Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 มิถุนายน 2546
ดีแทคสวนกลับ TDRI ชี้ค่าโทร.ไทยถูกสุด             
 


   
www resources

โฮมเพจ DTAC

   
search resources

โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น, บมจ.
วิชัย เบญจรงคกุล
ซิคเว่ เบรกเก้
Mobile Phone




ควันหลงอภิปราย ดีแทคใช้สิทธิพาดพิง ยันค่าบริการเมืองไทยถูกที่สุดในเอเชียแปซิฟิก เปิดข้อมูล ITU เปรียบเทียบ สิงคโปร์ มาเลเซีย "วิชัย เบญจรงคกุล" เตรียมทำข้อมูลค่าบริการเต็มรูปแบบยื่น TDRI เพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วน ไม่ทำให้ประชาชนที่ใช้มือถือไขว้เขว ให้กำลังใจ "หมอเลี้ยบ" เดินหน้าค่าเชื่อมโยงโครงข่ายต่อ ชี้ผลดีกับอุตสาหกรรมทั้งระบบ โดยเฉพาะแรงจูงใจผู้ให้บริการขยายโครงข่ายในพื้นที่ห่างไกล

นายวิชัย เบญจรงคกุล กับนายซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นหรือดีแทค ร่วมกันชี้แจงกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการอภิปรายพาดพิงถึงค่าบริการโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยที่แพงกว่าประเทศอื่น รวมทั้งประเด็นการทุจริตเชิงนโยบายในการ ประกอบธุรกิจโทรศัพท์มือถือ

นายวิชัย กล่าวว่า ดีแทคออกมาให้ข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งประเทศ ที่มีมากกว่า 10 ล้านราย

"เมื่อถูกพาดพิงถึงเราก็อยากชี้แจงใน 2 ประเด็นที่หาว่าเราขายของแพงกว่าคนอื่น กับการทำธุรกิจโทรศัพท์มือถือร่ำรวย แล้วยังมาทำทุจริตเชิงนโยบายเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะเงื่อนไขในการ ประกอบธุรกิจของเราไม่ได้มีอะไรที่เหนือกว่า หรือดีกว่าในประเทศอื่น ผมคิดว่าผู้บริโภคต้องได้รับรู้ความจริง"
ค่าบริการถูกสุดในเอเชียแปซิฟิก

นายซิคเว่ เบรคเก้ กล่าวว่า ดีแทคได้ทำข้อมูล เปรียบเทียบอัตราค่าบริการระหว่างโอเปอเรเตอร์ที่อยู่ ในอันดับ 2 ของตลาดเมืองไทย เทียบกับอันดับ 2 ในต่างประเทศคือเอ็มวันในสิงคโปร์กับแม็กซิสในมาเลเซีย พบว่าในบริการพรีเพด (จ่ายเงินก่อนใช้ที่หลัง) ไทยมีค่าบริการเมื่อคิดต่อ 50 นาที เพียง 220 บาท ในขณะที่สิงคโปร์ 659 บาท มาเลเซีย 484 บาท

ส่วนอัตราค่าบริการโพสต์เพด (ใช้ก่อนจ่ายเงินที่หลัง) เมื่อคิดเทียบต่อ 250 นาที ไทยมีค่าบริการถูกที่สุด คือ 750 บาท สิงคโปร์ 2,040 บาท มาเลเซีย 1,234 บาท

ตัวเลขดังกล่าวได้มาจาก ITU หรือ International Telecommunication Union ซึ่งถือเป็นสถาบันที่ได้การยอมรับในระดับโลก

นอกจากตัวเลขดังกล่าวแล้ว หากต้องการเปรียบเทียบอัตราค่าบริการกับโอเปอเรเตอร์รายอื่นในภูมิภาคนี้แล้ว สามารถเข้าไปยังเว็บไซต์ต่างๆได้ อย่างญี่ปุ่นจะคิดเป็นอัตราตายตัวต่อเดือน 2,500 บาท หรือในเกาหลีคิดประมาณ 1 พันบาทเศษ

หากแยกย่อยลงไปในระดับค่าบริการต่อนาที หากต้องการเปรียบเทียบในไทยทำได้ไม่ยากนัก เพราะโครงสร้างค่าบริการไม่ซับซ้อน แต่ต่างประเทศ จะมีโครงสร้างค่าบริการที่ซับซ้อนกว่ามาก โดยเฉพาะในสิงคโปร์ คิดค่าบริการทั้งการโทรออกและการรับสาย ซึ่งกลายเป็นจุดที่มีการหยิบยกขึ้นมาเป็น ประเด็นในการอภิปราย เนื่องจากเป็นการนำตัวเลขแค่การโทร.ออกมาอ้างอิงแล้วระบุว่า ค่าบริการโทรศัพท์มือถือไทยแพงกว่า

