันเป็นยุคที่ลูกหม้อได้เขยิบขึ้นมาสวมตำแหน่งต่าง ๆ โดยไม่มีการพลิกโผแต่อย่างใด
หากมองในอีกแง่หนึ่งอาจพูดไดว่า นอกจากลูกหม้อเหล่านี้ แล้ว ก็ไม่มีรายชื่อใครที่จะมาทำให้โผพลิกได้
ทั้งนี้ทั้งนั้น บรรษัทฯ ได้สูญเสียคนทีผีมือไปเป็นจำนวนมากในช่วงหลายปีก่อนหน้านี้
และคนเหล่านั้นก็ล้วนไปได้ดิยได้ดีในวงการบริหารการเงินและการบริหารข้อมูลงานวิจัยแทบทั้งสิ้น
ในส่วนของผังงานในปี 2533 รองอโนทัย ดูแลในสวน president function gropup
พจนีย์ว่องตระกูล ดูแลงาน capital market group แ
ละคาบเกี่ยวไปถึงฝ่ายอำนวยการสาขาและสำนักอุตสาหกรรมขนาดย่อมด้วย
สันต์ โชติพฤกษ์ ดูแลsupporting group และกวี โตวิจิตร ที่เพิ่งได้รับการโปรโมทขึ้นมาได้ดูแล
project financing froup ยกเว้น 2 ส่วนที่พจนัยเข้ามาดูแล
สังเกตได้ว่า การแบ่งสายต่าง ๆ หดแคบลงเหลือ 4 สายขณะที่ในระดับฝ่ายมีทั้งยุบและเพิ่มเพื่อให้สอดคล้องกับการขยายบริการอันเป็นนโยบายหลักในทศวรรษนี้
อัศวิน กล่าว่า" ผมเริ่มตั้งสำนักงานวานิชธนกิจ มาไม่นาน แต่ก็มีผลงานพอสมควร
เราทำ underwrite ไ ไปแล้วรวม 21 ราย ให้คำปรึกษา ดครงการลงทุนรายใหญ่ 1
ราย คือ โครงการทางด่วนคร่อมคลองแสนแสบของกลุ่มรัตนะการเเคหะ และในอนาคตกำลังศึกษาเรื่องการทำ
credit rating ซึ่งการจัดตั้งสถาบันนี้คงแยกออกมาจากหน่วยงานหน่วยงาน อิสระ
บรรษัทฯ เพียงแต่เป็นผผุ้ถือหุ้นรายหนึ่งเท่านั้น"
ในเรื่องของดครงสร้างเงินเดือน บรรษัทฯ มีดครงสร้างอิง
กับแบงก์ชาติ อัศวินเปิดเผยว่า " ทางแบงก์ชาติมีการปรับไปเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
เป็นการปรับไปเมื่อเดือนเมาายน ที่ผ่านมา เป็นการปรับตามอัตราเงินเฟ้อ ของบรรษัทฯ
เราก็ปรับเมื่อเดือนสิงหาคม แต่ว่าไม่ถึงของแบงก์ชาติ เราปรับมากไม่ไหว ต้องค่อย
ๆ ทำ"
อัศวิน กล่าวด้วยว่า" หลายปีที่ผ่านมาเรามีปัญหาสมองไหลสูญเสีย คนมีฝีมือไปมาก
ปีที่แล้ว เสียไปประมาณ 90 คน แต่ปีนี้ลดลงมาหน่อย แค่ 50 คน ซึ่งทุกบริษัทก็โดนเหมือนกัน
แม้จะสุญเสียสมองสำคัญไปบ้าง แต่บรรษัทฯ ก็ยังได้ชื่อว่า เป็นแหล่งรวมของผู้ที่จะมีฝีมือต่อไป
อัศวิน กล่าวถึงนโยบายที่จะฝึกปรือคนของเขาว่า " ผมใช้วิธีหาคนที่มี
Qualify ดี เอามาฝึกอบรมเอง เป้ามหายของบริษัทฯ ไม่ได้ต้องการสร้างนักการเงินมือฉมัง
แต่ต้องการเป็นนักพัฒนาอุตสาหกรรมมากกว่า"
นั่นหมายความว่างานที่ท้าทายอัศวินในการบริหารคนของเขามากขึ้น คือการเน้นจิตวิญญาน
ของการพัฒนามากขึ้น ขณะที่ไม่อาจทิ้งความคิดในเชิงธุรกิจได้เสียทีเดียว
อัศวิน ได้ปรับปรุงเรื่องจริยธรรมพนักงาน ด้วยการออกระเบียบบังคับเรื่องการเข้าไปเป็นที่ปรึกษาในบริษัทต่าง
ๆ ที่บรรษัท ฯ ร่วมทุน โดยผู้บริหารบรรษัทฯ ที่เข้าไปเป็นที่ปรึกษาจะทำได้ไม่เกิน
3 บริษัท และผลประโยชน์ต่าง ๆ จะต้องนำเข้าบรรษัทฯ ทั้งหมดยกเว้นเรื่อเบี้ยประชุม
ทั้งนี้ ดูเหมือนจะช่วยให้ภาพพจน์บรรษัทฯ ดีขึ้นเล็กน้อย แต่สิ่งที่ดีมาก
ๆ นั้น น่าจะเป็นแง่ของการบริหารมากว่า
อย่างไรก็ดี ยังมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่าบุคลิกหรือสไตล์การบริหารของอัศวินที่ต่างออกไปจากศุกรีย์
อดีตผู้จัดการคนก่อนหน้าอย่างมาก ๆ กล่าวคือสุกรีย์ จะมีวิธีการบริหารแบบ
" ถึงลูกถึลคน" ล็อบบี้ผู้ใหญ่เข้าจี้งานลูกน้องถึงตัว และบางคนกล่าวด้วยว่ามีลักษณะ
"เผด็จการ" ขณะที่อัศวินยึดถือแบบลำดับชั้นรวมความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องมาพิจารณา
และเลือกแนวทางปฏิบัติอันใดอันหนึ่งมาใช้ นอกจากนี้ยังเน้นสปิริตของการเป็นนักพัฒนาด้วย
สไตล์ที่ต่างกันเช่นนี้ เริ่มสะท้อนภาพพจน์ภายนอกของบรรษัท์ฯ ออกมาบ้างแล้ว
ในแง่ที่ว่าหลังจากอัศวินขึ้นเป็นผู้จัดการใหญ่แล้ว ข่าวของบรรษํทฯ ก็ค่อย
ๆ เงียบหายไป
สมพงส์ สวัสดิภักดิ์ ประชาสัมพันธ์บรรษัทฯ กล่าวกับ" ผู้จัดการ"
ว่า " ช่วงนี้คุณอัศวินของโลว์โพรไฟล์ก่อน เพราะขอปรับตัวสักพัก ปีหน้าเราจะมีกิจกรรมต่าง
ๆ เหมือนเดิม"
ว่าไปแล้ว อัศวินอาจจะไม่ได้โลว์ โฟรไฟล์ อะไร มากมายนัก แต่สไตล์ที่ต่างออกไปจากผู้จัดการคนก่อน
อาจจะทำให้คนทั่วไปยังไม่คุ้นเคย
เป็นเรื่องที่ต้องดูกันต่อไปว่า อัศวินจะพลิกโฉมบรรษัทฯ ให้เป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัมนาอุตสาหกรรมได้มากน้อยแค่ไหน!!!