Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2534








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2534
ทำไมวัฒนรับเบอร์ เมท จึงต้องควบสินทรัพย์ กับเนเจอร์ฟาร์ม             
 


   
search resources

วัฒนชัยรับเบอร์เมท, บจก.
กมล รัตนวิระกุล
Chemicals and Plastics




บริษัทวัฒนชัยรับเบอร์ เมท จำกัด กลายเป็นตัวอย่างของธุรกิจอุตสาหกรรมที่พยายามดิ้นรนหาทางออกให้กับสินค้าของตัวเอง

ในสภาวะที่ตลาดอยู่ในขั้นตกต่ำถึงที่สุด

ในช่วงปี 2530 เป็นช่วงที่ตลาดมีความต้องการถุงมือยางค่อนข้างมากโดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา

ซึ่งหลายประเทศคาดการณ์กันว่ามันน่าจะเป็นตลาดที่ใหญ่พอที่จะก้าวกระโดดเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ ถุงมือยางกว่า 300 ราย ทั่วโลก จึงเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในสมัยนั้น ในขณะที่ประเทศไทยเองเพียงปี 2530 ปีเดียวมีผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ ถึง 140 ราย แต่หลังจากนั้นมีผู้เข้าร่วมกิจการจริง ๆ เพียง 20 รายเท่านั้น

ทั้งนี้เป็นผลมาจากความต้องการในตลาดถุงมือยางที่เริ่มตกหลังจากที่ฟังเรื่องได้เพียงปีเดียว โดยในปี 2531 ตลาดเริ่มตก และยิ่งตกลงมากขึ้น ในปี 2532 สาเหตุหนึ่งมาจากการคาดการณ์ผิดพลาด เนื่องจากตลาดในสหรัฐอเมริกา ไม่ใหญ่อย่างที่คิด ยิ่งผู้ผลิตทุกรายทุ่มสินค้าเจ้าอเมริกากันหมด ทำให้ปริมาณสินค้ามีมากเกินความต้องการ ดั่งนั้นราคาขายจึงตกลงจากเดิมที่เคยขายได้ ในราคา 5-6 ดอลลาร์ ต่อจำนวน 100 ชิ้น ลดลงเหลือ3 ดอลลาร์ และค่อย ๆ ลดเหลือ 2.50 ดอลลาร์ ผู้ผลิตหลายรายเริ่มไปไม่รอด

ในปี 2532-2533 ผู้ผลิตที่ปิดกิจการไปก่อนคือผู้ผลิตในประเทศจีน จึงมีโรงงานผลิตอยู่ประมาณ 30-40 แห่งเนื่องจากเป็นโรงงานของรัฐ เมื่อสินค้าขายไม่ออก เพราะคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน สินค้าที่ไม่โดนตีกลับ เข้าสหรัฐไม่ได้ในปี 2532 มี จำนวน กว่า 100 ตู้คอนเทนเนอร์ ผู้นำเข้าจึงไม่ยอมจ่ายเงินเพราะถือว่าสินค้าคุณภาพไม่ผ่านประกอบกับไม่มีใครให้ทุนอุดหนุนโรงงานทั้งหมด ในจีน จึงทยอยปิดจนถุงต้นปีนี้โรงงานสุดท้ายที่เซี่ยงไฮ้ก็ได้ปิดไป

เช่นเดียวกับที่ไต้หวัน ซึ่งมีอยู่20 กว่าแห่งก็ปิดไป จนปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ 2 แห่ง ที่มาเลเซีย ก็เหมือนกัน ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ 6 แห่ง จาก 40-50 แห่ง ในประเทศไทยเองจากโรงงาน 20 แห่งที่ติดตั้งเครื่องจักรและมีทีท่าว่าจะทำ แต่ปรากฏว่าหลายแห่งมีปัญหาเรื่องการผลิตด้านช่างเทคนิค หลายแห่งผลิตสินค้าออกมาแล้วขายไม่ได้ และบางแห่งที่อยู่ในธุรกิจอื่นเมื่อโดดเข้ามาและเห็นว่าไม่คุ้มก็หยุดไป จนกระทั่งปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ 6 แห่งเท่านั้น

