Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2534
เดสมอนด์ ซูลลิแวน ผู้เชี่ยวชาญการประเมินความเสียหาย             
 


   
search resources

Insurance
เดสมอนด์ ซูลลิแวน
เกรแฮม มิลเลอร์ ( ประเทศไทย)




มีคนไทยจำนวนไม่มากนักที่รู้จักธุรกิจรับประเมินความเสียหาย ( loss adjuster) ด้วยความที่ธุรกิจนี้มีส่วนผูกพันกับธุรกิจประกันภัย หลายคนจึงเข้าใจว่าการประเมินความเสียหายเป็นเพียงงานในหน้าที่ หนึ่งของเจ้าหน้าที่บริษัทประกันแต่สำหรับต่างประเทศธุรกิจนี้ กลายเป็นสถาบันกลางที่มีบทบาทและได้รับความเชื่อถืออย่างมากจากบริษัทผู้รับประกัน และประชาชนผู้เอาประกัน แต่ในปัจจุบันธุรกิจนี้กำลังแพร่กระจายเข้ามาในเมืองไทย

เดสมินด์ ซูลลิเวน กรรมการผู้จัดการ บริษัทเกรแฮม มิลเลอร์ ( ประเทศไทย) บริษัทผู้รับประเมินความเสียหายทรัพย์ประกันภัยระหว่างประเทศ ที่แม้จะเข้ามาเปิดธุรกิจในประเทสไทยมานานนับสิบปีแล้วก็ตาม แต่ก็เพิ่งจะมาทำธุรกิจในเชิงรุกเอาโดยเปิดเป็นสาขาเมื่อสามปีที่ผ่านมานี้นี่เอง

ปีนี้ เดสมอนด์ เพิ่งจะอายุ 34 ปี แต่ตามคำบอกเล่าของเขานั้นมีประสบการณ์ในวงการประกันภัยยาวนานเกือบ 20 ปี เขาเรียนจบมาทางด้านการประกันภัยชั้นสูงโดยตรงจากสถาบัน c.i.i. หรือ chartered insurance in stitute หลักสูตรการประเมินความเสียหายจากสถาบัน C.I.L.A. ( CHARTERED INSTITUTE OF LOSS ADJUSTER)พร้อมกับได้รับอนุญาตให้เป็นผุ้เชี่ยวชาญจากสถาบันเดียวกันนี้ด้วย

เริ่มทำงานทางด้านประกันตั้งแต่อายุ 18 ปีที่ลอนดอน บ้านเกิด เมื่อทำมาได้ปีครึ่งก็หันมาจับงานทางด้านการประเมินความเสียหายเป็นเวลา

6 ปี ก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับบริษํทเกรดฮม มิลเลอร์ เมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้ว โดยถูกส่งไปประจำประเทศต่าง ๆ ในย่านอเมริกาใต้และอเมริกากลาง จากนั้นก็ย้ายมาประจำที่ประเทศสิงคโปร์เป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่จะเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทเกรแฮม มิลเลอร์ ประเทศไทยเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา
7
การประเมินความเสียหาย เป็นวิชาชีพที่ได้รับความเชื่อถือมากในประเทศอังกฤษ ใครจะประกอบวิชาชีพนี้ได้ จะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ออกให้โดยสถาบัน CILAที่กล่าวแล้วเพราะถือว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพของคนกลางที่จะให้คุณให้โทษแก่คู่กรณีระหว่าง

บริษัทประกันผู้รับประกันกับประชาชนผู้เอาประกัน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น เนื่องจากถ้าไม่มีการควบคุมกันแล้ว ก็อาจทำให้เกิดการฉ้อฉลขึ้นได้

" ดังนั้น แม้ว่าคนที่จ้างเราเป็นผู้ประเมินยความเสียหายจะเป็นบริษัทประกันก็ตาม แต่เราก็เป็นอิสระในการดำเนินการสำรวจ ประเมินค่าและให้ความเห็นต่างๆ เพื่อให้ได้ค่าความเสียหายที่สอดคล้องกับความจริงมากที่สุด ไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน และก็ถูกถอนใบอนุญาตได้ " เดสมอนด์ กล่าวกับผู้จัดการ

