ตั้งแต่ปี 1994 เป็นต้นมากระแสเงินทุนต่างประเทศ ที่หลั่งไหลเข้าสู่ประเทเกิดใหม่ในเอเชีย
มีอัตราการเติบโต ที่สูงขึ้นอย่างมากรวมทั้งไทยด้วย ส่งผลให้การบริหารเศรษฐกิจในระดับมหภาคประเทศเกิดใหม่เอเชียมีผลงาน
โดดเด่นมากที่สุดในบรรดาประเทศเกิดใหม่ในโลก รวมถึงเรื่องของ Growth Performance
พลันเศรษฐกิจไทยเริ่มเข้ายุควิกฤติเมื่อปลายปี 2539 แล้วลุกลามไปทั่วโลกทำให้บรรดานักลงทุนชาวตะวันตกถอนเงินกลับประเทศ
สิ่งที่ตามมา สำหรับประเทศเกิดใหม่ คือ การล้มละลาย และการปรับโครงสร้างหนี้
สามปีแห่งความบอบช้ำของประเทศเกิดใหม่บัดนี้กำลังกลายเป็นอดีต เมื่อนักเศรษฐศาสตร์มองว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว
นั่นหมายถึงเม็ดเงินการลงทุนจะหวนกลับมาอีกครั้งจากฝั่งตะวันตก
ซีวีซี แคปปิตอล พาร์ตเนอร์ (ซีวีซี) กลุ่มนักลงทุน Private Equity ชั้นนำในยุโรป
ประกาศจัดตั้งกองทุนซีวีซี แคปปิตอล พาร์ตเนอร์ เอเชีย (CVC Capital Partners
Asia Fund) ซึ่งจะลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นหลัก โดยซีวีซีระดมทุนกว่า
500 ล้านดอลลาร์ สหรัฐจากนักลงทุนสถาบันระหว่างประเทศ และนักลงทุนบุคคลรายใหญ่
ซึ่งส่วนใหญ่ลงทุนในกองทุนยุโรปของ ซีวีซีอยู่แล้ว
อีกทั้งซิตี้กรุ๊ปบริษัทผู้ให้บริการการเงิน ที่ใหญ่ระดับโลกจับมือเป็นพันธมิตรกับซีวีซี
และลงทุนต่างหากอีก 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐในโครงการลง ทุน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของซีวีซี
กองทุนดังกล่าวมุ่งซื้อกิจการในภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการที่มีอัตราเติบโตสูง
โดยกองทุนเป็นนักลงทุน ระยะยาว ที่ต้องการซื้อหุ้นในสัดส่วน ที่สามารถเข้าควบคุมกิจการหรือเป็นหุ้นส่วนใหญ่ในธุรกิจได้
และจะร่วม ทำงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายบริหารของกิจการที่เข้าซื้อกองทุน ซึ่งมีบริษัท
ซีวีซี เอเชียแปซิฟิก จำกัด บริษัทในเครือซิตี้กรุ๊ป (ถือหุ้น 100%) เป็นที่ปรึกษาการลงทุนจะใช้ความเชี่ยวชาญของซีวีซี
ในการซื้อกิจการผสมผสานไปกับประสบการณ์ด้านวาณิชธนกิจในเอเชียของซิตี้กรุ๊ปในการดำเนินงานกองทุน
ในช่วงแรกกองทุนมุ่งไป ที่โอกาสในไทย จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย
และญี่ปุ่น โดยมุ่งเป้าไป ที่บริษัท ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 25 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ
ภาคธุรกิจ ที่ลงทุนเน้นภาคการผลิต บริการ สื่อสาร โทรคมนาคม และ การจัดจำหน่าย
แต่ไม่รวมธุรกิจ ที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ โครงสร้างพื้น ฐาน และอสังหาริมทรัพย์
ในกรณี ที่มีโอกาสเหมาะกองทุน จะพยายามรวมธุรกิจเอเชีย ที่มีอัตราการเติบโตสูงเข้ากับกลุ่มธุรกิจสัญชาติยุโรป
ที่มีประสบก ารณ์มากกว่า
"กองทุนนี้มอบโอกาสที่ดีในเวลา ที่เหมาะสมภายใต้ทีมงานจัดการที่เต็มไปด้วยคุณภาพ
ขณะนี้เอเชียแปซิฟิกมี โอกาสลงทุนใน Private Equity ซึ่ง จะช่วยพัฒนาบริษัทต่างๆ
ทั้งในภูมิภาค และระดับนานาชาติ" สตีเฟน ลอง รองประธานบริหาร และผู้อำนายการสายงาน
สถาบันธนกิจของซิตี้แบงก์ในเอเชียแปซิฟิกกล่าว
ขณะนี้ทีมนักจัดการกองทุนยืนยันแล้วว่าจะลงทุนใน 3 โครงการ คือ กิจการลี่แอนด์ฟัง
ดิสตริบิว ชั่น (Li &Fung Distribution) เป็นธุรกิจจัด จำหน่าย ที่มีฐาน
ที่ฮ่องกง กิจการโดแมนโด ไคลเมท คอนโทรลคอร์ปอเรชั่น (Mando Climate Control
Corporation) และกิจการอาหารนมในเกาหลี
ไมเคิล สมิธ ประธานซีวี ซี กล่าวว่าจากปฏิกิริยาตอบรับจากนักลงทุน ส่วนใหญ่
