Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2534
ตลาดบริการทางการเงินจะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง             
 

   
related stories

ข้อมูลบุคคล วิษณุ โชลิตกุล

   
search resources

วิษณุ โชลิตกุล
International
United States
Financing




การเจรจาข้อตกลงทั่วไป ว่าด้วยภาษีศุลกากร และการค้าจะล้มเหลวไปแล้วที่กรุงบรัสเซลล์ เมื่อต้นเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา เนื่องจากการชะงักงันในปัญหาการเจรจากลุ่มสินค้าการเกษตร ซึ่งถือได้ว่า เป็นหัวใจหลักของการเจราจาครั้งนี้ ทำให้กลุ่มการค้าสินค้าบริการซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็เป็นอีกหลุ่มหนึ่งที่ ประสบชะตากรรมร่วมกันด้วย

ในระหว่างการเจรจาครั้งนี้ ประเทศพัฒนาแล้ว ได้ถือโอกาสปัดฝุ่นข้อเสนอเก่าว่าด้วยการค้าบริการทางการเงินในที่เคยถูกปฏิเสธแล้วเข้ามาอีก ในวันแรกของการเจรจา โดยมีหน้าม้า 4 ประเทศ คือ แคนาดา ญี่ปุ่น สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้เสนอร่วมและมีสหรัฐฯ กับอีอีซี เป็นผู้กล่าวสนับสนุนในที่ประชุมกลุ่ม ข้อเสนอดังกล่าวสร้างความฮือฮาอย่างมากในกลุ่มตัวแทนประเทศผู้เข้าร่วมประชุม หรือนักข่าวที่ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด เนื่องจกาเป็นที่ทราบกันดีว่า การบิรการทางการเงินดังกล่าวเป็นหัวข้อ ( ANEX) ที่มีความสำคัญที่สุดในการเจรจากลุ่มบริการ

เป็นที่ทราบกันดีว่าสหรัฐฯ เองพยายามผลักพันเรื่องการค้า บริการเข้ามาก่อนใครตั้งแต่ 4 ปีก่อน โดยมีสมมติฐานว่าหากการเจรจาให้มีการเปิดเสรีมากขึ้น สหรัฐฯ จะมีความได้เปรียบมากกว่าใครอื่น ข้อเสนอให้เปิดตลาดเสรีของสหรัญฯ ไม่ว่าจะเป็นการใช้หลักการไม่เลือกปฏิบัติทั้งในการเปิดตลาด ( MARKETACCESS) ที่เรียกว่าการปฏิบัติอย่างยิ่ง ( most-afvoured nations) และการเท่าเทียมกันระหว่างผู้ให้บริการ ( Financial providers)ที่เป็นต่างชาติกับท้องถิ่นจะต้องเท่าเทียมมันตามหลัก การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ natioanal treatment ทั้งนี้เป้าหมายหลักของสหรัฐฐ อยู่ที่การบริการทางการเงิน และการบริการสื่อสารสำคัญ

สหรัฐลืมไปว่า " เหนือฟ้ายังมีฟ้า" เนื่องจากมีสภาวะการเปลี่ยนแปลงธุรกิจระหว่างประเทศในระหว่างการเจรจาแกตต์รอบอุรุกวัย 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ได้เปรียบทางการค้าบริการของสหรัฐฯลดลงไปมาก ญี่ปุ่นกลายเป็นคู่แข่งสำคัญที่ท้าทายความยิ่งใหญ่ของสหรัฐฯ อย่งแท้จริง การเทคโอเวอร์ธุรกิจ ธนาคาร สถาบันการเงินต่าง ๆ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และกิจการภาพยนตร์ และแผ่นเสียงเกิดขึ้นในสหรัฐฯ อย่างอึงคนึงทีเดียว

กรณีของโซนี่ ที่เข้าเทคโอเวอร์กิจการของโคลัมเบียพิคเจอร์ และร็อคกี้เฟลลเลอร์เซนเตอร์ ถูกซื้อโดยมิตซูบิชิญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ของความได้เปรียบที่ลดลงของการค้าบริการสหรัฐฯ

ไม่เพียงเท่านั้นสหรัฐฯ ยังพบอีกว่าธุรกิจเดินเรือทั้งในประเทศและต่างประเทศของตน ็มีช่องโชว่เบ้อเร่อที่จะถูกเทคโอเวอร์ได้ง่าย ๆ อาทิเช่น หากปราศสจากเงื่นไขบังคับให้ประเทศที่ซื้ออาวุะของสหรัฐฯต้องให้เรือของบริษํทอเมริกัน เพรสซิเดนท์ ไลน์ ( APL ) ขนสินค้า บริษัทเรือดังกล่าวต้องแจ้งไปนานแล้ว

