|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2551
|
|
บลจ.ยูโอบี จำกัด มองว่าในช่วงเวลาที่ดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาลดลงมาอย่างต่อเนื่องจนทำให้หุ้นในภูมิภาคเอเชียได้รับผลกระทบ ในสถานการณ์เช่นนี้ ยูโอบีกลับมองเห็นโอกาสการลงทุนในกองทุน FIF เป็นเวลาเหมาะสมที่จะทยอยซื้อและสะสม เพื่อสร้างผลตอบแทนในอนาคต
กองทุน FIF ที่ลงทุนในภาวะต้นปีมีทั้ง "ได้" และ "สูญเปล่า" เพราะการลงทุนในต่างประเทศมีปัจจัยภายนอกหลายอย่างที่เข้ามากระทบ ยากเกินที่จะควบคุมได้ โดยเฉพาะการลดดอกเบี้ยของเฟดในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา และยูโอบีก็ได้รับผลกระทบ ทันทีหลังจากที่เฟดประกาศลดดอกเบี้ยถึงสองครั้ง 1.25% ทำให้ราคาของตราสารหนี้ประเภท ECP (Euro Commercial Paper) ปรับลดลง และอัตราผลตอบแทนของ ECP ลงมาใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ทำให้บริษัทต้องชะลอแผนในการออกกองทุน รวมต่างประเทศ (FIF) ที่เน้นลงทุนใน ECP ออกไปก่อน
แต่ในทางกลับกัน ราคาของหุ้นที่ลดลงมา หลังจากที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน กลับเป็นจังหวะและโอกาสให้กองทุน FIF เปิดทางให้นักลงทุนสามารถซื้อในราคาถูก และเลือกเวลาขายเพื่อสร้างกำไรในอนาคต ซึ่งเป็นมุมมองของวนา พูนผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.ยูโอบี จำกัด ที่ยังมองเห็นโอกาสของการลงทุนในต่างประเทศ
ทำให้เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้เปิดตัวกองทุนรวมยูโอบี ซีเล็ค ทริปเปิ้ล เอท 1 (UOB Select Triple Eight 1 Fund) มีอายุโครงการ 3 ปี มูลค่าโครงการ 1,300 ล้านบาท และได้เปิดเสนอหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 21-28 มกราคม 2551 กองทุนระดมทุนได้ประมาณ 811 ล้าน บาท
กองทุนรวมยูโอบี ซีเล็ค ทริปเปิ้ลเอท 1 เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured notes) ที่ให้โอกาสรับผลตอบแทนอ้างอิงกับดัชนี IncomeAsia 2.0 ที่ใช้กลยุทธ์ Carry Trade กับอัตราแลกเปลี่ยนใน 8 ประเทศทั่วเอเชีย ได้แก่ จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และสิงคโปร์
บริษัทมองว่าเงินสกุลเอเชียมีแนวโน้มเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน ความผันผวน ด้านอัตราแลกเปลี่ยนจึงมีน้อย ทำให้ดัชนีสามารถได้กำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย โดยไม่มีผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนมากนัก
วนายังเชื่อมั่นอีกว่าในปีนี้ กองทุน FIF นักลงทุนมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น เพราะกฎข้อบังคับการลงทุนในต่างประเทศเริ่มผ่อน คลายประเภทการลงทุนที่มากขึ้น ขณะเดียว กันสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. สนับสนุน ให้นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ไม่ต้องการ ให้เงินเข้ามาอยู่ในประเทศเพียงอย่างเดียวจนก่อให้เกิดเงินเฟ้อ
อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจในการลงทุนเพิ่มขึ้น ก.ล.ต.จะมีกฎข้อบังคับไม่ให้ บลจ.นำเงินเข้าไปลงทุนในประเทศที่ตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้เข้าไปอยู่ในองค์กรที่เรียกว่า ไอออสโค (IOSCO : The International Organization of Securities Commission) เพราะหน่วยงานนี้จะช่วยตรวจสอบมาตรฐานของตลาดทุน ต่างๆ ทั่วโลก เพื่อป้องกันความเสี่ยงโดย เฉพาะความเสี่ยงแฝงที่มองไม่ออก
