ปี 2533 เป็นปีที่นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้พบกับประสบการณ์หลากหลาย
นักเล่นหุ้นหลายคนมีกำไรมหาศาลในช่วงครึ่งปีแรก ในขณะที่อีกหลายต่อหลายคนต้องประสบกับการขาดทุนอย่างแสนสาหัส
ในช่วงครึ่งปีหลัง ภายหลังจากการเกิดความตกต่ำอย่างรุนแรงเรื่องราคาหุ้น
ที่มีต้นเหตุมาจากวิกฤตการณ์ในตะวันออกกลาง ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม
เป็นหลัก
นักเศรษฐศาสตร์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญในวงการธุรกิจหลักทรัพย์หลายราย ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า
ความตกต่ำอย่างรุนแรงครั้งนี้ จะมีผลต่อเนื่องมาถึงในปี 2534 ทำให้การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ของไทยเรามีความซบเซาลงกว่าเดิมเป็นอย่างมาก
ในปี 2534 เมื่อสถานการณ์ตะวันออกได้ผลสรุปที่แน่นอนออกมาแล้ว เราอาจจะเห็นดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์ฯ
ดีดตัวกลับาอย่างรุนแรงติดต่อกัน 100-200 จุด หลังจากนั้นก็จะมีลักษณะที่ค่อย
ๆ ซึมตัวลงมา แต่ความหวังที่จะได้เป็นดัชนีกลับไปอยู่ระดับ 1,143 จุด ซึ้งเป็นระดับทีสูงสุดเดิมก่อนเกิดวิกฤตการณ์ในปีนี้นั้นมันมีน้อย
หรือถ้ามีก็ต้องกินเวลานานอย่างน้อย 2 ปี ขึ้นไป เพราะปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจหลายตัวได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ส่งผลดีต่อตลาดหุ้นแล้ว"
ดร. สมชาย ภคภาสน์ซิวัฒน์ ผู้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น" กูรู" ของตลาดหุ้นไทยให้ความเห็น
คำว่า " ปัจจัยพื้นฐาน" ที่กล่าวถึงนั้น สำคัญที่สุด จะได้แก่
" อัตราดอกเบี้ย" และ " ราคาน้ำมัน" ที่ถีบตัวสูงขึ้น
เป็นตัวการสำคัญทำให้ต้นทุนของกิจการที่อยู่ในตลาดหุ้นเพิ่มสูงตามจึ้นมา
ส่งผลต่อเนื่องไปถึงรายได้ ของหลายบริษัทที่อาจจะไม่สามารถทำได้ ตามที่เคยตั้งเป้าหมายไว้
ทำให้แรงจูงใจของนักลงทุนที่ต้องการจะเข้าไปซื้อของกิจการนั้น ๆ ลดน้อยลงตามมาด้วย
ในทางเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ก็้จะดึงดูดให้นักลงทุนนำเงินไปฝากไว้กับธนาคารมากกว่าจะนำมาลงทุนซื้อหุ้น
เพราะเห็นว่าจะได้รับผลตอบแทนในระดับที่ใกล้เคียงกัน แต่มีระดับของความเสี่ยงที่แตกต่างกันอย่างมาก
" ปี 2534 ดัชนีราคาหุ้นจะอยู่ในระดับแค่ประมาณ 700 จุด ดท่านั้น"
ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี กรรมการผู้จัดการบริษัทจีเอฟโอลดิ้ง อดีตผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไปของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
มองไว้อย่างค่อนข้างจะน่ากลัวกว่าผู้อื่น
แหล่งข่าวระดับผู้จัดการฝ่ายค้าหลักทรัพย์ ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
และบริษัทหลักทรัพย์หลายราย ใหความเห็นที่คตล้ายคลึงกันว่าตัวแปรสำคัญที่จะชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของสะานการณ์ตลาดหุ้นไทยในปี
2534 ว่าจะมีทิศทางเช่นไรนั้น ก็คือ กำลังซื้อของนักลงทุนของชาวต่างชาติ
ที่มองอนาคตของเศรษฐกิจประเทศไทยอย่างไร
" แต่ที่แน่ๆ ตลาดหุ้นคงจะไม่สามารถกลับมาคึกคักเหมือนกับช่วงก่อนวิกฤตการณ์
ในอ่าวเปอร์เซีย ไวๆภายในระยะเวลาสั้น ๆ"ฎ
จากทัศนะ ดังกล่าว คำถามที่ต้องตามต่อมา ก็คือ ถ้าการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ในปี 2534 ซบเซา ลงมาจริง ๆ แล้ว " ตลาดหุ้นไทย" จะยังคงเป็นแหล่งที่น่าลงทุนต่อไปอีกหรือไม่?