รูปโฉมการเจรจาได้เปลี่ยนแปลงไปในเมื่อสหรัฐฯ เริ่มลังเลใใจไม่อยากเสียผลประโยชน์ ผลก็คือกำหนดกรอบการเจรจาถูกแปรขบวนไปจนเกือบเสียรูปทรงที่วางไว้แต่แรก สหรัฐฯ เผยจุดอ่อนออกมาทีละน้อย โดยพยายามจะให้กลุ่มเจรจายอมรับว่าอาจจะไม่มีการใช้หลัก MFN ในการเจรจากลุ่ม กลุ่มเจรจานี้โดย การคัดสินค้าบางรายการออกไป โดยเฉพาะเรื่องการเดินเรือพาณิชย์ ( maritime shipping) แต่อีอีซีและประเทศพัฒนาแล้วไม่ยินยอม

ในขณะที่ประเทศที่กำลังพัฒนาเองก็มีความเห็นแตกออกไปหลายเสี่ยง โดยขั้วสุดโต่ง คือพวกหัวแข็ง (hard-liners) นำโดยอินเดียและละตินอเมริกาพยายามตีรวนให้เละด้วยการย้ำว่าจะต้องให้กรอบกว้างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อที่การผูกมัดจะได้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ซึ่งหมายความว่า ถึงเวลาเข้าจริง ๆ การเปิดตลาดเสรีก็เป็นเรื่องที่มีอยู่แค่ในหลักการ แต่กลุ่มที่เป็นกลาง( รวมไทยด้วย) ก็พยายามคำนึงถึงผลประโยชน์ระยะสั้นควบคู่ไปกับระยะยาว โดยยอมเสียบางส่วนออกไปแลกกับความจำเป็นที่ต้องเปิดตลาดให้เสรี

เมื่อการเจรจายืดเยื้อออกไป หัวใจของการเจรจาจึงออกมาในลักษณะที่หัวข้อการบริการทางการเงิน ( Financial services anex) มีความสำคัญมากที่สุด โดยที่ทุกคนก็รออยู่ว่า เมื่อใดสหรัฐฯขะยอมลดบทบาทแข็งกร้าวมายอมรับเงื่อนไขที่ว่า จะต้องมีหลัก MFN ในกลุ่มนี้ทั้งหมด สหรัฐเองก็ดูเหมือนจะรู้ตัวดีว่าเอาเข้าจริงก็โดดเดี่ยวมาก ไม่ต่างอะไรกับอีอีซี ที่ถูกโดดเดี่ยวในเรื่องสินค้าเกษตร

ในที่สุดก็เกิดการเจรจาใต้โต๊ะระหว่างประเทศพัฒนาแล้วที่เรียกว่า การทำ sidedeal ขึ้นมาโดยสหรัฐฯหลบไปอยู่ข้างหลัง 4 ประเทศ ที่กล่าวมาข้างต้นให้ยื่นหนังสือที่ทำให้การเจรจาเพิ่มความยุ่งยากมากยิ่งขึ้น

สหรัฐฯ ก็เพิ่งจะมาอ่อนข้อในวันก่อนสุดท้ายว่าจะยอมหลักการ MFN ในเรื่องการค้าบริากรส่วยนใหญ่ เพื่อให้การเจรจาคืบหน้าไปได้ แต่ก็สายเกินไป

ประเทศไทย เองนั้น ก็มีจุดยืนที่ชัดเจนในกลุ่มเจรจา การค้าบริการนี้ โดยพยายามมอว่าการผ่านเข้าไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมหใม่ ( mics) จะต้องมีการแลกเปลี่ยนอย่าง ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียในระยะสั้น แต่จะดีในระยะยาว การบริการทางการเงินที่พอจะรับได้อาจจะต้องยอมรับ เพระถึงอย่างไรก็มีระยะเวลาปรับตัวอยู่ช่วงหนึ่ง อยู่แล้ว ตามสิทธิของประเทศกำลังพัฒนาและตามที่เป็นจริงแล้ว การเจรจากลุ่มบริการก็เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องเสียอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าจะเสียมากเสียน้อย

