Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2534
ปี 2534 ฝ่าแนวอุปสรรค กระแสสภาพคล่อง             
โดย รุ่งอรุณ สุริยามณี
 

 
Charts & Figures

ตารางดัชนีและภาวะเศรษฐกิจ การเงินไทย
ตารางสัดส่วนสภาพคล่อง ณ สิ้นกันยายน 2533
โครงสร้างเงินฝากของระบบธนาคารในแต่ละไตรมาสปี 2533
ตารางฐานะสภาพคล่อง (หนี้สินสุทธิ/เงินกองทุน) บริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ


   
search resources

Real Estate
Banking and Finance




26 พฤศจิกายน วีรพงษ์ รามางกูร รัฐมนตรีคลังคนก่อน เห็นขอบข้อเสนอของวิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ให้ขยับเพดานดอกเบี้ยเงินกเป็น 19% จาก 16.5 %

ดูเหมือนนักการธนาคารจะคาดหมายไว้ก่อนแล้วแต่ธุรกิจทั่วไปจะตกใจมากเนื่องจากมีความรู้สึกว่า

อัตราดอกเบี้ยสูงเทียบเท่าปี 2527 ที่ทุกคนตกอยู่อากรฝันร้าย

เศรษฐกิจปี 2534 ถูกคาดหมายว่าจะมีการชะลอตัวด้านการเติบโตลงเหลือ 6.5-7% จาก 9.5%

ในช่วง ปี 2533 และมากว่า 10% ในช่วง 2 ปีก่อนหน้านั้น ขณะที่เงินเฟ้อจะถูกควบคุมไว้ที่ 5-6% เทียบกับ

9-10% ช่วงก่อนหน้านี้

การเติบโตทีมีอัตราสูงเกินความสามารถในการตอบสนองของทรัพยากรเป็นภาวะที่อันตรายอย่างต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของแบงก์ชาติ "เป็นเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ที่แบงก์ชาติแถลงออกมาหลังประกาศยกเพพานดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ซึ่งได้รับการยอมรับจากผู้นำทางธุรกิจชั้นนำว่าเป็นการตัดสินใจทางนโยบายการเงินที่ถูกต้องชอบด้วยเหตุผล

การตอบสนองของทรัพยากรที่ไม่ทันต่อการเติบโตมีสัญญานปรากฏให้เห็นหลายด้าน

หนึ่ง-ปูนซิเมนต์มีการขาดแคลนปีละเกือบ 2 ล้านตัน ไปจนถึงปี 2535 เนื่องจาการเติบโตของความต้องการด้านพัมฯาที่ดินและที่อยู่อาศัยคอนโดมิเนียม ทำให้ราคาที่ดินถูกปั่นสูงขึ้นอย่างไร้การควบคุมท่ามกลางการขาดแคลนวัสดุก่อสร้างจนราคาเพิ่มสูง

ขึ้นอย่างปูนซิเมนต์ชั้นดีกระสอบละ 120 บาท จากเดิมราคา 70-80 บาท สอง- เงินออมสกุลเงินบาทในตลาดการเงินเริ่มไม่เพียงพอต่อความต้องการด้านสินเชื่อ สิ่งนี้ทำให้สภาพคล่องในตลาดเงินเริ่มมีการฝืดเคือง แบงก์พาณิชย์มีสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงถึง 98.2

" เดือนกันยายน แบงก์มหานคร กรุงเทพ นครหลวงไทย เอเชีย และไทยทนุ มีสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงเกิน 100 ทั้งนั้น มันเป็นตัวชี้ชัดว่าต้องมีการนำเงินกู้จากต่างประเทศเข้ามาปล่อยให้ลูกค้า ถึงจะเสี่ยงกับความผันผวนของดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนก็ต้องยอมเพราะส่วนต่างของกำไร ( spread) มันสูงประมาณ 4-5%" มือบริหารเงินของแบงก์ชั้นนำรายหนึ่งกล่าวถึงการบริหารสภาพคล่องของธนาคารในเดือนกันยายน

ช่วงเดือนกันยายน ตลาดเงินฮ่องกงและสิงคโปร์ดอลลาร์ ระยะสั้น มีอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารประมาณ 8% เมื่อบวกค่าธรรมเนียมการคุ้มครองความเสี่ยงและการจัดการ ( รวมภาษี) ประมาณ 2.2.5% จะมีต้นทุนรวมประมาณ 10-11% เท่านั้น ขณะที่ตลาดเงินกู้ระหว่างธนาคารในประเทศตกประมาณ 15-16%

เมื่อมีความต้องการสินเชื่อสูง ขณะที่ดอกเบี้ยภายในราคาแพงกว่าต่างประเทศมาก จึงมีการกู้เงินเข้ามาสูงถึง 372 ล้านเหรียญสหรัฐ ในเดือนกันยายน และเพิ่มเป็น 514 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนตุลาคม " เรากุเข้ามาเพื่อ matching funds เท่านั้น" ชัชวาล พรรณลาภ ผู้จัดการอาวุโส ด้านการบริหารเงินไทยพาณิชย์ กล่าวถึงเจตนาการกู้เงินต่างประเทศของไทยพาณิชย์

การกู้เพื่อ matching funds หมายถึงการกู้เงินสกุลต่างประเทศที่แบงก์มีจำนวนไม่พอกับความต้องการของลูกค้าส่งออกหรือนำเข้า เช่นแบงก์เปิดบัญชีแอลซีดอลลาร์สหรัฐ 3 เดือน ให้ลูกค้านำเข้าสินค้า เงินดอลลาร์ของแบงก์จะถูกตัดบัญชีไปก่อน แบงก์ก้จะกู้ดอลลาร์สหรัฐระยะ 3 เดือน เข้ามาเพื่อปิดส่วนที่ถูกตัดบัญชีไปก่อน

ปกติแล้วธนาคารจะไม่กู้เงินต่างประเทศ เข้ามาโดยไม่จำเป็น เนื่องจากไม่ต้องการเสี่ยงด้านดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยน แต่เมื่อเงินบาทหายาก และต้นทุนแพงอย่างในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ที่ดอกเบี้ยยฝากประจำขึ้นไปถึง 14.5% ต่อปี ก็ต้องกู้มาใช้เพื่อสงวนเงินบาทไว้ปล่อยกู้ที่มีกำไรดีกว่า แทนที่จะเอาเงินบาทไปซื้อดอลลาร์สหรัฐมาปิด

