|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มีนาคม 2551
|
|
กลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มี 4 สิ่งหลักที่เป็นหัวใจของการทำธุรกิจตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมา และยังจะเป็นแนวทางหลักต่อไปในอนาคต ส่วน 4 สิ่งที่ว่านี้คือ 1. บุคลากร 2. ผลิตภัณฑ์ 3. แบรนด์ และ 4. การเงิน
ในปีนี้กลุ่มสามารถจะให้ความสำคัญเรื่องบุคลากรเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานที่จะต้องมีศักยภาพเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจของ บริษัทสามารถ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจที่สื่อสารโทรคมนาคม และขายโทรศัพท์มือถือที่สร้างรายได้หลักให้อยู่ในปัจจุบัน แม้กระทั่งกลุ่มธุรกิจใหม่เกี่ยวกับทางด้านพลังงาน อย่างโรงงานนิวเคลียร์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ธุรกิจทุกภาคส่วนของกลุ่มสามารถจึงต้องการบุคลากรเข้ามา ช่วยงานอย่างเต็มที่ กลุ่ม Gen S เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าวของผู้บริหารเพื่อต่อยอดโครงการต่างๆ ให้ก่อเกิดเป็นรูปธรรม
Gen S รุ่นแรกจึงเกิดขึ้นในปี 2551 พร้อมมีการเปิดตัวอย่าง เป็นทางการ และมีการแถลงข่าวถึงทิศทางธุรกิจปี 2551 ที่จังหวัดตราดเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยมีวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของการจัดงานในครั้งนี้
วัฒน์ชัยได้เปิดโอกาสให้ Gen S ทั้ง 10 คน แสดงฝีมือด้วย การให้รายงานข้อมูลธุรกิจที่เขาเหล่านั้นดูแลรับผิดชอบให้กับสื่อมวลชนได้ฟัง และเขาก็คาดหวังกลุ่มหนุ่มสาวรุ่นใหม่จะช่วยสานต่อธุรกิจให้มีความก้าวหน้าต่อไป
Gen S จะถูกคัดเลือกมาจากพนักงานภายใน หรือถ้าเป็นคนใหม่ที่เข้ามาก็ต้องมีอายุการทำงานอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และมีหัวหน้าฝ่ายทำหน้าที่ประเมินความสามารถด้านการทำงานโดยคนที่ถูกเลือกจะไม่รู้ตัวมาก่อน กฎอีกข้อหนึ่งของ Gen S คือต้องมีอายุไม่เกิน 40 ปี
ดร.ปัญญลักษณ์ อุดมเลิศประเสริฐ วัย 32 ปี ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจใหม่ที่มีประสบการณ์ทำงานร่วมกับบริษัทมาเป็นเวลา 5 ปี เป็นหนึ่งใน Gen S ที่ถูกคัดเลือก เธอบอกว่าบทบาทที่ได้รับนี้เป็นทั้งความท้าทายและรับผิดชอบไปพร้อมๆ กัน และทำให้มีโอกาสแสดงความรู้และความสามารถ เพราะมีหน้าที่รับผิดชอบธุรกิจใหม่ที่ต้องเสาะแสวงหาธุรกิจให้สอดคล้องกับกลุ่มธุรกิจ อย่างเช่น พลังงานนิวเคลียร์ หรือสิ่งแวดล้อม
สิ่งที่เธอคาดหวังก็คือทำงานให้มีผลงานที่ดี เพื่อเป็นต้นแบบให้กับรุ่นต่อไป เพราะเธอมองว่ารุ่นต่อไปจะเกิดขึ้นหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผลงานของรุ่นแรกด้วย
นิคิล อาตาเร วัย 36 ปี ชาวอินเดีย เป็นอีกคนหนึ่งที่ถูกเลือก ปัจจุบันเขามีตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การเงิน และทำงานร่วมกับกลุ่มสามารถมาเป็นเวลา 3 ปี เขาบอกว่า เขาต้องมีความรับผิดชอบสูงขึ้น มันเป็นความท้าทายที่ผู้บริหารให้โอกาสในการทำงานและสามารถตัดสินใจได้มากขึ้น
จากประสบการณ์ที่เขาร่วมงานกับสามารถตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เขามองว่าเป็นบริษัทที่มีอนาคต ผู้บริหารให้ความเป็นกันเอง และรับฟังความคิดเห็น ซึ่งศิริชัย รัศมีจันทร์ รองประธานกรรมการ บริหาร กลุ่มสามารถ ที่ดูแลทั้งการเงินและบุคลากรถึงกับเอ่ยปากว่า คนคนนี้จะมาแทนที่เขาในอนาคต
การปลุกปั้นคนรุ่นใหม่เหล่านี้ถือว่าเป็นความพยายามใหม่ของ วัฒน์ชัยที่ต้องการสร้างเลือดใหม่และเป็นคนในเครือ นับว่าแตกต่างจากความคิดในอดีตที่ผ่านมา ที่ว่าจ้างผู้บริหารระดับมืออาชีพเข้ามา ทำงานทั้งในยามวิกฤติและยามรุ่งโรจน์ แต่มืออาชีพเหล่านั้นก็อยู่ไม่นาน เพราะกลุ่มสามารถมีพื้นฐานการบริหารงานแบบครอบครัว แต่แฝงด้วยมืออาชีพ
|
|
|
|
|