จุดยืนตรงนี้ ผมว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะจะฝ่าฝืนอำนาจที่เหนือว่าในการเจรจาเป็นเรื่องอย่างหัวชนฝาที่คงจะเป็นไปไม่ได้ และการเปลี่ยนแปลงให้เป็นเสรีทางเศรษฐกิจเป็นเรื่องของความกล้าหาญต่อการเดินไปสู่อนาคต และในระบบทุนนิยมก้าวหน้านั้นการเปิดเสรีเป็นสิ่งที่ดีกว่าอภิสิทธิ์อย่างแน่นอน ปัญหาอยู่ที่ว่าจะยอมรับได้แค่ไหนกับการบีบบังคับของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ

ข้อเสนอทั้ง 4 ประเทศ พัฒนาแล้วเป็นเรื่องที่อาจจะดูน่ากลัว โดยเฉพาะเรื่องของการตัดอำนาจรัฐของเจ้าประเทศในเรื่องการแทรกแซงเพื่อรักษาความมั่นคงของสถาบันการเงิน การเสนอหลุมพลางใหญ่เกี่ยวกับ two-track approach ว่าการผูกมัดตัวเองของแต่ละประเทศต่อแกตต์ จะเป็น negative list ก็ได้ ซึ่งเป็นการล่อให้เหลื่อหลงกลและอาจจะทำให้เกิดปัญหากีดกันการค้าตามมาในระยะยาวเนื่องจากการเลือกปฏิบัติ( discrimination) ได้ง่าย เพราะมีการใช้ double standard ข้อเสนอว่า จะไม่ทำอะไรเป็นเรื่อเงสียเปรียบเพราะมีผลใช้บังคับตลอดไป ในขณะที่ข้อเสนอว่าจะทำอะไรเป็นการยืดหยุ่นมากว่า ทุกประเทศพอใจกับข้อเสนอหลังมากว่า

ดูเหมือนว่าจะมีทางเลือกที่ปฎิเสธข้อเสนอที่เข้มงวดมากๆ เหล่านี้ได้น้อยเต็มที่ เพราะเสียงสนับสนุนในการเจรจาจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วในขณะนี้ หนุนเนื่องเป็นเอกภาพ ในขณะที่กลั่มประเทศกำลังพัฒนาเสียงเริ่มแตกกันออกไปเป็นเสี่ยง ๆ กลุ่มพวกหัวแข็งที่เคยเสียงดังและทุบโต๊ะมาจากเจนีวาหรือมอนเทรอัลมาในช่วงก่อนหน้านี้ เริ่มแผ่วลงไปมากเนื่องจากขาดความต่อเนื่องของคณะเจรจาบ้างหรือการทำ side deal กับประเทศพัฒนาแล้วบ้างตามสินบนที่ล่อความแตกแยกเหล่านี้ทำให้ข้อเสนอของกลุ่มประเทศเชีย 8 ประเทศ คือ ซีเซน (SEACEN Southeast Asian Central Baners) ที่ทวนกระแสเข้าไปในวันที่สองของการเจรจาเพื่อหาทางบรรเทาการเข้มงวดลงไม่ได้รับความสนใจเท่าใดนัก ซึ่งทำให้ไม่น่าแปลกใจที่คุณวิจิตร สุพินิจ ผู้ว่าการแบงก์ชาติของไทยถึงออกมาคราวญเสียงอ่อนว่าเห็นทีจะแย่คราวนี้

ดูบรรยากาศแล้ว ผมเชื่อว่าหากไม่มีเรื่องการค้าสินค้าเกษตรเข้ามาขัดจังหวะให้การเจรจายืดเยื้อและล้มไป ประเทศพัฒนาแล้วก็คงจะต้องออกมารวบหัวรวบหางให้ข้อเสนอที่ค่อนข้างเข้มงวดของเขาออกมาใช้ให้ได้ โดยจะจะยอมลดถ้อยคำบางถ้อยคำที่เข้มงวดออกไป แต่จุดยืนคงจะไม่เปลี่ยนแปลงอะไรอีก เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็น่ากลัวอันตรายสำหรับการค้าบริการบ้านเรา เพราะในคำนิยามที่ครอบเกี่ยวไปถึง 12 รายการ เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงทีเดียวไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาลและภาคเอกชน

ประการแรกที่สุด ข้อเรียกร้องให้ยกเลิกอำนาจผูกขาด ของสถาบันการเงินบางอย่างลงไป อาทิ เช่นธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือธนาคารออมสิน เป็นต้น อาจจะต้องทำให้รัฐบาลและผู้รับบริการต้องเดือดร้อนเพิ่มขึ้นจาการขาดแหล่งอิงทางการเงินที่มีต้นทุนต่ำลงไป

