Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2551
AI Logistic Player             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 

   
related stories

Palm Oil : The Glittering Future?
PURE Biodiesel ความท้าทายของรายเล็ก
TOL สร้างธุรกิจมากกว่าคำว่าไบโอดีเซล
CPF สร้างมูลค่าเพิ่มในวงจรปิด
บางจาก พันธสัญญาบนความขัดแย้ง

   
www resources

โฮมเพจ เอเชียน อินซูเลเตอร์, บมจ.

   
search resources

เอเชียน อินซูเลเตอร์, บมจ.
Oil and gas
เอไอ เอนเนอจี, บจก.




การลุกขึ้นมาจัดตั้งบริษัทใหม่อีก 3 แห่ง ของบริษัท เอเชียน อินซูเลเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ AI เพื่อซื้อโรงงานน้ำมันพืช ซื้อท่าเรือ ซื้อเรือ 3 ลำ สร้างโรงไฟฟ้านั้น มีเป้าหมายเพื่อผลิตไบโอดีเซลทดแทนธุรกิจ "ลูกถ้วยไฟฟ้า" ที่ทำมาตลอดระยะเวลา 27 ปี ซึ่งนับวันรายได้จะลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่ไบโอดีเซลถูกคาดหวังให้เป็นธุรกิจหลักในอนาคตที่จะโชติช่วงชัลวาลต่อไป

สิ่งที่ทำให้เอไอกระโดดเข้าสู่ธุรกิจไบโอดีเซล เพราะเห็นว่ารัฐบาลเข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มที่ และเป็นแนวโน้มทางเลือกใหม่ของพลังงานทดแทน

ธุรกิจไบโอดีเซลเป็นธุรกิจใหม่ที่เอไอเอง ก็ยอมรับตรงๆ ว่าไม่มีประสบการณ์ทำมาก่อน ก็ได้กำหนดบทบาทของตนเองให้เป็นผู้ผลิตไบโอดีเซล หรือ B100 เพื่อจำหน่ายให้กับบริษัทผู้ค้าน้ำมัน

ทั้งณรงค์ ธารีรัตนาวิบูลย์ ประธานบริษัทเอไอ และอนุรักษ์ ธารีรัตนาวิบูลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอไอ เอนเนอร์จี จำกัด ได้เล่าถึงแผนธุรกิจของกลุ่มเอไอให้กับ "ผู้จัดการ" ฟังว่า ธุรกิจไบโอดีเซลจะต้องทำแบบครบวงจรและนำเรื่องของโลจิสติกส์เข้ามาสนับสนุน รวมถึงการสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อควบคุมต้นทุนและสร้างผลประโยชน์ให้เกิดกับบริษัทสูงสุด

การขับเคลื่อนธุรกิจไบโอดีเซลได้เริ่มเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ด้วยการทยอยเปิดบริษัทลูก 3 แห่ง ในปี 2549 เริ่มก่อตั้งบริษัท เอไอ เอนเนอร์จี จำกัด (AIE) โดยเอไอถือหุ้น 75 เปอร์เซ็นต์ ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายไบโอดีเซล และจัดตั้งบริษัท เอไอ โลจิสติกส์ จำกัด (AIL) เอไอถือหุ้น 84.5 เปอร์เซ็นต์ เพื่อขนส่งสินค้าทางบกและทางทะเล และยังได้รับสิทธิจากคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน (บีโอไอ) ในกิจการเรือขนส่งทางทะเล

ในปี 2550 บริษัทได้ก่อตั้งบริษัทเอไอ พอร์ท และเทอมินอล จำกัด (AIP) เอไอถือหุ้น 86.50 เปอร์เซ็นต์ ประกอบกิจการให้บริการท่าเรือและคลังสินค้า

ช่วงเวลาที่เริ่มทยอยจัดตั้งบริษัทต่างๆ ในเครือนั้น บริษัทก็เริ่มดำเนินธุรกิจควบคู่ไปด้วย เริ่มจากบริษัท เอไอ เอนเนอร์จี เข้าไปซื้อกิจการโรงงานน้ำมันพืชยี่ห้อพาโมลาที่อำเภอกระทุ่มแบน สมุทรสาคร เมื่อปี 2549 ซึ่งเลิกกิจการเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาด้วยมูลค่า 450 ล้านบาท

โรงงานปรับปรุงใหม่ทั้งหมด และยังคงรักษาเครื่องจักรและถังเก็บน้ำมันให้อยู่ในสภาพเดิม พร้อมกับปรับแก้ไขเครื่องจักรให้สามารถผลิตไบโอดีเซล ซึ่งระบบการทำงานของโรงงานได้ผ่านมาตรฐาน 24 ขั้นตอนของ กระทรวงพลังงานเรียบร้อยแล้ว

