เครื่องบินสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นเล็กชื่อ yellowbirds "เยลโล่เบิร์ด ได้ทะยานสู่ฟ้า
เป็นครั้งแรก เมื่อ 24 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดยมีจุดมุ่งหมายทาง
ระยะแรกอยู่สองจุด คือกรุงเทพถึงพัทยา และจากกรุงเทพถึงหัวหิน( ชะอำ)
" ทุกจุดที่เครื่อเงราจะลงเป็นแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลหมด ต่อไปตามเขื่อนเกาะแก่งหรือแม่น้ำเล็ก
ๆ เราจะทำด้วย เรากล้าพูดได้ว่า ของเราเป็นแห่งแรกในเอเซีย และเป็นแห่งที่สามของโลกที่เปิดการบินสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก"
ทม มีศิริ ประธานและผู้จัดการใหญ่ บริษัททรอปิคอล ซีแอร์เล่าให้ฟัง
ด้วยวัย 45 ปี ทมมีประสบการณ์ในวงการบินมาตั้งแต่ครั้งเขาเรียนจบจากศูนย์ฝึกการบินพลเรือน
แห่งประเทศไทย โดยเป็นวิศวกรทางด้านการบินควบคู่การทำงานส่วนตัว ด้านการค้าอาวุธด้วย
พื้นฐานครอบครัวของทมมีบิดา ร.ต.ต. สันติ มีศริริ ซึ่งเคยเป็นหัวหน้านักบินอยู่ที่เรือบินเกษตรด้วย
โครงการเยลโลเบิร์ดนี้ ทมไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มแต่แรก เป็นอีกผู้หนึ่ง
เฮนรี่ ลิโอรี แฮน คอด (HENRY LEORY HANCOCK)เจ้าของธุกริจด้านการบิน และท่องเที่ยวอเมริกัน
พร้อมกับ " กมลวรรณ แฮนคอด" ภรรยาชาวไทย เป็นผู้ก่อนตั้งบริษัทนี้
ขึ้นมาเมื่อ 3 ปีที่แล้ว โดยเดิมบริษัทชื่อว่า บริษัทสยามซีเพลน เซอร์วิส
( siam seaplane service) มีทุนจดทะเบียนเพียงล้านบาท ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท
" ทรอปิคอล ซีแอร์)
ในปี 2532 แอนคอด ได้เพิ่มทุนเป็น 30 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการรับจ้างถ่ายภาพทางอากาศแผนที่ทางอากาศ
สำรวจธรณีวิทยาทางอากาศ ถ่ายภาพโฤษณา ขายตั๋วเครื่องบิน ฝึกบินเพื่อกีฬาและนำเที่ยว
" เดิมทีที่เริ่มมีความคิดนี้เป็นช่วงปีการท่องเที่ยวไทย ปี 2530
ตลาดท่องเที่ยวโตเร็วมาก จึงคิดว่าเมืองไทยมีความต้องการด้าน transportation
ในลักษณะแบบนี้ แต่ธุกริจนี้ ค่อนข้างเสี่ยง ต้องเป็นคนมีใจรักและเห็นความเป็นไปได้
ตอนนั้น คุณทมเริ่มโครงการดาวเทียม เรามองเห็นว่าเขาเป็นคนรุ่นหใม่ที่มีความคิดค่อนข้างแปลกและ
unque ก็เลยตกลงร่วมทำด้วยกัน กมลวรรณ แฮนคอด สาวสวยวัย 30 ปี เล่าให้ฟังถึงการเข้ามาซื้อหุ้นของทม
มีศิริ ปัจจุบันเธอดูแลกิจการตำแหน่งกรมการและผู้อำนวยการฝ่ายการเงินของเยลโลเบิร์ดส์
เราร่วมลงทุนกัน ภายหลังจากที่ได้รับในอนุญาตในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2533
