|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ปตท.เคมิคอลเตรียมทุ่มเงิน 2-3 พันล้านบาทต่อยอดธุรกิจสายโอลีโอเคมี (TOL) โดยจะผลิตเมทิลเอสเตอร์ ซัลเฟต ที่ใช้ทำผงซักฟอก และเดลิเวอร์ทิฟของเมทิลเอสเตอร์ที่ใช้ผสมในแชมพู คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในปีหน้า เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ชี้ราคาเอทิลีนตลาดจร (SPOT) ร่วงระยะสั้น คาดโรงโอเลฟินส์หลายแห่งต้องลดกำลังการผลิตลง เหตุวัตถุดิบคือแนฟธาพุ่งลิ่วรับราคาน้ำมันทำสถิตินิวไฮต์
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทมีแผนลงทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจโอลีโอเคมี (TOL) ในสายเมทิลเอสเตอร์จากปัจจุบันที่ใช้ทำไบโอดีเซล (บี100) โดยจะนำผลผลิตส่วนหนึ่งมาผลิตเป็นสารเมทิลเอสเตอร์ ซัลเฟต เพื่อนำไปผสมในผงซักฟอก และอีกตัวหนึ่งจะสารเดลิเวอทีฟเพื่อใช้ในการผลิตแชมพู ซึ่งผลิตภัณฑ์เคมีดังกล่าวไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศในแต่ละปีเป็นมูลค่า 2-3 พันล้านบาทเพื่อใช้เป็นสารประกอบในการผลิตสินค้าโฮมแคร์และเฮลท์แคร์
โครงการผลิตเมทิลเอสเตอร์ ซัลเฟต จะใช้เงินลงทุนประมาณ 50-70 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1,600-2,240 ล้านบาท และโครงการผลิตเดลิเวอร์ทีฟเมทิลเอสเตอร์ ใช้เงินลงทุน 10-20 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 320-640 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปีนี้ และจะแล้วเสร็จในปี 2552 โครงการดังกล่าวจะมีกำลังการผลิตไม่มากนัก เนื่องจากตลาดในประเทศยังไม่สูงมากนัก แต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงเมื่อเทียบกับการนำไปผลิตบี 100 ที่มีมาร์จินไม่สูงมาก
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะป้อนตลาดในประเทศเป็นหลัก คาดว่าจะทดแทนการนำเข้าเริ่มแรกได้ปีละ 1,000 ล้านบาท เมื่อมีความตอ้งการใช้สูงขึ้นก็มีแผนจะลงทุนขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติม สำหรับวัตถุดิบคือ เมทิลเอสเตอร์นั้น บริษัทจะมีการเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อนำผลผลิตส่วนหนึ่งมาใช้ต่อยอดธุรกิจ โดยไม่จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่เมื่อดีมานด์ในประเทศมีสูงมากขึ้นก็คงต้องพิจารณาอีกทีว่าจะนำเข้าหรือจะมีการขยายกำลังการผลิตแบบคอขวด (Debotleneck) ต่อไป
ส่วนคู่แข่งนั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตในแถบยุโรปและสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันตลาดสินค้าโฮมแคร์และเฮลท์แคร์ในแถบเอเชียมีอัตราการเติบโตสูงสุด ทำให้ยักษ์ใหญ่หลายรายหันมาตั้งโรงงานผลิตในประเทศแถบนี้ นอกจากนี้ บริษัทยังศึกษาความเป็นไปได้ในการต่อยอดธุรกิจโอลีโอเคมีอีกหลายตัวเช่นกันเพื่อให้ฐานธุรกิจแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ดังนั้น ในอนาคตการลงทุนของกลุ่มปตท.เคมิคอลจะยังมีการลงทุนเฉลี่ยปีละ 2-3 หมื่นล้านบาท เพราะต้องการรักษาการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ใน 4 สายธุรกิจทั้งสายโอเลฟินส์ โพลีเมอร์ เอ็มอีจี และโอลีโอเคมี รวมทั้งยังศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนต่างประเทศด้วย
แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า ขณะนี้ราคาเอทิลีนตลาดจรปรับตัวลดลงมากเหลือเพียง 1,000 เหรียญสหรัฐ/ตัน เนื่องจากโรงงานดาวน์สตรีมยังเดินเครื่องไม่เต็มที่ทำให้โรงโอเลฟินส์ต้องขายเอทีลีนออกมา แต่เชื่อว่าเป็นช่วงเวลาอันสั้น เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวสูงมากหลังราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นไปทำลายสถิติใหม่ ทำให้ราคาแนฟธาปรับขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 800-900 เหรียญสหรัฐ/ตัน ทำให้โรงโอเลฟินส์ที่ใช้แนฟธาเป็นวัตถุดิบหลายแห่งคงต้องลดกำลังการผลิตลงมา ทำให้ราคาเอทิลีนปรับตัวสูงขึ้น
แม้ว่าราคาเอทิลีนตลาดจรจะปรับตัวลงมา แต่ไม่กระทบธุรกิจของปตท.เคมิคอล เนื่องจากราคามีราคาขายตามสัญญา และผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกอย่าง HDPE ยังมีราคาดีอยู่ที่ตันละ 1,600 เหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ผลการดำเนินงานไตรมาสแรกของปี 2551 ดีต่อเนื่องจากปีที่แล้ว
|
|
 |
|
|