Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2543
ฮาร์โรว์กรุงเทพฯ ก้าวใหม่ที่ยิ่งใหญ่ในเอเชีย             
 


   
search resources

โรงเรียนฮาร์โรว์
Education




"ฮาร์โรว์" โรงเรียน ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 400 ปี จากประเทศอังกฤษ กำลังจะเป็นโรงเรียนทางเลือกแห่งใหม่ ในเมืองไทย และภูมิภาคเอเชีย

โรงเรียนฮาร์โรว์ ในประเทศอังกฤษ เป็นโรงเรียนประจำ เก่าแก่ ที่มีชื่อเสียงมาประมาณ 400 ว่าปีโดยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2115 ในพระราชินูปถัมภ์ของพระราชินีอลิซาเบธ ที่ 1 และมีบุคคลสำคัญของโลกมากมาย ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนนี้เช่น เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล และบัณฑิต เนรู

และเมื่อเดือนกันยายน 2541 โรงเรียน ที่มีประวัติศาสตร์ ยาวนานจากถิ่นกำเนิดในประเทศของซีกโลกตะวันตกแห่งนี้ ได้มาเปิดสาขาขึ้นเป็นครั้งแรก ที่เมืองไทย

โรงเรียนนานาชาติ ฮาร์โรว์ กรุงเทพฯ เมื่อเปิดดำเนินการสอนครั้งแรกนั้น มีนักเรียนรวมทุกชั้นประมาณ 150 คน โดยโรงเรียนใช้พื้นที่ 2 ชั้น และส่วนสันทนาการของโครงการบางกอกการ์เด้นบนถนนสาทรใต้ และมีทั้งนักเรียนประจำ และไปกลับ รวมทั้งมีนักเรียนหญิงได้ด้วย ในขณะที่ฮาร์โรว์ ที่อังกฤษเป็นโรงเรียนประจำของเด็กผู้ชายเท่านั้น

เปิดฉากปี 2000 กลุ่มผู้บริหารของฮาร์โรว์ ซึ่ง ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล ประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียน ได้เปิดตัวแถลงข่าวว่าขณะนี้ทางโรงเรียนกำลังเตรียมพัฒนาพื้นที่ประมาณ 700 ไร่ ในจังหวัดปทุมธานี ให้เป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนแห่งใหม่ โดยใช้เม็ดเงินในการก่อสร้างอีกประมาณ 500 ล้านบาท และคาดว่าจะสร้างให้เสร็จในเดือนกันยายน 2544

โรงเรียนแห่งใหม่นี้ เตรียมรองรับนักศึกษาจาก 450 คน ซึ่งมีอยู่แล้วในปัจจุบันเพิ่ม 1,500 คน โดยสามารถรับนักเรียน เข้าใหม่ได้ถึงปีละ 100 คน และจะสามารถขยายฐานกลุ่มนักเรียนต่างชาติเข้าศึกษาเพิ่มเป็นสัดส่วน 50% และคนไทย ในสัดส่วน 50% จากปัจจุบัน ที่เป็นนักเรียนไทย 75% และเป็นชาวต่างชาติ 25%

การก่อสร้างจะเริ่มในเดือนพฤษภาคม 2543 นี้ และคาดว่าจะเสร็จในเดือนกันยายน 2544 ซึ่งเมื่อถึงวันนั้น ก็จะกลายเป็นโรงเรียน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางการศึกษาของฮาร์โรว์ในภูมิภาคเอเชีย และจะมีมาตรฐานเทียบเท่าโรงเรียนฮาร์โรว์ ประเทศอังกฤษทุกประการเนื่อง จากคณะผู้บริหารของฮาร์โรว์ ประเทศอังกฤษ จะเดินทางมาแนะนำ และดูแลด้านมาตรฐานของการศึกษาเป็นประจำทุกปี ปีละ 3 ครั้ง

โรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ กรุงเทพฯ ดำเนินการสอนตามระบบการศึกษาของอังกฤษ ตามมาตรฐาน IGCSE (ระดับ มัธยมต้น) สำหรับเด็กอายุ 15-16 ปี และระดับ A Levels (ระดับมัธยมปลาย) สำหรับเด็กอายุ 17-18 ปี

เปิดสอนวิชาหลักได้แก่ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รวมถึงภาษาสากลต่างๆ ระบบไอที ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ดนตรี ศิลปะ พลศึกษา จะเริ่มสอนให้ตั้งแต่เด็กชั้นประถมขึ้นไป

สำหรับเด็กไทยจะต้องเรียน วิชาวัฒนธรรมไทย ประวัติ ศาสตร์ไทย 5 ครั้งต่ออาทิตย์ แต่ถ้าเป็นเด็กต่างชาติจะเรียนวิชาเหล่านี้เพียงแค่สัปดาห์ละ 2 ครั้งเท่านั้น มีอาจารย์ทั้งหมด 39 คนเป็นชาวต่างชาติ อีก 12 คนเป็นครูคนไทย และผู้ช่วย

ช่วงเวลาการเรียนแบ่งออกเป็น 3 เทอม ส่วนค่าใช้จ่ายของนักเรียนไปกลับ ชั้นอนุบาลหนึ่ง 177,500 บาทต่อเทอม ประถมหนึ่ง 105,000 บาทต่อเทอม ส่วนมัธยมหนึ่ง 113,800 บาทต่อเทอม

สำหรับในปี 2543 เมื่อโรงเรียนแห่งใหม่สร้างเสร็จ มีความพร้อมเรื่องสถานที่เรียน ที่ใหญ่โตโอ่อ่ามากขึ้น กลุ่ม เป้าหมายของนักเรียนใหม่ จะเปลี่ยนไปเป็นเด็กๆ จากประเทศ เพื่อนบ้าน เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์

แผนการทั้งหมดนั้น เป็นการตอกย้ำว่าฮาร์โรว์เมืองไทยจะยังคงยืนหยัดต่อไปแน่นอน และยังมีการวางแผนรุกครั้งใหญ่อีกด้วย โดยไม่หวั่นไหวต่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่กำลังผันผวน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us