Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 มีนาคม 2551
หุ้นไทยรูดเย้ยยกเลิกเกณฑ์30%             
 


   
search resources

Stock Exchange




ตลาดหุ้นไทยร่วงไม่ตอบรับข่าวแบงก์ชาติยกเลิกมาตรการกัน 30% ขณะที่ตลาดหุ้นทั่วเอเชียทรุดหนักพิษ"ดาวโจนส์" รูดกว่า 300 จุด "ปกรณ์" ยอมรับตลาดหุ้นไม่ได้รับอานิสงส์เหตุไม่โดนกันสำรองอยู่แล้ว เชื่อตราสารหนี้จะเริ่มฟื้นตัว "สันติ" เผยผลตอบแทนบอนด์ลดฮวบหลังปลดล็อคมาตรการ 30% โบรกฯชี้ปัจจัยลบในประเทศยังไม่จบ ห่วงโยกย้ายข้าราชการระดับสูงกระทบนโยบาย แนะจับตาดัชนีดาวโจนส์กำหนดทิศตลาดหุ้นเอเชีย

ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์วานนี้ ( 3 มี.ค.) แม้ว่าจะเป็นวันแรกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30%
ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์ว่านักลงทุนต่างชาติจะมีความมั่นใจมากขึ้นต่อการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย แต่จากความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อาจจะถดถอยรุนแรง จนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวลดลงกว่า 300 จุดส่งผลทำให้ตลาดหุ้นทั่วเอเชียปรับตัวลดลงอย่างหนัก ทั้งนี้ ตลาดหุ้นไทยตลอดทั้งวันแกว่งตัวอยู่ในแดนบวกสลับกับแดนลบก่อนจะปรับตัวลดลงมาปิดที่ 842.92 จุด ลดลง 2.84 จุด หรือ 0.34% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 849.49 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 842.00 จุด มูลค่าการซื้อขาย 29,668.56 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,210.80 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 1,958.82 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 748.03 ล้านบาท สำหรับหุ้นขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด เช่น หุ้นบมจ.ปตท. หรือ PTT ราคาปิดที่ 336 บาท ลดลง 6 บาทมูลค่าการซื้อขาย 3,077.83 ล้านบาท, หุ้นบมจ.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ PTTEP ราคาปิดที่ 158 บาท ลดลง 3 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2,023.88 ล้านบาท, หุ้น

ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK ราคาปิดที่ 87.50 บาท ลดลง 0.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,872.22 ล้านบาท, หุ้นบมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และ

การกลั่น หรือ PTTAR ราคาปิดที่ 42.25 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง มูลค่าการซื้อขาย 1,409.55 ล้านบาท ขณะที่หุ้นเก็งกำไรบมจ. อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง หรือ IEC ราคาปิดที่ 1.87 บาท เพิ่มขึ้น 0.33 บาท หรือ 21.43% มูลค่าการซื้อขาย 869.79 ล้านบาท, หุ้นบมจ.บลิส-เทล หรือ BLISS ราคาปิดที่ 0.69 บาท ลดลง 0.1 บาท หรือ 19.77% มูลค่าการซื้อขาย 858.83 ล้านบาท

นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า การประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ไม่น่าจะส่งผลต่อการลงทุนในตลาดหุ้นมากนักเนื่องจากที่ผ่านมาตลาดหุ้นได้รับยกเว้นไม่ต้องกันเงินสำรองสำหรับเงินที่จะ
เข้ามาลงทุนอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามความชัดเจนที่เกิดขึ้นก็น่าจะช่วยสร้างความมั่นใจต่อการเข้ามาลงทุนได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน

ทั้งนี้ ตลาดตราสารหนี้น่าจะเป็นตลาดที่ได้รับผลดีที่สุดจากการประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวเนื่องจากที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติชะลอการลงทุนในตลาดตราสารหนี้เนื่องจากข้อจำกัดดังกล่าวที่เปรียบเสมือนการจ่ายภาษีทางอ้อมจากการลงทุนโดยหลังจากนี้เชื่อว่าตลาดตราสารหนี้จะกลับมาได้รับความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น

"หุ้นคงไม่ได้รับผลดีอะไรมากนอกเหนือจากด้านจิตวิทยาเพราะเงินที่จะเข้ามาลงทุนก็ไม่ต้องถูกกันสำรองอยู่แล้ว แต่หลังจากนี้ความชัดเจนดังกล่าวน่าจะทำให้นักลงทุนมั่นใจมากขึ้น"นายปกรณ์กล่าว