นี้ เพราะก่อนหน้านั้นต้องใช้เวลานานกับการหาข้อมูลให้ภาคราชการ เพราะของนี้ใหม่สำหรับเมืองไทย
ทำให้ต้องทำงานศึกษาหนักเพื่อให้ทางการยอมรับว่าดครงการนี้เป้นไปได้ กมลวรรณ
เล่าให้ฟัง
เบื้องหลังการติดต่อ รู้จักกันนี้ได้ผ่าน match maker สำคัญคนหนึ่ง คือ
ดร. เชียรชาญ กัลยาณมิตร ที่ปรึกษาธุรกิจใหญ่ที่ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพร้อมกับหาจอยน์เวนอเจอร์ให้กลับกลุ่มแฮนคอด
เพราะตามข้อกำหนดของบีโอไอ กับกระทรวงคมนาคม จะต้องมีหุ้นส่วนคนไทยอย่างต่ำที่สุด
59%
"ผม matchโครงการนี้ เพราะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติมาก ผมได้คุยกับ
รมต. กร ทัพพะรังสี ว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวบ้านเราขาดมากเรื่อง transportaion
ชาวต่างชาติตกเครื่องบินเป็นแถว ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มาก และรัฐมนตรีกร
ท่านก็ชอบมาก เพราะการรลงทุนของเราไม่ต้องสร้างสนามบิน มันประหยัดและรวดเร็วสำหรับอุกตสาหกรรมท่องเที่ยวของชาติเลย"
ดร. เชียรช่วง เล่าให้ฟัง
ในที่สุด ทางบริษัท ทรอปิคอล ซีแอร์ ก็ได้รับสัมปทานที่รัฐให้มาทั้งหมด
15 สายหลักๆ สำหรับนักท่องเที่ยวที่นิยมชายทะเล โดยตรงจากกรุงเทพสู่หัวเมืองและเกาะแก่งสำคัญๆ
ดังนี้คือ หัวหิน พัทยา อู่ตะเภา เกาะเสม็ด ภูเก็ต หาดป่าตอง หมู่เกาะพีพี
เกาะสมุย กระบี่ หมู่เกาะสิมะลัน และเกาะสุรินทร์
" เราได้เอ๊กซ์คลูซีพ เส้นทางบินจากพัทยาถึงเากะสมุย เป็นเจ้าเดียว
เพราะฉะนั้น นักท่องเที่ยว ที่มาจะไม่เข้ากรุงเทพแล้ว" ดร.เชียรช่วง
เล่าใให้ฟัง และอีกหน่อยเราสามารถขึ้นเครื่องบินได้ที่แม่น้ำเจ้าพระยา แล้วไปลงที่แถวรอยัลคลิฟ
พัทยาได้สบาย ๆ
ต้นทุนการทำบริการการบิน " เยลโล่บริดสฺ์" นี้ ดร. เชียรช่วง
วิเคราะห์ให้ฟังว่าเป็นธุรกิจที่มี operation cost ไม่สูงมาก เพราะไม่ต้องลงทุนสร้างสนามบิน
เนื่องจาก " เยลโล่บริดส์" เป็นเครื่องบินลำเล็กที่สามารถเลือกจอดลงที่ผืนน้ำหรือสนามบินะรรมดาได้สบาย
ประกอบเครื่องบินหลายแบบตั้งแต่จำนวน 10 ที่นั่งสำหรับชาร์เตอร์ไฟล์ท และ
15,28 ที่นั่ง สำหรับเที่ยวบินประจำ ทำให้มีสภาพคววามปลอดภัยด้วยระดับ การบินต่ำเพียง
3,000-4,000 ฟิต
" มูลค่าเครื่องบินบางลำ 30 กว่าล้านบาทก็มี บางลำราคาเป็นร้อยล้าน
ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดที่กำลังสร้างอยู่ขณะนี้ 12 ที่นั่ง เป็นของเยอรมันยี่หุ้อ