การกู้เงินต่างประเทศของธนาคาร จึงเป็นการสะท้องความตึงตัวของสภาพคล่องการระดมเงินบาทที่มีอยู่อย่างจำกัดในประเทศ และสิ่งนี้หมายความถึงช่งว่างการออมกับการลงทุนห่างกันมาก

จากสิ้นธันวาคม ปี 2532 ถึงกันยายน 2533 ช่องว่างการเติบโตของสินเชื่อกับเงินฝากโดยเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 25.8 ต่อ21.0 ธนาคารบางแห่ง เช่นกรุงไทย กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ และมหานคร มีอัตราการเติบโตของสินเชื่อมากว่าเงินฝากกันมาก

กรุงไทยมีการเติบโตของสินเชื่อ 29.3 ขณะเงินฝาก 19.9% กสิกรไทย สินเชื่อขยายตัว 30.6 ขณะที่เงินฝากขยายตัว 22.7 % ไทยพาณิชย์สินเชื่อโต 38.5 เทียบกับ 23.1 ของเงินฝาก ส่วนมหานคร สินเชื่อขยายตัว 35.2 ขณะที่เงินฝากขยายตัว 27.6%

" การทำธุรกิจของแบงก์จากช่วงนี้ไป เราต้องฝากไว้ที่ความสามรรถในการระดมเงินบาทที่มีฐานราคาเหมาะสม" ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายวาณิชธนกิจแบงก์กรุงศรีอยุธยา พูดถึงยุทธศาสตร์ การบริหารเงิน เพราะว่าช่องว่างระหว่าเงินออมกับเงินลงทุนยังถ่างกว้างอยู่

ธีระ วรรณเมธี หัวหน้าสำนักงานบริษัทยบาร์เคย์ เดอโซเอ็ดเว็จ ( บีแซทดับบลิว) ประเทศไทย ได้ระบุไว้ในายงานบีแซทดับบลิวรีพอร์ต ประจำเดือนตุลาคม-พฤศจิายน ว่า ช่องว่างการออมกับการลงทุน ยังต่างกันอยู่ แต่มีแนวโน้มแคบเข้าจาก /% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในชาติ หรือจีดีพี ใน ปี 1991 เหลือประมาณ 1.5% ของจีดีพี ในปี 1992 เนื่องจากการชะลอตัวของการลงทุนและเพิ่มขึ้นของการออม

ธีระ ได้ระบุว่า ปี 2534 การออมจะมีสัดส่วนประมาณ 28% ของจีดีพี ขณะที่การลงทุนมี 30% ของจีพีพี ส่วนปี 2535 สัดส่วนการออมจะเพิ่มขึ้นเป็น 29% ของจีดีพี ขณะที่การลงทุนลดลงเหลือ 29% ของจีดีพี

ดังนั้น การขึ้นเพดานดอกเบี้ยเงินกู้ 19% และการที่เงินฝากขยับเป็น 9.5 สำหรับออมทรัพย์และ 14.5 % สำหรับประจำแบงกชาติ จึงคาดหมายว่า จะช่วยลดช่องว่างเงินนี้โดยการชะลอตัวของสินเชื่อลงจาก 36% เหลือประมาณ 25-26% ฝนระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า

" เดือนพฤศจิกายน สินเชื่อชะลอตัวลง 1% จาก 36% มูลค่า 30 พันล้าน บาทในเดือนตุลาเหลือ 35% มูลค่า 28 พันล้านบาท ขณะเดียวกันเงินฝากเพิ่มสูงขึ้น 6 พันล้านจาก 15 พันล้านเป็น 21 พันล้าน" พิสิทธิ์ ลี้อาธรรมผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการแบงก์ชาติรายงานสภาพคล่องของระบบการเงินธนาคารพาณิชย์หลังการยกเพดานดอกเบี้ยเป็น 19% ซึ่งสะท้อนถึงแนวโน้มที่ดี

การที่สินเชื่อชะลอตัวลงเรื่องจากพ่อค้าลดการใช้สินเชื่อเพือกักตุนเก็งกำไรสินค้าวัสดุก่อสร้าง ขณะเดียวกัน ก็เร่งระบายสินค้าออกสู่ตลาด เพื ่อระดมเงินสดและปลดภาระหนี้ดอกเบี้ย นอกจากนี้ พวกที่ทำมาหากิน จกาการเก็งกำไรที่ดิน และห้องพักคอนโดมิเนียม ที่เคยอาศัยการใช้สินเชื่อหมุนเวียนจากธนาคารก็หดตัวการลงทุนทันที

ส่วนด้านเงินฝาก มีการไหลเข้าสู่ธนาคาร เนื่องจากมีการโยกย้ายแหล่งลงทุนจากตลาดหุ้น เข้าสู่ธนาคาร ด้วยแรงจุงใจด้านอัตราดอกเบี้ย

แบงก์ชาติ ยังต้องทำสงครามกับการลดช่องว่างการออมกับการลงทุนนี้ต่อไป เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างมีเสถียรภาพ หรือปราศจากแรงกดดัน ด้านเงินเฟ้อ

นั่นหมายถึงสัญญานความยุ่งยากทางการเงินในปี 2534 ที่นักธุรกิจ ต้องพบกับการบริหารสภาพคล่องที่ท้าทายความสามารถ หลังจากที่ 3 ปีที่ผ่านมา ดื่มด่ำกับการหาเงินได้ในราคาถูก อัตราดอกเบี้ย 13-14 % มีเงินเฟ้อ 4 % เท่านั้น ขณะที่อำนาจซื้อ ตลาดสูงมาก ชนิดที่เรียกว่า ผลิตเท่าไรก้ขายหมด

" แต่ปีนี้ ความเป็นจริงเรื่องสถานการณ์ จะต่างกัน แม้ตลาดเงินจะไม่ตกอยู่ในภาวะที่เรียกว่า หาเงินบาทมาให้นักธุรกิจกู้ไม่ได้เลย หรือที่เรียกว่า credit crunch นักธุรกิจหาเงินกู้ได้มไมีปัญหา แต่ผมเชือ่ว่า ราคาดอกเบี้ยแพงขึ้น" สิงหะ นิกรพันธ์ มือบริหารเงิน และค้าเงินตราแบงก์นครธน คาดการณ์สถานการ์ที่นักธุรกิจจะต้อประสบในปี 2534

