Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2551
สงครามเกี๊ยวซ่า             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 


   
search resources

Food and Beverage




เป็นประเพณีตั้งแต่โบราณกาลของชาวจีนที่ในช่วง "เทศกาลตรุษจีน" วันครอบครัวของชาวจีนทั้งมวล สมาชิกในครอบครัวจะต้องกลับบ้านไปอยู่กับพ่อแม่ให้พร้อมหน้าพร้อมตา เพื่อที่สมาชิกทั้งหมด ปู่ ย่า พ่อ แม่ ลูกหลาน จะนั่งล้อมวงช่วยกันทำกับข้าวกับปลา แล้วมานั่งล้อมวงรับประทานอาหารแกล้มสุรา เพื่อพูดคุยไต่ถามสารทุกข์สุกดิบ

สำหรับชาวจีน อาหารอย่างหนึ่งที่ถือว่าเป็น "ขาประจำ" บนโต๊ะอาหารในคืนก่อนวันตรุษจีนนั้นไม่ใช่หูฉลาม หมูหัน หรือกระเพาะปลาน้ำแดง แต่กลับเป็นอาหารง่ายๆ ที่เรียกกันว่า "เกี๊ยว"

"เกี๊ยว" ที่ชาวจีนเมืองหลวง หรือชาวจีนที่อยู่ทางภาคเหนือนิยมรับประทานหน้าตาจะไม่เหมือน "เกี๊ยว" บ้านเราเพราะเกี๊ยวแป้งสีเหลืองอย่างที่คนบ้านเราชอบกินนั้นบ้านเขาเรียกว่า "หุนตุ้น" หรือที่ฝรั่งเขาเขียนกันว่า Wonton แต่เกี๊ยวของเขาจะใช้แป้งสาลีขาวห่อด้วยไส้ ก่อนจะนำไปนึ่งหรือทอดเพื่อรับประทาน

ทั้งนี้ความสนุกสนานของการทำเกี๊ยว ในช่วงเทศกาลตรุษจีนก็อยู่ที่ตรงคนในครอบครัวจะได้ช่วยกันทำไส้ นวดแป้ง ห่อไส้ เกี๊ยวแล้วนำไปปรุงให้สุกก่อนที่จะนำมานั่ง ล้อมวงรับประทานกัน บรรดาลูกเขย-ลูกสะใภ้ หากจะหาโอกาสโชว์ฝีมือทำอาหารให้ประทับ ใจพ่อตา-แม่ยาย หรือพ่อ-แม่สามี ส่วนใหญ่ ก็ใช้โอกาสนี้ทั้งนั้น เพราะทักษะในการปรุงไส้ นวดแป้ง ห่อไส้เกี๊ยวให้รสชาติกลมกล่อม อร่อย พอดีคำและดูสวยงามนั้นถือเป็นศาสตร์ และศิลป์อย่างหนึ่งของคนจีนก็ว่าได้

สาเหตุที่ "เกี๊ยว" เป็นอาหารประจำเทศกาลตรุษจีนของชาวจีนไม่ใช่เพราะความ อร่อยแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีอีกหลายสาเหตุ ด้วยกันคือ หนึ่ง รูปลักษณ์ของเกี๊ยวนั้นคล้าย กับเงินจีนโบราณแสดงถึงความมั่งคั่ง-ร่ำรวย สอง เกี๊ยวนั้นเป็นอาหารที่มีไส้ คนจีนจึงชอบนำอาหารมงคลต่างๆ ใส่เข้าไปในเกี๊ยว เพื่อแสดงถึงความมีโชคลาภในปีที่จะมาถึง โดยครอบครัวชาวจีนส่วนใหญ่นั้นจะนิยมลงมือทำและรับประทานเกี๊ยวกันในช่วงหัวค่ำ ของวันตรุษจีนแล้วก็ล้อมวงสนทนากันไปถึงรุ่งสางโน่น

สำหรับชาวจีนแผ่นดินใหญ่ทั้งหลาย ตรุษจีนปีหนูปีนี้หากจะกล่าวไปต้องถือว่าเป็น ตรุษจีนที่ไม่ค่อยน่าพิสมัยเท่าใดนัก เพราะตั้งแต่ก่อนเทศกาลก็เกิดภัยธรรมชาติครั้งร้าย แรงขึ้นในบริเวณพื้นที่ทางตะวันออก และตอนกลางของประเทศ เป็นพายุหิมะที่ตก อย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานถึง 4 สัปดาห์ ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ และความโกลาหลในระบบคมนาคม-พลังงาน-การสื่อสาร จนแรงงานชาวจีนที่จากบ้านมา ทำงานในเมืองหลายล้านคนไม่สามารถเดินทางกลับบ้านไปฉลองเทศกาลตรุษจีนได้

