Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2534
จุดหัวเลี้ยวหัวต่อของบีโอไอ             
โดย สมชัย วงศาภาคย์
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน - บีโอไอ

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน - บีโอไอ
Investment




29 ปี ของบีโอไอ ได้อนุมัติการส่งเสริมการลงทุนไปแล้วมีมูลค่า 8 หมื่นล้านบาท เมื่อวัดจากงินลงทุนจดทะเบียน แต่ 3 ปีที่ผ่านมา การลงทุนที่ผ่านการอนุมัติของบีโอไอ มีมูลค่า มากว่านับตั้งแต่บีโอไอ ก่อตั้งรวมกัน มันเป็นสัญญานทางเศรษฐกิจที่บ่งบอกความสำเร็จของบีโอไอ ในแง่หนึ่ง ขณะเดียวกันก็หมายยถึงการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเกิดขึ้นในการส่งเสริมนับจากนี้ไป

" บีโอไอไม่ยุบ แต่ต้องปรับบทบาทส่งเสริมลงทุนใหม่" นี่เป็นคำแถลงของชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน เป็นการยืนยันถึงอนาคตของหน่วยงานแห่งนี้ ท่ามกลางกระแสข่าวว่า จะมีการยุบบีโอไอ

บีโอไอ ในทศวรรษ 1990มีสัญญานที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างนับตั้งแต่ก่อตั้งมาเมือ่ 29 ปีก่อน

หนึ่ง-กระทรวงการคลังได้เปลี่ยนแปลงอัตราการจัดเก็บภาษีเครื่องจักร เพื่อการผลิตที่อยู่ในพิกัด

84 และ 85 ของภาษีศุลกากร เหลือ5% จากเดิม 35% เมื่อ 8 กันยายน สอง- ทางกระทรวงการคลังกำลังมีแนวโน้มที่จะมีการปรับปรุงอัตราภาษีวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบเพื่อการผลิตให้เหลือ 5 และ 10% หลังจากได้ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มทดแทนภาษีการค้าไปแล้ว

การเปลี่ยนแปลงภาษีเหล่านี้ มีผลต่อแนวความคิดในการประเมินบทบาทใหม่ของบีโอไอ ในการส่งเสริมการลงทุนช่วงจากนี้ไปเนื่องจากเหตุผล หนึ่ง-บีโอไอ ได้ทำหน้าที่ทางประวัติศาสตร์ในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ที่บรรลุวัตถุประสงค์การพัฒนาเรียบร้อยแล้ว จนอุตสาหกรรมได้พัฒนาขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง " เรามีโครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่แข็งแกร่งเพียงพอในการแข่งขันตลาดโลกนักลงทุน ของเราโดยการส่งเสริมของบีโอไอ กำลังรวบกระบวนการผลิตที่สามารถลดต้นทุนและควบคุมคุณภาพวัตถุดิบด้วยการผลิตแบบครบวงจรเช่นการลงทุน ของกลุ่มไทยรุ่ง อุตสาหกรรม ในอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยสงเคราะห์ที่คุณภาพสูง" แหล่งข่าว ในบริษัทอุตสาหกรรมสิ่งทอ พูดถึงตัวอย่างภารกิจของบีโอไอจากสายตาของผู้ประกอบการ

ย้อนหลังไปเมื่อปี 2497 เมื่อรัฐบาลจอมพลได้ออกกฎฆมายการลง

ทึนเพื่อชวนให้เอกชนมาลงทุนอุตสาหกรรม แต่ปรากฏว่าไม่สำเร็จมีผู้ลงทุนเพียง 3-4 รายเท่านั้น จากจุดนี้ทำให้มีการออกกฏหมายเพือ่ส่งเสริมให้เอกชนมาลงทุนทางอุตสาหกรรม ด้วยมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ๊และการคุ้มครองอย่างเต็มที่ในปี 2502

บีโอไอเกิดจากจุดนี้!

การเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราสูงเกือบ 10% ติดต่อกันเมื่อ 3 ปีก่อน ทำให้ไทยซึ่งอยู่ในภูมิภาคที่มีศักยภาพการเติบโตที่ดีที่สุดของโลก เป็นที่สนใจลงทุนกันมากทั้งจากนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศเนื่องจากมีทรัพยากรปัจจัยการผลิตที่ได้เปรียบต่อการแข่งขันในตลาดโลก เช่นค่าจ้างแรงงานถูกกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ เมื่อวัดจากคุณภาพทัษณะและที่สำคัญกว่านั้นมีความั่นคงทางการเมืองสูง

เหตุนี้คือที่มาของความเชื่อการตัดสินใจลงทุนที่มีแรงผลักดันของการทำงาน ของกลไกตลาดมาก กว่ามาตรการจูงใจทางภาษีของบีโอไอ

กล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้า 3 ปี ก่อนบีโอไอไม่จูงใจนักลงทุนด้วยผลประโยชน์ด้านภาษ ๊ การลงทุนเมืองไทยก็หนาแน่นเช่นกัน

สอง- อุตสาหกรรมไทย ได้ก้าวพ้นจาการเป็นประเทศที่ได้รับการช่วยหลือด้านสิทธิพิเศษทางภาษี หรือจีเอสพี จากประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อการถูกกีดกันทางการค้าจากประเทศสหรัฐฯ ที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทยด้วยเหตุผลการอ้างถึงอุตสาหกรรมไทย หลายประเภท ได้เปรียบการแข่งขันกว่าผู้ผลิตสหรัฐฯ เนื่องจากการได้รับการอุดหนุนช่วยเหลือทางภาษีจากบีโอไอ เช่นกรณีการตั้งกำแพงภาษี กีดกันนำเข้าหรือซีวีดี ท่อเหล็กไทยของสหรัฐฯ จากเดิมคิด 6% เพิ่มเป็น 22% ของราคานำเข้าจนท่อเหล็กไทยไม่สามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดสหรัฐฯได้อีกต่อไป

การปรับบทบาทใหม่ของบีโอไอ เป็นเรื่องที่ถูกตีคความในทางที่ผิดในช่วงแรก ๆ ว่าจะมีการยุบหน่วยงานแห่งหนึ่ง แต่หลังจากข่าวนี้ถูกเผยแพร่ออกไป ก็มีการทักท้วงจากผุ้นำระดับสูงของรัฐบาลรวมถึงเจ้าหน้าที่ของบีโอไอว่าไม่เป็นเช่นนั้น

"แต่สำหรับผมมันควรถูกยุบไปนานแล้ว" อันมาร์ สยามวาลา ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์ของทีดีอาร์ไอ เคยกล่าวเช่นนี้ กับ" ผู้จัดการ"

อัมมาร์เป็นผู้นำทางความคิดในการเสนอให้รัฐบาลลดบทบาทบีโอไอลงถึงศูนย์ ภายใต้ปรัชญาส่งเสริมการลงทุนเดิมของบีโอไอ โดยเขาให้เหตุผลว่าปรัชญาการส่งเสริมลงทุนของบีโอไอด้วยมาตรการจูงใจทางภาษี และการคุ้มครองเป็นการปิดเบือนกลไกตลาดเสรีอย่างรุนแรงที่สุด

เขาชี้ให้เห็นว่า การบิดเบือนกลไกตลาด

ทำให้อุตสาหกรรมไม่มีการแข่งขันที่สร้างประโยชน์ให้แก่การยกระดับประสทธิภาพการผลิตเพือ

่สร้างมูลค่าเพิ่มในตลาดในการแข่งขันหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งเป็นภาพลักษณ์ของสิ่งที่เป็น

อุตสาหกรรมทารกที่เลี้ยงเท่าไรก็ไม่มีวันเติบโตเป็นตัวของตัวเองเช่นอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ความเห็นนี้ได้รับการสนับสนุนจากเธียรช่วง กัลยาณมิตร ผุ้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีประสบการณ์ทำงานในสหรัฐมานาน

"อุตสาหกรรมประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์กว่า 80% นำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศ เข้ามา ผู้ลงทุนจากต่างประเทศส่วนใหญ่ก็เข้ามาลงทุนเพื่อหลังผลกำไรได้สิทธิจีเอสพีที่สหรัฐฯ เปิดให้กับไทยและค่าจ้างแรงงานถูก" เธียรช่วง กัลยารฒิตร ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวถึงเหตุผลเข้ามาลงทุนของต่างชาติ

อุตสาหกรรมอิเล็ทรอนิกส์ ที่เกิดขึ้น ไม่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการผลิตชิ้นส่วนในระดับหน่วย ย่อยเพื่อทดแทนนำเข้าแต่อย่างใด " เราไม่มีซับพอร์ตติ้ง อินดัสตรี เหมือนในไต้หวัน รายได้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออกปีละ 15,000 ล้านบาท จึงเกิดขึ้นพร้อมกับมูลค่านำเข้าชิ้นส่วนในมูลค่าที่ใหกล้เคียงกัน จนเหลือรายได้ส่งออกประมาณ 10% เท่านั้น" เธียร ช่วง ชี้ให้เห็นความล้มเหลวจากการส่งเสริม

นอกจากนี้ การที่บีโอไอ ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ประหนึ่งเสมือนเป็นการแสดงตน "เป็นคุณพ่อที่ดี" ที่มีความลำเอียงเข้าไปแทรกเซงการทำงานของกลไกตลาดโดยสนับสนุนผุ้ผลิตบางราย ก็เป็นบทบาทอีกด้านหนึ่งที่ส่งผลของการทรัพยากรเพื่อการลงทุน ไปในทิศทางที่ไม่สอดคล้องกับการส่งเสริมของประสิทธิภาพตลาด

ตัวอย่างของความข้อนี้ได้จากอุตสาหกรรมผลิตปูนซิเมนต์และกระจก ที่ได้รับการคุ้มครองของการลงทุนผู้ให้เป็นผลิตผูกขาดเป็นเวลานานหลายปี

ปูนนั้นมีการผลิตและอำนาจการควบคุมตลาดอยู่ในมือปูนซิเมนต์ไทยรายเดียว แม้อุตสาหกรรมนี้จะมีผู้ผลิตไทยมากว่า หนึ่งรายก็ตาม เหมือนกับกระจกอาซาฮี กับศรีเฟื่องฟู มีอำนาจควบคุมได้สิ้นเชิง

แต่อุตสาหกรรมปูนเป็นตัวอย่างคลาสิกที่ชัดแจ้งที่สุด ที่ส่งผลต่อการปิดเบือนกลไกตลาดจนก่อให้เกิดการขาดแคลน ราคาพุ่งสูกว่าควาามเป็นจริงปูนซิเมนต์ มีผู้ผลิตเพียง 3 ราย คือปูนซิเมนต์ไทย มีกำลังรวมทั้งตลาดส่วนที่เหลืออีก 40% เป็นของปูนนครหลวงและชลประทานซิเมนต์

การเติบโต ของภาคการก่อสร้างเอกชนและรัฐบาลติดต่อกัน 2 ปีที่ผ่านมาและอีก2 ปีข้างหน้าทำให้ความต้องการใช้ปูนสูงจนก้าวล้ำปริมาณการผลิตจนเห็นได้จาการพุ่งสูงของราคาปูน "ถ้าไม่มีผู้ผลิตรายใหม่เข้ามา ตลาดจะประสบปัญหาขาดปูนขาดประมาณปีละ 2 ล้านตันในปี 2535 แม้จะมีการขยายจากกระทรวงพาณิชย์พยากรณ์จากสมมุติฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจอัตราปีละ 9.5-10%

ความต้องการปูนใน 2 ปีข้างหน้า จะตกราว 26 ล้านตัน ขณะที่การผลิตจะอยุ่ในระดับ 22 ล้านตัน แต่เมื่อรวมการขยายการผลิตของโรงเก่าและโรงใหม่ ของทีพีไอ จะอยู่ในระดับสนองความต้องการได้พอดี

