Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2551
กองทุน FIF ปี 51 ยังมีเสน่ห์และน่าลงทุน             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 

 
Charts & Figures

กองทุน FIF ที่เปิดขายในปี 2550 ของ บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
ข้อมูลส่วนแบ่งการตลาดของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ FIF


   
www resources

โฮมเพจ บลจ. เอ็มเอฟซี

   
search resources

เอ็มเอฟซี, บลจ.
Funds




ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก อาจทำให้นักลงทุนสงสัยว่าจะมีผลกระทบยาวนานแค่ไหน จะลุกลามอย่างไร แต่ธุรกิจบางประเภทกลับมองว่าสถานการณ์เช่นนี้สามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส และหนึ่งในโอกาสนั้นก็คือการลงทุนในกองทุนรวม FIF ที่มองเห็นแสงสว่างที่เกิดขึ้นหลายๆ จุดทั่วโลก เพียงแต่ว่าบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจะต้องฉกฉวยโอกาสนั้นมาให้ได้

รายงานจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยข้อมูลว่าเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2551 จะมีการชะลอลงหรือมีอัตราการเติบโตเพียง 4.8% จาก 5.2% ในปีที่ผ่านมา ปัญหาที่เริ่มต้นมาจากปัญหาสินเชื่อบ้านด้อยคุณภาพ (ซัพไพร์ม) ที่เกิดขึ้นในสหรัฐ อเมริกา รวมไปถึงอัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมันที่ผันผวน ทำให้ประเทศต่างๆ ในทุกภูมิภาค ได้รับปัญหาโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้การลงทุนทั้งในตลาดเงินและตลาดทุนเกิดภาวะผันผวน จนกระทั่งเกิดการชะงักงันในการลงทุนหลายๆ ด้าน ทำให้นักลงทุนไทยไม่กล้าที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะไม่มีความเชื่อมั่นในความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ

แต่ผู้ประกอบการธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ผู้ให้บริการกองทุนรวม และให้บริการกองทุนรวมระหว่างประเทศ (Foreign Investment Fund : FIF) กลับมองว่าสถานการณ์ดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาส ให้เข้าไปซื้อของในราคาถูก แม้ว่าในสายตาของนักลงทุนส่วนใหญ่อาจมองว่าเป็นความเสี่ยงเกินไปที่จะเลือกลงทุนในภาวะเช่นนี้ ฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งสำหรับ บลจ.ที่จะจัดการกับโอกาสที่เขาเห็น!!!

บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) ยอมรับว่าในปีที่ผ่านมา กองทุน FIF จำนวน 2 กอง ได้รับผลกระทบจากปัญหาซัพไพร์มเช่นเดียวกัน เพราะเปิดตัวในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือกองทุน 1-20 ลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศ โดยเน้นลงทุนในแถบเอเชีย และ I-spot แต่ก็ยังเหนือกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (benchmark) 5%

"เรามองว่าการลงทุนทั่วโลก มันให้โอกาสมากกว่าการอยู่ในประเทศอย่างเดียว เพราะฉะนั้นแผนของเราก็ยังคงยึดมั่นเสมอมาว่าต่อให้ตลาดหุ้นไม่ดี มันก็ยังมีบาง sector บางประเทศ กลุ่มประเทศบางกลุ่มยังคงมีอยู่ เรายังเชื่อและยึดแผนเดิมอยู่ว่า FIF ยังคงมีเสน่ห์" ศุภกร สุนทรกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ MFC กล่าว กับ "ผู้จัดการ"

เหตุผลหนึ่งที่กองทุน FIF ยังมีความ น่าสนใจ เพราะเป็นทางเลือกหนึ่งของการลงทุน เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง

ศุภกรเชื่อเช่นนั้น เพราะว่าปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการชะลอตัว มากกว่าการถดถอย (recession) เพราะตัวเลข GDP ของโลกยังมีการเติบโต แม้ว่าจะลดลงก็ตาม แต่ก็ไม่ถึงขั้นติดลบ ทั้งนี้เป็นเพราะธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) เข้าไปช่วย เหลือด้านมาตรการดอกเบี้ยที่ลดลงถึง 2 ครั้ง หรือ 1.25% ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา

ส่วนบรรยากาศการซื้อขายหุ้นที่ผ่านมา ก็มีความแตกต่างกัน ในฝั่งสหรัฐอเมริกาหุ้นติดลบก็จริง แต่ในฝั่งเอเชียหุ้นขยับขึ้น และยิ่งกว่านั้นยังไม่เห็นแรงเทขายหุ้นเป็นหลักพันล้านบาท

วิธีการลงทุน กองทุน FIF ในต่างประเทศของ MFC จะเลือกลงทุนในภูมิภาค และประเภทของกองทุน (theme) ซึ่งเป็นนโยบายของบริษัทแต่เดิมอยู่แล้ว

MFC ยังให้ความสนใจลงทุนในภูมิภาคเอเชียที่เป็นตลาดเกิดใหม่ (emerging market) เหมือนเช่นในปีที่ผ่านมา และจีนเป็น ประเทศที่ MFC ให้ความสนใจ เพราะเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูง และจากข้อมูล ของเมอร์ริล ลินช์ เปิดเผยว่าตัวเลขที่รัฐบาลจีนมีแผนการลงทุนประมาณ 480 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2549-2553 หรือใน 4 ปี

และยังเชื่อว่าจีนจะลงทุนในอีก 5-8 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา ยังมีการก่อสร้างระหว่างเมืองใหญ่อย่างต่อเนื่องแม้ว่าโอลิมปิก ที่จะจัดขึ้นในปีนี้จะสิ้นสุดไปแล้วก็ตาม และอินเดียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่จะเจริญรอยตามจีนต่อไป

