Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2534
บุหรี่นอก งานท้าทายของพลโทปัญญา             
 


   
www resources

โฮมเพจ โรงงานยาสูบ

   
search resources

โรงงานยาสูบ
ปัญญา ขวัญอยู่
Import-Export
Agriculture




กระทรวงเกษตร สหรัฐฯ รายงานว่า ในค.ศ. ที่ 2000 การผลิตใบยาสูบของสหรัฐ จะมีปริมาณ 8,000 ตัน ขณะที่ความต้องการมี 4,500 ตัน เหลือส่ง ออก 3,500 ตัวเลขผลผลิตเหลือส่งออกนี้เทียบกับ 2,500 ตันของปี 1975 จะมีเพิ่มขึ้น 1,000 ตัน

การผลิตที่ล้นเกินนี้สาเหตุหลักมาจากการรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ในสหรัฐที่เริ่มขึ้นอย่างจริงจังเมื่อ 12 ปีก่อน จนวันนี้ระบาดไปทั่วโลกโดยเฉพาะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เหตุนี้มีผลกดดันให้สหรัฐต้องแสวหาตลาดยาสูบในประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อพิทักษ์อุตสาหกรรมยาสูบของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างฟิลิป มอริส เจ้าของยี่ห้อมาร์โบโรและอาร์เจอาร์ นาบิสโก เจ้าของยี่ห้อวิสตันและซาเล้ม

มาตรการที่สหรัฐใช้คือการบีบรัดให้ประเทศกำลังพัฒนาเปิดตลาดเสรีการนำเข้าบุหรี่ เพื่อแลกกับการหลีกเลี่ยงการถูกเล่นงานด้วยกฎหมายการค้า มาตรา 301 และไทยเป็นเป้าหมายหนึ่งที่สหรัฐต้องการนอกเหนือจากเกาหลี และไต้หวัน

ความหมายของการเปิดตลาดเสรีของสหรัฐกินความลงไปถึงกระบวนการปฏิบัติที่จะต้องมีกระบวนการปฏิบัติที่จะต้องมีกำแพงภาษีน้อยที่สุด เปิดให้มีการตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บน มีการโฆษณาหรือส่งเสริมการขายเสรี

สหรัฐต้องการคำตอบจากรัฐบาล ไทยก่อนวันที่ 25 พ.ย เพราะถ้าพ้นจากนี้แล้วสหรัฐจะเล่นงานไทยด้วยมาตรา 301

จนมติ ครม. เมื่อวันที่ 9 พ.ย. ทางรัฐบาลเห็นชอบในหลักการให้เปิดตลาดเสรีนำเข้าบุหรี่

ตามที่สหรัฐต้องการแต่รายละเอียดปฏิบัติการนำเข้าและการค้าขอสงวนไว้เนื่องจากเป็นเรื่องการบริหารภาย

ในของไทย

ทุกวันนี้ ผู้ค้าบุหรี่ หรือเอเยนต์ของโรงงานยาสูบมีทั่วประเทศประมาณ 270 ราย กว่าครึ่งอยู่ใน

กรุงเทพ การค้าบุหรี่เอเยนต์ต้องเสียภาษี สรรพสามิต และสรรพากร 55 และ 30% ของราคาขาย นอกจากนี้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขสมัยนายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีก็ห้ามการ

โฆษณาบุหรี่หรือส่งเสริมการขาย

แต่กระนั้น ก็ตามตลาดบุหรี่ไทยนับวันก็เติบโตมากขึ้น " ปี 2532 ยอดขาย 37,000 ล้านมวน

ในปี 2533 จะเพิ่มเป็น 38,000 ล้านมวน และคาดหมายว่าสิ้นปีหน้าจะเพิ่มเป็นเกือบ 40,000 ล้านมวน พูดง่าย ๆ ว่า เพิ่มปีละ 1,000 ล้านบาท" พลโทปัญญา ขวัญอยู่ ผู้อำนวยการยาสูบเล่าให้ฟังถึงการขยายตัวของตลาดบริโภคบุหรี่

พลโทปัญญา เป็นนายทหารม้า สังกัด ฝ่ายเสนาธิการกองทัพบกสมัยพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ เป็นเสนาธิการกองทัพบกหลังจาก เฉลียบ ไวทยาคม ผู้อำนวยการยาสูบเกษียณลงเมื่อเดือน ตุลาคม 2531 ก็ได้รับการแต่งตั้งจากประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีคลังสมัยนั้น ให้เป็นผู้อำนวยการแทนเฉลียบ " ผมต้องลาออกจากกองทัพทั้งที่เหลืออายุราชการอีก 4 ปี ถ้าอยู่ต่อน่าจะได้ขึ้นเป็นพลเอกแน่ ทุกวันนี้ก็ได้แต่บำนาญจากกองทัพและเงินเดือนจากตำแหน่งผู้อำนวยการยาสูบ" พลโท ปัญญา เล่าให้ฟัง