การลงทุนผลิตปูนต้องใช้เวลาเตรียมอย่างน้อย 2 ปี กว่าจะผลิตได้เนื่องจากหัวใจสำคัญการลงทุนอยู่ที่ปัจจัยความพร้อมอย่างน้อย 2 ประการ คือ หนึ่งด้านวัตถุดิบซึ่งต้องมีแหล่งที่อยู่ใกล้โรงงานมากที่สุด และนับวันแหล่งวัตถุดิบจะหายาก เนื่องจากผู้ผลิตรายเดิมได้ครอบครองกรรมสิทธิ์สัมปทานเอาไว้มาก และสอง เงินลงทุนที่สูงนับพันบ้านบาท

ทวี บุตรสุนทร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการปูนใหญ่ซิเมนต์ไทยไทยเคยกล่าวว่า เทคโนโลยีการผลิตปูนไม่ได้ซับซ้อนอะไร ผู้ผลิตหน้าใหม่สามารถหาซื้อและพัฒนาเองได้ แต่หน้าใหม่สามารถหาซื้อและพัฒนาเองได้แต่หน้าใหม่จะเสียเปรียบการประหยัดจากขนาด

เนื่องจาการลงทุนต้องใช้เงินลงทุนไม่ตำก่ว่า 2,000 ล้านบาท และถ้ามีกำลังการผลิตในเชิงพาณิชย์ต่ำปีละ 400,000 ตัน ไม่คุ้มต่อการลงทุนแน่นอน

กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมไทยปิโตรเลียมเคมิล หรื อทีพีไอ ของ เลี่ยวไรัตน์" มีควมพร้อมในปัจจัยการลงทุถนทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงินทุนและแหล่งวัตถุดิบ โดยเฉพาะแหล่งวัตถุดิบที่ สระบุรี เป็นส่วนสำคัญของทีพีไอมาตั้งแต่รุ่นพ่อ ( พร เลี่ยวไพรัตน์) ที่ก่อร่างสร้างตัวจาการเป็นพ่อค้า โรงสีปากเพรียว คนสระบุรีรู้และยอมรับความยิ่งใหญ่ของกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์มานานแล้ว" พ่อค้าแถวตำบลหน้าพระลานจังหวัดสระบุรี กล่าวถึงสถานะของพวกเลี่ยไพรัตน์ จากสายตาของคนสระบุรีให้ " ผู้จัดการ" ฟัง

เหตุนี้ทีพีไอ จึงได้เข้ามาลงทุนเป็นรายที่ 4 ประมาณ 7,000 ล้านบาท เพือ่ผลิตปูนปีละ 2 ล้าน ตันในปี 2535 โดยไม่ขอเสริมจากบีโอไอเลย โดยคาดหมายควมต้องการตลาดในปี 2535 เป็นต้นไปภายใต้สมมุตฐานการเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราปีละ 9.5-10% การผลิตจะสามารถสนองความต้องการตลาดได้สมดุล

แต่อย่างไรก็ตาม การลงทุนของเลี่ยวไพรัตน์ ในปูนซิเมนต์ ก็ไม่แรงจูงใจจากเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ล้วน ๆ

" พวกเลี่ยวไพรัตน์หมั่นไส้ความใหญ่ของปูนมานานแล้ว เขาต้องการพิสูจน์ให้ปูนรู้ว่าเมือ่ปูนเข้าไปในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีด้านพลาสติด เพื่อแข่งกับเขาได้ เขาก็เข้าไปในอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์โดยไม่ต้องอาศัยการช่วยเหลือของบีโอไอ เพื่อแข่งกับปูนได้เหมือนกัน"แหล่งข่าวรายเดิมให้ข้อสังเกตุเหตุผลการลงทุนเชิงพฤติกรรมของ