ที่ลงทุนในกองทุนของซีวีซีในปัจจุบันต่างก็ต้องการลงทุนใน Private Equity
ในเอเชียแปซิฟิก สะท้อนให้เห็นถึงกระแสโลกาภิวัตน์ ที่เพิ่มขึ้น โดยถือว่าการลงทุนรูปแบบนี้เป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่ง
"การผสมผสานระหว่างประสบการณ์การลงทุนระยะยาว ที่ซีวีซีเก็บเกี่ยว มาในยุโรป
และความเชี่ยวชาญ ในการลงทุนระดับมืออาชีพในท้องถิ่นของซิตี้ แบงก์จะเป็นพื้นฐานแข็งแกร่ง
ที่จะทำให้กองทุนมีผลประกอบการที่ดียิ่งได้"
กองทุนซีวีซีใช้เจ้าหนี้ 20 คน ประกอบด้วยคนจากซีวีซี และซิตี้คอร์ป โดยวินเซนต์
แฟน อดีตกรรมการผู้จัดการส่วน Private Equity Investment ประจำภูมิภาคของซิตี้คอร์ป
ขณะนี้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซีวีซี เอเชียแปซิฟิก
นอกจากนี้ทีมจัดการกองทุนอาวุโสยังประกอบด้วยเปอร์ซี่ คิง ก่อนหน้า นี้บริหารทีม
Private Equity Investment ประจำไต้หวันของซิตี้คอร์ป แคปปิ ตอลเอเชีย, มาร์เทน
รุจ กรรมการ อาวุโสของซีวีซียุโรป และแอนดรูส์ คัมมินส์ ซึ่งรับผิดชอบออสเตรเลีย
และเอเชีย, เอเดรียน แม็คเคนซี่ ผู้อำนวยการ การลงทุนของซีวีซียุโรปจะย้ายมาประจำ
ที่เอเชีย และจะมีการตั้งสำนักงาน เครือข่ายไทย ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี และออสเตรเลีย
ความสำเร็จของซิตี้กรุ๊ปพิสูจน์ได้ว่ายังคงมีโอกาสที่ดี ที่จะลงทุนในบริษัท
ที่เสาะหาหุ้นส่วนการลงทุน โดยจะได้รับแรงสนับสนุนจากความเชี่ยวชาญ ด้านการลงทุนของซีวีซี
และประสบการณ์การลงทุนระยะยาวในยุโรป
"ส่วนผสม ที่จะเกิดขึ้นจะช่วยปรับโครงสร้าง และส่งเสริมธุรกิจสู่ระดับสากล
เห็นได้ชัดว่าเจ้าของธุรกิจส่วนตัวในภูมิภาคนี้เริ่มให้การยอมรับกองทุน เพื่อ
การลงทุนใน private equity มากขึ้น" วินเซนต์ แฟน กล่าว
การคาดการณ์ดังกล่าวจะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อประเทศในเอเชียก้าวไปข้างหน้าด้วยการเปิดเสรี
และมีนโยบายเศรษฐกิจ ที่บูรณาการเข้ากับระบบเศรษฐกิจของโลก ยิ่งมากเท่าไหร่นั่นหมายความว่ากระแสเงินทุนของโลกทั้งในแง่ของการลงทุน
และการค้าจะสามารถไหลเวียนได้อย่างเต็มที่
ซีวีซีเป็นนักลงทุนในหุ้นอิสระชั้นนำในอังกฤษแ ละภาคพื้นยุโรป มีความ เชี่ยวชาญพิเศษในการเข้าซื้อกิจการในลักษณะ
MBO (Management Buy- Out) เป็นการซื้อบริษัทโดยฝ่ายจัดการ เมื่อธุรกิจของบริษัทตกอยู่ในภาวะ
ลำบากหรือเป็นเป้าหมายของการซื้อกิจการจากบุคคลภายนอก ผู้บริหาร อาจเสนอซื้อบริษัทจากเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นหรือโดยการเข้าถือหุ้นข้างมาก
และ MBI (Management Buy-In) เป็นการเข้าซื้อกิจการลักษณะเทก โอเวอร์ ที่ไม่ใช่รูปแบบการแย่งชิงหุ้นแบบไม่เป็นมิตร
(Hostile Takeovers) แต่ เป็นการยินยอม และสนับสนุนของฝ่ายผู้บริหารบริษัท
ปี 2541 ซีวีซีอยู่เบื้องหลังการเจรจามูลค่ามากกว่าผู้ลงทุนใน Private Equity
รายอื่นใดทั้งหมด โดยสามารถทำตัวเลขการเข้าซื้อกิจการในลักษณะ MBO และ MBI
สูงสุดในภาคพื้นยุโรป ขณะนี้ซีวีซีมีกองทุนภายใต้การจัด การในมือกว่า 4,100
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ซีวีซีตั้งขึ้นเมื่อปี 2524 โดยเป็นบริษัท ที่ลงทุนใน Private Equity ของ
ซิตี้คอร์ป อีก 2 ปีถัดมาเริ่มดำเนินการซื้อกิจการเอง และปัจจุบันมีฝ่าย
บริหารเป็นเจ้าของบริษัทอย่างอิสระ ตั้งแต่ก่อตั้งมา เข้าซื้อบริษัทมากกว่า
200 แห่ง มีมูลค่า ประมาณ 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
จากอดีต ที่ซีวีซีทำธุรกิจในเฉพาะ แถบยุโรป ปัจจุบันได้เริ่มรุกคืบเข้ามาลงทุนในเอเชียแปซิฟิก
ซึ่งเป็นไปตามกระแสโลกไร้พรมแดน อีกทั้งความ อ่อนแอของบริษัทในภูมิภาคนี้ยังมีอีกมาก