ความต้องการสินเชื่อมีมากขึ้น ในช่วงปีจากนี้ไป บริษัทซีพีเทเลคอม ต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 4000-5000 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 15,000 ล้านบาท ในปี 2535 จากเงินลงทุนโครงการ 6 ปี 150,000 ล้านบาท ดาวเทียมกลุ่มชินวัตร ต้องใช้เงินประมาณ 1,000 พันล้านบาท ในปี 2534 จาก 5,500 ล้านในปี2536 ดอนเมืองโทล์เวย์ ของกลุ่มศรีนครและพาณิชชีวะ ต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาทจาก 7,500 ล้านในปี 2536 นอกจากนี้การลงทุนก่อสร้างโรงงานประกอบชิ้นส่วนโทรศัพท์เพื่อป้อนให้ซีพีเทเลคอม อีกไม่นอ้ยกว่า 2,000 ล้าน ด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยและสนามกอล์ฟ ซึ่งแบงก์หันมาปล่อยกู้แบบโพสต์ไฟแนนซ์ อีกไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท หรือประมาณ ครึ่งหนึ่งของการลงทุนปี 2533

รวมความแล้วปีนี้เฉพาะความต้องการใช้เงินของเอกชนตามโครงการที่ผูกพันตามข้อสัมปทาน

ของรัฐที่สำคัญมีประมาณ เกือบ 30,000 ล้าน บาทเข้าไปแล้ว ยังไม่นับ.โครงการลงทุนและใช้เงินของเอกชนรายอื่น ๆ ที่ต้องทำต่อเนื่องจากปีก่อน

โครงการลงทุนตามข้อผูกพันในสัปปทาน เหล่านี้คือ ผู้ใช้สินเชื่อรายใหญ่ เช่นดอนมืองโทล์เวย์ ที่วางแผนใช้เงินกู้ในประเทศสกุลบาท ประมาณ 3,000 ล้านหรือ 40% ของเงินลงทุนโครงการเป็นต้น ซึ่งจะมีผลต่อโครงการอื่น ๆ ที่อยู่นอกสัมปทานและมีขนาดเล็กกว่า ( crowding out effect) ขณะที่ตลาดหนี้ตกอยู่ในภาวะการณ์ท่ธนาคารพาณิชย์มีการเข้มงวดสูงและตลาดทุนโดยเฉพาะหุ้นก็อยู่ในภาวะตกต่ำ

ปัญหามีอยู่ว่าการหาเงินมาทำโครงการและดำเนินสภาพหล่อเลี้ยงธุรกิจจะพึ่งแหล่งใดที่ดีที่สุด

ภายใต้ความเข้มงวดของตลาดหนี้เช่นนี้

คำตอบก็คือ ความเป็นไปได้ของโครงการและเครดิตของผู้กู้ ซึ่งมีหัวใจอยู่ที่การบริหารสัดส่วนหนี้ต่อทุน " สัดส่วนหนี้หนี้ต่อเงินทุนควรอยู่ในระดับ1.5-1.8 ต่อ 1.0 สำหรับโครงการอสังหาริมทรัพย์ น่าจะยอมรับได้ในเรื่องเครดิตของโครงการ" สุรพล ขวัญใจ ธัญญา กรรมการบริหารของกลุ่มบ้านฉางและบ้านพาราพูดถึงการบริหารหนี้ต่อทุนที่เหมาะสมของธุรกิจ

อสังหาริมทรัพ์ย์ ืในปีหน้า เนื่องจากตลาดผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จะหดตัวลงอย่างมาก หนี้ที่ก่อไว้สูงกว่าทุนหลายเท่า จะไม่สามารถสร้างรายได้มาหมุนให้ทันต่อค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากภาระดอกเบี้ย

ดังนั้นการที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นอยุ่ในระดับเฉลี่ย 17% ขณะที่แบงก์เริ่มปรับแนวปล่อยสินเชื่อจากพรีไฟแนนซ์ มาเป็นแบบโพสต์ไฟแนนซ์ บริษัทที่มีฐานเงินทุนที่แข็งแรง และสร้างหนี้ในสัดส่วนที่หมาะสม จึงเป็นหัวใจสำคัญของการอยู่รอดของอสังหาริมทรัพย์ และตรงนี้ก็คือประตูผ่าการหาแหล่งเงินกู้ที่ธนาคารสามารถเสนอเทอมการให้สินเชื่อที่ดีที่สุด

ว่าไปแล้วธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่ดูไม่จืดเลยจากการเปลี่ยนแปลงของตลาดการเงินครั้งนี้

" เมืองไทยนี้แปลก ปีสองแปดยังอยู่ห้องไอซียู ปีสองเก้าออกวิ่งแล้ว วิ่งมาแล้วสามรอบ สามปียังมีแรงต่อ ยังคึกคักอยู่" แหล่งข่าวในวงการเรียลเอสเตท รายหนึ่งเปรียบเปรยสภาพความเคบลื่อนไหวในช่วงสามปีที่ผ่านมาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

อัตราเพิ่มโดยเฉลี่ยของจำนวนผู้ที่อาศัยในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นบ้าน ทาวน์เฮ้าส์และคอนโดมีเนียม ในระวห่างปี 2530-2533 สูงถึง 18% ต่อปี ในขณะที่อัตราเฉลี่ยของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงสามปีนี้เท่ากับ 11% เท่านั้น และในบรรดาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นมานี้ก็เป็นการสร้างโดยผู้ประกอบการในสัดส่วนมากว่า 70%

ที่เฟื่องฟูมากที่สุดเห็นจะเป็นโครงการคอนโดมีเนียม ในหลาย ๆ ระดับ เฉพาะปี 2533

ประมาณกันคร่าว ๆ มีโครงการที่จะประกาศตัวเข้าร่วมวงศ์ไพบูลย์ร่วม 400 โครงการ

ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงสถิติตัวเลขเอากันแค่สิ่งที่ผ่านหูผ่านตาจากรายการดฆษณาที่ยึดพื้นที่

กว่าครึ่งในหน้าหนังสือพิมพ์และงานเปิดตัวโครงการใหม่ ๆ ที่มีขึ้นเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 วันในรอบปีที่ผ่านมา ก็สามารถรับรู้ได้ด้วยสามัญสำนักว่า ไม่มีธุรกิจไหนจะเพื่องฟูกว่าการสร้างบ้าน ขายตึกไปได้