ห่วงประเด็นทางการเมืองฉุดหุ้น

นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า แนวโน้มความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นวันนี้ เชื่อว่าจะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ซึ่งหากดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ก็น่าจะส่งผลทางจิตวิทยาต่อทิศทางตลาดหุ้นทั่วเอเชีย ทั้งนี้เชื่อว่าแรงซื้อที่จะเข้ามาในตลาดหุ้นจะไหลเข้ามาในกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการยกเลิกมาตรการกัน 30% เป็นหลักเช่น หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ หุ้นที่ออกกองทุนอสังหาฯ

นอกจากนี้ยังต้องติดตามความเคลื่อนไหวประเด็นทางการเมืองเนื่องจากมีความเสี่ยงมากขึ้นจากเรื่องดังกล่าว หลังจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงในหลายหน่วยงานอย่างผิดสังเกตภายหลัง พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเดินทางกลับประเทศ อย่างไรก็ตาม แนะนำนักลงทุนระยะยาวเข้าสะสมหุ้นพื้นฐานดี เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์ และอสังหาริมทรัพย์ โดย

ประเมินแนวรับ 840 จุด แนวต้าน 848 จุด

นางสาวอาภาพร แสวงพรรค ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส(ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยได้รับแรงกดดันจากตลาดหุ้นในต่างประเทศที่มีการปรับตัวลงกันอย่างทั่วหน้า เนื่องจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่จะมีการชะลอตัวลง ประกอบกับการรับผลต่อเนื่องจากปัญหาซับไพร์มจนส่งผลทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนปรับตัวลดลงอย่างหนัก

ทั้งนี้ แนวโน้มการลงทุนในวันนี้จะต้องรอดูความเคลื่อนไหวของตลาดสหรัฐฯในคืนนี้ รวมทั้งปัจจัยในประเทศต้องติดตาม

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยให้แนวรับที่ 830 จุด และมีแนวรับสำคัญที่ 815 จุด ส่วนแนวต้านให้ไว้ที่ 850-860 จุด

ยิวบอนด์รูดหลังยก30%

ด้านตลาดตราสารหนี้ได้สรุปภาวะการซื้อขายตราสารหนี้ ในวานนี้ (3 มี.ค.) โดยระบุว่าตั้งแต่ช่วงบ่ายวันศุกร์ (29 ก.พ.) ที่ได้รับข่าวว่าจะมีการประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรองเงิน 30% ซึ่งมีผลบังคับใช้ใน 3 มี.ค 51 เป็นผลทำให้ Yield curve ปรับลดลงทุกช่วงอายุโดยเฉลี่ย 0.10-0.15% โดยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี (LB133A) ปรับตัวลดลงมากที่สุดถึง 0.27% ในขณะที่พันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี (LB183B) ปรับตัวลดลง 0.16%

ส่วนในวานนี้ซึ่งเป็นวันที่มีผลบังคับใช้การยกเลิกมาตรการดังกล่าว Yield curve ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยตั๋วเงินคลัง (T-Bill) ที่มีการประมูลวันนี้ก็มีการปรับลดลงทุกช่วงอายุเช่นกัน (1, 3, และ 6 เดือน) โดยเฉลี่ยลดลงไป 0.12% และพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว 5 ปี และ 10 ปี ซื้อขายกันอยู่ ณ ระดับ 3.55% และ 4.30% ลดลงจากวันที่ 28 ก.พ. 51 ถึง 0.43% และ 34% ตามลำดับทางด้านปริมาณการซื้อขายประเภท Outright อยู่ที่ประมาณ 44,500 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนของนักลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อขายถึง 1,468 ล้านบาท คิดเป็น 4.75% ของปริมาณการซื้อขายโดยรวม เมื่อเทียบกับปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติในวันที่ 29 ก.พ. ที่ 603 ล้านบาท คิดเป็น 1.05% ของปริมาณการซื้อขายโดยรวม และเมื่อเทียบกับระยะเวลาก่อนหน้าที่จะมีการคาดการณ์ถึงมาตรการยกเลิกดังกล่าว ก็มีสัดส่วนการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติโดยเฉลี่ยประมาณ 1% ของปริมาณการซื้อขายโดยรวม

