|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บลจ.กรุงไทยเข้าตาแบงก์มาเลเซียและกองทุน SWF กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง แจงความสนใจร่วมลงขันในผลิตภัณฑ์การลงทุนตามหลักศาสนาอิสลาม ประเดิมตั้งกองอสังหาริมทรัพย์อิสลามิกลงทุนชอปปิ้งมอลล์ แถมสานต่อถึงอุตสาหกรรมสินค้าฮาราล ด้วยการลงทุนแบบ Private Equity ก่อนดันเข้าตลาดหลักทรัพย์ พร้อมแลกเปลี่ยนสินค้า ส่งเงินออกไปลงทุนในซูคุก ฝันไกล ตั้งเป้าเป็นผู้นำบลจ.ด้านชาริอะฮ์
นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTAM เปิดเผยว่า ธนาคาร CIMB-GK Research Pte.Ltd. ธนาคารใหญ่อันดับ 2 ของมาเลเซีย และกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Fund :SWF) ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง มีความสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุนกับบลจ.กรุงไทย เนื่องจากเห็นว่าเราเป็นบลจ.ที่มีการลงทุนตามหลักเกณฑ์ศาสนาอิสลามหรือชาริอะฮ์อยู่แล้ว โดยมีทั้งคณะกรรมการการลงทุนที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลามในการพิจารณาคัดเลือกการลงทุนเพื่อให้ถูกต้องตามหลักของศาสนาอิสลาม ที่ถือเป็นจุดแข็งของบริษัท ดังนั้น นักลงทุนสถาบันจากต่างชาติทั้ง 2 กลุ่มจึงสนใจที่จะเข้ามาร่วมเป็นพันธมิตรกับบลจ.เพื่อที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยโดยร่วมมือกับบลจ.กรุงไทย
โดยหนึ่งในโครงการที่นักลงทุนต่างชาติทั้ง 2 กลุ่มให้ความสนใจคือ การจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อิสลามิก ที่เป็นการลงทุนถูกต้องตามหลักศาสนา โดยกองทุนดังกล่าวมีขนาดใหญ่พอสมควร แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ในตอนนี้ เพราะขึ้นอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ที่เราหาได้ว่าจะเป็นประเภทไหน
ทั้งนี้ อสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจและสามารถจัดตั้งเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์อิสลามิกได้ จะเป็นสินทรัพย์ประเภทชอปปิ้งมอลล์ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้ เราเองก็กำลังอยู่ระหว่างคัดเลือกอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนอยู่เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์อิสลามิก ตามหลักศาสนาอิสลามขึ้นมาไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน เพราะแต่ละประเทศมีหลักเกณฑ์ในการลงทุนตามหลักศาสนาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งประเทศมาเลเซียเองจะมีคณะกรรมการการลงทุนที่จะพิจารณาเกณฑ์การลงทุนให้ถูกต้องเป็นไปตามหลักศาสนาอิสลามที่จะใช้เหมือนกันทั่วทั้งประเทศเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด แต่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันออกไป บางประเทศลงทุนในโรงแรมได้ แต่บางประเทศการลงทุนในโรงแรมถือว่าผิดหลักศาสนาอิสลาม เพราะในโรงแรมมีส่วนที่เป็นผับหรือบาร์อยู่ เป็นต้น
"การทำกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ให้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามไม่ใช่เรื่องที่สามารถทำได้ง่าย เพราะแต่ละประเทศมีหลักเกณฑ์การลงทุนตามหลักของศาสนาที่แตกต่างกันออก ซึ่งตอนนี้เราเองก็พยายามทำงานอยู่เพื่อให้ความร่วมมือเหล่านี้เกิดขึ้นได้ในปีนี้” นายสมชัยกล่าว
นายสมชัยกล่าวต่อว่า นักลงทุนสถาบันอิสลามทั้ง 2 กลุ่ม เป็นกลุ่มทุนที่มีศักยภาพ นอกจากกองทุนอสังหาริมทรัพย์อิสลามิกแล้ว เขายังสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารประเภทฮาราลที่ไทยมีจุดแข็งในเรื่องนี้ แต่ถ้าจะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารฮาราล เราอาจจะแนะนำให้จัดตั้งเป็นการเข้าไปลงทุนในหุ้นของนิติบุคคลเอกชนนอกตลาด (Private Equity) เพื่อที่จะรอเข้าตลาดหลักทรัพย์ในอนาคตมากกว่าที่จะจัดตั้งเป็นกองทุนรวม ซึ่งนี่ถือเป็นอีกความร่วมมือหนึ่งของเราที่จะมีขึ้น และเป็นการเปิดธุรกิจให้ให้กับบลจ.กรุงไทยในอนาคตอีกด้วย โดยในขณะนี้ เรื่องดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้
นอกจากนี้ เรายังสนใจที่จะไปลงทุนในพันธบัตรอิสลามหรือซูคุกอีกด้วย เพราะปัจจุบันตราสารหนี้อิสลามในประเทศไทยยังไม่มี แต่ธนาคาร CIMB-GK Research Pte.Ltd. เขามีอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม พันธบัตรอิสลามที่เราอยากจะลงทุนจะต้องออกเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เขายังออกเป็นสกุลเงินริงกิตมาเลเซียอยู่ ตรงนี้จะเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นในอนาคตซึ่งจะมีขึ้นได้
“เราวางตัวเองให้เป็นบลจ.ที่เป็นผู้นำในเรื่องของการลงทุนตามหลักศาสนาอิสลาม ที่จะเปิดช่องทางการลงทุนให้กับกลุ่มพี่น้องที่นับถือศาสนาอิสลามรวมทั้งประชาชนทั่วไปด้วย รวมทั้งเป็นที่รองรับความร่วมมือการลงทุนกับนักลงทุนสถาบันของกลุ่มประเทศอิสลามที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วย ซึ่งคาดว่าความร่วมมือเหล่านี้น่าจะเกิดขึ้นได้ภายในปี2551 นี้”นายสมชัยกล่าว
ปัจจุบัน บลจ.กรุงไทย มีกองทุนที่ลงทุนตามหลักศาสนาอิสลามจำนวน 2 กองทุน ซึ่งประกอบด้วย กองทุนเปิดกรุงไทยชาริอะฮ์เพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนเปิดกรุงไทยชาริอะฮ์หุ้นระยะยาว โดยทั้ง 2 กองทุน มีนโยบายลงทุนส่วนใหญ่ในตราสารทุน ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตามหลักศาสนาอิสลามที่มีผลประกอบการและมีแนวโน้มการเจริญเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารอื่นๆ และ/หรือเงินฝาก ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตามหลักศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ หลักทรัพย์ที่กองทุนจะลงทุนได้ผ่านการหารือหลักการลงทุนตามหลักศาสนาอิสลามกับคณะกรรมการศาสนาของกองทุนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยบริษัทได้แต่งตั้งบุคคลไม่เกิน 7 ท่าน เพื่อเป็นคณะกรรมการศาสนา ซึ่งบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งนั้น เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านศาสนาอิสลามเพื่อให้คำปรึกษาในเรื่องหลักเกณฑ์การลงทุนตามหลักของศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ คณะที่ปรึกษากองทุนที่บริษัทจัดการจะแต่งตั้งขึ้นดังกล่าวไม่มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของบริษัทจัดการแต่อย่างใด และค่าตอบแทนของคณะกรรมการจะถือเป็นค่าใช้จ่ายของกองทุน
|
|
|
|
|