การลงทุนกองทุนในส่วนของ sector ที่เป็น theme ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่ง MFC มองในส่วนของพลังงานธรรมชาติ (natural energy) ทรัพยากรธรรมชาติ อสังหาริมทรัพย์ และพืชเกษตรกรม

"พืชโลกราคาขึ้นค่อนข้างมาก อย่างเมืองไทยราคาข้าวปีที่ผ่านมาเป็นปีที่ราคาข้าว ขึ้นค่อนข้างมากจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นอะไรที่น่าลงทุนและปีที่ผ่านมาก็ได้เปิด I-AGRI ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม"

วิธีการบริหารจัดการของ MFC ในการออกแบบกองทุน หรือคัดเลือกกองทุนจากต่างประเทศ โดยเลือกประเภทของกองทุน พิจารณาว่ากองทุนที่เลือกได้รับผลกระทบจากอเมริกาหรือไม่ กระทบมากน้อยเพียงใด หลังจากที่เลือกกองทุนและภูมิภาคที่ลงทุน ก็จะเพิ่มมูลค่าเข้าไป (add value) และป้องกันตลาดผันผวนด้วยการบริหารงานแบบ แอคทีฟ เพื่อติดตามอย่างใกล้ชิด หรือในกรณี ที่หุ้นมีแนวโน้มปรับตัวลดลง MFC ก็จะถอยไปลงทุนในตลาดเงินแทน

ส่วนอัตราแลกเปลี่ยน MFC มองว่าแนวโน้มของค่าเงินบาทยังคงแข็งตัวก็จะลดผลกระทบด้วยการปรับลดสัดส่วนการถือครองหลักทรัพย์ในต่างประเทศลง

ปัจจุบัน MFC มีสินทรัพย์ที่บริหารในส่วนที่ลงทุนใน FIF ประมาณ 9,100 ล้านบาท ฉะนั้นการบริหารจัดการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก โดย MFC มีวิธีการบริหารงาน 2 รูปแบบ แบบแรก ให้ผู้ชำนาญเฉพาะบริหาร การลงทุนในกองทุนที่ MFC เข้าไปซื้อ ส่วนรูปแบบที่สอง บริหารกองทุนด้วยตัวเอง

เหตุผลที่ MFC เลือกใช้บริการจากผู้จัดการกองทุนต่างประเทศบางกองทุน อาทิ กองทุน Global theme บริษัทไม่มีความชำนาญเพียงพอ อย่างเช่นที่ผ่านมา เปิดตัวกองทุน Global of Agri เป็นกองทุนที่มีผู้จัดการกองทุน มีที่ปรึกษาด้านเทคนิคที่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจเกษตรจริงๆ และคนที่ดูแลธุรกิจนี้เรียนจบด้านการเกษตรโดยตรง จึงทำให้ MFC ตัดสินใจซื้อกองทุนดังกล่าวและเปิดขายเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาและขายได้ 83 ล้านบาท ดังนั้นในมุมมองกองทุน ที่ลงทุนในระดับโลก MFC มองว่าบริษัทบริหาร ไม่ดีเท่ากับคนที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

ส่วนพันธมิตรที่ร่วมงานกันอยู่ อาทิ สมิธ บาร์นี่, ดอยช์แบงก์ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ MFC ยกให้เห็นภาพแต่วิธีการคัดเลือกกองทุน จากพันธมิตรของ MFC จะใช้วิธีการเปรียบเทียบ performance จากทีมพันธมิตรหลาย กลุ่ม โดยจะไม่สรุปเลือกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในทันที นอกจากเปรียบเทียบ performance แล้วจะมีการเปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐานและให้คะแนนเรื่องของคน และระบบการทำงานเป็นอย่างไร

ซึ่งวิธีเปรียบเทียบนี้เคยใช้กับบริษัท อินเวสโค (Invesco) มาแล้ว บริษัทนี้เป็นบริษัทที่ใหญ่และมีสาขาอยู่ในฮ่องกง ก่อน หน้านี้ลงทุนทางด้านกองทุนอสังหาริมทรัพย์ แต่ในระยะหลังเริ่มหันมาลงทุนในจีนมากขึ้น

การเลือกพันธมิตร MFC จะไม่เลือกบริษัทที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น แต่บางครั้งก็จะเลือกบริษัทที่มีขนาดเล็ก ไม่มีชื่อเสียง ไม่ทำ การตลาดโฆษณาชื่อเสียง แต่พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นบริษัทที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น กองทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งบริษัทเล็กๆ เหล่านี้จะบริหารกองทุนเพียง 2-3 กองเท่านั้น

อย่างไรก็ดี MFC ตระหนักดีว่าการพึ่งพาแต่ผู้เชี่ยวชาญภายนอกเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่เกิดผลดีต่ออนาคตของบริษัทที่ก่อตั้งมา 33 ปีอย่างแน่นอน การสร้าง Global Team เมื่อ 3-4 ปีก่อนจึงเกิดขึ้น เพื่อให้มีการ เรียนรู้และศึกษาวิธีการลงทุนด้วยตัวเองและทีมที่สร้างขึ้นมานี้ก็เริ่มมีความรู้ความชำนาญ การลงทุนในเอเชียมากขึ้น

จากการพึ่งพาตัวเองมากขึ้น การหาข้อมูลงานวิจัยก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนในการวิเคราะห์ตลาด MFC ปัจจุบันใช้ข้อมูลของซิตี้ กรุ๊ป, โนมูระ และ CLFA   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us