ประการที่สอง อำนาจรัฐบาลที่เคยดูแลเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐที่จะต้องกระทบกระเทือน โดยเฉพาะการแทรกแซงที่เคยกระทำอยู่ทั้งในตลาดปริวรรตเงินตรา ตลาดทุน และตลาดเงินในกรณีที่สถาณการ์ทางเศรษฐกิจของประเทศไม่ราบรื่นปัญหาจะยิ่งร้ายแรงมากขึ้น

นอกจากนั้น ข้อเรียกร้องให้ลดข้อบังคับเกี่ยวกับ publice procurement หรือการจัดหาแหล่งระดมเงินเพื่องานสาธารณะอาจจะต้องกระเทือน อาทิ เช่นกรณีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตคิดจะ สร้างเขื่อนขึ้นมา ตามปกติรัฐบาลาอาจจะควบคุมว่าจะกู้เงินต่างประเทศได้ไม่เกินเพดาน เท่าใดเพื่อควบคุมปัญหาหนี้ต่างประเทศของรัฐ แต่ต่อไปนี้ อำนาจในการควบคุมจะลดลง อาจจะเกิดปัญหาภาระหนี้สินต่างประเทศ ( DEBT/SERVICE RATO) ล้นพ้นเหมือนบราซิล หรือเม็กซิโก ได้ ถ้าหากว่าระบบการเมืองไทยเราไม่ดีพอ ปล่อยให้รัฐวิสาหกิจที่ผู้บริหารคิดมิชอบเล่นเซ็งลี้กับบรรดา Financial ต่างชาติได้

ประการที่สาม ต่างชาติอาจจะหาทางเปิดตลาดล่วงหน้าค้าเงินตรา หรือหุ้นในตลาดเมืองไทยกันเอกเอริกโดยที่รัฐทำการควบคุมได้น้อยลง ผาจส่งผลเสียได้ง่าย เพราะอำนาจรัฐตามประการแรก ถูกตัดทอนลงไปแล้ว การฏิหารย์ในเรื่องปั่นหุ้นหรือเล่นปริวรรติที่แม้เล่นแบบสปอตก็ยังพังให้เห็นกันอยู่มาก ขึ้นเป็นทวีคูณแน่นอน เพราะนิสัยคนไทยย่อมชอบเรื่องพรรค์นี้ อยู่แล้ว

ประการที่สี่ หากไม่มีการตัดถ้อยคำที่ว่าด้วย EQUAL Conmpetitive opportunties ซึ่งแทรกเข้ามาในข้อเสนอที่หลังสุดว่าแม้เปิดตลาดให้ผู้ให้บริการทางการเงินใด ๆ เข้ามาในตลาดตามหลักการ MFN และ National treatment แล้วผู้ให้บริการต่างชาติยังสูค้นท้องถิ่นไม่ได้อยู่อีก รัฐบาลท้องถิ่นจะต้องเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้ต่างชาติสู้ให้ได้

ประการสุดท้าย สถาบันการเงินท้องถิ่นหลายแห่งที่ปรับตัวไม่ได้ก็คงจะต้องถึงกาลอาอวสาน เนื่องจากไม่สามรถปรับตัวเข้ากับการแข่งขันกับต่างประเทศที่มีอิทธิพลทางการเงินและการบริหารที่เหนือกว่า การครอบงำทางเศรษฐกิจในบางด้านอาจจะไม่ใช่เรื่องน่าพอใจสำหรับประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทยเรา สภาพอาณานิคมทางด้านการเงินอาจจะเกิดขึ้นได้

คิดดูง่าย ๆ ขนาดมีความพยายามที่จะกีดกั้นเหลือเกิน บริษัทประกันชีวิตอย่างเอไอเอ ยังมีส่วนแบ่งการตลาดเข้าไปถึงร้อยละ 40 เข้าไปแล้ว แม้คู่แข่งท้องถิ่นบางรายจะโอ้อวดว่า สัดส่วนที่ว่านั้น กำลังลดลงก็ตาม

อย่างไรก็ดี ถ้าหากมองในมุมกลับบ้าง การเปลี่ยนแปลงอย่างที่ว่า ก็อาจจะมีข้อดีบ้างเหมือนกัน ประการแรกที่สุด ไหนๆ เราก็พยายามปรับปรุงประเทศให้เปิดเสรีทางเศรษฐกิจมามากต่อมากแล้ว จนกลายเป็นทุนนิยามเกือบเต็มตัวเข้าไปแล้ว และกำลังพยายามจะสร้างให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคอีกด้วย การปรับตัวโดยเปิดตลาดให้เร็วก่อนสิคโปร์หรือมาเลเซีย จะล่วงหน้าไปก่อน อาจกล