เรื่องราวที่ไม่น่าพิสมัยของชาวจีนที่เกิดขึ้นในช่วงตรุษจีนปีหนูปีนี้อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ข่าวการตรวจพบว่า เกี๊ยวซ่าที่ผลิตจาก ประเทศจีนปนเปื้อนยาฆ่าแมลงโดยทางการญี่ปุ่น และทำให้มีชาวญี่ปุ่นต้องถูกส่งเข้าไปรักษาตัวในโรงพยาบาลถึง 10 คน ซึ่งในเวลา ต่อมากลายเป็นประเด็นปัญหาที่ส่งผลกระทบ ถึงความสัมพันธ์ในระดับชาติเลยทีเดียว

รายงานจากสำนักข่าวญี่ปุ่นระบุว่า เรื่องราวของ "เกี๊ยวซ่าพิษ" ในประเทศญี่ปุ่น นั้นเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 แล้ว แต่กลายเป็นประเด็นใหญ่ในวันที่ 30 มกราคม 2551 เมื่อกระทรวงสาธารณสุข แรงงานและสวัสดิการสังคมของญี่ปุ่นออกมา แถลงว่ามีชาวญี่ปุ่นจำนวน 10 คนที่อาศัยอยู่ ในจังหวัดชิบะและเฮียวโงเกิดอาการป่วยหลังจากบริโภคเกี๊ยวซ่าสำเร็จรูปแช่แข็งที่ผลิตจากโรงงานอาหารเทียนหยาง ที่ตั้งอยู่ในมณฑลเหอเป่ยของประเทศจีน

โดยกระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นเปิดเผยว่ามีชาวญี่ปุ่นมากกว่า 3,000 คน ได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเพื่อรายงาน ถึงอาการผิดปกติของร่างกายและอาการป่วยหลังจากการบริโภคเกี๊ยวซ่าดังกล่าวไปตั้งแต่เดือนธันวาคม 2550 และเปิดเผยด้วยว่าสารพิษที่พบในเกี๊ยวซ่าแช่แข็งที่ผลิตจากจีนนั้นก็คือ สารที่ใช้ผสมเพื่อกำจัดแมลงที่ชื่อ เมธามิโดฟอส (Methamidophos)

ผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นแผ่ขยายวงไปอย่างรวดเร็ว โดยกินความตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ภาคธุรกิจ ไปจนถึงระดับชาติ

ในญี่ปุ่น เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นออกแถลง การณ์ถึงกรณีดังกล่าว ส่งผลให้ในหมู่คนญี่ปุ่นเกิดกระแสความหวาดกลัวที่จะบริโภคสินค้าอาหารแช่แข็งที่นำเข้ามาจากจีน โดยหลังจากข่าวเผยแพร่ออกมายอดขายสินค้าอาหารแช่แข็งนำเข้าจากจีนก็ลดลงไปถึงร้อยละ 30 ขณะที่ในซูเปอร์มาร์เก็ตญี่ปุ่นนั้น ก็ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้วยการนำชุดเกี๊ยวทำเองแบบ DIY (Do It Yourself) มาวางขายแทน ขณะที่ราคาหัวหอม เนื้อหมู และเนื้อวัวที่เป็นวัตถุดิบสำคัญของการทำเกี๊ยวในญี่ปุ่นก็พุ่งขึ้นเป็นเท่าตัว

ในเชิงธุรกิจบริษัทญี่ปุ่นที่นำเข้า-ผลิตอาหารแช่แข็งจากแหล่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่ประเทศจีนก็ถือโอกาสนี้ใช้กลยุทธ์โฆษณาที่ว่าสินค้าอาหารของตนเองนั้นไม่มีส่วนผสมที่ผลิตจากประเทศจีนเลยซึ่งก็เห็นผลพอสมควร ในทางตรงกันข้าม บริษัทที่นำเข้าสินค้าอาหารและอาหารแช่แข็งจากจีนและบริษัทที่เกี่ยวข้องกลับต้องประสบกับปัญหาอย่างหนัก เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นได้ขึ้นบัญชีบริษัทญี่ปุ่นอีก 18 บริษัทซึ่งค้าขายอยู่กับบริษัทอาหารเทียนหยาง พร้อมทั้งกดดันให้บริษัทดังกล่าวหยุดการขายสินค้าเหล่านั้นเสีย

