Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 กุมภาพันธ์ 2551
ธุรกิจรับเหมาพ้อต้นทุนพุ่งวอนรัฐฯปรับราคากลางใหม่             
 


   
search resources

Construction




รับเหมาพ้อต้นทุนก่อสร้างพุ่ง ขณะที่ผู้ว่าจ้างบีบให้รับงานราคาถูก ฉุดกำไรเหลือไม่ถึง 2% ส่วนงานภาครัฐใช้ราคากลางตามต้นทุนเก่าโดยเฉพาะเมกะโปรเจคกต์ควรปรับราคากลางตามต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่ปรับใหม่ ด้านผู้ประกอบการชี้ต้นทุนพัฒนาคอนโดฯปรับขึ้นส่งผลราคาพุ่ง หนุนผู้บริโภคหันซื้อบ้านเดี่ยวเพิ่ม

นางสาวเกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ รองเลาขาธิการสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวภายในงานสัมมนาในหัวข้อ “อสังหาริมทรัพย์ในสายตาของผู้นำ” จัดโดยมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทยว่า การเข้าสู่ธุรกิจอสังหาฯในปัจจุบันไม่ง่ายเหมือนเช่นในอดีต ผู้ประกอบการจะต้องมีเงินลงทุนเพียงพอในการพัฒนา เนื่องจากการบังคับใช้ของพ.ร.บ.การจัดการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา ทำให้ไม่สามารถนำเงินดาวน์ของลูกค้าไปใช้ได้ อีกทั้งผู้บริโภคมีความต้องการในรายละเอียดมากขึ้น

“การลงทุนจะต้องทำการวิจัยตลาดก่อน เพื่อพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย ลงทุนระบบไอที และอื่นๆ ทำให้รายเล็กเกิดได้ยาก ปีนี้ไม่ใช่ปีทอง ของอสังหาฯ แต่จะเป็นปีทองแดงก่อนและค่อยดีขึ้นเรื่อย”

นอกจากนี้ตลาดบ้านเดี่ยวยังมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากการลงทุนโครงการรถไฟฟ้า ทำให้การเดินทางสะดวกขึ้น ประกอบกับต้นทุนในการพัฒนาคอนโดฯสูงขึ้น ทั้งราคาที่ดินที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงราคาค่าก่อสร้างที่คิดเป็น 50% ของต้นทุนขาย ขณะที่บ้านเดี่ยวค่าก่อสร้างคิดเป็น 30%

ด้านนายดนุช ยนตรรักษ์ กรรมการผู้จัดการ คริสเตียนีไทย แอนด์ เนลสัน จำกัด (มหาชน) และกรรมการสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการที่จะเข้าสู่ธุรกิจนี้ จะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง ที่ผ่านมามีหลายโครงการมีนักเกร็งกำไรจำนวนมาก บางรายตัวแทนขายนำใบจองออกมาเร่ขายเองอีกด้วย

ส่วนโครงการบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) บางโครงการสร้างกำลังซื้อ(ดีมานด์) เทียม เพื่อนำโครงการเสนอขายให้กคช. ทำให้โครงการไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น ผู้ประกอบการที่ต้องการจับเสือมือเปล่าไม่ควรเข้ามาในตลาดนี้ เมื่อต้นทุนก่อสร้างปรับขึ้น ขณะที่ขายในต้นทุนเดิม เมื่อการเงินสะดุดผู้รับเหมาต้องแบกรับต้นทุนก่อสร้างที่ลงไป

“ผู้รับเหมาถูกบีบจากผู้ประกอบการให้รับงานถูกๆ แค่ 14,000 บาท/ตนร.ม. ขณะที่เค้าไปขายในราคา 7-8 หมื่นบาท ทำให้เรามีกำไรสุทธิน้อยมากแค่ 1.5% ขณะที่กำไรขั้นต้น 8%”

สำหรับภาวะต้นทุนก่อสร้างปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาเหล็กที่ปรับสูงขึ้นกว่า 30 บาท/กิโลกรัม ซึ่งเหล็กคิดเป็น 10-20% ของค่าก่อสร้างรวม ซึ่งแนวทางที่บริษัทดำเนินการในปัจจุบันเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากต้นทุนก่อสร้างที่ผันผวนด้วยการประมูลงานในราคาต้นทุน ณ ปัจจุบัน บวกเพิ่มล่วงหน้าอีกเล็กน้อย ส่วนการรับงานจากภาครัฐ ยังคงไม่ปรับราคากลางใหม่ แต่ยังมีค่าเคเป็นตัวป้องกันความเสียงบ้างเล็กน้อย

นายดนุช กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการเมกะโปรเจคต์ที่รัฐบาลใหม่ประกาศเดินหน้าทั้ง 7 สายนั้นจะช่วยลดความกดดันให้แก่ผู้รับเหมาในการแย่งงานกันทำ ซึ่งจะทำให้ความต้องการใช้เหล็กเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1.1 ล้านตันหากสร้างครบทุกสาย อย่างไรก็ตามต้องการให้รัฐบาลทบทวนราคากลางของการก่อสร้างใหม่ เนื่องจากโครงการดังกล่าวมีการคิดคำนวณมานานแล้ว ซึ่งเป็นต้นทุนก่อสร้างเก่าซึ่งต้นทุนในปัจจุบันปรับขึ้นไปสูงมากแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us