ครึ่งปีแรกของบรรดายักษ์ใหญ่ยักษ์เล็กในอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้านิสสัน
ฮอนด้า หรือแม้กระทั่งรถค่ายยุโรป เช่น วอลโว่ หรือบีเอ็มดับเบิลบลิว ต่างพูดเป็นเสียงเดียวเดียวกันว่า
ไม่กระทบกระเทือนจากภาวะผันผวนทางเศรษฐกิจ สืบเนื่องจากปีทองของยอดขายรถยนต์ดีมาตลอดสามปี
แต่ครึ่งปีหลังของปีนี้ ยังเป็นเรื่องน่าเป็นห่วง ตราบใดที่ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อยังสูงไม่หยุดเช่นนี้!!
อุตสาหกรรม รถยนต์ก้าวเข้าสู่ปีทองตั้งแต่ปี 2531-2533 โดยสถานการณ์การขยายตัวของตลาดรถยนต์ภายในประเทศ
ที่เพิ่มขึ้นปีละไม่ต่ำกว่า 40% เมื่ปี 2531-2532 ทำให้หลายบริษัทได้เพิ่มทุนและขยายกำลังผลิตกันมาก
ความฝันได้กลายเป็นจริงเมื่อยอดขายรวมทั้งปีของบริษัทรถยนต์ใหญ่พุ่งขึ้นหลักไม่ต่ำกว่า
250,308 ล้านบาท ในปี 2533 ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นสัดส่วนรถญี่ปุ่นมากกว่ารถยุโรปโดยเฉพาะบริษัทโตโยต้า
มอเตอร์ประเทศไทย ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมที่ตั้งมานาน 33 ปี มีสถิติยอดขายสูงเป็นประวัติการณ์
ปี 2533 คาดว่ารายได้ของบริษัทโตโยต้า ต้องไม่ต่ำกว่า 25,000 ล้านบาท หลังจากเมื่อปี
2532 บายได้มากถึง 18,863 ล้านบาท โดยรายได้หลักมาจากการขายรถ ส่วนรายได้อื่น
ก็มาจากการขายน้ำมันเครื่องซึ่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มมากกว่าปีที่แล้วถึง
68% ชายอะไหล่ และบริการ แ
ละการส่งออกซึ่งโตโยต้าได้ทำตั้งแต่ปี 2529 ส่งออกเครื่องยนต์ดีเซลและอุปกรณ์ไฟฟ้าไปต่างประเทศ
ในปีที่ผ่านมา โตโยต้า ทำรายได้เพิ่มขึ้นนถึง 56 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 453%
"จากากรทีไม่สามารถขึ้นราคาได้นั้น แม้ว่า ปริมาณการขายจะเพิ่มขึ้นถึง
37% ก็ตาม แต่ก็มีผลทำใให้กำไรเบื้องต้นเพิ่มขึ้นจากงวดที่แล้วเพียง 23%
(261ล้านบาท) รวมเป็นกำไรเบื้องต้นที่ดตโยต้าทำได้คือ 1,388 ล้านบาท"
ประธานบริษัทโตโยต้า วาย นัมบุ แถลงไว้ในการประชุมใหญ่ของบริษัท
นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมา โตโยต้า ยังมีสภาพคล่องจากรายได้ทางอื่น เช่นรายได้จากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
ตลอดจนรายได้จาการขายที่ดินและทรัพย์สินที่ตั้งเดิมของบริษัทที่ถนนสุริวงศ์
ทำให้เกิดรายได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเป็นเงินถึง 323 ล้านบาททีเดียว
ปีทองของอุตสาหกรรมรถยนต์ ได้ส่งผลดีให้เกิดกับบรษัทสยามกลการเช่นกัน หลังจากในปี
2528 -29 เคยประาสบมรสุมทางเศรษฐกิจทางการเงินอย่างหนักจากวิกฤตการณ์ลดค่าเงินบาท