seatar ตัวนี้เราสั่งเข้ามาหลังสุด ซึ่งเข้ามาสิ้นปี 2533 นี้" ทม มีศิริ
ประธานบริษัทหนุ่มใหญ่ คุยถึงมูลค่าที่ลงทุนไป นอกเหนือจากทุนจดทะเบียนบริษัทที่ลงไป
เต็ม 90 ลำ โดยมีผู้ถือหุ้นสามกลุ่มใหญ่ ๆ โดยกลุ่มสยามแซท ซึ่งมีทม มีศิริ
และณรงค์ฤทธิ์ ปลื้มปวารรณ์ ถือหุ้นใหญ่ 46% กลุ่มไทยรุ่งเรือง คือชนิดา
อัษฏาะร และกลุ่มแฮนคอด คือ เฮนรี่ และกมลวรรณ โดยมีพลเรือเอกบัณฑิต ชุณหะวัณ
เป็นประธานกรรมการที่ปรึกษา
การบริหารงานของบริษัท มีคีย?์แมน คนสำคัญ คนหนึ่งชื่ andreas c. Hansen
หรือเรียกสั้นๆ ว่า " อังเดียร" เป็นผู้บริหารชาวดัทซ์ ที่รับผิดชอบฝ่ายการตลาดทั้งหมดในตำแหน่ง
com mercial director และ assitant manager รองจาก ทม มีศิริ
" ความหมายของเยลโล่ เบิร์ด เป็นความคิดของอังเดีรย เพราะแกมีความคิดอยากจะให้เป็นแบบท่องเที่ยวมากว่า
รวมทั้งเยลโล่เบิร์ด เป็นสัญยลักษณ์ที่มีจุดเด่นเวลาบินขึ้นฟ้า คนจะเห็นสีเหลืองแล้วถามว่า
นั่นอะไร? ก็จะมีคนตอบว่าเป็นเครื่องบินเยลโล่เบิร์ด ซึ่งมีสีสันเตะตาชาวบ้าน
ทำให้เราลดต้นทุนโฆษณาได้ด้อวย" ทม เล่าที่มาขอชื่ " เยลโล่เบิร์ดส์"
ความแตกต่างที่เป็นขุดขายของเยลโลเบิร์ด ก็คือ เส้นทางการบินแถบชายทะเล
ในระยะแรกมีเครื่องบินลำเล็กจะมีเพียง 4 ลำที่เปิดบริการบินไป-กลับทั้งหมด
32 เที่ยว โดยบินไปกลับ ระหว่างกรุงเทพฯ -พัทยา 28 เที่ยว บิน และบินไป-กลับ
กรุงเทพฯ -หัวหิน อีก 4 เที่ยว โดยเริ่มออกจากท่าอากาศสยานกรุงเทพ ตั้งแต่เที่ยวบินแรก
6 โมงเช้า จนถึงเที่ยวสุดท้าย 4 โมงเย็น ใช้เวลาไปพัทยาเพียง ครึ่งชั่วโมง
ส่วนเที่ยวบินไปหัวหิน ส่วนเที่ยวบินไปหัวหิน ออกจากกรุงเทพวันละสองเที่ยว
คือ 8.30-9.10 น. และ 16.00-16.40 น. โดยใช้เวลาสั้น ๆ เพียง 40 นาที
เครือข่ายการ ตลาดของเยลโลเบิร์ด ส่วนใหญ่จะอยู่ในเยอรมันนี อเมริกา และญี่ปุ่น
ซึ่งจะส่งลูกค้าเข้ามาตามโควตาแต่ละเดือน
" การบริหารตลาดของเราจะผ่านบริษัท GSA ซึ่งเป็นตัวแทนการขายจากต่างประเทศที่จะส่งลูกค้าเข้ามา
จาการสำรวจศึกษาของเรานั้น ฐานลูกค้าที่เป็นเป้าหมายใหญ้คือนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ
ร้อยเปอร์เซนต์เลย แต่พอถึงเวลาจริง ๆ ลูกค้าในประเทศ ผู้ที่ทำงานในโครงการอีสเทริ์นซีบอร์ด
หรือบริษัทธุรกิจแถว ๆ นั้นก็ต้องมาใช้บริการของเรา เพราะมันดีที่ช่วยทุ่นเวลาและค่าใช้จ่ายต่าง
ๆ ได้มาก" ดร. เชียรช่วง เล่าให้ฟังถึงกลุ่มเป้าหมาย
ค่าบริการของเยลโล่เบริ์ดส ที่คิดกับลูกค้านั้น ทม กล่าวว่า เป็นอัตราที่พออยุ่ได้