พวกเลี่ยวไพรัตน์

การเข้ามาลงทุนในปูนซิเมนต์ของเลี่ยวไพรัตน์โดยไม่ต้องอาศัยการส่งเสริมจากบีโอไอ เป็นสัญญานจากรูปธรรมที่บ่งบอกถึงบทบาทความศักดิ์สิทธิ์ของบีโอไอในการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุนได้หมดไปแล้ว ขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าปัจจัยการตัดสินใจลงทุนที่สำคัญที่สุดก็คือกลไกตลาดมีเงื่อนไขเปิดให้นักลงทุนสามารถเข้าไปแข่งขันได้หรือไม่ต่างหาก พ้นจากนี้แล้ว ก็เป็นเหตุผลส่วนตัวด้านศักดิ์ศรีเสียมากกว่า

กรณีกระจกก็เป็นอีกตัวอย่างหนึงเช่นกันที่ได้รับการคุ้มครองจากบีโอไอ ให้มีผู้ผลิตน้อยรายในตลาดจนสิทธิประโยชน์นี้ชักนำเข้าไปสู่การโต้แย้งหาทางการค้าและการลงทุนอุตสาหกรรมไทยกับสหรัฐฯ

อุตสาหกรรมกระจกเติบโตเร็วมาก ช่วง 3 ปีมานี้เหมือนปูนเนื่องจาการเติบโตของอุตสาหกรรมที่อยุ่อาศัยและสำนักงาน ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมกระจกมีผู้ผลิตทีได้รับการส่งเสิรมและคุ้มครองอุตสาหกรรมบีโอไอเพียง 3 ราย คือ ไทย-อาซาฮี กระจกสยาม และบางกอกโฟลทกล๊าส

จากการผูกขาดของไทย-อาซาฮี มายาวนานในตลาดมาสะดุดเอาเมื่อการ์เดี้ยนและปูนซิเมนต์ไทย ได้ร่วมกันขอส่งเสริมจากบีโอไอเพือ่ผลิตกระจกโฟลทส่งออกประมาณ 80% เหมือนบางกอกโฟลทของไทย-อาซาฮี

แต่ถูกไทยขอาซาฮี ต่อต้านอย่างหนัก ด้วยเหตุผลจะทำให้มีการผลิตล้นเกินในตลาด เรื่องนี้ถูกหยิบยกเป็นประเด็นสำคัญที่สหรัฐฯ นำเข้ามาสู่การพิจารณาใช้มาตรา 301 ต่อไทยด้วยเหตุผลการอ้างถึงการลาออกถึงการลำเอียงของรัฐบาลไทยในการเลือกปฏิบัติต่อนักลง

ทุนอเมริกัน

กรณีนี้จบลงที่ประมาณ อดิเรกสาร รมต.อุตสาหกรรม และกร ทัพพะรังสี รมต.สำนักนายกฯ ในฐานะผู้ดูแลสายงานบีโอไอ ยอมเปิดประตูการลงทุนกระจก ของการ์เดี้ยน พร้อมให้บีโอไอ ส่งเสริมในปี 2538 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า

การวิจารณ์บทบาทส่งเสริมด้วยมาตรการทางภาษีและการคุ้มครองของบีโอไอเป็นเรื่องที่ ่เกี่ยวโยงกับการเชื่าการทำงานของกลไกตลาดเสรี

พวกนี้เชื่อว่านักลงทุนอุตสาหกรรมทุกคนมีวิจารณญาน ของตัวเอง ที่รู้ว่าควรจะลงทุนอะไรดี และเมื่อไร " คงไม่มีนักลงทุนที่ไหนโง่พอที่จะเอาเงินนับร้อยล้านมาทิ้งเล่นทั้งที่รู้ว่าในตลาดไม่มีที่ว่าง

สำหรับผู้มาทีหลัง" นักเศรษฐศาสตร์จากธรรมศาสตร์กล่าวโต้การคุ้มครองให้ผู้ผลิตที่ได้รับการส่งเสริม

รายเดียวของบีโอไอในโครงการผลิตเหล็กรีดร้อนรัดเย็นของกลุ่มสหวิริยา เมือถูก " ผู้จัดการ" ถามกรณีการส่งเสริมของบีโอไอในโครงการนี้ ซึ่งเป็นบทบาทไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง

การลงทุนที่เกิดขึ้นจึงอยู่ที่ความพร้อมในปัจจัยสภาพแวดล้อมการลงทุนซึ่ง

ประกอบด้วยการมีทรัพยากรวัตถุดิบ สาธารณูปโภค ที่พร้อมมีความมั่นคงทางการเมือง มีแรงงานทักษะ และที่สำคัญมีผลตอบแทนจาการลงทุนสูง

มองในแง่นี้บริษัทัทต่างชาติรายใหญ่ทีมีความสามารถลงทุนทั่วโลกมีทางเลือก

แหล่งลงทุนมาก ที่ให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนสูงที่สุด

ว่ากันว่า บริษัทอเมริกันมีมาตรฐานผลตอบแทนการลงทุนที่ 40% ขณะที่บริษัทอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ของไทยอย่างปูนซิเมนต์ไทยอยู่ที่อัคราดอกเบี้ย

เอ็มโออาร์บวก 4% ซึ่งในปัจจุบันตกราว ๆ 21%

มองในแง่นี้ก็เท่ากับเป็นการตอกย้ำบทบาทที่ไม่จำเป็นของบีโอไอ เพระถึงแม้จะมีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของบีโอไอ แต่ถ้าบรรยากาศการลงทุนไม่ดี ผลตอบแทนต่ำ การลงทุนก็ไม่เกิดขึ้น

แนวคิดเกี่ยวโยงถึงการมองบทบาทของบีโอไอในการกระจายอุตสาหกรรมสู่ต่าง

จังหวัด ด้วยบีโอไอถูกมองว่าใช้มาตรการภาษีเป็นความพยายามที่ไม่เกิดผล เนื่องจากปัจจัยการลงทุนในต่างจังหวัดไม่ได้ขึ้นอยู่กับการได้บีโอไอหรือไม่ แต่อยุ่ที่ความเหมาะสมของกลไกตลาดที่มีความพร้อมรองรับการลงทุนมากกว่า

สมศักดิ์ แต้มบุญเลิศชัย นักเศรษฐศาสตร์ อุตสาหกรรมจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ชี้ว่า การลงทุนที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัดเป็นนักลงทุนขนาดเล็ก และกลางที่ไม่ได้บีโอไอ หรือแม้แต่นักลงทุนขนาดใหญ่การลงทุนมาจากเหตุผลการอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบและความ

สะดวกในสาธารณูปโภค เรื่องประสทธิประโยชน์จากบีโอไอ เป็นเรื่องรอง

กล่าวอีกนัยหนึ่ง การลงทุนในต่างจังหวัด สิทธิประโยชน์ของบีโอไอ เป็นเหมือนของแถมมากว่าเข้าทำนองได้มาก็ดี ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ดังที่กลุ่มเลี่ยวไพรัตน์ได้แสดงให้เห็นแล้ว ในการลงทุนผลิตปูนที่สระบุรี

แม้บีโอไอ จะถูกมองว่า เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการลงทุนด้วยมาตรการทางภาษีที่น่าจะหมดภาระกิจทางประวัติศาสตร์ได้แล้ว แต่ทางบีโอไอเองกลับมองในสิ่งที่ตรงกันข้ามด้วยความเชื่อที่ว่าบทบาทบีโอไอยังมีประโยชน์ในการส่งเสริมลงทุนอยู่ แต่ก็ไม่มีข้อมูลที่ดีเพียงพอมาสนับสนุน จึงได้จ้างนักวิจัยกลุ่มหนึ่งจากทีดี-อาร์ไอ มาวิจัยประเมินผลงานว่าไๆด้ทำประโยชน์ให้ระบบเศรษฐกิจของชาติดย่างไรบ้าง " งานนี้บีโอไอ ต้องการเอาไว้เป็นข้อมูลโต้กระแสความคิด ที่จะดิสเครดิตบีโอไอ โดยเฉพาะ" แหล่งข่าว ใกล้ชิดในบีดอไป เล่าให้ฟัง