ภายหลังการขึ้นเพดานดอกเบี้ย ของแบงก์ชาติ เมื่อเดือนพฤศจิกายน และเหตุการณ์ความยืดเยื้อในวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซียดัง กล่าว ธุรกิจนี้นับได้ว่าหยุดชะงักลงอย่างสินเชิง แหล่งข่าวจากกองควบคุมอาคาร กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา นี้การขอยื่นขออนุญาตปลูกสร้างอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ลดลงไปเป็นจำนวนมาก จากเดิมที่เคยมีผู้ยื่นขออนุญาตปลุกสร้างอย่างน้อยวันละ 10-20 ราย เหลือเพียง วันละไม่ถึง 5 ราย โดยเฉพาะโครงการตึกสูง ๆ 20-50 ชั้นขึ้นไปนั้นไม่มีเลย

เครื่องวัดตัวหนึ่งที่ชี้ถึงภาวะหยุดชะงักของธุรกิจนี้ก็คือค่าใช้จ่ายในการโฆษณาที่ลดลงถึง 50% ธุรกิจเรียลเอสเตรท นั้นครองแชมป์การโฆษณามาโดยตลอด จากต้นปี ถึงเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว มียอดสงถึง 1,100 ล้านบาท แต่ในเดือนพฤศจิกายน ลดลงเหลือเพียง 89 ล้านบาท ในขณะที่อัตราเฉลี่ยต่อเดือนในช่วงทีผ่านมาคือ 150 ล้านบาท

โครงการคอนโดมิเนียม ที่คาดกันว่า ในปี2534 จะเปิดตัวเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำว่า 200 โครงการ ณ วันนี้หยุดความเคลื่อนไหวโดยสิ้นเชิง เพื่อรอดูสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ

ธุรกิจเรียลเอสเตรท เป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและอย่างรุนแรงมากที่สุด จากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ในขณะนี้ เช่นเดียวกับยามที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง ธุกริจนี้ก็ขยายตัวกันอย่างสนั่นหวั่นไหว

แรงขับเคลื่อนที่สำคัญของธุกิรจเรียลเอสเตรท ในช่วงสามปีที่ผ่านมา นี้คือ การขยายตัวของประชากร ในช่วงทศวรรษ 1960 อัตรการขยายตัยวของประชากรอยู่ในระดับสูงสุด คือ 3% ต่อปี โดยเฉบี่ย คนที่เกิดมาในช่วงนั้น มาถึงพ.ศ. นี้คือคนที่ อยู่ในวัยทำงาน

อัตราการเพิ่มของประชากร ในวัยทำงานนี้ ขยายตัวอย่างรวดเร็วมากคือ 2.8 % ต่อปี และส่วนใหญ่จะกระจุกอยู่ในกรุงเทพซึ่งเป็นศูนย์กลางในทุก ๆ ด้านของประเทศ ประมาณกันว่า หากยังขยายตัวอยุ่ในอัตรานี้อีก 10 ปีข้างหน้า สัดส่วนของคนกลุ่มนี้ ( อายุ 25-50 ปี) โครงสร้างของประชากรทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเป็ฌน 39% จาก 32% ในปัจจุบัน

คนกลุ่มนี้ ก็คือผู้ซื้อหลัก ในธุรกิจตเรียลเอสเตรท เมื่อมีงานทำ ยิ่วมีรายได้ประจำเรื่องต่อไปที่จะต้องคิดก็คือ หาบ้านอยู่ ยิ่งแนวโน้มทางสังคมที่สถาบันครอบครัวจะประกอบด้วยครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ความต้องการที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองคือ ตลาดขนาดใหญ่ ที่จะรองรับธุรกิจนี้

ความต้องการนี้ถูกทำให้กลายเป็นความจริงที่จับจ้องได้ จาการการขยายตัว

ของเศรษฐกิฐไทย อย่างต่อเนื่องนับจากปี 2528 มูลค่าผลิตภัณฑ์รวมภายในชาติ (GDP) ในปีนั้นเท่ากับ 3.5 % ปี 2529 เพิ่มขึ้นเป็น 4.9% และเพิ่มขึ้นเป็น 9.5% 13.2 % ในปี 2530 และ 2531 ตามลำดับ

เมื่อรายได้ประจำหรือเงินเดือนเพิ่มข้นจากเดิม โอกาสที่จะหาบ้านสักหลังก็ไม่ใช่เรื่องยาก ปัจจัยเหล่านี้ถูกเสริมด้วยแรงกระตุ้นที่สำคัญคือ อัตราดอกเบี้ยเพียง 14-15% ในระหว่างปี 2530-2532

จำนวนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมีสัดส่วน 5.1% ของสินเชื่อทั้งในระบบในปี 2528 และเพิ่มขึ้นเป็น 5.8% 6.4% 7.1% และ 7.2% ในอีก 4 ปีต่อมาจนถึงปี 2532 ถึงแม้ว่าสัดส่วนดังกล่าวจะมีน้อยเมื่อเทียบกับสินเชือทั้งหมด แต่อัตราเฉลี่ยของการขยายตัว นั้นสูงถึง 30% ต่อปี ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของวงเงินสินเชื่อทั้งหมดอยุ๋ในอัตราแค่ 20% ต่อปีเท่านั้น

ทั้งความต้องการที่อยู่อาศัยที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การขยายตัวของเศรษฐกิจทำให้คนมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น และแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยถูก ทั้งสามปัจจัยนี้คือแรงสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเรียลเอสเตท กลายเป็นธุรกิจที่ซื้อง่าย ขายคล่อง ทำกำไรให้งดงามในชั่วระยะเวลาสั้น ๆ การลงทุนปลูกบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม หรือสร้างสนามกอล์ฟ สวนเกษตรกลายเป็นการลงทุนยอดนิยม ทั้งโดยผู้ประกอบการที่อยู่ในวงการนี้อยู่แล้ว และนักลงทุนในธุรกจอื่น ๆ เช่นธนาคาร พาณิชย์ อุตสาหกรรม แม้แต่ข้าราชการนักการเมืองไม่พลาดที่จะร่วมขบวนการน้ำขึ้นให้รีบตักครั้งนี้ด้วย

ยิ่งโครงการที่ลงทุนไปก่อนนี้ประสบความสำเร็จ

ก็ยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการลงทุนมากยิ่งขึ้นเป็นเงาตามตัว การเก็งกำไรเป็นกลไกอันหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจนี้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และกล่าวได้ว่าการเก็งกำไรมีบทบาทสำคัญในการสร้างภาพของความคึกคักให้เกิดขึ้น

โครงการคอนโดมิเนียม และสนามกอล์ฟนั้น ประมาณกันว่าเป็นตลาดของการเก็งกำไรราว 50% ส่วนในธุรกิจบ้านจัดสรรจะมีนักเก็งกำไรอยู่ประมาณฯ 20%