" คำตอบ" ของ " คำถามข้างต้น" มีปัจจัยให้พิจารราอยู่
5 ประการ
ประการแรก : คำว่า " ซบเซา" ลงนั้น ไม่ได้หมายถึง " ความตกต่ำ"
หรือ " จุดจบ" ของตลาดหุ้น แต่เป็นเพียงลักษณะที่ความคึกคักจากการเก็งกำไรมีลดน้อยลง
ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นลดความหวือหวาลงมา และการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นแต่ละวัน
จะมีลักษณะที่ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไปเพื่อสร้างฐานราคาให้แน่นขึ้น รอรับความคึกคักรอบใหม่ที่อาจหวนคืนกลับมาได้อีกในอนาคต
ประการที่สอง ; การตกต่ำของราคาหุ้นอย่างรุนแรง ในช่วงตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนกระทั่ง
ถึงเดือนธนวาคม 2533 ผ่านมาเท่ากับการตอบรับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัย พื้นฐาน
ในอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น บทยบาทของปัจจัยของทั้งสองตัว
ดังกล่าว ที่จะมีต่อความเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นในปี 2534 จึงขึ้นกับวิกฤตการณ์ในอ่าวเปอร์เซียจะคลี่คลายหรือไม่
ถ้าบทบาทราคาน้ำมันและดอกเบี้ยจะมีผลต่อดัชนีราคาหุ้นในตลาดอย่างมาก ถึงอาจลดลงเหลือ
300-400 จุด
ประการที่สาม : การเปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
กับการนำเงินไปฝากกับธนาคาร เพื่อรอรับดอกเบี้ยออมทรัพยย์ 9% และฝากประจำ
ในอัตรประมาณ 14-15% นั้นสามารถใช้ได้กับหุ้นของบางบริษัท ที่มีผลประกอบการยังไม่สามารถทำกำไรในอัตรสูงพอที่จะจ่ายเงินปันผล
ให้กับผู้ถือหุ้นได้ ในฐานะที่หุ้นของอีกหลายบริษัท ที่สามารถจ่ายเงินปันผลในอัตราสูงให้ผลตอบแทนได้ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังพอมีอยู่
เช่นแบงก์กรุงเทพ ณ ราคาวันที่ 14 ธ.ค. มีผลตอบแทน ( YICLD) 7.52% ที่อาร์ทีการ์เมน
ณ ราคา 14. ธ.ค มีผลตอบแทน 9.52% สินภิญโญ 5 ที่ 16% แพนเอเซีย ที่ 9.52%
เป็นต้น
ประการที่สี่ : จากรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจปี 2533 ของสภาพัฒน์ ประเทศไทยมีอัตราการเจิณเติบโตของเศรษฐกิจ
9.8 % และลดลงเหลือประมาณ 7-7.5% ในปี 2534 นับว่ายังเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทสอื่น
ๆ ดังนั้นสิ่งที่กลัวกันว่านักลงทุนจาก
ต่างชาติจะตีจากตลาดหุ้นไทยนั้น คงเป็นไปไม่ได้
ประการสุดท้าย : หลายบริษัทในหุ้น ที่ได้มโครงการขยายกิจการเพิ่มในช่วง
1-2 ปีก่อนหน้านี้ และหลายโครงการที่กำลังจะเริ่มเดินเครื่องและให้ผลตอบแทนแก่บริษัทนั้น
ๆ ได้ในปี 2534 ซึ่งปัจจัยตัวนี้จะมีบทบาทสำคัฐอย่างมากเพราะจะเป็นตัวดึงนักลงทุนที่หนีหายไปในช่วงที
ตลาดหุ้นตกต่ำได้หวนกลับเข้ามาเล่นหุ้นใหม่ สร้างความคึกคักให้เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ
อีกครั้ง