ด้วยที่งานประเภทนี้เป็นวิชาชีพอิสระที่จะต้องประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับอนุญาต

ดังกล่าวดังนั้นในการจัดตั้งองค์กรธุรกิจหรือกลุ่มธุรกิจของผู้ประเมินความเสียหายจึงเป็นในลักษณะเช่นเดียวกับวิชาชีพอิสระอื่น ๆ อย่างเช่น ทนายความโดยเริ่มจากผู้เชี่ยวชาญประรจำบริษัทธรรมดา ก่อนจะถูกเลื่อนให้ขึ้นเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับจูเนียร์ ซีเนียร์ และก็ระดับบริหารซึ่งเป้นระดับเป็นหุ้นส่วนด้วย

การทำงานทำกันเป้นทีม และมีการสานงานร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในด้านอื่น ๆ ด้วยในบางกรณี เช่นกฏหมาย วิศวกรรม ทรัพยากร แต่สำหรับองค์กรใหญ่ที่มีอายุกว่า 100 ปี อย่างเกรเฮม มิลเลอร์นี้ สำนักงานสาขาที่มีขนาดใหญ่ ในประเทศต่าง ๆ จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ทุกด้านประจำอยู่ เพื่อความพร้อมที่จะเข้าทำงานในเมืองใกล้เคียง ที่ยังมีไม่ครบ หรือไม่มีความจำเป็นต้องไปประจำตลอดเวลา

ในการทำงานเกี่ยวกับการประเมินควาาเสียหายจะเริ่มตั้งแต่การเข้าไปสำรวจสถานที่เกิด

เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ เครื่องบินตก แผ่นดินไหว หรือนำรายละเอียดต่าง ๆ มาใช้กัยหลักวิชาการประเมินความเสียหาย พร้อมกับให้ความเห็นต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อการรับประกันในอนาคตด้วย ส่วนการจ่ายค่าเสียหายจริง ๆ ที่บริษัทผู้รับประกันจะจ่ายนั้น เป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะพิจารณาเอง

" ส่วนใหญ่แล้วบริษัทประกันที่จ้างเราก็จะจ่ายตามที่เราประเมินไป" เดสมอนด์ กล่าว

นอกจากการประเมินในด้านความเสียหาย แล้วยังมีการรับประเมินก่อนการประกันอีกด้วย เพราะมักจะเกิดความไม่ตรงกันอยู่เสมอระหว่างบริษัทประกันกับผู้เอาประกัน ฉะนั้น เพื่อความถูกต้องเป็นกลางและเป็นธรรมในการจ่าย และรับเบี้ยประกันก็จะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินเข้าไปประเมินว่าทรัพย์สินที่จะประกันได้ในมูลค่าจริง ๆ เท่าใด รวมทั้งใช้เป็นฐานในการคำนวณเบี้ยประกันด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยแล้ว งานประเภทนี้ ส่วนใหญ่ยังเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้รับประกันภัย เองเป็นผู้กระทำ ทำให้ผู้เอาประกันไม่มั่นใจความถูกต้อง และเที่ยงธรรม ในการตีมูลค่าการะเมินที่ออกมา

สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ ก็เริ่มหันมาใช้บริการของบริษัท ผู้เชี่ยวชาญด้านการปะเมินความเสียหายโดยเฉพาะเป็นคนทำให้โดยเฉฑาะบริษัทที่เป็นของต่างประเทศ และบริษัทประกันภับของคนไทยขนาดใหญ่ และทุนทรัพย์ในการเอาประกันมีสูง เช่นกลุ่มบริษัทเครือข่ายของแบงก์ไทยพาณิชย์ และศรีอยุธยา ช่องทางการตลาดนี้ เดสมอนด์มีความเชื่อว่าอนาคตของธุรกิจรับประกันความเสียหายเกี่ยวกับการประกันภัยในประเทศไทย ยังมีโอกาสที่จะขยายตัวออกไปได้อีกมาก เขาเห้นว่า ในช่วงนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้นเอง