การเก็งกำไรเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ตลาดมีสภาพคล่อง แต่ถ้ามีมากไปก็จะทำใหโครงสร้างของธุรกิจบิดเบี้ยวไป ในรอบสามปีที่ผ่านมานี้การเก็งกำไร ทำให้เกิดภาพลวงตา ว่าตลาดเรียลเอสเตท ยังมีความต้องการอยู่อย่างไม่รู้จบสิ้น ในความเป็นจริงแล้วความต้องการที่กล่าวอ้างกันนั้น เป็นความต้องการเทียมเสียครึ่ง

ว่าไปแล้ว การขยายตัวเกินขนาดของธุรกิจนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวมเกิดอาการ overheat จนทางการต้องใช้มาตรการทางด้านการเงินมาชะลอการขยายตัวโดยอาศัยวิกฤติการณ์อ่าวเปอร์เซียเป็น

ช่วงจังหวะดึงภาวะเศรษฐกิจให้ลดอาการร้อนแรงลง

ความเป็นจริงแล้วธุรกิจเรียลเอสเตรทส่งเค้าแห่งปัญหามาตั้งแต่ปลายปี 2531 แล้ว เมื่อวัสดุ ก่อสร้างหลาย ๆ อย่างขาดแคลน และมีราคาสูงขึ้น เพราะมีไม่พอกับความต้องการ ไม่เพียงแต่วัสดุก่อสร้างที่ขึ้นราคา ค่าแรงงานทั้งแรงงานไร้ฝีมือและมันสมองก็สูงขึ้น แถมยังขาดแคลน เช่นเดียวกับผู้รับเหมาก่อสร้างที่เกิดไม่ทันกับโครงการต่าง ๆ จน หลาย ๆ โครงการขายออกไปแล้ว หาผู้รับเหมามาสร้างไม่ได้

แม้เมื่อเศรษฐกิจยังสะพัด เงินเยอะ ดอกเบี้ยถูก น้อยคนนักที่จะเชื่อว่า วันเวลาของเรียลเอสเตรท กำลังจะหมดไป จนกระทั่งเกิดวิกฤตการร์อ่าวเปอร์เซีย ขึ้นเมื่อเดือนสิงหาาคม ปทีที่แล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจึงเริ่มชะลอตัวลง และดูเหมือนจะเลวร้ายลงไปอีก เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศขึ้นเพดานดอกเบี้ยเงินกู้ จาก 16.5% เป็น 19.0% เมื่อเดือนพฤศจิกายน

"ผมว่า ดอกเบี้ยเป็นตัวหลัก" อนันต์ อัศวโภคิณ กรรมการผู้จัดการ บริษัทแลนด์แอนด์ เฮาส์ พูดถึงสิ่งที่ผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจเรียลเอสเตรท

กำลังซื้อกลุ่มแรกที่จะหายไปก็คือ นักเก็งกำไร ซึ่งที่ผ่านมา เป็นตัวหล่อเลี้ยงให้ตลาดมีสภาพคล่อง ขณะเดียวกันเป็นตัวที่สร้างภาพลวงตาขึ้น กำลังซื้อกลุ่มนี้หดหายไปนับตั้งแต่ตลาดหุ้นเริ่มตกต่ำ เป็นที่รู้กันดีว่า นักเก็งกำไรในตลาดเรียลเอสเตรท ส่วนใหญ่ จะเป็นกลุ่มเดียวกับนักเก็งกำไรหุ้น ความตกต่ำของตลาดหุ้นทำให้เงินส่วนนี้หายไป

กำลังซื้อกลุ่มที่สอง ที่ลดน้อยลง คือกล่มที่ต้องการซื้อบ้านจริง ๆ ซึ่งในช่วงสองปีที่ผ่านมา จะมีความรู้สึกกลัวว่าต้องรีบซื้อบ้านให้เร็วที่สุด มิฉะนั้นราคาจะสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ผลทางจิตวิทยาแบบนี้ผสมผสานกับการเก็งกำไรที่เห็นได้จาการเปิดโครงการแต่ละครั้ง

จะมีคนเข้าไปจับจองซื้อเป็นจำนวนมาก

เมื่อตลาดชะลอตัวลง กลุ่มผู้ซื้อจริง ๆ ก็จะเริ่มมีโอกาสตัดสินใจเลือกมากขึ้น ประกอบกบอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้ต้องรอบคอบขึ้นด้วยมาตรการควบคุมสินเชื่อ

ของธนาคารพาณิชย์ที่ให้กับผู้ซื้อเป็นตัวหนึ่งที่จะกันผู้ซื้อออกไปจากตลาดเพราะไม่สามารถหาแหล่งเงินกู้ได้ โดยเฉพาะในตลาดล่างซึ่งผู้ซื้อมีรายได้น้อยหรือประกอบอาชีพอิสระ เป็นกลุ่มที่ธนาคารจะงดการให้กู้ได้ง่ายที่สุด

กำลังซื้อที่หดหายไป ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อโครงการใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นมาในปีนี้ อย่างรุนแรงต่อโครงการใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นมาในปีนี้ ต้องรับความเสี่ยงสูงว่าจะขายได้หรือไม่ โครงการที่เปิดขายไปแล้วก็หนีไม่พ้นปัญหา cashflow เมื่อลูกค้าที่ซื้อไปแล้วไม่สามารถผ่อนต่อไปได้ ขณะเดียวกันตัวผู้ประกอบการเองก็ต้องเจอกับภาวะต้นทุนการก่อสร้างที่สูงขึ้น ค่าน้ำมัน ค่าวัสดุก่อสร้าง และดอกเบี้ยเงินกู้

ถึงวันนี้ สัญญานการปรับตัวได้เริ่มขึ้นแล้ว โครงการต่าง ๆ ที่มีแผนจะประกาศตัวในปีนี้ หยุดรอดูสถานการณ์กันเป็นแถวโครงการที่ประกาศไปแล้วก่อนหน้าวิกฤติการณ์อ่างเปอร์เซีย

ก็ต้อ้งปรับตัวด้วยการลดขนาดของโครงการ บางโครงการอย่างเช่นคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งบนถนนศรีนคริทร์ ของนักลงทุนชาวไต้หวันได้ประกาศขายทิ้งไปแล้ว ขณะนี้ได้เกิดธุรกิจประมูลขายโครงการรวมทั้งบ้าน ห้องชุดที่นักเก็งกำไรซื้อไปแล้วหาเงินมาผ่อนต่อไม่ได้ขึ้นมาหลายแห่ง ซึ่งเป็นแนวโน้มว่ารายการเลหลังหรือเทคโอเวอร์โครงการที่สายป่านยาวไม่พอจะต้องเกิดขึ้นแน่ปีนี้