ความจริงบีโอไอ ไม่ถึงโดดเดี่ยวเสียทีเดียว มีนักลงทุนในบางอุตสาหกรรมก็ยังว่าบทบาทด้านภาพของบีดอไอ ยังมีความำจตเป็นอยุ๋ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมผลิตเหล็กเส้นเตาหลอม ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมผลิตเหล้กที่เน้นเทคโนโลยีเครื่องจักรอัตโนมัติ เนื่องจากมีสัดส่วนการลงทุนสูงถึง 60% ของเงินลงทถุนทั้งหมด โครงการ "เอ็นทีเอสสตีล ลงทุนเหล็กเส้นเตาหลอม 4,500 ล้านเแฑาะค่าเครื่องจักรบางอย่างปาเข้าไป 2,780 ล้านบาท" ชำนิ จันทร์ฉาย กรรมการบริหารของเอ็นทีเอสตีล เล่าให้ฟังถึงการลงทุนเหล็กเส้นเตาหลอม

การได้ยกเว้นภาษีเครื่องจักรจากส่งเสริมของบีโอไอ จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายการลงทุนประมาณ 150 ล้านบาท และถ้าได้หย่อนภาษีการค้า 5.5% จาก 15% ของราคาขายที่วัดจาการผลิตเดือนละ 25,000 ตัน ก็จะประหยัดลงได้อีก 15-16 ล้านต่อเดือน หรือปีละเกือบ 200 ล้านบาท

รวมแล้วผลประโยชน์ของผู้ลงทุนจะได้รับการช่วยเหลือจากบีโอไอในรูปภาษีที่ก่อผลทำให้ประหยัดลงได้อีก 15-16 ล้านต่อเดือน หรือปีละ เกือบ 200 ล้านบาท

รวมแล้วผลประธยชน์ของผู้ลงทุนจะได้รับการช่วยเหลือจากบีโอไอ ในรูปการที่ก่อผลทำให้ประหยัดลงได้ในปีแรก ของการผลิตถึงเกือบ 350 ล้านจากเงินลงทุน 4, 500 ล้านหรือเกือบ 10%

"ถ้าโครงการนี้ไม่ได้บีดอไอ ผมว่ายาก เนื่องจากระยะเวลาคืนทุนจะยิ่งยาวออกไปเกิน 5 ปี ซึ่งมันสุ่มเสี่ยงเกินไป " ชำนะ ให้เหตุผลถึงประโยชน์การส่วเสริมของบีโอไอ

เหล็กเส้นเตาหลอมเป็นการผลิตเหล็กเส้นคุณภาพสูง ที่ทดแทนการนำเข้าปีละ นับ 1,000 ล้านบาท ที่สำคัญกว่านั้น ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง ยังสามารถนำมาผลิตผลิตภัณฑ์เหล็กได้ทุกชนิด แม้กระทั่งตะปูที่ทุกวันนี้ยังไม่สามารถผลิตได้คุณภาพมาตรฐานสากล"

แล้วบีโอไอ ควรมีการปลี่ยนแปลงอย่างไร ให้เหมาะสมต่อขีดขั้นการพัฒนาของอุตสาหกรรมไทยที่พัฒนาจากเมื่อ 10 ปีก่อนอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ

ชำนิ ให้ความเห็นจากแง่มุมของนักลงทุน ว่า บีโอไอ ควรเน้นหนักบทบาทการเป็นผู้ขายการลงทุนในประเทศไทยเหมือนบีโอไอของออสเตรเลีย

"การขายต้องไม่ใช้สักแต่ว่าขาย แต่ต้องสามารถเป็นที่ปรึกษาการลงทุนได้ด้วย เช่นการให้บริการรข้อมุลที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้ลงทุนและอำนวยความสะดวกประสานงานหน่วยราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องการลงทุน เช่นกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงต่างประเทศด้านการออกใบอนุญาตทำงาน" ชำนิยกตัวอย่างบทบาทใหม่ของบีโอไอ