จาากบทเรียนนี้ได้ทำให้สยามกลการปรับตัวด้วยการเปิดช่องให้บริษัทนิสสันมอเตอร์
ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาถือหุ้น 25% ด้วยเงนิทุน 1,500 ล้านบาท ในโรงงานประกอบรถสองแห่ง
คือบริษัทสยามอุตสาหกรรมรถยนต์ และบริษัทสยามกลการและนิสสัน เพื่อตั้งเป็นศูนย์การผลิตและส่งออกนิสสันในภูมิภาคนี้
ตามเป้าหมายคือการส่งออกด้วยกำลังการผลิต 10,000 คันต่อเดือน
" ทางนิสสัน ญี่ปุ่นเขามองว่าตลาดในไทยโตสม่ำเสมอ และถ้าจะเป็นนโยบาย
Globalization จริง ๆ ก็ต้องใช้เงินทุนมหาศาล เราจึงให้ทางนิสสันญี่ปุ่นมาลงทุนด้วยในบริษัทผลิต
เพราะชิ้นส่วนบางชิ้นหรือรถบางรุ่น ที่จะขายในภูมิภาคนี้ จะผลิตในไทย แผนนี้อยู่ในกลยุทธ์ของนิสสันญี่ปุ่นแล้ว"
กวี วสุวัต รองกรรมการผู้จัดการอาวุดสของสยามกลการกล่าใหฟัง
ปีที่แลห้ว สยามกลการ มีายได้จากากรจำหน่ายรถึง 9,041 ล้านบาท และกำไรสุทธิ
376 ล้านบาท โดยยังมีภาระผูกพันกับแบงก์ในการค้ำประกันเงินจำนวน 339.9 ล้านบาท
และ 91 ล้านบาท ในสิ้นปี
ถึงแม้ว่ายอดรวมการขายรถทุกประเภทของบริษัทรถยนต์ปีที่ผ่านมานี้ จะมีสถิติสูงมากๆ
แต่เนื่องจากข้อจำกัดต่าง ๆ ในการผลิตจึงทำให้อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ลดลงไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรถปิกอัพ,
รถตู้, รถ 6 ล้อ 10 ล้อ ซึ่งปีที่แล้วขายได้มากที่สุดถึง 240,000 คน
ปัจจุบันมีโรงงานประกอบรถยนต์ทั้งสิ้น 12 แห่ง เป็นโรงงานปีะกอบรถยนต์นั่งอย่างเดียว
4 โรง รถบรรทุกอย่างเดียว 3 โรง ส่วนที่เหลือ 5 โรงาน ผลิตทั้งรถยนต์และรถบรรทุกโดยปี
2533 ความต้องการรถยนต์ในประเทศขยายตัวสูงมาก ๆ มีการผลิตรวมเกือบถึง 300,000
คัน
เพื่อสนองตอบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การเงินการลงทุน ที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
ทางการได้มีการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขระเบียบการเช่าซื้อรถยนต์ของบริษัทเงินทุน
ซึ่งเป้นตลาดเช่าซื้อที่ใหญ่และกำไรงามที่สุดแก่ผุ้ประกอบกิจการดดยให้ลดเงินดาวน์จาก
30 เหลือ 25% และผ่อนชำระได้ยาวขึ้นจาก 42 งวด เป็น 48 งวด ซึ่งมีผลใช้ตั้งแต่กลางปี
2532 และเพิ่งปรับดอกเบี้ยเงินกู้เช่าซื้อเป็น Flat rate ขึ้นอีกเป็น 12-15%
สำหรับรถเก่าและรถใหม่ ในปีนี้
" ถ้าหากว่าอัตราดอกเบี้ยทั่วไป ขึ้นไปอีก เราก็ต้องปรับขึ้นตามไป
ขณะนี้ เราก็ชะลอการให้สินเชื่อรถบรรทุกใหญ่ เพราะว่าอุตสาหกรรมก่อสร้างมีแนวโน้มการขยายตัวลดลง"
กริช สุวรรณเทศ ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อและการตลาดเช่าซื้อรถยนต์ของบงล.