สำหรับบริษัทที่มีโครงการที่น่าสนใจ และจับตามอง ไว้เป็นพิเศษว่าจะมีผลต่อราคาหุ้นของบริษัท
ในปี 2534 ได้หรือไม่ นั้นมีดังนี้:
1. บริษัทสหยูเนี่ยน จำกัด ( SUC) ในปี 2531 ได้เข้าไปซื้อกิจการโรงงานทอผ้าในสหรัฐอเมริกา
เพื่อป้องกันปัญหาการกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะในด้านสิ่งทอ นอกจากนี้ ยังเข้าร่วมทุนกับกลุ่มไอซีไอ
จากประเทศอังกฤษ และบริษัทอีสต์เอเซียติ๊ก ตั้งบริษัทไทยพีทีเอ ขึ้นเพื่อผลิตสารพีทีเอ
ซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นทางใในการทำเส้นใยโพลีเอสเตอร์ ในโครงการปิโตรเคมี ระยะที่
2 โดยบริษัทสหยูเนี่ยนถึงหุ้นอยู่ถึง 40% สำหรับเงินที่นำมาใช้ในการลงทุน
ครั้งนี้ บริษัทได้มาจาการการประกาศเพิ่มทุนจดทะเบียนขึ้นจากเดิม 1,000ล้านบาท
เป็น 3,000 ล้านบาท เรียกชำระงวดแรก 1,000 ล้านบาท ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์
2532 ปัจจุบันยังเหลือหุ้นที่ยังไม่ชำระอีก 1,000 ล้านบาท
2. บริษัอาร์ซีแอล จำกัด ( RCL ) ในปี 2532 ได้เข้าไปซื้อกิจการเดินเรือของกลุ่มบริษํท
regional containe line PTE ของประเทศสิงคโปร์ โดยการจัดตั้งบริษัท RCL investment
PTE ขึ้นด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งบริษัท RCL เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
100 % เพื่อให้เป็นผู้หุ้นใหญ่ในกลุ่มบริษัท regionl container line ดังกล่าว
ในการนี้ RCL ได้ใช้เงินจาการเรียกชำระหุ้นขึ้นอีก 14 ล้าน ในช่วงเดือนกันยายน
23532 ในปัจจุบันยังเหลือหุ้นที่ยังไม่ได้ชำระอีก 81 ล้านบาท จากทุนจดทะเบียน
ที่ รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นไปแล้ว 165 ล้านบาท
3. บริษัทโรงแรมเซ็นทรัลพลาซ่า จำกัด ( CENTEL) เนื่องจากโรงแรมเซ็นทรัลพลาซ่าปัจจุบัน
เป็นพื้นที่เช่าจากากรถไฟแห่งประเทศไทย ดังนั้นในช่วงปี 2533 ที่ผ่านมา บริษัท
ที่ได้มาจากโครงการ เพื่อสร้างทรัพย์สินถาวรของบริษัทให้มากขึ้น โดยการเช่าซื้อกิจการโรงแรมแม่สอด
ฮิลล์ ที่จังหวัดตาก และเข้าถือหุ้นใหญ่ในบริษัท เซ็นทรัลโอเต็ล แมเนทเม้น
ซึ่งเป็นบริษัทที่รับจ้างบริหารโรงแรมต่าง ๆ ในเครือเซ็นทรัล ซึ่งจะทำให้บริษัทมีรายได้มาก
ขึ้นจากเดิม ที่มาจากตัวโรงแรมเซ้นทรัลพลาซ่าที่ลาดพร้าวเพียงแห่งเดียว
4. บริษัทฟาร์อีสต์ จำกัด (CSC) ในปี 2531 บริษัทได้เพิ่มจดทะเบียนขึ้นเป็น
70 ล้านบา เพื่อลงทุนตั้งบริษัท บางกอกแคน เมนูเฟคเตอร์ริ่ง จำกั ด ขึ้นเพื่อดำเนินกิจการผลิตกระป๋องแบบสองชิ้น
เพื่อป้อนตลาดน้ำอัดลม ที่กำลังมีอัตราการขยายตัวสูงมาก โครงการนี้ได้ เริ่มดำเนินกิจการและมีรายได้แล้วตั้งแต่เมื่อต้นปี
2533 ที่ผ่านมา
5. บริษัทไทยไวร์โพรคัตท์ จำกัด(TVP) ผู้ผลิตและจำหน่ายลวดเหล็กแรงดึงสูง
ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดมาก โดยเฉพาะก่อสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟลอยฟ้า