ด้วยเหตุนี้เอง ที่ทำให้เกรแฮม มิลเลอร์ กรุ๊ป กระโดดเข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย เมื่อปี 2530 ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้มาเปิดสำนักงานตัวแทนคอยบริการลูกค้าต่อเนื่อง ที่มาจากต่างประเทศเช่นกันนาน กว่า 10 ปีมาแล้ว

ปัจจุบัน เกรแฮม มิลเลอร์ ประเทสไทยจึงมีทีมงานของตนเองในระดับหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็ใช้วิธีร่วมงานกับทีมงานที่อ่องกงและสิงคโปร์

" คนที่ความเชี่ยวชาญหรือผ่านงานทางด้านนี้ ในบ้านเรายังขาดอยู่มาก การสร้างทีมงานที่เป็นคนไทยจริงจริง คงต้องใช้เวลาและกำลังพยายามทำอยู่ในปัจจุบัน " เดสมอนด์ กล่าว

สถาบันการศึกษาในประเทศไทย เพิ่งจะตื่นตัวผลิตนักศึกษาออกมาป้อนตลาดอุตสาหกรรมประกันภัยเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง โดยเฉพาะสาขาการประเมินความเสียหายยังไม่ทันการเปิดเรียนเปิดสอนกันเลย เขาจึงต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งเข้าเป็นผู้บรรยายพิเศษด้านนี้ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าจะได้ผลบ้าง

นั่นเป็นภารกิจอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ ของเดสมอนด์ในประเทศไทย นอกจากการทำตลาดอย่างหนักเอาการพอดูซึ่งเขากล่าว่าเติบโตขึ้นมาเป็นที่พอใจ จากปี 2530 ซึ่งเป็นปีแรกที่เปิดดำเนินการในเชิงรุกเกรแฮม มีอยู่ประมาณ 100 รายการ มาปีที่สอง ปริมาณงานเพิ่มขึ้นเป็น 200 และเพิ่มเป็น 500 ในปี 2533

ปัจจุบัน เกรฉฮม มิลเลอร์ ประเทศไทย มีทีมงานในระดับบริหาร ที่เป็นคนไทยอยู่อีก 2 คน คือ วนิชา ธเนศตระกูล เป็นผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการซึ่งเป็นคนที่อยู่กับเกรแฮมตั้งแต่เป็นสำนักงานตัวแทนเมื่อ 13 ปี ก่อนในฐานะเลขาประจำสำนักงานที่ทำงานเกือบทุกอย่างแทนเจ้าหน้าที่อยู่สาขาฮ่องกงแกละสิงคโปร์ ที่ดูแลสำนักงานนี้อยู่

วนิชา อายุ 40 ปี จบปริญญาโทบริหารธุรกิจจากสหรัฐอเมริกา เริ่มเข้าทำงานกับบริษัทแองโกไทย ในปี 2519 ที่เป็นลูกค้าของเกรแฮมอยู่ ไม่นานก็ได้รับการทาบทามให้ดูแลสาขาของเกรแฮมจนถึงตั้งบริษัทขึ้น มาเป็นตัวเป็นตน จึงได้รับการแต่งตั้งให้มาอยู่ในตำแหน่งดังกล่าว

พิพัฒน์ รู้วัชรปกรณ์ อายุ 44 ปี ปลังจากจบจากกรุงเทพการบัญชี ก็ทำงานในอุตสาหกรรมประกันภัยมาตลอด ผ่านบริษํทต่าง ๆ มาหลายแห่ง โดยทำงานทางด้านการประเมินความเสียหายและฝ่าสยเรียกสินไหมไม่ว่าจะเป็นบริษัทคอมเมอร์เชียล ยูเนียน ประกันภัย ของอังกฤษ นิวซีแลนด์ประกันภัย ก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับแกรแฮม มิลเลอร์ ในตำแหน่งผู้จัดการ ฝ่ายอัคคีภัยจนนถึงปัจจุบัน