ายเป็นผลดีในระยะยาวก็ได้ เพราะอย่างนต้อยที่สุดก็มีประสบการณ์ที่จะเจ็บตัวน้อยกว่า โดยเฉฑาะอย่างยิ่งสภาพทางด้านภูมิศาสตร์ก็เอื้ออำนวยอยู่แล้ว ประการที่สอง ธุกริจการเงินในบ้านเราหลายแขนงไม่ได้เอื้ออำนวยต่อผู้ต่อผู้บริโภคมากเท่าที่จะเป็น การคำนึงถึงความมั่นคงของระบบอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ การเปลี่ยนแปลงให้มีการแข่งขันที่เปิดกว้างขึ้น โดยมีกรอบกติกาที่ชัดเจนอาจจะทำให้การแข่งขันบริการลูกค้าทำได้ดีขึ้น สัญชาติของสถาบันการเงินบางครั้งก็ไม่ได้บอกอะไรไปมากกว่า " อคติ" และการเห็นแก่ตัวของผู้ประกอบการ

ยกตัวอย่างง่าย ๆ หากปราศจากธนาคารต่างประเทศบางรายที่เข้ามาเสนอบริการ trade and project financing ให้กับผส่งออกไปบางรายเมื่อ 20 ปีก่อน บางทีผู้ส่งออกและนักอุตสาหกรรมของเราอาจจะไม่เก่งในเรื่องการกู้เงินออฟชอร์อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันก็ได้

ในตลาดหุ้นอีกเช่นกัน หากปราศจากบริษัทงวิเคราะห์มืออาชีต่สงประเทศเข้ามาชี้แนวทางการลงทุนแล้ว การคาดเดาสถานการณ์ราคาก็คงสะเปะสะปะปล่อยให้มีการปั่นหุ้นสนุกมือไปกว่านี้หลายเท่า

นอกจากนั้น บริษัทประกันภัยและประกันชีวิตของเรา ที่แม้จะคุยนักว่าเติบโตปีละร้อยละ 30 นั้น เอาจริง ๆ มีความสามารถเพียงระดมเงินออมเข้าได้แค่ร้อยละ 5 ของตลาดเท่านั้นเอง เนื่องจากชื่อเสียงที่ทำไว้ค่อนข้างแย่ การจัดการก็ล้าหลังมาก แถมหากรัฐบาลไม่เข้าไปคุมแบบเบ็ดเสร็จก็มีหวังแย่ต้องล้มไปอีกหลายราย

ประการที่สาม รูปแบบของสถาบันการเงินใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นมาภายหลังการเจรจาแกตต์ไปแล้ว 10 ปี จะต้องเข้ามาสร้างความคุ้นเคยให้กับวิถีชีวิตของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม สถาบันการเงินเหล่านี้ แม้ว่าจะสร้างปัญหาให้บ้างในระยะที่ยังไม่คุ้นเคย แต่เมื่อพิสูจน์ได้ผลมาแล้วในที่อื่น ที่โครงสร้างเศรษฐกิจคล้ายคลึงกันแล้ว ทำไมจะประสบความล้มเหลวในเมืองไทย

ปัญหาระหว่างข้อดีและเสีย ไหนจะมากว่ากว่ากัน น่าจะมีอยู่ที่ทางเลือก และช่วงเวลาในการแนะนำตัวของสถาบันการเงินเหล่านี้มากว่า

สิ่งที่ผมเป็นห่วงก็มีอยู่เพียงว่า ในช่วงของการเจรจาที่ยังเหลือเวลาอยู่ไม่มากนัก ประเทศมหาอำนาจจะแอบพากันเล่น side deal ด้วยกันเอง ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนายังหลงเพลินกับเรื่อง สินคาเกษตร ซึ่งแม้จะมีความสำคัญในปัจจุบัน แต่พากันละะเลิยการค้าบริการซึ่งเป็นอนาคตของโลก โดยเฉพาะการบริการทางการเงินและการสื่อสารซึ่งเป็นหัวใจของโลกยุคสารสนเทศ อีก 20 ปีข้างหน้า แล้วปล่อยให้ยังมีหลุมพรางต่าง ๆ ที่เขาขุดขึ้นมาล่อถูกบรรจุไว้ในข้อสรุปของการเจรจาในตอนจบ จะทำให้การเปลี่ยนแปลงกลายเป็นผลร้ายไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us