ตลาดหุ้นเอเชียพากันร่วง

สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า ตลาดหลักทรัพย์แถบเอเชียต่างตกฮวบฮาบตามๆ กันเมื่อวานนี้(3) โดยที่โตเกียวปิดด้วยการไหลรูดลงถึงเกือบ 4.5% สาเหตุสำคัญคือการที่ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวยวบยาบ ตลอดจนความหวาดผวาที่ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังถลำลงสู่ภาวะถดถอยบรรดานักลงทุนทางเอเชียพากันเทขายหุ้น ภายหลังตลาดทางสหรัฐฯและยุโรปทรุดหนักตอนปลายสัปดาห์ที่แล้ว เนื่องจากปรากฏสัญญาณหลายประการอันแสดงว่า ฤทธิ์เดชของวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐฯและภาวะสินเชื่อตึงตัวทั่วโลก ยังไม่ได้จบสิ้นผ่านพ้นไปเลยมุมไบ(บอมเบย์)เป็นตลาดหุ้นในเอเชียซึ่งย่ำแย่กว่าเพื่อนเมื่อวานนี้ โดยติดลบถึง 5.12% ขณะที่ฮ่องกง -3.07%, สิงคโปร์ -3.3%, และ ซิดนีย์ -2.98% ทางด้านตลาดโซลก็ลดต่ำลงมา 2.3% ถึงแม้ไทเปยังสามารถจำกัดความเสียหายลงเหลือเพียง -1.78%เซี่ยงไฮ้นั้นสามารถสวนกระแส โดยบวกเพิ่มขึ้น 2.06% ทว่าตลอดวานนี้แทบจะไม่มีข่าวดีเอาเสียเลยตลาดแถบเอเชียพากันดิ่งลงมาตั้งแต่เริ่มเปิดตลาด ตามหลังวอลล์สตรีทวันศุกร์(29ก.พ.)

ซึ่งดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิด -2.51% ขณะที่ดัชนีหุ้นคอมโพสิตของตลาดแนสแดคก็ -2.58% ลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือนเหตุผลสำคัญมาจากความวิตกที่ว่า วิกฤตสินเชื่อซับไพรม์อาจจะส่งผลกระทบเพิ่มขึ้นอีก ภายหลัง อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป
(เอไอจี) บริษัทประกันภัยใหญ่ที่สุดของโลก ประกาศผลประกอบการปี 2007 ซึ่งต้องมีการตัดลดความเสียหายอันเกี่ยวข้องกับเรื่องสินเชื่อถึง 11,100 ล้านดอลลาร์

นอกจากนั้น สื่อยังรายงานว่า แผนการกอบกู้ช่วยเหลือ แอมแบค ไฟแนนเชียล บริษัทประกันภัยตราสารหนี้ หรือ "โมโนไลน์" รายยักษ์ของสหรัฐฯ กำลังประสบภาวะชะงักงัน "ความกลัวของนักลงทุนในเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอย กำลังกลับมีความเข้มแข็งขึ้นอีก กระทั่งกำลังมีความคิดเห็นกันเพิ่มมากขึ้นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอยแล้วด้วยซ้ำ" เรียวเฮ มุรามัตสึ แห่ง คอมเมอร์ซแบงก์ ในกรุงโตเกียว ให้ความเห็นในตลาดโตเกียววานนี้ ดัชนีหุ้นนิกเกอิ 225 ปิดติดลบ 4.49% และปิดในระดับต่ำกว่า 13,000 จุดเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 เดือน หุ้นญี่ปุ่นไม่เพียงได้รับผลกระทบจากความหวาดหวั่นเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่การที่ค่าเงินดอลลาร์กำลังอ่อนตัวลงอย่างแรง ยังทำให้หุ้นของพวกบริษัทส่งออกแดนซามูไรย่ำแย่หนักขึ้นด้วย ในการซื้อขายที่ตลาดโตเกียวตอนเย็นวานนี้ ดอลลาร์ปวกเปียกลงเหลือแค่ 102.59 เยน อันเป็นระดับอ่อนสุดตั้งแต่เดือนมกราคม 2005 และต่ำลงจากระดับ 103.73 เยน ในการซื้อขายที่นิวยอร์กวันศุกร์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us