กระนั้นบริษัทญี่ปุ่นที่ดูจะได้รับผลกระทบหนักที่สุดก็คือบริษัท JT Foods ผู้นำเข้าอาหารแช่แข็งรายสำคัญของญี่ปุ่น บริษัทในเครือ Japan Tobacco และผู้นำเข้าเกี๊ยวซ่าชุดที่ทำให้เกิดปัญหา เนื่องจากหลังเกิดเหตุการณ์ JT Foods นอกจากจะต้องเรียกสินค้าทั้งหมดคืนจากซูเปอร์มาร์เก็ต ทั่วประเทศ ต้องออกแถลงการณ์ขอโทษคนญี่ปุ่นแล้วยังต้องประกาศเลื่อนการควบรวม กิจการของบริษัทกับ Nissin Food Products อีกด้วย ซึ่งหากไม่เกิดเหตุการณ์เกี๊ยวซ่าพิษนี้ ขึ้นเสียก่อน และ JT Foods กับ Nissin สามารถควบรวมกิจการกันได้อย่างราบรื่น บริษัทที่เกิดจากการรวมกิจการดังกล่าวก็จะกลายเป็นบริษัทอาหารแช่แข็งที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นซึ่งจะมียอดขายสูงถึงปีละ 2,400 ล้าน เหรียญสหรัฐ (ราว 79,000 ล้านบาท)

ทั้งนี้ผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้น จากกรณีดังกล่าวไม่ใช่ผลกระทบทางธุรกิจ แต่เป็นผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนกับญี่ปุ่น ที่แต่ไหนแต่ไรมาก็มีความเปราะบางอยู่แล้ว

ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 8 ก.พ. โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น โนบุทากะ มาชิมูระ กล่าวกับสื่อมวลชนว่า "ถ้าใช้คอมมอนเซนส์สักหน่อย มันก็เป็นไปได้ที่ยากำจัดศัตรูพืชจะถูกใส่ลงไปก่อนการบรรจุหีบห่อ ซึ่งนั่นก็หมายความว่ามันเกิดขึ้นในโรงงาน (ที่ประเทศจีน)" ขณะที่โยอิจิ อาซูโซเอะ รัฐมนตรีสาธารณสุขของญี่ปุ่นก็ออกมาแสดงท่าทีที่ไม่ค่อยเป็นมิตรต่อจีนนัก โดยกล่าวว่า กรณีดังกล่าวเป็นไปได้ว่าเกิดขึ้นจากความจงใจ (คือมีคนจงใจใส่สารพิษลงไปในห่ออาหาร) ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริงทางเจ้าหน้าที่ตำรวจของญี่ปุ่นอาจตั้งข้อหาพยายามฆ่ากับผู้ที่ทำก็ได้ ซึ่งความเห็นดังกล่าวของผู้ใหญ่ ของรัฐบาลญี่ปุ่นก็ได้รับการสำทับจากชาวญี่ปุ่นอย่าง ศ.โทชิมิตสุ ชิเกมูระ นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยวาเซดะที่ออกมากล่าวว่า "ในเมื่อต้นเหตุของเรื่องนี้เกิดจากประเทศจีน ชาวจีนก็ต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อหาข้อสรุปให้ได้ และตอนนี้ชาวญี่ปุ่นไม่เชื่อใจจีนแล้ว... และพวกเขาต้องการการแก้ปัญหาอะไรสักอย่าง!"