ผู้อำนวยการยาสูป เป็นกรรมการและเลขานุการกรรมการยาสูปโดยตำแหน่ง กรรมการยาสูบมีทั้งหมด 11 คน โดยมีอธิบดีกรมสรรพาสามิต เป็นประธานกรรมการยาสูบมีอำนาจแต่งตั้งเอเยนต์ ซึ่งถือว่า เป็นจุดที่สำคัญที่สุดในการเป็นกรรมการหน่วยงานนี้ " ที่ผ่านมายอมรับว่า การแต่งตั้งเอเยนต์ในเรื่องการอาศัยผู้มีอิทธิพลทางการเมืองและการค้า เนื่องจากรายได้จาการค้าบุหรี่มันมหาศาล และก็ถูกที่ไม่มีการปรับปรุงระบบเอเยนต์มานาน จากนี้ไปเครื่องจักรใหม่ติดตั้งทั้งหมดพร้อมทำให้สามารถเพิ่มการผลิตได้อีกก็คงจะนำเรื่องการแต่งตั้งเอเยนต์รายใหม่ขึ้นมาพิจารณา" พลโท ปัญญา

บุหรี่ต่างประเทศ มีส่วนแบ่งตลาด 3-5% ถ้ารวมส่วนที่ลักลอบหนีภาษีเข้ามาจะมีส่วนแบ่งเพิ่มเป็น 20-25% " เราไม่กลัวเนื่องจากต้นทุนการผลิตบุหรี่นอกตกซองละ 11 บาท เขาต้องขายซองละอย่างต่ำ 37 บาท เมื่อรวมภาษีแล้ว ขณะที่เขาเรารวมภาษีขายแค่ 20 บาท เนื่องจากภาษีสรรพากรเราไม่ต้องเสียและต้นทุนเราก็ต่ำมาก จึงสู้ได้สบาย ๆ เต่ที่น่าหนักใจก็คือ บุหรี่นอกลักลอบซึ่งเขาสามารถ ทุ่มตลาดได้" พลโทปัฐฐา วิเคราะห์ จุดอ่อนจุดแข็งในการต่อสู้กับบุหรี่นอก

การผลิตของโรงงานยาสูบมีการนำเข้าใบยาจากสหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ ประมาณ 20% อีก 80% ใช้ใบยาในประเทศ เนื่องจากต้องการนให้รสชาติใกล้เคียงบุหรี่นอก ยอกตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้ยี่ห้อกรองทิพย์ซึ่งมียอดขายสูงสุดถึง 60% มีรสชาดใกล้เคียงมาร์โบโร สายฝนซึ่งมียอดขาย 10% มีรสชาติใกล้ เคียงซาเล็ม

" เรามั่นใจเรื่องคุณภาพ ว่าสู้กับบุหรี่นอกได้แม้ว่าปริมาณนิโคตินต่อมวนจะมากกว่า ก็ตาม แต่เมื่อเทียบกับการเผาไหม้บุหรี่นอกเผาไหม้เร็วกว่าถึง 3 เท่า นั่นหมายถึงสูบบุหรี่ไทย 1 มวน เมื่อเทียบกับบุหรี่นอกจะใช้บุหรี่ถึง 3 มวน ซึ่งผู้สูบบุหรี่จากจะได้รับนิดคตินมากว่าสูบบุหรี่ไทย 1 มวน" แหล่งข่าวระดับสูงในยาสูบพูดถึงข้อได้เปรียบของบุหรี่ไทย

การนำเข้าบุหรี่จะทำได้ต่อเมื่อรัฐบาลไทยได้ออกกฎหมายสาธารณสุขด้านการสูบบุหรี่ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเสียก่อน ซึ่งจากกระบวนการทางรัฐสภา ไทยคาดหมายว่าโรงงานยาสูบคงสามารถซื้อเวลาได้อีกระยะหนึ่งแต่ ก็คงไม่เกินปี 2534 นี้แน่นอน พ้นจากนี้ไปแล้ว บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างดีทเฉมส์ที่หวังจะขายมาร์โบโร บริษํทไอทีเทรดดิ้ง ที่เตรียมขายวิสตัน และซาเล็ม และบอร์เนียวที่หวังจะขายเค้นท์ ของบริษัทบราวน์แอนด์วิลเลียม ก็คงเข้ามาเขย่าตลาดบุหรี่ของยาสูบด้วย พลังการตลาดที่เหนือกว่าและยี่ห้อบุหรี่ที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก

ถึงเวลานั้น ถ้าโรงงานยาสูบยังคงทำบุหรี่ขายด้วยวิธีการเดิมเนื่องจากผูกขาดบุหรี่มานานก็คงไม่สามารถส่งเงินเข้าคลังได้มากถึงปีละกว่า 1,400 ล้าน จากยอดขาย และไม่น้อยกว่า 15,000 ล้านบาท จากยอดภาษีสรรพสามิต

ฝีมือตรงนี้ ก็คงอยู่ที่พลโทปัญญา ว่าจะปฏิวัติการผลิตและการขายบุหรี่ไทยอย่างไร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us