แต่เมื่อนำตัวเลขมาเปรียบเทียบกันต่อนาทีจะพบว่าไทยมีค่าบริการต่อนาทีในระบบพรีเพดเฉลี่ยทั้งอุตสาหกรรมประมาณ 0.11 เหรียญสหรัฐ หรือ 5 เหรียญต่อ50 นาที สิงคโปร์ โทร.ออกนาทีละ 0.17 เหรียญโทร.เข้านาทีละ 0.15 เหรียญ รวมนาทีละ 0.32 เหรียญ หรือ 16 เหรียญต่อ 50 นาที มาเลเซีย นาทีละ 0.23 เหรียญ หรือ 12 เหรียญต่อ 50 นาที

ในระบบโพสต์เพด ไทยนาทีละ 0.07 เหรียญหรือ 18 เหรียญต่อ 250 นาที สิงคโปร์โทร.ออกนาทีละ 0.10 เหรียญ โทร.เข้านาทีละ 0.08 เหรียญ รวมนาที ละ 0.18 เหรียญหรือ 45 เหรียญต่อ 250 นาที มาเลเซีย นาทีละ 0.12 เหรียญหรือ 30 เหรียญต่อ 250 นาที

"ดีแทคจะทำข้อมูลดังกล่าวส่งไปให้ TDRI เพื่อ ให้รับทราบจะได้มีข้อมูลที่ครบถ้วน แต่เราไม่ได้มีอาชีพค้าความ ไม่ได้มีความต้องการอะไรที่นอกเหนือ ไปจากนี้" นายวิชัยกล่าวและย้ำว่าค่าบริการของไทยถูกที่สุดในเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบ 3 ประเทศรอบข้าง ส่วนในญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ค่าบริการก็ไม่ได้มีประเทศไหน ถูกกว่าไทย เพราะมีทั้งแอร์ไทม์ และค่าธรรมเนียมรายเดือน

"เราอยากขอความเป็นธรรม เวลานักวิชาการเปรียบเทียบอยากให้อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน แอปเปิล ก็ต้องเทียบกับแอปเปิล ส่วนผลกระทบกับยอดขายไม่มีโดยตรง แต่อาจเกิดผลกระทบกับความรู้สึกผู้บริโภคในการให้บริการของเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น จากข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน"

นายซิคเว่ เบรคเก้ ออกมาย้ำในประเด็นค่าบริการว่า เป็นเรื่องซับซ้อน หากใครจะออกมาพูดหรือให้ความเห็นควรศึกษาให้ถี่ถ้วน จริงอยู่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาค่าบริการของไทยอาจสูงกว่าประเทศอื่น แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว เมื่อเกิดการแข่งขันที่รุนแรง ทีเอออเร้นจ์เข้าตลาด ดีแทคคิดค่าบริการเป็นวินาทีและอัตราเดียวทั่วประเทศ สถานการณ์ดังกล่าวก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้ว ค่าบริการในไทยก็ถูกกว่าประเทศในภูมิภาคนี้

ดีแทคยังรวบรวมข้อมูลต้นทุนในการประกอบ การเมื่อเทียบกับต่างประเทศ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเงื่อนไขในการประกอบการ ไม่ได้มีอะไรที่เหนือกว่าต่างประเทศ จนเป็นที่มาของการทุจริตเชิงนโยบาย โดยผู้ประกอบการไทยต้องเสียส่วนแบ่งรายได้ ต้อง จ่ายค่าภาษีสรรพสามิต ต้องจ่ายค่าแอ็คเซ็สชาร์จ ซึ่งในอนาคตจะถูกแทนที่ด้วยค่าเชื่อมโยงโครงข่ายหรืออินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ เบ็ดเสร็จเฉลี่ย 25-35% ในขณะที่ต่างประเทศ เสียเพียง 1-3% เป็นค่าธรรมเนียมให้รัฐในรูปค่าใช้ความถี่หรือค่าใบอนุญาต

"เราก็ต้องจ่ายค่าใช้ความถี่และในอนาคตเมื่อมีกทช. (คณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ) เราก็ต้องต้องจ่ายเหมือนกัน"

ในเรื่องการแข่งขันเสรี นายเบรคเก้ กล่าวว่า ต้องการให้มีการจัดตั้งกทช.โดยเร็วเพื่อให้กม. โทรคมนาคมมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบ ซึ่งจะให้ความ เป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะในเรื่องอินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ และกม.โทรคมนาคมอาจหมดความสำคัญหากไม่มีการปฏิบัติอย่างจริงจังภายในอีก 5 ปี อาจไม่มีประสิทธิภาพหากไม่รีบทำตั้งแต่วันนี้ ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่รวนและผู้ประกอบการรายเล็กไม่เกิด