ศรีมิตร ปีที่แล้ว ทำรายได้สูงที่สุดถึง 6 พันล้านบาท"
กระนั้นก็ตาม ความต้องการรถยนต์คงมีอยู่สูง ทำให้ผลิตไม่พอเพียงเพราะความขาดแคลนชิ้นส่วนอุปกรณ์แม้ว่าปีก่อนผู้ผลิตส่วนใหญ่ได้ขยายกำลังผลิตแล้วเช่นโตโยต้า
ตั้งโรงงานประกอบ รถยนต์แห่งที่สามขึ้นเพิ่มกำลังผลิตปีละ 70,000 คันสำหรับรถยนต์นั่งโคโรล่า
โคโรน่าคราวน์ สตาร์เลท ปิกอัพ ไฮลักซ์
ส่วนมิตซูบิชิ โดยบริษัทเอ็มเอ็มซี สิทธิผล ร่วมทุนกับบริษัทมิตซูบิชิ
มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ก็ได้เพิ่มทุนบริษัทจาก 50 ล้านบาทเป็น 200 ล้านบาท
ตั้งแต่ปี 2532 เพือ่ตั้งดรงงานประกอบโรงที่สองที่ต้องใช้เงินทุน 300 ล้านยบาท
และเมื่อสร้างเสร็จแล้วบริษัทสามารถประกอบรถยนต์ได้เพิ่มเป็น 27,600 8yo9jvxu
งานนี้ผู้บริหารเอ็มเอ็มซี สิทธิผล ต้องกู้เงินเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจเป้นเงินไม่ต่ำกว่า
1,200 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2532 โดยแยก เป็นเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากแบงก์พาณิชย์
8 แห่งในประเทศ 248 ล้านบาท เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบริษัทเงินทุน30 ล้านบาท
หนี้สินหมุนเวียนจากเงินค้ำประกันตั้งสำรองประกันคุณภาพรถที่ส่งไปขายต่างประเทศฯและอื่น
ๆ รวม 554 กว่าล้านบาท
นอกจากนี้ ภาระผูกพันที่ให้แบงก์ออกหนังสือค้ำประกันอีก 113 ล้านบาท และแอลซี
หรือเลตเตอร์ ออฟเครดิต ที่ยังใช้ไม่หมด เมื่อปลายปี 2532 จำนวน 12.9 ล้านบาท
ก้ยังเแสงถึงสถานการณ์สู้รบทางการขายรถมิตซูบิชิ ในปี 2532 ยังไม่ดีเท่าที่ควร
แต่ในช่วงปี 33 นี้มิตซูบิชิ ได้ตีตื้นขึ้นมาในรถปิคอัพ เพราะอาศัยช่อว่างที่คู่แข่งไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการของลูกค้าได้
จึงทำให้มิตซูบิชิช่วงชิงความได้เปรียบนี้ไป ตลอดจนการออกรถยนต์รุ่นใหม่ที่มีการตกแต่งโฉมและประสิทธิภาพใหม่
ได้กอบกู้ภาพพจน์ที่เสียไปเนื่องจากรุ่นแชมป์ด้วย
ข้อจำกัดทางการผิลตรถยนต์ไม่พอต่อความต้องการของตลาด ดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหาการเก็งกำไรในตลาดรถยนต์นั่งขึ้นเมือปี
2531*2532 ด้วยการขายใบจองที่หวังกำไรสูง ถึงคันละ 2-3 หมื่นบาท เช่นกรณีของรถฮอนด้าที่เกิดเรื่องราวใหญ่โตจนกระทั่งผู้รับผิดชอบด้านนี้ต้องขอลาออก
บริษัทอฮานด้า คาร์ส์ ( ประเทศไทย) ได้ก่อเข้ามารุกตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่โตดยต้าครองอยูท
ในฐานะเจ้าตลาด จากอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่ส่งผลให้รายได้ของฮอนด้าคาร์
พุ่งพรวดจากปี 1987 ขายได้ 375 ล้านบาท เป็น 6,590.6 ล้านบาทในปี 2532
ในปีที่มา ฮอนด้า ได้เปลี่ยนแปลงวงเงินเครดิต 50 ล้านบาท ที่มีอยู่แบงก์ไทยพาณิชย์สำนังานใหญ่
ซึ่งเดิมแยกเป็นวงเงินเบิกเกินบัญชี 5 ล้านบาท และเงินกู้ระยะสั้น โดยตั๋วสัญญาใช้เงิน
50 ล้านบาท ได้เปลี่ยนเป็นเพิ่มวงเงินโอดี เป็น 10 ล้านบาท และเงินกู้ระยะสั้นเป็น
