Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2551
CPF สร้างมูลค่าเพิ่มในวงจรปิด             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 

   
related stories

Palm Oil : The Glittering Future?
PURE Biodiesel ความท้าทายของรายเล็ก
TOL สร้างธุรกิจมากกว่าคำว่าไบโอดีเซล
AI Logistic Player
บางจาก พันธสัญญาบนความขัดแย้ง

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

   
search resources

เจริญโภคภัณฑ์อาหาร, บมจ.
Oil and gas




CPF บริษัทในเครือของซี.พี. ผู้ผลิตไบโอดีเซลเพื่อใช้ภายในโรงงาน ได้สนองตอบวิสัยทัศน์ของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เกี่ยวกับพลังงานทดแทนที่นำน้ำมันพืชที่ใช้แล้วมาสร้างมูลค่าเพิ่มและการสร้างมูลค่าเพิ่มนี้อาจจะสานต่อความฝันของเจ้าสัวคนนี้ให้กลับเข้ามาสู่ธุรกิจน้ำมันอีกครั้งหนึ่งก็ได้ เพราะเขาเชื่อว่า "ประเทศไทยมีน้ำมันบนดิน"

ปัจจุบันบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF ผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำและส่งออกอาหารสัตว์น้ำที่มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร สามารถผลิตไบโอดีเซลได้จำนวน 800 ลิตรต่อวัน เพื่อใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 1,532,160 บาทต่อปี หรือ 4,256 บาทต่อวัน

CPF คิดค้นกระบวนการผลิต โดยมีวิโรจน์ อภิวัฒนากุล ผู้บริหารอาวุโส เป็นผู้ศึกษาตั้งแต่เริ่มแรก และยอมรับว่าในช่วงเริ่มต้นติดขัดปัญหาด้านความรู้และเทคโนโลยี แต่ในที่สุดก็สามารถสร้างโรงผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากน้ำมันพืช ใช้แล้วจนประสบผลสำเร็จในเดือนมกราคม 2549

น้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตได้จะถูกนำไปใช้กับ รถที่ใช้งานภายในบริษัทประมาณเกือบ 40 คัน รถตัก (รถฟอร์คลิฟต์) รถบรรทุก รถกระบะ

เป้าหมายของบริษัทจะเพิ่มการผลิตสูง ขึ้นเรื่อยๆ จาก 800 ลิตร เป็น 2,400 ลิตร และเพิ่มเป็น 20,000 ลิตร จนสูงสุด 60,000-70,000 ลิตร เพื่อใช้ภายในบริษัทในเครือที่มีอยู่แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้เพราะ วัตถุดิบมีไม่เพียงพอ

น้ำมันทอดไก่ ทอดกุ้งเหลือใช้ที่เป็น วัตถุดิบผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ไม่ได้มาฟรีแต่ CPF จะต้องประมูลแข่งขันราคากับบริษัทภายนอก บางครั้งผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อย่าง บางจากก็เข้ามาประมูลบ้างทำให้ราคาไม่ แน่นอน เริ่มตั้งแต่ 12 บาทต่อกิโลกรัมจน บางครั้งราคาสูงถึง 21 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ต้นทุนของไบโอดีเซลไม่เคยนิ่ง

ชูศักดิ์ เลิศอมรกิตติ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส CPF บอกว่า การประมูลน้ำมันพืชที่ใช้แล้วเป็นนโยบายของบริษัทที่ทำกันมานานแล้ว แต่เชื่อว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ กลุ่ม ซี.พี.จะยกเลิกการประมูล เพราะบริษัทในเครืออีกหลายแห่งจะหันมาใช้น้ำมัน ไบโอดีเซล เหมือนกลุ่มบริษัทผลิตอาหารสัตว์บกกำลังเริ่มศึกษาเช่นเดียวกัน

ความสำเร็จในการผลิตไบโอดีเซลของกลุ่ม CPF กลุ่มสัตว์น้ำ ได้กลายเป็นตัวอย่างให้บริษัทในเครือเริ่มเข้ามาศึกษาระบบการผลิต รวมไปถึงบริษัทในเครือใน ประเทศจีนที่ต้องใช้น้ำมันเกือบล้านลิตรต่อวัน

กลุ่มบริษัทเอกชนที่สนใจเข้าเยี่ยมชมดูงานหลายต่อหลายครั้ง และกองทัพบก ก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีความสนใจที่จะผลิตโรงผลิตไบโอดีเซลขนาดเล็ก เพื่อใช้ในกลุ่มสมาชิกครอบครัว และ CPF รับหน้าที่เป็น ผู้ออกแบบโดยใช้ต้นทุน 20,000 บาท

