|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ธปท.จี้แบงก์พาณิชย์บริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์ที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง พร้อมแจงนโยบายการกำกับตรวจสอบธนาคารพาณิชย์โดยมุ่งเน้นใน 4 ประเด็น คือ การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของทางการ การบริหารจัดการ การควบคุมภายในเพื่อรองกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ และความพอเพียงของเงินกองทุน
วานนี้ (3 มี.ค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เรียกผู้บริหารธนาคารพาณิชย์จำนวน 14 แห่ง เข้าพบเพื่อทำการชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายการกำกับตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ในปีนี้
โดยนายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ สายเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท.เปิดเผยว่า ธุรกิจสถาบันการเงินในปีนี้จะต้องมีความระมัดระวังเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่เกิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการเงินโลก โดยจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งถึงจะเริ่มคลี่คลาย ซึ่งในส่วนของสถาบันการเงินจึงจำเป็นต้องมีการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว
ทั้งนี้ สถาบันการเงินยังต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับกฎหมายทางการเงิน 3 ฉบับ ซึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก กฎหมายเหล่านี้จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ในปีนี้
สำหรับนโยบายการกำกับตรวจสอบในปีนี้ ธปท. จะเน้นใน 4 เรื่อง ซึ่งประกอบด้วย 1.การกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยให้ความสำคัญกับกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร ตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ฉบับใหม่ 2.การบริหารความเสี่ยงที่ดีด้านเครดิต สภาพคล่อง และตลาดให้มีประสิทธิภาพ 3.การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของทางการ การบริหารจัดการ การควบคุมภายในเพื่อรองกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ และ 4. ความพอเพียงของเงินกองทุนต่อการขยายธุรกิจในปัจจุบันและในอนาคต
"การตรวจสอบสถาบันการเงินจะเน้นความเข้มแข็งของเงินกองทุนและมีเครื่องมือการตรวจสอบใหม่ เพื่อประเมินความเข้มแข็งของธนาคารพาณิชย์แต่และแห่งและทั้งระบบ เพื่อรองกับการใช้เกณฑ์บาเซิล 2 โดยปัจจุบันเงินกองทุนของระบบธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 14-15% ซึ่งสูงว่าเกณฑ์ที่ ธปท.กำหนดไว้ที่ 8.5% อย่างไรก็ตาม มองว่าปีนี้หากเศรษฐกิจไทยดีขึ้นการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ก็จะได้ประโยชน์ แต่การแข่งขันก็จะมีมากขึ้นด้วย" นายบัณฑิตกล่าว
นายบัณฑิต กล่าวว่า สำหรับเครื่องมือใหม่ตามเกณฑ์บาเซิล 2 จะจัดทำแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องมือสะท้อนฐานะของธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริงตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องดูว่าแผนธุรกิจจะต้องมีการปรับหรือไม่ รวมถึงดูว่าโครงสร้างธุรกิจเหมาะสมหรือไม่หรือต้องมีการตัดทอนอะไรออกไปบ้าง อีกทั้งต้องมีการปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงอีกหรือไม่
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB กล่าวว่า ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการรายงานการตรวจสอบในปี 2551 นั้นมีอยู่ 4 เรื่อง ประกอบด้วย การดูแลกิจการที่ดี การจัดการบริหารความเสี่ยง ความเพียงของเงินกองทุนและการบริหารสภาพคล่อง ซึ่งในส่วนของธนาคารนั้นได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว
"ธปท.เรียกมาเพื่อคุยเรื่องการบริหารความเสี่ยงและการปรับตัวของแบงก์ เพื่อรองรับกฎหมายใหม่ เช่น รูปแบบการทำธุรกรรมและเรื่องเงินกองทุน เพราะในปี 50 กำไรของแบงก์ลดลงไปมาก"นายชัยวัฒน์กล่าว
|
|
 |
|
|