45 ล้านบาท เพือ่ให้เกิดความคล่องตัวในกรใช้วงเงินดังกล่าว
ด้านนโยบายการผลิต ทางผู้บริหารฮอนด้า คาร์ส์ นอกจากจ้างทางบริษัทบางชัน
เยนเนอเรล แอสแซมบลี ซึ่งฮอนด้าถือหุ้นอยู่ 34% ด้วยเป็นโรงงานประกอบรถยนต์
ให้ยังเห็นความจำเป็นต้องให้สาขาในเมืองไทยทำหน้าที่ตั้งโรงงานเป็นศุนย์การผลิตรวมศูนย์การขาาย
และรับผิดชอบด้านศูนย์การบริการ ดังนั้นเมือ่ปลายปีที่ผ่านมา ผู้บริหารฮอนด้าจึงเข้าประมูลโรงงานกรรณสูต
เยเนอรัล แอส เซ็มบลี จากกรมบังคับคดี ด้วยมูลค่า 372 ล้านบาท ที่เฉือดเฉือนคู่แข่งคือเรโนลต์
ซึ่งหมดสัญญาว่จ้างกับบริษัทไทยบริติช แอสแซมบลีย์ ประกอบรถให้ตั้งแต่ปี
2532 ดังนั้นเรโรลต์ ซึ่งหมดสัญญาว่าจ้างกับริษัทไย-สวีดิช แอสเซมบลีย์ ประกอบรถให้ตั้งแต่ปี
2532 ดังนั้นเรโนลย์จึงพยายามที่จะมี โรงงานประกอบรถยนต์ของตัวเองให้ได้แต่ก็ต้องมาพ่ายแพ้แก่ฮอนด้าในงานประมูล
คราวนั้น
ฮอนด้าได้วางแผนจะใช้โรงงานกรรณสูต นี้เพื่อการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เช่นประตู
ฝากระโปรงรถ และบังโคลนป้อนแก่โรงงาน บางชันเยนเนอเรล แอสแซมบลี และลดการนำเข้าจากญี่ปุ่น
ซึ่งกว่าจะดำเนินการผลิตได้ก็ราวกลางปีนี้ และจะทำให้ฮอนด้ามีความได้เปรียบด้านต้นทุนในเชิงการแข่งขชันทางการตลาดมากขึ้น
"อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนถ้ามองตลาดฮอนด้าในบ้านเราผลิตปีละ 12,000
คัน จำนวนมันน้อยมาก ถ้าหากต่อไปคิดหาช่องทางแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนร่วมกันระหว่างประเทศในแถบเอเชี่ยได้ก็จะดี"
แหล่งข่าวเล่าให้ฟัง
เป็นที่วิพากษ์วิจารร์ กันว่าเพดานราคาขายรถยนต์ ที่ถูกควบคุมไว้โดยกระทรวงพาณิชย์
ตั้งแต่สมัยสุบิน ปิ่นขยัน เป้นรัฐมนตรีว่าการ อาจจะได้เปลี่ยนแปลงไปสุ่การปรับราคาขายขึ้นได้ในปีนี้
เนื่องจากผุ้ผลิตรถยนต์เกือบทุกยี่ห้อได้อ้างเหตุผลถึงต้นทุนการซื้อชิ้นส่วนซีเคดี(completely
knocked-down) จากต่างประเทศ โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 6-8 % เนื่องจาการเปลี่ยนแปลบงในอัตราแลกเปลี่ยน
และการเพิ่มราาชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศทางการกำหนดให้ใช้ 54% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต้องจ่ายมากขึ้นอีกประมาณ
3.5% ของตลาดการเงิน
"ปัญหาของราคารถยนต์ดูเหมือนจะอยู่ที่ค่าซีเคดี ซึ่งเป้นที่ยอมรับว่า
หากซีเคดี จากต่างประเทศแพงขึ้นอีกเท่าตัว ราคารถจะแพงขึ้น 3.5 เท่า ดังนั้นหากลดค่าซีเคดี
ไปก็ลจะลดราคาจำหน่ายได้มาก" สุบิน ปิ่นขยัน เคยพุดไว้สมัยเป็นรมว.พาณิชย์
อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการพัฒนายานยนต์ไทยที่ได้รับการคุ้มครองจากรัฐมาตลอด
20 ปีที่ผ่านมา ราคารถยนต์เมืองไทยก็นับว่าแพงมาก และปริมาณการผลิตก็ยังไม่พอกับควมต้องการด้วย
เพราะผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศทำไม่ทันความต้องการและส่งออกไปต่างประเทศด้วย