บริษัทวัฒนชัยรับเบอร์เมท เป็นบริษัท 1 ใน 6 แห่งที่ยังคงดำเนินธุรกิจผลิตถุงมือยางอยู่ จากการร่วมทุนระหว่างกลุ่มนักธุรกิจไทยกับไต้หวัน ในอัตราส่วน 60:40 ด้วยทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท จากธุรกิจพื้นฐานเดิมจากกลุ่มคนไทยซึ่งมีประชัย กองวารี เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่คือการขายเครื่องอะไหล่ทอผ้าปั่นด้ายและรับจัดหาเครื่องจักรสารพัดชนิดในนามของบริษัท

เอเชียไพศาล การค้า ซึ่งตั้งมาได้ประมาณ 20 กว่าปี โดยเครื่องจักรส่วนใหญ่จะสั่งนำเข้าจากไต้หวันเป็นหลัก จนกระทั่งกลุ่มนักธุรกิจชาวไต้หวันซึ่งคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และสนใจที่จะมาลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยางในประเทศไทย บริษัทวัฒนชัยรับเบอร์เมท จึงเกิดขึ้นมาพร้อมกับการเกิดของผู้ผลิตอีกหลายรายในขณะนั้น

นอกเหนือจากการลงทุนที่วางไว้จึงได้จดทะเบียนบริษัทขึ้นถึง 2 บริษัทเพื่อจัดตั้งเป็น

โรงงานผลิตน้ำยางขึ้น โรงงานแรกวางแผนจัดตั้งที่จังหวัดยะลา ใช้ชื่อบริษัท พัฒนชัยพาราเท็กซ์ อีกโรงงานหนึ่งจะจัดตั้งที่จังหวัดจันทบุรี โดยใช้ชื่อบริษัทเอเชียรับเบอร์ลาเท็กซ์ ( 1988)

หลังจากที่ได้รับอนุมัติจากบีโอไอเรียบร้อยแล้ว ทางบริษัทฯ ได้สั่งนำเข้าเครื่องปั่นน้ำยางข้นเข้ามาจำนวน 6 เครื่อง มูลค่าประมาณ 5 ล้านบาท สำหรับใช้กับบริษัทพัฒนชัยพาราเท็กซ์

ในช่วงที่เครื่องเข้ามาปรากฏว่าราคานำยางข้นตกลง

มาก ทางบริษัทฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า หากฝืนทำไปธุรกิจคงไปไม่ได้ดีจึงได้พักโครงการผลิตน้ำยางข้นไว้ก่อน ส่วนบริษัท เอเชียรับเบอร์ลาเท็กซ์ ซึ่งยังไม่มีการสั่งเครื่องปั่นเข้ามาจึงรอดตัวไปพร้อมกับการเปลี่ยนธุรกิจจากการทำน้ำยางข้นไปทำพื้นรองเท้ากีฬา

แทนโดยนำเทคโนโลยีของเกาหลีมาใช้ในการผลิตพร้อมกับดึงเอากลุ่มนักนักธุรกิจชาวเกาหลีเข้ามาร่วมทุนใน

โรงงานด้วยประมาณ 5% ที่เหลือเป็นกลุ่มคนไทย 70% และไต้หวัน 25%

นับเป็นการพลิกสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในธุรกิจเป็นครั้งแรก

และเมื่อโรงงานผลิตถุงมือยางทั่วโลกเผชิญกับปัญหาสินค้าล้นตลาด บริษัทวัฒนชัยรับเบอร์เมท ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตก็หนีปัญหานี้ไม่พ้นเช่นกัน

