|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เงินเฟ้อ ก.พ.กระฉูด 5.4% สูงสุดในรอบ 20 เดือน หลังสินค้าพาเหรดขึ้นราคายกแผง แต่ “พาณิชย์” กลับโยนบาปเกษตรกร เป็นตัวต้นเหตุทำเงินเฟ้อพุ่ง บอกหมูแพง เพราะดันไปขึ้นราคาหน้าฟาร์ม แถมอุ้มพ่อค้าสุดโต่ง ไม่บอกความจริง ว่าหมูแพงที่หน้าเขียง ไม่วายแหกตาประชาชนอาหารสำเร็จรูปขึ้นราคาแค่ 0.9% ทั้งๆ ที่ขึ้นจริง 20% “มิ่งขวัญ”ให้สัญญา 3 สัปดาห์ราคาสินค้ามีข่าวดี เตรียมยกโขยงนักลงทุนโรดโชว์ประเทศเพื่อนบ้าน ด้าน กกร.ยื่น 6 ข้อให้ทูตพาณิชย์ช่วยผลักดันการค้าระหว่างประเทศ ยอมรับเป้าหมายการส่งออก 15% ทำได้ยาก
นางไพเราะ สุดสว่าง รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนก.พ.2551 ที่สำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิง การอ่านและการศึกษา เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.2551 สูงขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับเดือนก.พ.2550 สูงขึ้น 5.4% สูงสุดในรอบ 20 เดือน และเฉลี่ย 2 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.พ.) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วสูงขึ้น 4.8% สูงสุดในรอบ 15 เดือน
สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อในเดือนก.พ. สูงขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.ที่ผ่านมา เพราะดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 2% เป็นเพราะราคาอาหารเกือบทุกประเภทสูงขึ้น โดยราคาเนื้อสัตว์สูงขึ้น 15.5% จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร 23.9% ตามราคาหน้าฟาร์มเป็นสำคัญ ไข่ สูงขึ้น 5.8% ไก่ 1% เครื่องประกอบอาหารสูงขึ้น 2% ตามการสูงขึ้นของน้ำมันพืช 7.2% ขณะที่อาหารสำเร็จรูปสูงขึ้น 0.9% เช่น กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
ส่วนดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการเคลื่อนไหวของสินค้าหลายชนิด แม้จะมีการปรับราคาน้ำมัน 2 ครั้ง และเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ดัชนีลดลง 0.4% รถไฟปรับลดค่าธรรมเนียมสำหรับรถเร็วที่วิ่งไม่เกิน 300 กม เครื่องรับโทรศัพท์มือถือลดลง 0.3% เครื่องเล่นเทปดิสก์ ลดลง 0.4% ส่วนการปรับค่าเอฟที สูงขึ้น 2.75 สตางค์/หน่วย ทำให้ดัชนีกระแสไฟฟ้าสูงขึ้น 0.9% ก๊าซหุงต้ม สูงขึ้น 1.7% ยาสูบและเครื่องดื่มามีแอลกอฮอล์สูงขึ้น 0.5% ได้แก่ บุหรี่ เบียร์ ไวน์และสุรา
สำหรับเงินเฟ้อเมื่อเทียบกับเดือนก.พ.ปีที่แล้ว เนื่องจากในช่วงเดือนก.พ.2550 มีสินค้าหลายชนิดมีราคาลดลง ได้แก่ อาหารประเภทเนื้อสัตว์ ผักสดและผลไม้ ค่ากระแสไฟฟ้า ส่งผลให้ดัชนีรวมลดลง แต่ในเดือนก.พ.ปีนี้ ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 7.9% สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ เนื้อสัตว์ 25% ผักและผลไม้ 15.1% ไข่และผลิตภัณฑ์นม และเครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นเท่ากันคือ 10.7% และดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 4% สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง 27.1% ค่าโดยสารสาธารณะ 2.2% ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ 3.7%
“แม้ว่าเงินเฟ้อในเดือนก.พ. จะเพิ่มสูงขึ้น แต่คาดว่าเดือนมี.ค. เงินเฟ้อจะมีแนวโน้มลดลง เพราะเดือนก.พ.เป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน ความต้องการผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ สูงขึ้น ทำให้มีราคาแพง แต่เดือนมี.ค. นมผง จะลดราคา ผงซักฟอก ยาสีฟัน แชมพู จะตรึงราคาและบางรายการจะลดราคา ขณะที่อาหารสำเร็จก็จะลดราคา ทำให้แรงกดดันต่อเงินเฟ้อลดลง ส่วนการจะปรับเป้าหมายเงินเฟ้อหรือไม่ กระทรวงพาณิชย์ ขอดูสถานการณ์ก่อน 6 เดือนก่อน ตอนนี้ขอยืนตัวเลขที่ 3.5% เพราะมั่นใจว่ามาตรการที่ออกมาจะช่วยบรรเทาภาวะเงินเฟ้อได้”นางไพเราะ กล่าว