เครื่องจักรที่ปรับปรุงแล้ว บริษัทยังได้เพิ่มห้องทดลองเพื่อวัดผลและควบคุมคุณภาพของไบโอดีเซล เพราะโรงงานแห่งนี้ได้กำหนดปริมาณการผลิตไว้ที่ 500,000 ลิตร ต่อวัน ปัจจุบันผลิตได้อยู่ที่ 100,000 ลิตรต่อวัน เพราะปัญหาคือวัตถุดิบที่ยังมีไม่เพียงพอ

ไฟฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตไบโอดีเซลและใช้ในปริมาณมาก ทำให้บริษัทตัดสินใจสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 10 เมกะ วัตต์ขึ้นในโรงงานเพิ่มเติม อยู่ในบริเวณเดียว กันบนเนื้อที่ 30 ไร่ของโรงงานแห่งนี้ ขณะเดียวกันโรงไฟฟ้ายังสามารถจำหน่ายไฟฟ้าให้กับบริษัทที่อยู่ใกล้พื้นที่ได้ด้วย

ระบบการขนส่งหรือโลจิสติกส์ เป็นสิ่งที่สำคัญในการควบคุมต้นทุน ณรงค์เปรียบ เทียบค่าใช้จ่ายระหว่างการขนส่งทางรถและ เรือ มีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันการขนส่งทางรถมีค่าใช้จ่ายสูงและขนน้ำมันได้ 30,000 ลิตรต่อคัน

ในแต่ละวันรถจะขนส่ง CPO เข้ากรุงเทพฯ และปริมณฑลประมาณ 2,500,000-3,000,000 ลิตรต่อวันหรือประมาณ 100 เที่ยว ต่อวัน

จึงทำให้บริษัทตัดสินใจขนส่งวัตถุดิบทางเรือที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า และย่นย่อระยะทางได้อีก 500 กิโลเมตร ประการสำคัญ เรือสามารถขนส่งน้ำมันปาล์มในปริมาณที่มากกว่า เพราะเรือ 3 ลำ สามารถขนส่งได้ตั้งแต่ปริมาณ 500 ตัน 2,000 ตัน และ 3,000 ตัน

เรือทั้ง 3 ลำทำหน้าที่ขน CPO มาภาคใต้ที่มีพื้นที่เพาะปลูกปาล์มมากที่สุดในประเทศ และเรือยังมีหน้าที่ขนเมทิลแอลกอฮอล์จากมาเลเซียที่เป็นส่วนผสมในการผลิตไบโอดีเซล

บริษัทซื้อท่าเรือไว้อีก 2 แห่ง คือ ท่าเรือชุมพรและท่าเรือสมุทรสาคร เพื่อรับส่งวัตถุดิบ ที่มาจากทางใต้ โดยท่าเรือสมุทรสาครจะอยู่ห่างจากโรงงาน 10 กิโลเมตร แต่เดิมเป็นโรงงานน้ำแข็งเก่าท่าฉลอม มีเนื้อที่ 6 ไร่ เอไอซื้อมาด้วยราคา 100 ล้านบาท

ส่วนท่าเรือทางใต้ ชุมพร จะทำหน้าที่เป็นจุดรับ-ส่งน้ำมันปาล์ม เพราะ 90 เปอร์เซ็นต์ขนมาจากทางใต้

การทำธุรกิจโลจิสติกส์ของกลุ่มเอไอไม่ได้ใช้รองรับธุรกิจของบริษัทในเครือเพียงอย่างเดียว แต่บริษัทมองไกลไปกว่านั้น เมื่อมีท่าเรือและเรือก็สามารถรับขนส่งสินค้าอื่นๆ และให้บริการเช่าท่าเรือให้กับรายอื่นได้อีกเป็นรายได้อีกทางหนึ่งของบริษัท

ก่อนหน้านี้ ณรงค์บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ตอนนั้นเรามองอย่างนี้ว่า จะคุ้มทุนอย่างไร คาดไม่ถูก มันเป็นเรื่องของพลังงาน ธุรกิจใหม่ แต่เชื่อว่าเราทำได้ เพราะเรามองไปถึงวงจร พอเราเลือกสถานที่ได้แล้ว เราเริ่มคิดว่าวัตถุดิบมาจากไหน เราต้องมี CPO ซึ่งมาจากทางใต้"

จากการวางแผนซื้อโรงงาน เรื่อยไปจนถึงการจัดระบบการขนส่ง เกิดการทำงานอย่างครบวงจร ทำให้ณรงค์และอนุรักษ์มองว่า "ไม่ว่าภาคสนามจะเป็นอย่างไร เราก็สู้ได้"