ทางด้านจีนเมื่อเกิดเหตุอื้อฉาวดังกล่าวขึ้นรัฐบาลจีนซึ่งเดิมทีก็ปวดหัวกับปัญหาของพายุหิมะในช่วงตรุษจีนอยู่แล้วก็ร้อนรนเป็นอย่างยิ่ง โดยมีการประสานงานไปยังรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งมีการสั่งการให้สำนักงานควบคุมและตรวจสอบคุณภาพสินค้าจีน (AQSIQ) ดำเนินการประสานงานกับทางญี่ปุ่น และส่งทีมผู้เชี่ยวชาญจากจีนไปร่วมตรวจสอบต้นตอของปัญหา ถึงประเทศญี่ปุ่น

หลังถูกอัดเสียน่วมจากสื่อญี่ปุ่นและสื่อตะวันตกได้สักพัก ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ทางการจีนและสื่อภายใต้ความควบคุมของรัฐบาลจีนก็ออกมาชี้แจงเรื่องดังกล่าวเป็นระยะ โดยหลังจากการตรวจสอบข้อมูลและหลักฐาน พร้อมกับการนำคณะตัวแทนจากรัฐบาลญี่ปุ่น ไปชมโรงงานอาหารเทียนหยางซึ่งผลิตเกี๊ยวซ่า ล็อตที่มีปัญหาแล้ว หวัง ต้าหนิง หัวหน้าคณะ ตรวจสอบและผู้อำนวยการฝ่ายการนำเข้า-ส่งออกอาหารของ AQSIQ ได้ชี้แจงว่าการปนเปื้อนของสารพิษดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในโรงงานจีน รวมถึงระหว่างการขนส่งเพราะ จากการตรวจสอบเกี๊ยวซ่าห่ออื่นๆ ที่ผลิตในล็อตเดียวกันกับเกี๊ยวซ่าชุดที่เกิดปัญหากว่า 2,000 ห่อแล้ว กลับไม่พบสารพิษใดๆ ทั้งสิ้น

ประเด็นเรื่อง "เกี๊ยวซ่าพิษ" กลายเป็นปัญหาใหญ่ในระดับชาติจนถึงขนาดที่ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ระหว่างการประชุม Group of Seven หรือการพบปะกันของรัฐมนตรีคลังของประเทศร่ำรวยที่ประเทศญี่ปุ่น ในการพูดคุยแบบทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีคลังของจีน และรัฐมนตรีคลังของญี่ปุ่น คือเซี่ย ซู่เหริน และฟูกูชิโร นูกากะ แทนที่ประเด็นหลักของการสนทนาจะเป็นเรื่องค่าเงินหยวน ประเด็นการ สนทนากลับกลายเป็นประเด็นเรื่องเกี๊ยวซ่าไปเสีย

ทั้งนี้ หลังการพบปะรัฐมนตรีคลังของญี่ปุ่นกลับมีท่าทีที่เป็นมิตรต่อจีนมากขึ้น โดยกล่าวว่า "ทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมมือกันสืบสวนหาสาเหตุเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ เช่นเดียวกันนี้อีกและที่สำคัญไม่ให้เกิดอุปสรรค ต่อมิตรภาพระหว่างสองประเทศด้วย"

ในความเห็นของผมลึกๆ แล้ว ปัญหาเรื่อง "เกี๊ยวซ่าพิษ" นี้แม้จะส่งผลดีต่อบริษัทผู้ผลิตอาหารของไทยบ้างไม่มากก็น้อยเพราะ หากผู้นำเข้าญี่ปุ่นไม่นำเข้าอาหารแช่แข็งจากจีนก็ต้องเบนเข็มมานำเข้าจากประเทศเวียดนามหรือประเทศไทยแทน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ควรที่จะถูกขยายความให้ใหญ่โตจนกลายเป็นประเด็นที่กระทบต่อความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ แต่ควรจะเป็นการไล่เบี้ยกันในหมู่บริษัทผู้ผลิตอาหารและนำเข้าของทั้งจีนและญี่ปุ่นมากกว่า เพราะจากข้อเท็จจริง ชี้ให้เห็นว่า ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศ ที่นำเข้าอาหารจากต่างประเทศมากกว่าร้อยละ 60 ของอาหารทั้งหมดที่บริโภคกันในประเทศ โดยแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับหนึ่งก็คือ สหรัฐอเมริกา รองลงมาก็คือ จีน โดยเฉพาะอาหารแช่แข็งที่วางขายในญี่ปุ่นนั้นมากกว่าครึ่งผลิตมาจากประเทศจีน

กระนั้นสิ่งที่พวกเราน่าเอาเยี่ยงอย่างจากกรณีนี้ก็คือ เหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าสำหรับชาวญี่ปุ่นแล้วประเด็นเรื่องการปกป้องผู้บริโภคนั้นเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งและรัฐบาลไม่อาจจะหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบได้เลย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us