แต่มองในมุมกลับ วิกฤติการณ์ครั้งนี้ไม่ร้ายแรงอย่างที่คิดกัน กลับจะส่งผลดีที่ทำให้วงการน้ำแข็งแรงขึ้น โครงการธุรกิจที่ผิดธรรมชาติจะถูกปรับให้เป็นปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาที่ดินที่ทำให้วงการนี้แข็งแรงขึ้น โครงสร้างธุรกิจที่ผิดธรรมชาติจะถูกปรับให้เป็นปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาที่ดินและราคาบ้านซึ่งสามปีทีผ่านมาเพิ่มขึ้นสูงถึง 40% จะปรับราคาต่ำลงซึ่งทำให้ผู้ซื้อที่แท้จริงมีโอกาสเลือกมากขึ้น ตลาดจะเป็นของผู้ซื้อมากขึ้น

ในส่วนของผู้ประกอบการ สถานการณ์แบบที่ ไม่ว่าจะสร้างอะไรมาก็ขายได้หมดจะหายไป การดำเนินโครงการแบบมืออาชีพจะเป็นหลักประกันสำหรับความอยู่รอด นับจากนี้ไป การวางแผนและใช้กลยุทธ์ทางการตลาดจะเป็นหัวใจสำคัญโดยเฉพาะการเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม ( sigment marketing) ใช้กลยุทธ์ทางด้านราคา ( pricing) ที่เหมาะสมและที่สำคัญการบริหารสภาพคล่อง ดำรงฐานะหนี้สินต่อทุนในสัดส่วนที่ไม่สูงเกินไปจนสร้างภาระดอกเบี้ยมาก จะเป็นหัวใจของการบริหารช่วงจากนี้ไป เพราะเป็นที่มาของการสร้างความน่าเชื่อถือในประสิทธิภาพการบริหาร

มองจากจุดนี้ บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เป็นตัวอย่างของบริษัทที่มีฐานะความน่าเชื่อถือที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง เนื่องจากเป็นยริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น มีสัดส่วนหน้สินสุทธิต่อทุนเพียง 1:02 ต่อ 1.0 เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ถ้าไม่ใช้มาตรฐานของธนาคารพาณิชย์ทั่วไปแล้ว บริษัทยังมีความสวามารถสร้างหนี้ขั้นต่ำได้อีก 0.8 เท่าของเงินทุนจดทะเบียน 1,876 ล้านหรือประมาณ 1,500 ล้านได้อย่างสบาย ๆ

แลนด์แอนด์ เฮ้าส์ มุ่งทำธุรกิจที่อยู่อาศัยเป็นหลักใหญ่ ๆ ถึงร้อยละ 53 ของมูลค่าสินทรัพย์รวม 9,190 ล้านบาท

แหล่งข่าวในไทยพาณิชย์ เล่าให้ผู้จัดการฟังว่า ในปีนี้ แม้ธนาคารจะเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทพรัย์ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สนใจเลย เพราะตลาดที่อยู่อาศัยยังมีความต้องการอยู่แม้แต่กำไรต่อหน่วยจะลดลงก็ตาม " เรายังเชื่อถือในบริษัทที่มีหลักการบริหารหนี้ต่อทุนเหมาะสมและมีเครดิตความสามารถในการประกอบ

ธุรกิจนี้อย่างการบริหารของแลนด์แอนด์เฮ้าส์ " ชัชวาล พรรณลาภ ผู้จดัการอาวุโส ฝ่ายบริหารเงินไทยพานิชย์ พูดถึงจุดแข็งที่สำคัญของธุถกริจอังหาริมทรัพย์ในการเงินกู้ที่ธนาคารยอมรับโดยยกตัวอย่างจากแลนด์แอนด์เฮาส์

แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ได้ปรับตัวในการลงทุนอย่างรวดเร็ว อนันต์ อัศวโภคิณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แลนด์แอนด์เฮ้าส์ กล่าวว่าจะหันมาลงทุนสร้างบ้านที่มีขนาดเล็กลง ราคาประมาณ 2-5 ล้านบาทเพื่อป้อนตลาดผู้ซื้อที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป " คนที่จะซื้อบ้านที่มีราคาพอรับกับความสามารถในการผ่อนส่ง ไม่เหมือนปีก่อนที่ธุรกิจส่วนใหญ่ดี คนมีความสามารถในการหารายได้สูงตลาดบ้านราคาสูงมากกว่า 5 ล้านขึ้นไปจึงขายได้"

แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญการลงทุนสร้างบ้านที่อยู่อาศัยมากว่าคอนโดมิเนียม พึ่งพิงตลาดหลักผู้ซื้อในประเทศ

ขณะที่บริษัทลงทุนสร้างคอนโดฯ และสนามกอล์ฟ อย่างกลุ่มบริษัทบ้านฉาง-บ้านพาราได้หันมาปรับตัวสร้างความแข็งแรงให้กับความเป็นไปได้ของโครงการสร้างสนามกอล์ฟที่ระยอง

และภูเก็ตและคอนโด สำนักงานริมถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ ด้วยการสร้างเครือข่ายผู้ร่วมทุนและช่องทางการขายต่างประเทศ เช่นอาศัยกลุ่มนิวเวิลด์ แห่งฮ่องกงในการขายและร่วมทุนสนามกอล์ฟที่ระยอง ผ่านตลาดฮ่องกง กลุ่มนากาโน่ ที่ภูเก็ต ผ่านตลาดญี่ปุ่น

" ความอยู่รอดของธุรกิจลงทุนสร้างสนมกอล์ฟ และคอนโดฯ อยูที่การบริหารสภาพคล่อง ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ หนึ่ง-บริหารหนี้ต่อทุน ในสัดส่วนที่เหมาะสมไม่เกิน 2 เท่า

สอง-มีเครือข่ายการขายในต่างประเทศ" สุรพล ขวัญใจธัญญา กรรมการบริหารกลุ่มบ้านแาง-บ้านพาราเล่าให้ฟัง ถึงการปรับตัวบริหารธุรกิจลงทุนสร้างสนามกอล์ฟและคอนโด ความข้างต้นของไทยพาณิชย์ ก็เหมือนกับการส่งสัญญานให้ผู้ประกอบ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ทราบว่า แหล่งเงินกู้ในประเทศจากแหล่งธนาคารพาณิชย์ยังต้อนรับผู้ต้องการใช้เงินทุนเสมอ โดยขึ้นกับความสามารถในการบริหารของผู้ประกอบการเอง