โครงการก่อสร้างทางรถไฟระดับ โครงการทางด่วนระยะที่สอง ต่างมีความจำเป็นต้องใช้ลวดเหล็กแรงดึงสูงทั้งสิ้น
และในช่วงที่ผ่านมากำลังการผลิตของบริษัท ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการอยู่ตลอด
บริษัทจึงมีโครงการขยายกำลังการผลิตในโรงงานแรก ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร
จากเดิมที่สามารถผลิตได้ปีละ 15,000 ตันเป็น 36,000 ตัน ซึ่งโรงงานส่วนขยายนี้
ได้ก่อสร้างเสร็จและเริ่มผลิตป้อนเข้าตลาดได้แล้ว ขณะเดียวกันบริษัทก็ยังมีโครงการ
สร้างโรงงานแห่งที่สอง ขึ้นที่จังหวัดชลบุรี มีกำลังการผลิตแรงดึงสูง ปีละ21,600
ตัน ลวดตีเกลี่ยว ปีละ 18,000 ตัน ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะเริ่มผลิตได้ราวกลางปี
2534
6. บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (SCC ) ปัญหาของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์ไทย
ในช่วงที่ผ่านมา ก็คือกำลังการผลิตรวมทั้งสามบริษัท ในสัดส่วน 10 %เพื่อกันเข้าเป็นกองทุนปูนซีเมนต์
ไว้สำหรับควบคุม ให้ราคาจำหน่ายปูนที่ นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีเสถียรภาพ
ซึ่งเป็นมาตราการช่วงระหว่างที่รอให้โครงการขยายกำลัง การผลิตของบริษัทผู้ผลิตปูนในประเทสไทย
สามารถเปิดดำเนินการได้ ในขณะเดียวกัน มีการอนุมัติให้เปิดโรงปูนขนาดใหญ่
และเล็ก เพิ่มขึ้นอีกหลายแห่ง .ซึ่งมาตการต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันให้ราคาหุ้น
กลุ่มปูนซิเมนต์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ลดต่ำลงมาตลอดในช่วงประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา
สวนทางกับปัจจัยพื้นฐานในด้านของยอดขายที่ผลิตได้เท่าไรก็สามารถขายได้หมด
7.ความน่าสนใจของบริษัทปูนซิเมนต์ไทยก็คือ เป็น 1 ใน 2 ของบริษัทผู้ผลิตปูนซิเมนต์ในประเทศที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงอุตสาหกรรมให้สามารถขยายกำลังการผลิตได้
จากปีละ 4.55 ล้านตันในปี 2533 เป็น 6.25 ล้านตันในปี 2534 และจะเพิ่มขึ้นเป็น
12.8 ล้านตันในปี 2535 ซึ่งก็คาดว่าเมื่อโรงงานส่วนขยายของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นและอาจผ่อน
คลายสถานการณ์ปูนซิเมนต์ที่วิกฤตอยู่ในปัจจุบันลงได้
8. บริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง จำกัด ( SCCC) ความน่าสนใจของบริษัทนี้ ก็เป็นเช่นเดียวกับบริษัทปูนซิเมนต์ไทย
เพราะบริษัทเป็่นผู้ผลิตปูนซิเมนต์อีกรายที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงอุตสาหกรรม
ให้สามารถขยายกำลังการผลิตได้ จากปีละ 4.55 ล้านตันในปี 2533 เป็น 6.25 ล้านตันในปี
2534 และจะเพิ่มเป็น 6.31 ล้านตันในปี 2535
9. บริษัทเหมืองบ้านปู จำกัด ( BP) ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายถ่านหินลิกไนต์
