|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2551
|
|
บลจ.อยุธยา จำกัด หรือ AYF เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน 1 ใน 5 ที่ไปลงทุนในต่างประเทศ ทว่ากองทุนที่ไปลงทุนเกือบทั้งหมดเป็นกองทุนปิดที่มีระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน แต่ในปีนี้ AYF มุ่งมั่นที่จะเปิดกองทุนต่างประเทศเพิ่มอีก 4 กอง หลังจากจัดระบบภายในเรียบร้อยแล้ว
AYF เป็นบริษัทแรกๆ เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ ก.ล.ต.ได้เปิดโอกาสให้ บลจ.ไปเปิดตลาดกองทุนรวมในต่างประเทศได้ ซึ่งในตอนนั้นบริษัทยังใช้ชื่อเดิมคือ บลจ. อยุธยาเจเอฟ (เอเจเอฟ) และปัจจุบันเปลี่ยนชื่อมาเป็น บลจ.อยุธยา จำกัด
และจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาจนกระทั่งถึงวันนี้ บลจ.อยุธยามองว่านักลงทุนไทยมีความรู้และความเข้าใจกองทุน FIF เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ และบริษัทเองก็มองเห็นว่าโดยภาพรวมของนักลงทุนมีความต้องการไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น
ทำให้ในปีนี้ บลจ.อยุธยาจะให้ความสำคัญในการเปิดตัวกองทุนใหม่ของ FIF เพิ่มขึ้นอีก 4 กอง โดยจะเน้นลงทุนในตลาดเอเชีย ที่มีอัตราการเติบโตสูงมากเมื่อเทียบกับการเติบโตในภูมิภาคอื่นๆ เป็นคำบอกกล่าวของ ฉัตรพี ตันติเฉลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.อยุธยา จำกัด
เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาได้เปิดตัวกองทุนแรกไปแล้ว มีชื่อว่า กองทุนเปิด อยุธยา เอเชียน แวลู แอนด์ โมเมนตัม (AYF CAVAM) เป็นกองทุนรวมหน่วยลงทุนที่เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนต่างประเทศเพียงกองทุน เดียว (Feeder Fund) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตราสารแห่งทุนที่ลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผ่านกองทุนรวมต่างประเทศชื่อ Citi Asian Value & Momentum Fund บริหารโดย Citigroup First Investment Manage-ment Limited
กองทุนเปิดขายไอพีโอระหว่างวันที่ 28 มกราคม-5 กุมภาพันธ์ 2551 มีจำนวนทุนโครงการ 1,500 ล้านบาท
ซึ่งวิธีการคัดเลือกหุ้นจะเลือกหุ้นในเอเชีย 2 พันกว่าบริษัท และนำเข้าไปสู่โมเดล 2 แบบ แบบแรกเรียกว่า Value Stock คัดเลือกหุ้นที่มีราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานและใช้ระบบนี้คัดเลือกบริษัทที่มีแนวโน้มน่าจะสูงกว่าตลาด
อีกโมเดลหนึ่งเรียกว่าโมเมนตัม ดูความเคลื่อนไหวของหุ้นเป็นอย่างไร และมีการปรับปรุงต่อเนื่องหรือไม่ และนำ 2 โมเดล นี้มาบวกกัน แล้วเลือกหุ้นให้เหลือ 30 ตัว ซึ่งรูปแบบการลงทุนในรูปแบบนี้ที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย 5 ปี มี 44%
"จริงๆ แล้ว ลักษณะการลงทุนของเรา จะเป็น Value Stock เรามีความเข้าใจในการเลือกหุ้น แต่โมเมนตัมเราใช้น้อยแต่หลังจากที่ศึกษากับซิตี้แบงก์แล้ว โมเมนตัมก็มีส่วนดี"
การเปิดตัวกองทุนใหม่และการวิเคราะห์ข้อมูลในตลาดเชิงลึกของกองทุน FIF นั้น บลจ.อยุธยายังต้องพึ่งพาประสบการณ์ และความชำนาญของพันธมิตรอยู่อีกมาก แม้ว่าที่ผ่านมาบริษัทจะมีออกกองทุนไปต่างประเทศก็ตาม แต่กองทุนเกือบทั้งหมดเป็นกองทุนปิดที่มีระยะเวลาการซื้อขายเพียง 6 เดือนเท่านั้น
ปีนี้จึงเป็นปีที่ บลจ.อยุธยาจะศึกษาและเรียนรู้กองทุนต่างประเทศอย่างจริงจังมากขึ้น โดยอาศัยเรียนรู้จากพันธมิตร อย่างเช่น ซิตี้แบงก์ที่เปิดตัวกองทุนไปแล้วเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา รวมทั้งพันธมิตรอย่าง เจพีมอร์แกน ซึ่งบริษัทมองว่าการมีพันธมิตรจึงเป็นก้าวแรกที่จะไปสู่ตลาดต่างประเทศ และมีความอุ่นใจมากกว่าที่จะต้องไปเพียงลำพังเพื่อลงทุนโดยตรง
นอกจากนั้นบริษัทยังไม่มีผู้จัดการ กองทุนที่ดูแลกองทุน FIF โดยตรง แต่มีผู้จัดการกองทุนที่ร่วมกันดูแล ศึกษาวิธีการลงทุนในต่างประเทศ เจาะลึกการทำงานของ พันธมิตร และติดต่อประสานงานกับกองทุนอย่างต่อเนื่อง
"นักบริหารต้องรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะรับแรงเหวี่ยงอย่างไร ดูจังหวะแรงๆ ไปทางไหน จะลดความเสี่ยงอย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้ว การทำงานของกองทุนมีหน้าที่บริหารขาลงอย่างเดียว"
เป้าหมายของ บลจ.อยุธยาในปีนี้จะเปิดตัวกองทุนใหม่อีก 4 กอง และให้น้ำหนักลงทุนในภูมิภาคเอเชียเป็นหลักเพราะ ยังมีโอกาสเติบโตสูง ส่วนสินค้าที่สนใจลงทุน อาทิ เกษตร ทองคำ ยา สุขภาพ และอสังหา ริมทรัพย์ รวมทั้งวัตถุดิบที่เป็น hard com-munities เช่น น้ำมัน ก็อยู่ระหว่างการพิจารณาซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับจังหวะและเวลา
กองทุน FIF ในปีนี้จะคึกคักและมีสีสัน เหมือนที่ผู้บริหาร บลจ.มองไว้ตั้งแต่ต้นปีหรือไม่ และสถานการณ์ที่แวดล้อมที่ผันผวนตลอดเวลา ย่อมเป็นตัวชี้วัดได้เป็นอย่างดีว่า แม่ทัพแต่ละแห่งจะนำพาธุรกิจ บลจ.ให้ผ่านพ้นวิกฤติไปได้มากน้อยแค่ไหน เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง
|
|
|
|
|