"ผมคิดว่า FIF จะบูมกว่าปีที่แล้วและจะมีการแข่งขันรูปแบบผลิตภัณฑ์มากขึ้น เพราะยังมีผลิตภัณฑ์ที่ขายในต่างประเทศอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้นำเข้ามาในเมืองไทย เช่น เรื่องของกองสินทรัพย์ที่ไปลงทุน เป็นลักษณะของกองทุนที่ไปลงทุนที่ให้ผลประโยชน์และกองทุนบางอย่างที่ไม่สามารถลงทุนได้ในเมืองไทย อย่างเช่น เฮดจ์ ฟันด์ ที่มีตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำไปจนสูง"
ส่วนแนวทางการลงทุนของ บลจ.ยูโอบี จะเน้นลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (structured notes) ที่มีรูปแบบลักษณะคล้ายคุ้มครองเงินต้น แต่ผลตอบแทนคล้ายกับเฮดจ์ ฟันด์ ที่มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งรูปแบบการลงทุนในรูปแบบเช่นนี้เป็นแนวทางที่จะเกิดขึ้นรวมทั้งออกตราสารหนี้อื่นๆ
วนาได้ยกตัวอย่างกองทุนประเภทหนึ่ง ซึ่งจะเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ในปีนี้โดยเฉพาะ เป็น structured notes ที่เรียกว่า absolute return เป็นกองทุนที่ไม่ขึ้นอยู่กับเวลาในการออกที่มีผลว่าจะซื้อมากหรือซื้อน้อย แต่จะเป็นกองทุน ที่สามารถซื้อได้ ไม่ว่าสถานการณ์หุ้นจะขึ้นหรือลง
วนาได้ยกตัวอย่างหุ้น ปตท. ไม่ว่าตลาดจะขึ้นหรือลง ปตท.จะ out perform ตลาดอยู่เสมอ ยูโอบีจะเข้าไป shot set ถ้าสมมุติ set ขึ้น 10% ปตท.ขึ้นไป 15% เขาเข้าไปรอที่ 15% การ shot 5 หรือ shot 10 จะได้ 10% ตรงนี้เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเป็นตลาดขาลง index ลง 20% แต่ ปตท.เก่งกว่า ลงเหมือนกัน แต่ลง 15% ถ้าเป็นปกติไปซื้อ ปตท. 15% ก็จะขาดทุนแต่ถ้าไป shot index จะทำให้ขาดทุนรองแต่ได้กำไรที่ลงมา 20% ทำให้ได้กำไร 5% ก็จะเป็น relative return
ซึ่งวิธีการดังกล่าว บลจ.ยูโอบีจะเลือก บริษัทที่มีผลตอบแทนที่ดีในอดีต แต่ก็ยอม รับว่าไม่สามารถบอกได้ว่าอนาคตจะดีมากน้อยเพียงใด และความเสี่ยงในการลงทุนในรูปแบบดังกล่าวก็คือ บริษัทที่ไปเลือก under performance จะทำให้ขาดทุน
การเลือกลงทุนในประเทศต่างๆ เป็น อีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องพิจารณา บลจ.ยูโอบีมองว่า ประเทศที่ยังได้รับความสนใจมากยังอยู่ในภูมิภาคเอเชีย อาทิ จีน อินเดีย โดยเฉพาะในส่วนของหุ้นที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มการเจริญเติบโตที่ดี
จีนยังเป็นประเทศที่ บลจ.ทุกแห่งให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น เพราะเห็นพ้องตรง กันว่าเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโต มีการใช้จ่ายด้านอุปโภคบริโภคภายในประเทศสูง ประการสำคัญมีเงินสำรอง 1.3 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เป็นเงินที่ไม่ต้องกู้
หุ้นที่ต้องระมัดระวังในการลงทุนเป็นหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์
กองทุนที่ยูโอบีคัดเลือกมา ส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนจากยูโอบีของบริษัทแม่ที่อยู่สิงคโปร์ ซึ่งบริษัทมองว่าบริษัทแม่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญการลงทุนในต่างประเทศอยู่แล้ว ส่วนด้านการขายกองทุนจะอาศัยพันธมิตรทำตลาดให้เป็นหลัก มีทั้งบริษัทหลักทรัพย์ ตัวแทนขายที่บริษัทแม่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจแบงก์และธนาคารสาขาธนาคารยูโอบีที่กระจายอยู่ในประเทศไทย
"เราไม่เน้นไซส์ของกองทุน เราเน้น เรื่องกำไรเพียงพอให้กับผู้ถือหุ้น หรือผู้ถือหน่วย บางอันเป็นตลาดที่เข้าไปแข่งได้ยาก และมองว่าไม่คุ้ม เราก็จะไม่ไปแข่งขัน เพราะ เรามีพนักงานจำกัด ฉะนั้นเราโยกพนักงานไปทำธุรกิจที่เป็นประโยชน์สูงสุด"
อย่างไรก็ดี บลจ.ยูโอบีก็มีเป้าหมายที่จะบริหารสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การดูแลในปีนี้ให้ได้ 120,000 ล้านบาท หรือโต 20% แต่ไม่โตแบบพรวดพราด เพราะมีนโยบายเน้นผลตอบแทนกำไรของบริษัท
|
|
|
|
|