|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2551
|
|
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) คนล่าสุด กล่าวในตอนหนึ่งของการปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ "Global View and Applications of Human Capital Development in Consistent with Sufficiency Economy Philosophy toward Sustainable Enterprises" ระหว่างร่วมงานสัมมนา "Global View and Applications of Sufficiency Economy Philosophy toward Sustainable Enterprises" เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า
"what is relationship with growth, growth, growth and a human capital development? อะไรคือความเชื่อมโยงเข้าด้วยกันระหว่างการเติบโตของเศรษฐกิจและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์"
การกล่าวประหนึ่งตั้งคำถามกับแขกที่เข้าร่วมงานสัมมนา ซึ่งได้รับเชิญมาจากอีก 20 ประเทศสมาชิก Asian Productivity Organization และแขกของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาตินับร้อยชีวิตต่างก็ต้องขบคิดตามไปด้วย
ดร.สุรินทร์-เป็นหนึ่งในวิทยากรที่เข้าร่วมในงานสัมมนาที่กำลังชี้ให้เห็นความสำคัญของการดำเนินธุรกิจภายใต้ปรัชญาของความพอเพียง โดยไม่เพียงแต่ชี้ให้หน่วยงานทั่วไปตระหนักถึงความไม่ประมาทในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่จะได้กลับมา
"ชีวิตของคนรวยและคนจนแทบจะไม่ต่างอะไรกันเลย หากต่างก็เดินไปทางเดียวกัน โดยเฉพาะในทิศทางที่ไม่รู้ว่าจะไปทางไหน" ดร.สุรินทร์กล่าว
ภาพยนตร์เรื่องดังอย่าง Hotel Ravanda และ Blood Diamond เป็นตัวอย่างที่ ดร.สุรินทร์ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์กำลังเข้าถึงประโยชน์ทุกด้านทั้งธรรมชาติ สังคม และการเมือง โดยลืมที่จะแบ่งปันกลับคืน ขณะที่คนเริ่มตระหนักก็เริ่มมองหาทางเลือกที่จะให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสอดคล้องกับการใช้ทรัพยากรอย่างพอเพียง ใช้สิ่งแวดล้อมและดำเนินกิจกรรมทุกอย่างแบบแบ่งปันและเป็นพื้นฐาน อย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าทั้งองค์กรและสังคมจะไม่ยั่งยืน
Corporate Social Responsibility (CSR) หรือการรับผิดชอบ ต่อสังคม กลายเป็นสิ่งหนึ่งที่องค์กรขนาดใหญ่ทั่วไปใช้เป็นทางออกเพื่อให้ผู้บริโภคได้เห็นว่า เขามิได้แต่ตักตวงเพียงอย่างเดียว แต่คำนึง ถึงส่วนรวมด้วย
ปัจจุบัน CSR ถูกระบุเอาไว้ว่าเป็น "ค่านิยมของธุรกิจ" (Corporate Ethics) อีกทั้งมีความสำคัญถึงกับมีการพัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพหรือ ISO ที่ว่าด้วย CSR เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถแสดงตัวตนให้ผู้บริโภคได้เห็นว่า องค์กรของตัวเองมิได้แต่เพียงหวังจะหากำไรและส่งมอบให้กับผู้ถือหุ้นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายถึงการรับผิดชอบต่อสังคมในทุกๆ ด้าน
CSR เป็นหนึ่งจุดย่อยๆ ที่ ดร.สุรินทร์และวิทยากรบางท่านใน วันงานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่องค์กรต้องเห็นความสำคัญของการแบ่งปันและไม่ประมาทที่จะใช้ทรัพยากรเพียงอย่างเดียว โดย ไม่คำนึงถึงผู้คนและสิ่งแวดล้อม และเชื่อได้ว่า CSR เป็นหนึ่งฟันเฟือง เล็กๆ ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง
|
|
|
|
|