ก่อนที่อนุรักษ์จะตัดสินใจเข้ามาร่วมงานกับเอไอ เขาเล่าถึงเบื้องหลังการทำงาน ของเขาว่ามีประสบการณ์ในการทำโรงงานปลาป่นและประมง แต่มีเหตุจำเป็นต้องเลิก กิจการ สืบเนื่องมาจากน้ำมันมีราคาแพง หากต้องทำในระยะยาวธุรกิจจะไปไม่รอด จึง ทำให้ตัดสินใจมาร่วมทำงานในบริษัทเอไอเอนเนอร์จี เพราะเห็นว่าธุรกิจน้ำมันไบโอดีเซล มีความน่าสนใจและจากประสบการณ์โดยตรงที่ผ่านมา ตระหนักดีว่าน้ำมันมีผลต่อธุรกิจมากเพียงใด การบริหารโรงงานและระบบการขนส่ง เป็นสิ่งที่ผู้บริหารควบคุมได้ เพราะอาศัยความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาแต่ราคาของวัตถุดิบ และราคาจำหน่ายไบโอดีเซล เป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมทิศทางได้ เหมือนเช่นขณะนี้ราคา CPO ราคาสูง ซึ่งรัฐจะต้องเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อให้เกิดความร่วมมือหลายฝ่าย

แม้ว่าธุรกิจไบโอดีเซลจะมีปัญหาเรื่องของวัตถุดิบและราคาจำหน่ายบ้าง แต่กลุ่มเอไอก็มองว่าเป็นธุรกิจที่จะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้วอย่างแน่นอน แต่สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ที่กำลังจะเข้ามาสู่ธุรกิจในช่วงนี้ กลุ่มเอไอถึงกับเอ่ยปากว่าอาจไม่จะคุ้มค่าในการลงทุน เพราะผู้ผลิตไบโอดีเซลที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถผลิตรองรับความต้องการของตลาดได้เพียงพอที่ต้องการไบโอดีเซล 1.2 ล้านลิตรต่อวัน และยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่จะเข้ามาทำธุรกิจสามารถมาคุยกันก่อนล่วงหน้า เพื่อตัดสินใจ

"ผู้ผลิตไบโอดีเซลอยู่ในฐานะผู้รับจ้างผลิต ไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ ผู้ประกอบการใหม่ๆ ไม่ควรเข้ามาแล้วกำลังการผลิตล้นเหลือ"

กำลังการผลิตที่เกิดจากบริษัทหลายแห่งในปัจจุบัน อาทิ TOL ผลิตได้ 600,000 ลิตร บางจาก 300,000 ลิตร บริษัทเพียวไบโอดีเซล จำกัด 300,000 ลิตร และเอไอ เอนเนอร์จีผลิตได้ 400,000-500,000 ลิตรต่อวัน

แม้ว่าบริษัทจะวางเป้าหมายให้ธุรกิจไบโอดีเซลเป็นธุรกิจหลักก็ตาม แต่บริษัทจำเป็นต้องควบคุมค่าใช้จ่าย ความเสี่ยงภายภาคหน้าที่ยังไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าได้ว่าจะเป็นอะไร ดังนั้นบริษัทเอไอจะไม่พึ่งพาธุรกิจไบโอดีเซลเพียงอย่างเดียว แต่บริษัทสามารถเล่นบทบาทในฐานะผู้ผลิตน้ำมันพืชได้อีกหนึ่งราย

เพราะโรงงานที่ซื้อมาสามารถผลิตได้ทั้งไบโอดีเซลและน้ำมันพืช โดยกระบวนการผลิตไบโอดีเซลจะนำ CPO มากลั่นเพื่อนำสี กาว ยาง กลิ่นออก จนเป็น RBDPO (refined bleached deodorized palm oil) และนำไปเข้าสู่กระบวนการผลิตไบโอดีเซลต่อไป หรือนำ RBDPO ไปบีบเป็นน้ำมันโพลีนเพื่อบริโภคและจากกระบวนการทำน้ำมันพืช จะมีสเตอรีนหรือไขปาล์มเพิ่มขึ้น ซึ่งไขปาล์มสามารถนำไปทำไบโอดีเซลได้เช่น เดียวกัน

การนำระบบโลจิสติกส์เข้ามาบริหารเพื่อลดต้นทุนการผลิตไบโอดีเซลของกลุ่มเอไอ นับว่าเป็นวิสัยทัศน์ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะผู้ผลิตไบไอดีเซลอย่างเต็มตัว แต่วิสัยทัศน์ของผู้บริหารจะประสบความสำเร็จได้ตามที่คาดหวังไว้ได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ท้าทาย เป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้ผลิตไบโอดีเซลยังมีอีกหลายรายและอาจรวมถึงผู้ประกอบธุรกิจน้ำมันพืชบางส่วนอาจต้องการมาเล่นเวทีนี้ด้วยก็ได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us