" ในช่วง 2 ปีแรก บริษัทฯ เราก็เหมือนกับคนอื่นคือขาดทุน ไปประมาณ 8 ล้านบาท ในรอบ 2 ปี เพราะสินค้าขายไม่ได้ราคา รวมทั้งมีปัญหาทางด้านการผลิต เพราะมีจำนวนสินค้าเสียมาก เมื่อปลายปีที่แล้วคณะกรรมการบริหารมีมติว่า ให้สู้ไปอีกปีหนึ่ง จึงได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการรบริหารงานใหม่หมด ตั้งแต่การเพิ่ม ทุนจาก 20 ล้านบาท เป็น 30 ล้านบาท การจัดรูปการบริหาร การควบคุมการผลิตใหม่ในส่วนของเสียให้ลดลงจากที่เคยเสีย 10 กว่าเปอร์เซนต์ พยายามให้เหลือเพียง 3-5 เปอร์เซนต์ ซึ่งขณะนี้ทำได้เพียง 6-7 % เดท่านั้น เช่นเดียวกับการเก็บสต๊อกสินค้าและวัตถุดิบให้มีปริมาณให้น้อยลง ทางด้านตลาดก็หันไปหาตลาดในยุดรป แทนที่จะพึ่งพาตลาดเดิมคือสหรัฐอเมริกา และผลจากความพยายามในการเปิดตลาดใหม่ ในปีนี้ ทำให้ตลาดยุโรป กลายเป็นตลาดใหญ่ของบริษัทฯ ถึง 70% ในขณะที่ 30% ที่เหลือเป็นตลาดในอเมริกาและมูลค่าในการส่งออกตกประมาณ 10 ล้านบาท ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ก็เปลี่ยน ยุทธวิธีใหม่โดยขอทบทวนมติจากบีโอไอ เพื่อขอขายสินค้าส่วนหนึ่งประมาณ 20% ภายในประเทศ ซึ่งได้รับการอนุมัติจากบีโอไอ และเริ่มขายตั้งแต่เดือนม.ค.2533 เรื่อยมา โดยปรับเปลี่ยนเพคเกจขจิ้ง จาก 100 ชิ้น เหลือเพียง 6 ชิ้น หรือ 3 คู่ต่อถุงในราคา 12 บาท แล้วพะยี่ห้อ" แฮนดี้เมท" วางขายตามซุเปเปอร์มาร์เกต และร้านขายยาทั่วไป กมล รัตนวิระกุล กรรมการผู้จัดการของวัฒนชัยฯ อธิบายถึงการปรับตัวในขณะที่บริษัทฯ เผชิญกับปัญหาการขาดทุนอย่างต่อเนื่องถึง 12 ปี

และการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของบริษัทวัฒนชับรับเบอร์เมท ล่าสุดก็คือการเข้าร่วมกิจการกับกลุ่ม

เนเจอร์ฟาร์มของอเมริกา

Nature's farm's product inc เป็นบริษํทที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซานฟรานซิสโก้ในอเมริกากว่า 20 ปี ทำหน้าที่เป็นบริษัทการตลาด ในขณะที่ฐานการผลิตสินค้าต่าง

ๆในเครือจะกระจายอยู่ในต่างประเทศอย่างเช่นธุรกิจอาหารกระป๋อง หรือรอง

เท้าผู้หญิงและเด็๋ก เป็นต้น

เช่นเดียวกับในประเทศไทยกลุ่มเนเจอร์ฟาร์มได้เข้ามาลงทุนสร้างฐานการผลิตในอุตสาหกรรมถุงมือ

ยางซึ่งตามแผนงานที่วางไว้จะมีทั้งโรงงานผลิตถุงมือยาง และโรงงานผลิตนำยางข้นโดยขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบันโอไอ และเริ่มการก่อสร้างโรงงานผลิตถุงมือยางขึ้นในช่วงปี 2531

พอถึงช่วงต้นปี 2532 ทางเนเจอร์ฟาร์ม ได้เปิดทดลองเครื่องเพื่อผลิตถุงมือยางแต่มีปัญหาทาง

ด้านเทคนิค ทำให้ผลิตถุงมือยางออกมาไม่ได้ ประกอบกับตลาดไม่ดี จึงต้องหยุดการผลิตไปและหันไปผลิตน้ำยางขึ้นที่หาดใหญ่แทน

การเจรจาทางธุรกิจเกิดขึ้นเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีจุดอ่อนและจุดแข็งที่แตกต่างกัน ในขณะที่วัฒนชัยฯ เป็นผู้ผลิตแต่ตลาดไม่แข็งพอถึงแม้ว่าจะมีบริษัทการตลาด( orient internatioal trading INC) ของตัวเองอยู่ ในอเมริกาก็ตาม ในขณะที่เนเจอร์ฟาร์มมีตลาดที่แข็งแกร่งในอเมริกา แต่ไม่มีสินค้าจึงเกิดการตกลงที่จะนำสินค้าของวัฒนชัยฯ ไปขายในอเมริกา นับเป็นการเริ่มต้นของความร่วมมือ