เนื่องจากกำไรได้ดีกว่า กอ่ให้เกิดปัญหาขาดแตคลนซ็อีก
จากจุดนี้ นโยบายเปิดเสรีนำเข้ารถยนต์ขนาดต่ำกว่า 2,300 ซีซี ก็เกิดขึ้นด้วยเจตนาที่จะเพิ่มการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้
เพือ่ให้ประโยชน์ผู้บริโภคและให้ผู้ผลิตปรับปรุงประสิทธิภาพรถยนต์ ซึ่งปีที่แล้วพลเอกประมาณ
อดิเรกสาร ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป้นรมว.อุตสาหกรรม ได้นำเสนอผ่านคณะรัฐมนตรีแล้ว
แต่ทางกระทรวงพาณิชย์ก็มิได้ดำเนินการใด ๆ โดยฟังเสียงค้านว่าปัญหาขาดดุลการค้าจะมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เนื่องจากปี 2531 ไทยนำเข้า 28,924 ล้านบาท ปี 2532 เพิ่มเป็น26,645.3
ล้านบาทและ 51.1% นำเข้าแชซีส์ ที่มีเครื่องยนต์ติดตั้งเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือรถยนต์
นั่งสำเร็จรูป
ฉะนั้นนโยบายอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทยจึงมีกระแสความขัดแย้งระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับกระทรวงอุตสาหกรรม
ที่เกี่ยวข้องกับผลิประโยชน์นับแสน ๆ ล้านบาท และนโยบายนี้อาจจะถูก แช่แข็ง
ในที่สุดตามผันผวนของการเมืองธุรกิจไทย
ขณะเดียวกัน รถปิคอัพได้รับอนุญาต ให้ตั้งและขยาย"รงงานได้ ดดยกำหนดให้ใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไทยได้ประมาณ
60-70 % ซึ่งนดยบายนี้เองที่บีโอไอให้การส่งเสริมการลงทุนผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถปิกอัพตั้งแต่ปี
2530 ทำให้ไทยกลายเป็นศุนย์กลางการผลิตเครื่องรถยนต์ปิกอัพส่งออกรายใหญ่ที่สุดในอาเซียน
ในปี 2532 ตลาดที่มีอนาคตสดใสก็คือตลาดรถปิคอัพ ซึ่งมีการขยายตัวสูง
เพิ่มขึ้นเป็นร 130% ขณะที่ยอดขายรถเชิงพาณิชย์พุ่งเป็น 216,000 คันต่อปี
เนื่องจากภาวะการขยายตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้าง เจ้าตลาดรถบรรทุกก็คืออีซูซุที่มียอดขายถึง
62,977 คัน โดยแยกเป็นรถปิกอัพ 43,505 คัน และที่เหลือเป็นรถบรรทุก 6 ล้อ
10 ล้อ และรถตู้
ผลกระทบของราคาน้ำมัน ดีเซล ที่ปรับสูงขึ้น 30% ในปีที่ผ่านมา ไม่รุนแรง
เนื่องจากมียอดขายจองรถที่สูงต่อเนื่องมา ขณะที่กำลังผลิตปีที่แล้วยังผลิตไม่ทัน
แต่ในปีนี้กำลังซื่อจะตกต่ำเนื่องจากการปรับตัวอัตราดอกเบี้ยยเงินกู้สูงขึ้นและความ
ผันผวนเศรษฐกิจโลกจากสภาวะสงครามยังมีอยู่
อย่างไรก็ตามนโยบายของรัฐด้านภาษีที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมประกอบรถปิกอัพ
ก็ได้เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ในการเรียกเก็บภาษีมูลภัณฑ์กันชน 33-44% สำหรับการดัดแปลงต่อเติมรถกะบะ
โดยรัฐหวังจะทำรายได้ เข้าคลังถึง 1,200 ล้านบาท
บริษัทที่ได้รับผลกระทบดยตรงจากนโยบายนี้ก็คือ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถและบริษัทไทยรุ่งยูเนียนยคาร์
ซึ่งเป็นของตระกูลเผอิญโชค ในปีที่แล้วไทยรุ่งฯ ทำรายได้จาการประกอบ และดัดแปลงรถปิคอัพรายใหญ่เป้นเงินถึง