ความจริงบีโอไอ มีความพร้อมพอสมควร ที่จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษการลงทุนที่ดี เครือข่ายสำนักงานในนิวยอร์ก โตเกียว และแฟงเฟิร์ต ศูนย์บริการลงทุนวันสต้อปเซอร์วิส ที่มีหน้าที่ชัดเจนในการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหน่วยราชการอื่น ๆ เช่นการขอใบอนุญาตการทำงาน

กล่าวอีกนัยหนึ่งบีโอไอมีโครงสร้างของการเป็นหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาการลงทุนที่บริการครบวงจรเหมือนกับหน่วยงานของเอกชน ที่ทำธุรกิจให้บริการปรึกษาการลงทุนที่มีอยู่มากมายเวลานี้

แต่การที่บีโอไอไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการให้บริการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนที่ดีได้นั้น มีสาเหตุหลายอย่าง อย่างหนึ่งมาจากไม่สนใจเนื่องจาก 3 ปีที่ผ่านมา บีโอไอ สนุกสนานอยู่กับการพิจารณาโครงสร้างลงทุนเพื่อการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างเดียว เพราะว่า โครงการขอส่งเสริมลงทุนมันเข้ามามากว่าทุกปีที่ผ่านมา จนด้านด้านข้อมูลเพื่อนักลงทุนได้ถูกละเลยไปดังที่โอซามุ ยาซูดะ ผุ้ช่วยอธิบดีจากสถาบันวิจัยและวางแผนเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้วิจารณ์ว่า ข้อมูลปัจจุบันของบีโอไอยังไม่ละเอียดเพียงพอต่อการช่วยตัดสินใจลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นได้ เขายกตัวอย่างว่าในอุตสาหกรรมแต่ละประเภทนักลงทุนญี่ปุ้นต้องการรู้ว่า ผู้ลงทุนมีใครบ้าง ผลิตสินค้าอะไรและกำลังผลิตแต่ละรายเท่าไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีความสำคัญมาก แต่บีโอไอไม่มีข้อมูลเหล่านี้" เรายอมรับว่ายังทำข้อมูลได้ไม่ดีพอ" ชีระ ภาณุพงศ์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวยอมรับข้อวิจารณ์นั้น

เวลาช่วงที่ดีที่สุด ที่บีโอไอ ต้องหันมาทำงานปรับปรุงด้านข้อมูลเพื่อนักลงทุนอย่างจริงจัง เพราะว่าโครงการที่ขอส่งเสริมมาน้อยลง ตามภาวะถดถอยเศรษฐกิจที่เป็นทั่วโลก ซึ่งทำให้บีโอไอมีเวลามากขึ้นกับสิ่งนี้

นักลงทุนทั่วไป ไม่ได้คาดหวังการทำหน้าที่ปรึกษาของบีโอไอมากไปกว่านี้ แม้ความต้องการที่แท้จริงจะก้าวล้ำไปถึงการให้บีโอไอเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพสูงในการอำนวยความสะดวก ในการพิจารณาขออนุญาตลงทุนให้เร็วขึ้นจากเดิม ที่ต้องใช้เวลาไม่น้อบยกว่า 3 เดือนก็ตาม แต่พวกเขาก็ทราบดีถึงความเป็นหน่วยงานราชการไทยที่มีระเบียบข้อจำกัดหลายอย่างที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้

บีโอไอมาถึงจุดของการเป็นหน่วยงานที่จะต้องทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาการลงทุนอย่างจริงจังแล้วในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนแปลงที่ดึงเอาหน่วยงานนี้ออกจากวงจรรถูกมองว่าเป็นหน่วยงานที่แสวงหาผลประโยชน์จากนักลงทุนออกไปด้วย

ปัญหามีเพียงว่าภาระกิจใหม่นี้บีโอไอจะสามารถสนองความต้องการนัก

ลงทุนได้ดีเพียงไร ภายใต้โครงสร้างระบบราชการไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us