ระหว่างกัน

หลังจากที่เนเจอร์ฟาร์ม เริ่มผลิตน้ำยางข้นที่หาดใหญ่ก็ได้เสนอให้ทางวัฒนชัย ฯ ซื้อน้ำยางข้นป้อนโรงงาน ซึ่งมีอยู่ถึง 2 แห่ง คือโรงงาน ผลิตพื้นรองเท้ากีฬา กับโรงงานผลิตถุงมือยาง จึงเกิดการเจรจาเพื่อรวมธุกริจกันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

โดยการนำเอาเครื่องปั่นน้ำยางข้นที่สั่งเข้ามาในนามของบริษัทพัฒนชัยพาราเท็กซ์ จำนวน 6 เครื่อง โอนไปรวมกับของเนเจอร์ฟาร์ม ซึ่งมีอยู่ 6 เครื่องเช่นกัน และนำเครื่องจักรผลิตถุงมือยางของเนเจอร์ฟาร์มจำนวน 2 เครื่อง ที่หยุดการผลิตไปรวมเข้ากับโรงงานของวัฒนชัยฯ ที่มีอยู่ 2 เครื่องเช่นกัน โดยทำเรื่องการรวมธุรกิจกันเสนอไปยังบีโอไป ซึ่งในหลักการณ์แล้วได้รับความเห็นชอบแต่ยังติดขัดในเรื่องของข้อกฎหมายและการจัดสัดส่วนของผู้ถือหุ้น รวมถึงการปรับโครงสร้างการบริหารงานของบริษัทฯ ในเครือใหม่ทั้งหมด ซึ่งคาดว่ากอ่นกลางปี 2534 เรื่องการรวมธุรกิจจะเสร็จเรียบร้อย

หากดูจากมูลค่าทรัพย์สินของทั้ง 2 ฝ่ายแล้วในส่วนของบริษัทวัฒนชัยฯ และ บริษัทในเครืออีก 2 บริษัท มีมูลค่าประมาณ 80 ล้านบาท ในขณะที่การลงทุนของกลุ่มเนเจอร์ฟาร์มในส่วนของเครื่องจักรผลิตถุงมือยางประมาณ 10 กว่าล้าน และในส่วนของโรงงานผลิตน้ำยางข้นอีกประมาณ 10 ล้านบาท

นั่นหมายความว่า เมื่อรวมสินทรัพย์เข้าหากันแล้ว วัฒนชัยรับเบอร์เมทจะมีสินทรัพย์เป็น 100 ล้านบาท ซึ่งมีขนาดมากพอที่จะทำธุรกิจผลิตถุงมือยางต่อไปได้

ทางด้านการผลิตถุงมือยางซึ่งจะมีวัฒนชัยฯ เป็นแกนนำ กมลกล่าวว่า หลังจากการรวมกิจการกันแล้วเครื่องที่ได้มาอีก 2 เครื่อง จากเนเจอร์ฟาร์ม จะนำมาขยายการผลิตถุงมือยางในรูปแบบใหม่ขึ้นจากเดิมที่ผลิตเฉพาะถุงมือตรวจและถุงมือยางผ่าตัด ส่วนที่เพิ่มขึ้นคือถุงมือแม่บ้านซึ่งจะผลิตประมาณ ปีละ 6 ล้านคู่ ถุงมือที่ใช้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้า ( Antistratic Gloves) จำนวน 6 ล้านชิ้น และถุงมือที่ใช้ในโรงงาน ( rubber neoprene coated working gloves) จำนวน 5 แสนคู่ ส่วนถุงมือตรวจในปีนี้ จะลดการผลิตลงเหลือ 15 ล้านชิ้น และถุงมือยางผ่าตัดจะผลิตจำนวน 1,2000,000 คู่ การที่บริษัทฯ ขยายฐานการผลิตออกไป คงจะน่าสนใจมากกว่าการผลิตสินค้าเพียงตัวเดียว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us