|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2551
|
|
กองทุน FIF เป็นกองทุนรวมที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักได้เพียง 2 ปี แม้ว่าก่อนหน้านี้จะเริ่มมีมาบ้างแล้วก็ตาม ดังนั้นการรับรู้และความเข้าใจของนักลงทุนในเมืองไทยจึงยังมีไม่มากนัก โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อยที่จะต้องอาศัยและพึ่งพาองค์ความรู้จาก บลจ.เป็นหลัก
ในความเป็นจริงแล้วการพึ่ง บลจ.เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ แต่นักลงทุนจะต้องเรียนรู้และศึกษาด้วยตนเองควบคู่ไปด้วย เพราะเมื่อไหร่ที่เกิดคำถามจะทำให้รู้แหล่งที่มาของคำตอบได้ง่ายขึ้น รวมทั้งเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของนักลงทุนเองได้อย่างเต็มที่
สิ่งแรกที่นักลงทุนทั้งมือใหม่หรือมือเก่า จะต้องเรียนรู้ คือการศึกษาหนังสือชี้ชวนให้ละเอียด เพราะข้อมูลนี้จะระบุความเสี่ยงคืออะไร
ส่วนคำถามที่ต้องสอบถามจากกองทุน อาทิ เงินต้นมีโอกาสสูญหายหรือไม่ ถ้ามีโอกาสสูญหายมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ความเสี่ยงมีกี่ประเภท มีอะไรบ้าง เช่น อัตราแลกเปลี่ยนมีผลมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับเงินบาท เงินที่ไปลงทุนเป็นเงินสกุลอะไร
กรณีนักลงทุนที่ไม่มีประสบการณ์ในการลงทุน FIF มาก่อน ควรลงทุนกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ เป็นตราสารที่ออกโดยรัฐบาลต่างประเทศ แต่ต้องระมัดระวังความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน หลังจากนั้นหากเริ่มคุ้นเคยก็อาจจะลงทุนในหุ้น
สำหรับนักลงทุนที่ตัดสินใจจะลงทุนกองทุนรวม ไม่ควรจะนำเงินทั้งหมดลงทุนใน FIF เพียงอย่างเดียว ควรจัดสรรเงินลงทุนในประเทศส่วนหนึ่ง เพราะตลาดหุ้นเมืองไทยในปีนี้ยังโตไปได้ดี เมื่อพิจารณาพื้นฐานเศรษฐกิจที่มีอัตราการเติบโตของจีดีพี 4-5% ดอกเบี้ยเริ่มนิ่งในครึ่งปีแรก และเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถควบคุมได้ กำไรจากบริษัทจดทะเบียนในไทยโดยภาพรวมมีกำไร
การศึกษาข้อมูล หรือคำถามเกี่ยวกับการลงทุนไม่ควรสอบถาม บลจ.เพียงรายเดียว ควรสอบถามจาก บลจ.หลายๆ แห่ง เพราะมีความรู้และประสบการณ์ไม่เท่าเทียมกัน และข้อมูลที่ได้รับอาจมีความแตกต่างกัน ที่จะช่วยให้ตัดสินใจได้ถูกต้อง และตรงกับเป้าหมายของนักลงทุนได้มากที่สุด
ส่วนวิธีการจัดสรรเงินลงทุนไม่ควรจะกระจุกอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ต้องมีการกระจาย ดังนั้นนักลงทุนที่มีเงินลงทุนและกันสำรองค่าใช้จ่ายไว้แล้ว ควรนำเงินไปลงต่างประเทศไม่เกิน 10% ยกตัวอย่างเช่น มีเงิน 1 ล้านบาท ควรลงทุนไม่เกิน 1 แสนบาท เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง
|
|
|
|
|