พูดง่าย ๆ ธุรกิจที่ไม่ได้เงินทุนสูง ๆ หลายพันล้านเฉพาะอย่างยิ่งที่ผูกพันกับระบบธนาคารพาณิชย์เป็นแหล่งเงินหลักที่พึ่งพิงได้อยู่

" แต่ดอกเบี้ยแพงขึ้นอยู่ราว ๆ 16.5-17% ซึ่งก็ยังดีกว่าไม่มีเงินให้กู้เหมือนอย่างปี 2527ที่ธนาคารพาณิชย์ถูกแบงก์ชาติและกระทรวงการคลังควบคุมการปล่อยสินเชื่อขยายตัวได้ไม่เกิน 18% ซึ่งมีผลให้บริษัทเกืบทุกแห่งที่มีทุนจำกัโต้องขาดสภาพคล่อง ล้มกิจการเป็นแถว" แหล่งข่าวในตลาดเงินคาดการณ์ในครึ่งปีแรกปีนี้

โครงการโทรศัพท์ ดาวเทียม ดอนเมืองโทล์เวล์ ทางรถไฟยกระดับของบริษัทโฮปเวลย์ ซึ่งเป็นโครงการที่ผูกพันกับสัปทานของรัฐที่มีขนาดใหญ่และเป็นการลงทุนแบบเเทอร์นคียย์ ต้งอพึ่งแหล่งเงินกู้จากตลาดเนต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยดอกเบี้ยถูกเป็นตัวคงบคุมค่าใช้จ่าย

แม้ดอกเบี้ยจะถูกว่าในประเทศมากถึง 4-5% แต่ก็ต้องแบกดอกเบี้ยแพงขึ้นกว่าปีที่แล้วแน่นอน " จุดที่แพงขึ้นในการหาเงินกู้ออฟชอร์มาร์เก็ต อยู่ที่ สูงขึ้นจาก 2.5 เหนืออัตราเงินกู้ระหว่างธนาคารเป็น 3.0% เพราะว่าตลาดเงินกู้เป็นของผู้ให้กู้มิใช่ผู้กู้เหมือน 2 ปีที่ผ่านมา" สิงหะ นิกรพันธ์ มือบริหารการเงินและการค้าเงินตราแบงก์นครธน เล่าถึงตลาดเงินต่งประเทศให้ฟัง มีเหตุผลอย่างน้อย 2 ประการ

หนึ่ง- แม้ธนาคารกลางสหรัฐ จะมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้มาตรการดอกเบี้ยต่ำโดยการลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงให้ธนาคารพาณิชย์จาก 7.0 เหลือ 6.5 % เพื่อเป็นตัวกระตุ้นการฟื้นตัวตลาด ท่ามกลางตกต่ำที่ร้ายแรงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้น ซึ่งฉุดลากให้อุตสาหกรรมการเงินแทบจะล้มทั้งยืน แต่ดูจะไม่มีผลเท่าไรนัก เพราะว่าแบงก์พาณิชย์อเมริกันกำลังบ่นว่าพร้อมที่จะให้กู้ แต่ไม่มีใคร( บริษัทใหญ่)ต้องการ " การขาดแคลนเงินกู้เป็นเพียงมายาภาพเท่านั้น" นิตยสารฟอร์จูน ฉบับที่ 17 ธันวาคม สะท้อนความจริงออกมาว่า การผลิตและบริโภคของตลาดภายในสหรัฐกำลังถดถอยลง

.ธนาคารพาณิชย์สหรัฐจึงแสวงหาช่องทางการปล่อยเงินสู่ตลาดนอกสหรัฐที่มี

อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเช่นตลาดฮ่องกงและสิงคโปร์ที่เป็นหัวใตของตลาดเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ของเอเชียอาศัยเป็นแหล่งเงินกู้มานาน

ตลาดเงินกู้ตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่มีอนาคตมากที่สุดนอกเหนือจากยุโรป เพราะว่าบริษัทยัาษ์ใหญ่ในภูมิภาคแห่งนี้ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มฟอร์โมซาพลาสติก กลุ่มเอเซอร์ของไต้หวัน กลุ่มซัมซุง ลักกี้โกล์สตาร์ แดวู ฮุนไดของเกาหลีใต้ กลุ่มแมโทรโอลดิ้ง กลุ่มแจ๊กเจียและกลึมโปรโมท แห่งสิงคโปร์ กลุ่มซีพี และสยามซิเมนต์ของไทย กลุ่มเฟิสท์ แปซิฟิคของลิมซูเหลียง และพีทีเอสทา แห่งอินโดนีเซีย กลุ่มเชียงคองและฮัทชิสัน แวมเปาของลีกาชิง และกลุ่มวาฟโอลดิ้งของวายเค เปา แห่งฮ่องกง กลุ่มแซมดาร์บี้และกลุ่มของลีเต็กพร็วต ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของมาเลเซีย และอาเซียน กำลังมีฐานะทางธุรกิจที่ก้าวหน้ามีอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งของบรรดายักษ์ใหญ่ในโลก

ว่ากันว่า เฉพาะลิมซูเหลียง คนเดียว มีเน็ตเวอร์ท สูงถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐจากมูลค่าสินทรัพย์ของกลุ่มบริษัทกว่า 4,000 ล้านเหรียญ สหรัฐ นอกจากนี้ลีกาชิง และลีเต็กพร็วต ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองของอาเซียน สองเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งในฮ่องกงเซี่ยงไฮ้แบงก์และสแตนดาร์ดชาร์เตอร์แบงก์แห่งลอนดอน

นอกจากนี้ในภาพรวม ฐานะทางเศรษบกิจของภูมิภาคนี้ ก็ดีที่สุดเมือ่เทียบกับที่อื่นแอฟริกา ยังมีปัญหาความอดอยาก และความขัดแย้งทางการเมืองสูง การค้าขายกับภูมิภาคอื่นๆ ยังถูกจำกัดด้านการขาดแคลนเงินตราสกุลสำคัญ ๆ ของโลกยุโรปยังต้องมีภาระในการเข้าไปฟื้นฟูช่วยเหลือฐานะทางเศรษฐกิจของกลุ่ม