การเปิดเสรีดังกล่าวไม่ใช่แค่โทรศัพท์มือถือ แต่ยังรวมหลายๆ บริการอย่างอินเทอร์เน็ต บริการสื่อสารข้อมูล โทรศัพท์พื้นฐาน ซึ่งถือว่ายังมีผู้ประกอบการได้อีก ซึ่งในกลไกการแข่งขันเสรี ใครไม่แข็งแรง ก็ไม่สามารถอยู่ได้

"การแปรสภาพทศท.กับกสท.อาจลำบาก เวลา นักลงทุนดูว่าจะมีอนาคตหรือไม่ ทั้ง 2 องค์กร ซึ่งนักลงทุนอาจหวั่นใจเพราะไม่มีมาตรการหลายๆอย่างที่ควรจะมี หากกม.โทรคมนาคมยังไม่บังคับใช้อย่างจริงจัง ทศท กับกสท.ก็ยากที่จะแปรรูป"
เสนอค่าเชื่อมโครงข่าย
1.25บาท/นาที

นายวิชัย กล่าวถึงประเด็นอินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จว่า คงต้องเข้าปรึกษากับนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อขอทราบนโยบายที่ชัดเจน เพราะถ้าเลื่อนการพิจารณาอินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ ออกไป จะมีผลเสียมากกว่าผลดีเมื่อมองถึงอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทั้งระบบ

"ไม่จำเป็นต้องรอกทช. เพราะกฤษฎีกาตีความ แล้วว่าอยู่ในอำนาจไอซีทีทำได้ และพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2544 แล้ว มันหมือนเรามีกฎหมายจราจร แต่ตำรวจจราจรยังไม่มา หมายความว่าเราฝ่าไฟแดงได้ ใช่หรือไม่"

อินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ หมายถึง การแบ่งรายได้กรณีมีการโทร.เข้ามายังโครงข่าย จากเดิมที่รายได้จะเกิดฝ่ายเดียวด้านโทร.ออก ซึ่งดีแทคเสนอ อินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จนาทีละ 1.25 บาท ซึ่ง โอเปอเรเตอร์ ทุกรายเสนอข้อมูลตัวเลขที่แตกต่างกันในหลักสตางค์เท่านั้น เหลือเพียงทศท.ยังไม่ได้เสนอตัวเลขไปยังคณะกรรมการชุดใหญ่ที่พิจารณาเรื่องนี้

"ผมอยากให้กำลังใจรัฐมนตรีว่าเดินมาถูกทาง แล้ว และโอเปอเรเตอร์ทุกรายเห็นตรงกันหมด ทุกคนอยากผลักดันให้ไอซีทีทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นมาให้ได้" นายวิชัยกล่าวย้ำว่าเรื่องอินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ ไม่มีปัญหาด้านเทคนิค เคลียริ่งเฮาส์จะมีหรือไม่ก็ได้ เพราะแต่ละโอเปอเรเตอร์สามารถตรวจปริมาณทราฟิกที่เข้าออกโครงข่ายของตัวเองได้อยู่แล้ว แต่สามารถจัดตั้งได้ในฐานะเป็นคนกลางเพื่อความสบายใจและโปร่งใส ซึ่งใช้เงินไม่มากนักในการจัดตั้ง อินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ

นอกจากประเด็นว่า อย่าเอาโครงข่ายผู้อื่นเป็น เครื่องมือในการโปรโมชั่นแล้ว ยังมีประเด็นที่ไม่ได้พูดถึงประโยชน์ประการสำคัญคือจะทำให้การให้บริการลูกค้าครอบคลุมไปยังพื้นที่ห่างไกลมากขึ้น เพราะการลงทุนสถานีฐานในต่างจังหวัดบางแห่ง ซึ่งมีคนใช้งานน้อย รายได้คนในพื้นที่ต่ำ บางสถานีฐาน คนขับรถ 180 กม./ชม. ผ่านไปแค่ 30 วินาที อาจต้องใช้เวลาที่นายวิชัยกล่าวติดตลกว่า 3 หมื่นปี ก็จะเปลี่ยนไป เพราะเมื่อมีอินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จเกิดขึ้น สถานีฐานเหล่านั้นก็จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในแง่ผลตอบแทนการลงทุนก็จะดีขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้โอเปอเรเตอร์ขยายโครงข่ายในพื้นที่ดังกล่าว มากขึ้นด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us