ที่สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันรายใหญ่ที่สุด ในประเทศและจุดนี้ก็สร้างความน่าสนใจให้กับบริษัทได้พอสมควร
เพราะในช่วงช่วงที่ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นช่นนี้ ภาคอุตสาหกรรมหลายแห่งก็พยายามจัดหาพลังงานอื่น
ทดแทนน้ำมันมากขึ้น ส่งผลให้ยอดขายของบริษัทน่าจะเพิ่มสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้
ในตัวของบริษัทเองก็ยังมีโครงการขยายกำลังการผลิตจากเดิมขึ้นเป็นประมาณปี
ละ 100,000 ตัน รวมทั้งมีโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเพื่อใช้ขนถ่ายถ่านหินที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
โดยถ่านหินงวดแรกจากประเทศจีนได้มาถึงแล้วตั้งแต่ปลายปี 2533 เพื่อป้อนความต้องการของตลาดที่มีอยู่สูงกว่ากำลังการผลิตรวมของทั้งประเทศ
10. บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์ จำกัด ( CPF) เครือเจริญโภคภัณฑ์กำลังมีการปรับโครงสร้างธุรกิจในสายอุตสาหกรรมการเกษตรใหม่
โดยจะผลักดนให้บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์ขึ้นเป็นบริษัทหลัก ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทอื่น
ๆ ที่อยู่ในสายเดียวกันอีก 8 แห่ง และในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เจิรญโภคภัณฑ์อาหารสัตว์
ก็เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เกินกว่า 50% ในบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อีสาน และบริษักรุงเทพผลิตผลอุตสาหกรรมการเกษตรมาแล้ว
และกำลังจะเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษํทมีอยู่ในสายเดียวกันอีก 6 บริษัท
ซึ่งจากจุดนี้ คาดว่าตัวเลขสินทรัพย์และรายได้ของบริษัทน่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
ในอนาคต โดยเฉพาะรายได้จากเงินปันผลที่มาจากบริษัทในเครือ
11. บริษัทอัมรินทร์พลาซ่า จำกัด ( SMARIN) เป็นผู้ที่สามารถชนะการประมูลเข้าดำเนินการพัฒนาและบริหารโรงแรมเอราวัณ
จากกระทรวงการคลังได้เมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งการสร้างโรงแรมก็จะแล้วเสร็จลงในปี
2534 และเป็นจังหวะที่ตรงกับการประชุมใหญ่ ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพพอดี และบริษัทก็น่าจะมีรายได้จากในส่วนนี้ เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก
12. สรุปได้ว่าตลาดหุ้นไทยในปี 2534 ถึงแม้จะซบเซาลงมาจากในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้าโดยจะมีลักษณะความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นที่ไม่หวือหวา
แต่คุณภาพของสินค้าในตลาดรวมทั้งปัจจัยเกือ้หนุนประการต่าง ๆ ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น
ก็จะยังคงทำให้ตลาดหุ้นไทย เป็นแหล่งที่น่าลงทุนต่อไปได้อีก