ยุโรปตะวันออกด้วยรูปแบบต่าง ๆ

เหตุนี้ ตลาดเงินแถบเอเชียจึงเป็นจุดหมายปลายทางที่เงินจากสถาบันการเงินสหรัฐฯ จะไหลเข้ามาปล่อยสินเชื่อ

สอง-ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แบงก์และสถาบันการเงินญี่ปุ่นเป็นเจ้าหนี้บริษัทเอกชนรายใหญ่ที่สุดของโลกจาการปล่อยกู้ในตลาดพันธบัตรเอกชนผ่านในตลาดสหรัฐฯ ลอนดอน สิงคโปร์และฮ่องกง แต่ในปี 2534 สถาบันการเงินญี่ปุ่นจะลดบบทบาทการเป็นผู้ให้กู้ลงเนื่องจากเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ หนึ่ง ตลาดหุ้นญี่ปุ่นตกต่ำทำให้ฐานะเงินกาองทุนของสถาบันการเงินในส่วนผู้ถือหุ้น มีมูลค่าลดลงอย่างน่าใจหาย สอง-ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์พังทะลายลงทำให้สถาบันการเงิน ที่ปล่อยสินเชื่อสังหาริมทรัพย์เป็นด้านหลักมีปัญหาหนี้เสียและมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกันซึ่งเป็นที่ดินและก่อสร้างลดลง ประเด็นนี้มีความร้ายแรงสั่นคลอนฐานความมั่นคงของสถาบันการเงินมาก เช่นกรณีแบงก์สุมิโตโม ที่ประธานกรรมการอิชิโรอิชิดะ ต้องลาออกเมื่อเดือนตุลาคม เนื่องจากตกเป็นผู้ต้องหาสมรู้ร่วมคิดกับลูกค้าปล่อยเงินกู้ 23 พันล้านเยน เพื่อลงทุนเก็งกำไรปั่นหุ้นสุมิโตแบงก์ โดยหวังจะสร้างราคาหุ้นที่ตกต่ำให้ฟื้นตัวขึ้น ซึ่งจะมีผลช่วยพยุงฐานะเงินทุนของแบงก์ต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่กำลังเลวร้ายลงจาก 8.4 ในเดือนมีนาคม เหลือ 7.1 ในเดือนกันยายน อันเนื่องมาจากปัญหาหนี้เสียที่เกิดจาการปล่อยกู้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากเกินไปในช่วง 3 ปีก่อน และสาม ในเดือนมีนาคม 2536 แบงก์ทุกแบงก์ของญี่ปุ่นต้องปฏิบัติพันธะของบีไอเอสในการดำรงฐานะเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงไม่น้อยกว่า8% ขณะทีปัจจุบันแบงก์สำคัญ 12 แบงก์ของญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหาเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตกต่ำเหลือแค่ 7% เท่านั้น และที่สำคัญตลาดหุ้นที่เป็นความหวังในการเสริมสร้างเงินกองทุนส่วนผู้ถือหุ้นและพรีเมี่ยมกลับกลายเป็นแหล่งที่พึ่งพิงไม่ได้เลย ดังนั้น ฐานะเงินกองทุนของแบงก์ชั้นนำของญี่ปุ่นจึงต้องฝากความหวังไว้ที่ทางออกด้วยการนำเอาสินทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลถึง 45% ของเงินกองทุนส่วนผู้ถือหุ้นออกมา

ปัจจัย 3 ประการเหล่านี้ คือปัญหาภายในของแบงก์ญี่ปุ่น ที่เป็นตัวเหนี่ยวรั้งการแสดงบทบาทเจ้าหนี้รายใหญ่ของโลกมาตลอด 3 ปี ก่อนต้องชะลอตัวลงในปีนี้ ดังจะเห็นได้จากสัญญานเมื่องช่วงครึ่งแรกของปี 2533 เป็นต้นมา สถาบันการเงินญี่ปุ่นเริ่มชะลอตัวการลงทุนในตลาดตั๋วเงินคลังสหรัฐ

และพันธบัตรตราสารเอกชนลงเหลือ 10.2 พันล้านดาอลลาร์สหรัฐจาก 39.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดียวกันของปีก่อน

แต่สถาบันการเงินของญี่ปุ่นก็ยังได้รับการเชื่อมั่นว่าจะยังคงมีฐานะเป็นnet lender ต่อไป เพราะว่าฐานะดุลการค้าและบริการยังเกินดุลประเทศอื่นๆ มาก และอีกประการหนึ่งสถาบันการเงินของยุโรปก็ให้ความสนใจการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจประเทศเพือนบ้านในยุโรปตะวันออก ที่เพิ่งเปิดประเทศเงินทุนจากยุโรปคงไหลเข้ายุโรปตะวันออกและยุโรปด้วยกันเองมากว่าไหลเข้าที่อื่น

"การแข่งขันการให้กู้คงลดน้อยลง เพราะตลาดเป็นของผู้ขาย ตรงนี้ spread อาจแแพงขึ้น ประมาณ 0.5% ( เป็น 3.0% เหนืออินเตอร์แบงก์เรท) อย่างมิตซูบิชิ แบงก์ ยอกว่าเขาพร้อมที่จะปล่อยในตลาดเอเซียโดยเฉพาะคนไทยมากขึ้น เพราะว่าอัตราดอกเบี่ยระหว่างธนาคารสูงกว่าตลาดอื่นถึง 5-6 %" สิงหะ นิกรพันธ์ เล่าให้ฟังถึงความต้องการให้กู้ของแบงก์ญี่ปุ่นต่อตลาดธุรกิจไทย

สิ่งนี้คือสัญญานหนึ่งที่ตอกย้ำว่า ในปี 2534 แม้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินชั้นนำ อย่างสหรัฐจะมีแนวโน้มลดลง แต่ด้วยเหตุผลภายในสถาบันการเงินช้ำนำในสหรัฐและญี่ปุ่น ในฐานผู้ให้กู้ ประกอบกับต้นทุนเงินฝากที่สูงของสถาบันการเงินในประเทศไทยเองที่เร่งระดมเงินฝาก เพื่อรักษาสัดส่วนเงินฝากกับสินเชื่อให้อยู่ในระดับ 90-92 นักธุรกิจในสาขาธุรกิจต่าง ๆ ต้องประสบดอกเบี้ยแพงอย่างแน่นอน

ดังนั้น การปรับตัวด้วยการรักษาสภาพคล่องอย่างไม่ติดขัด จึงเป็นภาระกิจการบริหารที่สำคัญที่สุดในปีนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us