470.8 ล้านบาท และบริษัทเพิ่งจะเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 60 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังผลิตและมีวงเงินเบิกเกินบัญชีและกู้ยืมธนาคารเป็น
67 กว่าล้านบาท
ในช่วงกลางปีที่แล้ว ตลาดที่เติบโตนอกเหนือจากรถปิคอัพแล้ว ภาวะตลาดหุ้นเรียลเอสเตรท
บูมและราคาน้ำมันที่ถูกลง ทำให้เกิดการขยายตัวในกลุ่มเศรษฐีใหมีผู้มีกำลังซื้อสูงขึ้น
ปรากฏว่า มีความเคลื่อนไหวคึกคักในตลาดรถใหญ่ระดับสูงทีมีขนาดเกิน 2,000
ซีซีขึ้นไป และมูลค่ารถแต่ละคันก็ไม่ต่ำกว่าหลักล้านบาท
อัตราเติบโตด้านยอดขายรถเศรษฐีเมือเทียบกับปีก่อนสูงถึง 130% โดยเฉพาะรถในค่ายยุโรป
เช่นเบนศ์ วอลโว่ซีรีส์ 9 BMN เปอโยต์ 605 โอลเด้น คาเร่ส์ ที่ทยอยเปิดตัวช่วงปลายปีที่แล้ว
ขณะที่รถหรูราคาแพงระยับของค่ายรถญี่ปุ่นก็ไม่พลาดตลาดระดับบนนี้ก็เช่นกัน
คือโตโยต้า คราวน์ นิสันเซฟิโร่ ฮอนด้าลีเจนด์
เจ้าตลาดรถหูระดับสูงคือบริษัทธนบุรี ประกอบรถยนต์ ผู้ทำรายได้มหาศาลจาการขายรถเบนซ์
ในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจาก 3,600 ล้านบาท เป็น 5,525.3 ล้านบาท และทำกำไรสุทธิได้ปีที่แล้วเกือบ
200 ล้านบาท ในปีนี้สภาพคล่องของธนบุรีและประกอบรถยนต์จึงจัดอยู่ในฐานะดี
แม้จะมีหนี้หมุนเวียนที่เกิดจากการกุ้ยืมแบงก์และเบิกเกินบัญชีอยุ่ถึง 2,506
ก็ตาม ซึ่งส่วนใหญ่มาจากวงเงินกู้ประเภททรัสต์รีซีทส์ ถึง 1,138 ล่านบาทก็ตาม
การเติบโตของรถเศรษฐีนี้เป็นที่จับตามองของรัฐที่มีดำริจะจัดเก้บภาษีรถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ตั้งแต่
2000 ซีวีขึ้นไป โดยอ้างเหตุผลของการ ประหยัดราคาน้ำมัน ท่ามกลางการคัดค้านของผู้ผลิตรถยนต์นี้
"ผมคิดว่าไม่น่ากระทบกระเทือนต่อยอดขายเพราะคนที่ซื้อเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้สูง
แต่การแก้ไขเรื่องประหยัดน้ำมัน มันคนละเรื่องกันกับภาษี" แหล่งข่าวในบรัทสวีเดนมอเตอร์
ผู้จำหน่ายรถวอลโว่เล่าให้ฟัง ปีทีแล้วบริษัทขายรถได้ถึง 2,736 คันซึ่งเทียบกับปีที่แล้วโตเพิ่มขึ้นถึง
72.2 ขณะที่โรงงานผลิตวอลโว่จะหมดสัญญารับจ้าง ประกอบรถยนต์กับวอลโว่ ประเทศไทยในปลายปีนี้
สำหรับตุลาคมปีนี้ รถวอลโว่ซีรีส์ 940 จำนวน 250 คัน ได้รับเลือกใช้ในการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลก
แค่นี้ภาพพจน์รถวอลโว่ก็สร้างขึ้นมาเพือ่การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ทั่วโลกอย่างดี
อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในปี 1991 นี้จึงดูเหมือนไม่มีปัญหาในช่วงครึ่งปีแรก
แต่ในช่วงครึ่งปีหลังเป็นที่น่าจับตาว่ากำลังผลิตและยอดขายของแต่ละค่ายรถยนต์จะ
อยู่ในภาวะชะลอตัวลงเนื่องจากเศรษฐกิจโดยทั่วไปไม่เอื้ออำนวยเหมือนปีทองทีผ่านมา
และต่อเนื่องไปถึงตลาดรถยนต์มือสองที่ซบเซาจากปลายปี ขณะที่ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ยังคงผลักภาระเสี่ยงให้กับลูกค้าด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อสูงต่อไปอีก