|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กบข.อาศัยจังหวะดอกเบี้ยพันธบัตรวูบ จากผลผวงการยกเลิกมาตรการ 30% เทขายพอร์ตตราสารหนี้ระยะยาวทำกำไร ก่อนนำเงินไปลงทุนต่างประเทศต่อ เผยสนใจเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในและต่างแเดน ด้าน "เอ็มเอฟซี" ประเมินเงินต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนธุรกิจอสังหาเพิ่มขึ้น ทั้งทางตรงและผ่านกองทุน พร้อมจี้รัฐเปิดทางพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ไทย ออกไปลงทุนเมืองนอกได้ และหนุนตลาดหลักทรัพย์ จัดหมวดกองทุนอสังหาฯ
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า ในช่วง 2 วันหลังจากการยกเลิกมาตรการ 30% กบข. ได้ขายทำกำไรจากการลงทุนในตราสารหนี้ออกไปบางส่วน หลังจากจากอัตราดอกเบี้ยในตลาดตราสารหนี้ปรับตัวลดลง อันเป็นผลจากการคาดการณ์ว่าจะมีนักลงทุนเข้ามามาขึ้น ส่งผลให้การลงทุนในตราสารหนี้ของกบข. ได้รับผลตอบแทนค่อนข้างดี เนื่องจากพอร์ตการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งปัจจุบันกบข.มีพอร์ตการลงทุนประมาณ 58% โดยมีอายุการลงทุนเฉลี่ยประมาณ 4-4.5 ปี
ทั้งนี้ กำไรจากการขายตราสารหนี้ออกไปส่วนหนึ่ง กบข.จะนำไปเพิ่มพอร์ตการลงทุนในต่างประเทศ วึ่งคาดว่าในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า เพดานการลงทุนในต่างประเทศของกบข.จะขยับขึ้นอีก 2-3% จากปัจจุบันอยู่ที่ 14% อย่างไรก็ตาม การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนต่างประเทศดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายการลงทุนของกบข. เอง โดยไม่เกี่ยวกับมาตรการของธนานาคารแห่งประเทศไทย ที่สนับสนุนให้มีการออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนดังกล่าว คงเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยปัจจุบัน กบข.มีมีเพดานการลงทุนในต่างประเทศอยู่ที่ 25%
นายวิสิฐกล่าวว่า สำหรับสินทรัพย์ที่กบข.สนใจลงทุนในต่างประเทศนั้น มีทั้งการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก เอเชีย รวมถึงการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศด้วย ซึ่งปัจจุบันกองทุนตราสารหนี้ในต่างประเทศ ให้ผลตอบแทนประมาณ 8-10% สูงกว่าผลตอบแทนในประเทศประมาณ 1-2% โดยกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในประเทศให้ผลตอบแทนประมาณ 7-9%
ส่วนการยกเลิกมาตรการ 30% มองว่า จะส่งผลให้กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในประเทศได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ส่วนจะทำให้สถาพคล่องของกองทุนในตลาดเพิ่มขึ้นหรือไม่คงประเมินไม่ได้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับสภาพคล่องในตลาดของกองทุนนั้นๆ ด้วย ซึ่งการลงทุนที่ดีและจะได้รับความสนใจ ต้องเป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่พอสมควร
ทั้งนี้ กบข.คาดว่าเม็ดเงินที่กบข.จะมีการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 3,000-5,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1-1.5% ของสินทรัพย์ของกบข.
สำหรับความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของเงินบาท นายวิสิฐกล่าวว่า ในส่วนของกบข. เราไม่กังวลอยู่แล้ว เนื่องจากก่อนหน้านี้ เราได้ประเมินการแข็งค่าของเงินบาทเอาไว้แล้ว ขณะเดียวกัน ก็มีการทำการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้ด้วย ทั้งนี้ กบข.ยังมองว่าทั้งปีนี้ กบข.จะมีผลตอบแทนจากลงทุนประมาณ 5-6%
นายศุภกร สุนทรกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC กล่าวว่า บรรยากาศการลงทุนในตลาดตราสารหนี้เริ่มดีขึ้น จากการคาดการณ์ว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนจากกองทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากการลงทุนในตอนนี้ ไม่มีต้นทุนสูงเหมือนในอดีตแล้ว อย่างไรก็ตาม ตลาดตราสารหนี้จะได้รับความนิยมมากน้อยแค่ไหน คงขึ้นอยู่กับอันดับเครดิตของประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อย หลังจากที่แบงก์ชาติประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% แม้จะมีการคาดการณ์ว่าจะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามา แต่การที่กระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรเพื่อรองรับโครงการเมกะโปรเจ็ก จึงทำให้ปริมาณตราสารหนี้ในระบบเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง 5.6% เป็นอีกแรงกดดันที่ทำให้ดอกเบี้ยลดลงไม่มาก
จี้รัฐเปิดทางพร็อพเพอร์ตี้ฟันด์ลงทุนตปท.
ส่วนการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หลังจากยกเลิกมาตรการ 30% แล้ว นายศุภกรกล่าวว่า อาจได้เห็นกองทุนอสังหาจากต่างประเทศ เข้ามาซื้อสินทรัพย์หรือเข้ามาลงทุนในกองทุนอสังหาของไทยเพิ่มขึ้น เพื่อกระจายการลงทุนและขยายขนาดของกองทุน โดยปัจจุบันมีกองทุนอสังหาของหลายประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ได้อนุญาตให้กองทุนออกไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยตรง หรือผ่านกองทุนในต่างประเทศได้แล้ว
ส่วนการลงทุนของกองทุนอสังหาในประเทศมองว่า ภาครัฐควรจะให้การสนับสนุนกองทุนอสังหาฯ ของไทย ไปลงทุนสินทรัพย์ในต่างประเทศได้เช่นกะน เพื่อเป็นการขยายการลงทุนและเพิ่มขนาดกองทุนให้มีความน่าสนใจ และแม้ว่าในปัจจุบันภาครัฐก็มีนโยบายสนับสนุนให้กองทุนอสังหา สามารถกู้ยืมเงินเพื่อขยายการลงทุนได้ในสัดส่วนไม่เกิน 10% ของขนาดกองทุนได้แล้ว ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะกองทุนสามารถนำเงินไปต่อยอดการลงทุนเพิ่มได้ แต่อย่างไรก็ตาม สัดส่วนการให้กู้ยืมปัจจุบันยังถือว่าน้อยกว่ากองทุนอสังหาของต่างประเทศ ที่อนุญาตให้กู้ยืมได้ถึง 40% ของขนาดกองทุน
ขณะเดียวกัน ยังสนับสนุนให้แยกหมวดกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ออกจากหมวดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและป้องกันไม่ให้นักลงทุนเกิดความสับสน โดยปัจจุบันถือว่าจำนวนหลักทรัพย์ของกองทุนอสังหาฯ มีมากกว่า 17 หลักทรัพย์ ถือว่ามากพอที่สามารถจะแยกหมวดได้
"หลายคนสับสนเกี่ยวกับการจัดหมวดของกองทุนอสังหาฯ ที่นำไปรวมกับหมวดอสังหาฯทั้งที่ลักษณะการลงทุนนั้นแตกต่างกัน เหมือนเอาตราสารหนี้ไปอยู่รวมกับหุ้นถ้าหากแยกหมวดออกมาได้น่าจะเป็นสิ่งดี" นายศุภกร กล่าว
ทั้งนี้ ประเมินว่าในช่วงกลางปีนี้ บริษัทจัดการกองทุน น่าจะเสนอขายกองทุนอสังหาริมทรัพย์เป็นจำนวนมาก หลังจากมาตรการกันสำรอง 30% ยกเลิกไปแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม กองทุนที่จะได้รับความสนใจคงเป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าคั้งแต่ 100-200 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป หรือประมาณ 3,000-6,000 ล้านบาทขึ้นไป
|
|
|
|
|