นอกจากนี้ ยังเห็นว่าราคาน้ำมันจะไม่เพิ่มขึ้นมาก เพราะการยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% จะทำให้บาทแข็ง ส่งผลให้การนำเข้าน้ำมันมีราคาไม่สูงเหมือนในอดีต ที่สำคัญ มีการหันไปใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น ทำให้ต้นทุนราคาสินค้าเพิ่มขึ้นไม่มาก ซึ่งจะช่วยชะลอการปรับขึ้นราคาในภาพรวมได้
นางวัชรี วิมุกตายน รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า สินค้านมผง ได้แจ้งว่าจะมีการปรับลดราคานมผงบางรายการลงมา 5-13% ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.นี้ และบางรายการจะตรึงราคาไว้ โดยเฉพาะรายการที่เคยขอปรับขึ้นราคา ขณะที่ผงซักฟอก แชมพู ยาสีฟัน จะปรับลดราคาลงบางรายการ และตรึงราคาบางรายการ ส่วนอาหารสำเร็จรูปในห้างสรรพสินค้า และร้านค้าปลีกรายใหญ่ ได้ตกลงที่จะลดราคาเช่นกัน โดยอาหารจานละ 25 บาท จะลดเหลือ 23-24 บาท จานละ 30 บาท ลดเหลือ 28 บาท
รายงานข่าวแจ้งว่า สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อในเดือนก.พ.เพิ่มขึ้นมาก เพราะสินค้าหลายๆ รายการมีราคาสูงขึ้น แต่ที่น่าแปลกใจ ก็คือ กระทรวงพาณิชย์กลับไปโยนบาปให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูว่าเป็นต้นเหตุทำให้ราคาเนื้อสุกรสูงขึ้น เพราะขึ้นราคาหน้าฟาร์มตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่กลับไม่พูดถึงต้นเหตุที่ทำให้เนื้อสุกรแพงขึ้นว่าเป็นเพราะโรงชำแหละกับหน้าเขียงที่ได้กำไรเกินควรเลย ที่สำคัญ ยังระบุอีกว่าอาหารสำเร็จรูปขึ้นราคาแค่ 0.9% ทั้งๆ ที่ขึ้นราคาจริงสูงถึง 20% เช่น ก๋วยเตี๋ยว เดิมชามละ 25 บาท ขึ้นอีก 5 บาท เป็น 30 บาท จะขึ้นแค่ 0.9% ได้อย่างไร
"มิ่งขวัญ" ขอเวลา 3 สัปดาห์แก้ราคาสินค้า
นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ขอเวลา 3 สัปดาห์เพื่อดูราคาสินค้าต่างๆ โดย ดูตั้งแต่ราคาวัตถุดิบในประเทศและต่างประเทศ ค่าจ้างแรงงาน ค่าการตลาด และผู้บริโภค ซึ่งตอนนี้สินค้าหลายตัวที่ได้กำชับปลัดกระทรวงพาณิชย์ไปแล้ว โดยเน้นสินค้าที่คนเดือดร้อนมาก และจะลดราคาค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้าง
ส่วนเรื่องโรดโชว์เพื่อสร้างความเข้าใจกับนักลงทุนในต่างประเทศนั้น ถ้าเป็นแผนใหญ่ต้องหารือกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เบื้องต้นนายกรัฐมนตรีได้ไปประเทศลาว และกัมพูชา ซึ่งตนขออนุญาตไม่ร่วมเดินทางไปด้วยโดยขอแยกไปต่างหาก แต่ก็ได้ขอให้นายกรัฐมนตรีกราบเรียนผู้นำรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศว่า กระทรวงพาณิชย์จะพากลุ่มพ่อค้ากลุ่มใหญ่ไป เพื่อไปคุยทางการค้าที่นั่นและประเทศใกล้เคียงทั้งหมด
กกร.หารือทูตพาณิชย์
นายธนิต โสรัตน์ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย หรือกกร. ร่วมกับทูตพาณิชย์ทั่วโลกวานนี้ว่า ทางกกร.ได้ยื่นข้อเสนอ 6ข้อให้ทูตพาณิชย์ช่วยดำเนินการ 1.หาตลาดใหม่ทั้งส่งออกสินค้าและบริการ 2.ช่วยหาแหล่งวัตถุดิบราคาถูกให้ผู้ส่งออกเอสเอ็มอี 3.สนับสนุนข้อมูลให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนต่างประเทศ
4.สนับสนุนข้อมูลจากแต่ละประเทศให้เกิดการประสาน รวมทั้งพบปะเจรจาร่วมทุนกันได้ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย 5. สร้างกฎระเบียบในการใช้บริการสำนักงานในต่างประเทศอย่างชัดเจน เพื่อให้เอกชนทั้งหมดเข้าถึงทูตพาณิชย์ได้ และ 6.ให้กรมส่งเสริมการส่งออก ช่วยสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากการค้าชายแดนให้เป็นช่องทางการค้าใหม่ให้กับผู้ส่งออก
นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า เป้าหมายการส่งออกที่รัฐบาลใหม่ตั้งไว้ให้ขยายตัว 15% นั้นยอมรับว่าเป็นเป้าการส่งออกที่สูง ภาคเอกชนต้องทำงานหนัก ในการผลักดันให้ได้ตามเป้า ดังนั้นรัฐต้องช่วยในการจัดหาวัตถุดิบพื้นฐานและวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูป เพื่อลดผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ แต่ขณะนี้ผู้ประกอบการยังไม่ทราบข้อมูลทั้งหมด วัตถุดิบราคาถูกอยู่ในแหล่งใดบ้าง ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือในด้านข้อมูล
|
|
|
|
|