ถ้าธุรกิจนี้ขยายออกไป ในวงกว้าง และยึดถือจริยธรรม และจรรยาบรรณ ในวิชาชีพ อย่างมั่นคง สมกับที่เป็นคนกลางจริง ๆ ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะเมื่อความเป็นธรรมเกิดขึ้นในความรู้สึกของประชาชน ผู้เอาประกันทุกคนแล้ว ผลประโยชน์จะตกแก่อุตสาหกรรมประกันภัย ทั้งมวล

ในประเทศอังกฤษ ที่เป็นต้นตำรับธุรกิจประกันภัยก็ได้ต้นตำรับธุรกิจทางด้านประเมินความเสียหายด้วยเช่นกัน ด้วยประสบการที่สั่งสมมานานนับ 400 ปี จนมีสถาบันการศึกษาที่เปิดขึ้นมาสอนทางด้านการประกันภัยโดยเฉพาะ และการประเมินความเสียหายนี่ก็เป็นอีกสาขาหนึ่งของมันเอง มีการให้วุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับต้น กลาง และชั้นสูง คนที่จบออกมาทางด้านนี้ ก็จะประกอบอาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านการปะเมินความเสียหายเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่น ๆ เช่น แพทย์ นักบัญชี ทนายความ หรือวิศวกร

วิชาชีพเหล่านี้ป็นวิชาชีพอิสระที่คนใด จะทำได้จะต้องได้รับอนุญาตจากสถาบันนั้น ๆ เช่นในบ้านเราก็มีแพทยสภาเป็นสถบันที่ออกใบอนุญาตและควบคุมแพทย์ สภาทนายความเป็นผู้ออกใบอนุญาตและควบคุมทนายความทั้งประเทศ

ธุรกิจประกันภัย ของบ้านเรา จึงด้รับการยอมรับยืนยาวมานานนับ 400 ปี

แต่สำหรับในแวดวงธุรกิจ ประกันในประเทศไทย ก็มีการควบคุมกันอยู่สองระดับคือ ระดับบริษัทที่เป็นผู้รับประกัน และระดับบุคคล ที่เป็นตัวแทนผู้ขายประกัน ทั้งนี้อยู่ภายใต้การออกใบอนุญาตและควบคุมการดำเนินการโดยกราประกันภัย กระทรวงพาณิชย์

แต่ก็เป็นที่รู้กันอยุ่ว่า การควบคุมบริษัทประกันในปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร ไม่ต้องกล่าวถึงการได้มาซึ่งใบอนุญาตในการเป็นตัวแทนการขายประกันอีกต่างหาก ซึ่งแทบจะเรียกได้ว่า ไม่ค่อยจะมีความหายอะไรในตัวมันเลย ไม่ว่าจะเป็นการจริยธรรมจรรยายบรรณ ของวิชาชีพ ระหว่างพวกกันเอง และในแง่ของการให้ความคุ้มครอง ประชาชนผู้เอาประกัน

ส่วนสถาบันที่จำทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลอีกอาชีพหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวงการประกัน

ก็คือ ผู้ประเมินความเสียหายไม่ว่าจะอยู่ในฐานะลูกจ้าง ของบริษัทผู้รับประกัน หรือในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ยังไม่มีการจัดระเบียบการควบคุมและกำกับกันอย่างใด

เรียกว่าการกำกับและควบคุมการประกอบธุรกิจประกันภัยบ้านเรายังล้าหลังอยู่มาก สิ่งนี้เองเป็นช่องโหว่ให้ผู้ประกอบการที่ไม่มีความสามารถระดับมืออาชีพที่มีอยู่มากมาย ในตลาดประกัน แสวงหาการเอาเปรียบผู้เอาประกันเสมอ

เชื่อว่า ขณะนี้ ผู้เอาประกันได้รับความเป็นธรรมน้อยมาก ถ้าลูกค้าไม่พอใจก็โยนเรื่องให้ไปฟ้องร้องเอาที่ศาล

กระบวนการนี้มักเป็นสิ่งทีบริษัทประกันมักนิยมใช้กับผู้ประกันเสมอ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us