โรงงานผลิตไบโอดีเซลของ CPF มีต้นทุนการผลิตโรงงานประมาณ 9 แสนบาท อุปกรณ์และถังที่ใช้ในการผลิตดัดแปลงใช้ของภายในประเทศทั้งหมด ใช้พื้นที่ก่อสร้าง 5 x 10 เมตร และมีปํ๊มหัวจ่ายอยู่ในบริเวณพื้นที่เดียวกัน ทำให้ง่ายต่อการเติมน้ำมัน

ต้นทุนการผลิตในปัจจุบันอยู่ที่ราคา 27 บาท เป็นต้นทุนที่เกิดจากเมทานอล 4 บาทต่อน้ำมันหนึ่งลิตร ตัวเร่งปฏิกิริยา 20 สตางค์ต่อลิตร ค่าแรงงาน ค่าไฟ 80 สตางค์ ต่อลิตร และต้นทุนน้ำมันที่ใช้แล้วที่มีราคาขึ้นลงตามราคาประมูลที่ได้มาประมาณ 14-15 บาท

ผลผลิตจากการนำน้ำมันที่ใช้แล้วมาทำเป็นน้ำมันไบโอดีเซล ยังมีกลีเซอรีนที่เป็น ผลผลิตอีกชนิดหนึ่งที่เกิดจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน ซึ่งกลีเซอรีนสามารถนำไปพัฒนา ต่อยอดเป็นสบู่ แต่ CPF ไม่มีนโยบายขยายผลออกไปสู่ธุรกิจอื่นๆ

CPF จึงนำกลีเซอรีนมาผสมกับเชื้อเพลิงแข็ง เช่น เปลือกไม้ เศษไม้ หรือถ่านหิน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำในการผลิตอาหารสัตว์ ทำให้สามารถประหยัดเชื้อเพลิงได้อีก 100,000-200,000 บาทต่อเดือน โดยก่อนหน้านี้ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงมีต้นทุน ที่สูงกว่าเชื้อเพลิงแข็งหลายเท่าตัว

การผลิตไบโอดีเซลของกลุ่มซี.พี.เพื่อขยายผลไปสู่ธุรกิจน้ำมันไบโอดีเซลอย่างเต็มตัวในขณะนี้อาจจะยังไม่เห็นผลชัดเจน เพราะน้ำมันพืชที่ใช้แล้วในกลุ่มซี.พี.มีปริมาณเพียง 400,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งยังน้อยมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมน้ำมันที่มีอยู่ในปัจจุบัน

แต่การที่กลุ่มซี.พี.เข้าไปร่วมกับ ปตท.และกระทรวงพลังงาน เพื่อศึกษาการปลูกต้นปาล์มที่รังสิต หรือการริเริ่มให้บริษัทในเครือหันมาใช้น้ำมันไบโอดีเซล ย่อมแสดงให้เห็นว่ากลุ่มซี.พี. ย่อมจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจนี้อย่างแน่นอน

สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของธนินท์ที่มักจะพูดผ่านพนักงานของเขามาโดยตลอดระยะ 4 ปีที่ผ่านมา หรือการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชนที่เขาเคยบอกว่า "กลุ่มประเทศ ตะวันออกกลางมีน้ำมันใต้ดิน แต่ประเทศไทยมีน้ำมันบนดิน" ซึ่งหมายความว่า วัตถุดิบเกษตรกรรมหลายชนิด เช่น ปาล์มน้ำมัน ถั่ว สบู่ดำ และพืชต่างๆ ที่ให้ ผลผลิตที่เป็นน้ำมัน มันจะกลายเป็นน้ำมันไบโอดีเซลได้ในอนาคต

ตั้งคำถามเล่นๆ ว่า บทบาทของซี.พี.จะเป็นอะไรในธุรกิจน้ำมันไบโอดีเซล ระหว่างเป็นผู้ผลิตและขายเสียเอง หรือหาพันธมิตรที่เก่งที่สุดในประเทศแล้วไปด้วยกัน หรือจะเล่นเป็นผู้ผลิตต้นกล้าปาล์มน้ำมันพืชเพื่อจำหน่าย ซึ่งใกล้เคียงกับ อาชีพเกษตรกรรมที่ซี.พี.มีประสบการณ์ หรือว่าซี.พี.จะทำทั้งหมด?   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us