และขึ้นอยู่กับกรมการบินพาณิชย์ แล้วว่า จะเก้บค่าโดยสารไปพัท ยา คนละ 850
บาท และถ้าไปหัวหิน จะต้องเก้บเงินคนละ 950 บาท ถ้าหากมีการเช่าเหมาทั้งลำ
( ชาร์เตอร์ไล์ท) อัตราการบริการจะคิดเป็นชั่วโมง โดยมีหลายอัตราตามระยะเวลาสั้นหรือยาว
ของการเช่า แต่โดยประมาณค่าเหมาลำ จะตกเฉลี่ยชั่วโมงละ 7,000 กว่าบาท
" เยลโลเบิร์ด จะสามารถถึงจุดคุ้มทุนได้เราต้องดูเป็นเฟส ๆ ไป ถ้าหากไม่เพิ่มเครื่องบินเราจะ
breakevent ภายใน 2 ปีครึ่งถึง 3 ปี ช่วงแรกเราจะใช้เครื่องบิน 5 ลำ แต่ถ้าตลาดท่องเที่ยวไปได้ดีมาก
เราอาจจะเพิ่มเครื่องบินได้เร็วขึ้น ซึ่งถ้าเพิ่มเร็วก็คืนทุนได้เร็ว"
ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินเล่าให้ฟัง
ดร.เชียรช่วง ได้กล่าวถึงดครงการ " เยลโล่เบริ์ด" ไว้ว่า ถ้าเดินหน้าไปตามแผยการที่วางไว้เต็มที่
บริษัทจะต้องมีเครื่องบินประมาณ 10-12 ลำ
อย่างไรก็ตามท ช่วงออกตัว ของ " เยลดล่เบิร์ดส" ได้เกิดขึ้นมาท่ามกลางวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันแพงขึ้น
หรือภาวะเงินตึง อัตราดอกเบี้ยก็สูงขึ้น ซึ่งผลกระทบนี้ ดร. เชียรช่วง กล่าวในฐานะผู้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการว่า
ได้คาดการณ์ไว้ลวงหน้าในแผนการร์การดำเนินงานแล้ว เกี่ยวกับน้ำมันขึ้นราคา
ก็มีผลกระทบได้มากเท่าไหร่
" ผลกระทบทางด้านดอกเบี้ยสูงนั้นเราแทบจะมีน้อยมาก เพราะเราไม่ได้กู้ใครเลย
เป็นเงินสดจาก กลุ่มถือหุ้นทั้งหมด แต่ในระยะยาวถ้าหากเรามีการซื้อเครื่องบินเพิ่มขึ้นเรือย
ๆ เราก็อาจจะเพิ่มทุนจาก 90 ล้าน เป็น 140 ล้าน และถ้ากิจการไปได้ดีเราก็เตรียมแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย"
ดร. เชียรช่วง เอ่ยถึงแผนการในอนาคต
ในอนาคต นอกจากแผนด้านการเงิน ที่วางไว้แล้ว ทม มีศิริ ประะานบริษัทยังได้เอ่ยถึงตลาดสำคัญที่จะขยายไปก็คือตลาดคาร์โก้"
มันเป็นผลประโยชน์อย่างหนึ่งที่ทำให้เราอยู่ได้แบบถาวร ซึ่งเราก็มีเป้าหมายเหมือนกัน"
นอกจากนี้ การขยายตลาดในโอกาสต่อไป ทม เล่า ให้ฟังว่า มีเป้าหมายที่จะทำต่อไปข้างหน้าคือ
ชาร์เตอร์ไฟล์ท โดยบินจากรุงเทพฯไปมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือประเทสต่าง ๆ แถบใกล้เคียง
โครงการ" เยลโล่เบิร์ดส" มูลค่า นับค่านับหลายร้อยล้านบาทนี้
จะสามารถทะยานไปได้ไกลเท่าที่ใจผู้บริหารคาดหวังไว้หรือไม่? คงต้องใช้เวลาไม่นานเกินรอเพียงปีเดียวก็พิสูจน์ได้แล้วว่า
คอนเซ้ปต์แบบเบิร์ด ๆ นี้จะสร้างกำไรหรือขาดทุนในเชิงธุกริจได้มากหรือน้อย