Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2551
TOL สร้างธุรกิจมากกว่าคำว่าไบโอดีเซล             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 

   
related stories

Palm Oil : The Glittering Future?
PURE Biodiesel ความท้าทายของรายเล็ก
CPF สร้างมูลค่าเพิ่มในวงจรปิด
AI Logistic Player
บางจาก พันธสัญญาบนความขัดแย้ง

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด (ทีโอแอล)

   
search resources

Oil and gas
Chemicals
ปตท. เคมิคอล, บมจ.
ไทยโอลีโอเคมี, บจก.




TOL บริษัทในเครือของบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ที่มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะผู้ผลิตไบโอดีเซลให้กับบริษัทแม่อย่าง ปตท. ที่เปิดตัวอย่างแรงไปเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ TOL จะไม่ทำธุรกิจไบโอดีเซลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น บริษัทแห่งนี้กำลังมองไปถึงธุรกิจเคมิคอลที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์นอกเหนือจากไบโอดีเซล

โรงงานเมทิลเอสเตอร์และแฟตตี้แอลกอฮอล์มูลค่า 7,000 ล้านบาท ของบริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง จะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนเมษายน 2551 นี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตไบโอดีเซล แฟตตี้แอลกอฮอล์ และกลีเซอรีนที่ใช้วัตถุดิบจากไขมันพืชและสัตว์

แต่ดูเหมือนว่าผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซล จะมีการพูดถึงมากกว่าผลิตภัณฑ์อื่นในช่วงนี้ อาจเป็นเพราะว่ากระแสสังคมกำลังร้องหาพลังงานทดแทนเพื่อบรรเทาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น แม้กระทั่งเรื่องลดภาวะโลกร้อน ด้านรัฐบาลเองก็พยายามกระตุ้นให้มีการผลิต ไบโอดีเซลอย่างจริงจัง

บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตน้ำมันและจำหน่ายรายใหญ่ของเมืองไทยก็กระโดดเข้าร่วมธุรกิจไบโอดีเซลอย่างจริงจัง โดยให้ TOL เป็นบทบาทที่แบ่งแยกกันอย่าง ชัดเจน

ดังนั้น ภาพโฆษณาเปิดตัว B5 PLUS ของ ปตท. เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ตรงกับ วันแห่งความรักได้ตอกย้ำให้สาธารณชนรับรู้ ว่า ปตท.กำลังเดินหน้าอย่างเต็มที่เพื่อเป็นผู้นำพลังงานทดแทนไบโอดีเซล ที่สำคัญ ปตท.ถึงกับออกหน้ารับประกันคุณภาพ

ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บอกกับ "ผู้จัด การ" ว่า TOL และบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ในฐานะบริษัทลูกจะมีส่วนร่วมในการผลักดันไบโอดีเซลอย่างแน่นอน

การเปิดตัวเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ถือว่า ปตท.ได้ภาพลักษณ์ในการ โปรโมตไบโอดีเซลไปเต็มๆ เพราะ ปตท.เลือกจังหวะและโอกาสหลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่เข้ามาทำงาน ได้ไม่ถึง 1 เดือน มาเป็นประธานในงาน ซึ่งก็คือ พล.ท. (หญิง) พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ ไม่เพียงเท่านั้น ยังได้นำรถของค่ายรถยนต์ต่างๆ รวมทั้งผู้บริหารเข้าร่วม อาทิ บีเอ็มดับเบิลยู เบนซ์ ฟอร์ด มาสด้า รถกระบะอีซูซุ เพื่อยืนยันว่ารถยนต์เหล่านี้ไม่มีปัญหาในการใช้ B5 PLUS ของ ปตท. จะขาดก็แต่เพียงโตโยต้าและฮอนด้าที่ไม่มาร่วมงานครั้งนี้

ดูเหมือนว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจะพอใจกับโครงการไบโอดีเซลที่สามารถช่วยประหยัดน้ำมันนำเข้า พร้อมกับยกตัวอย่างแจกแจงตัวเลขให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า หากใช้น้ำมันดีเซล 50 ล้านลิตรต่อวัน ผสมกับ B2 จะประหยัดน้ำมันดีเซลนำเข้า 1 ล้านลิตรต่อวัน หรือประหยัดเงินได้ 20 ล้านบาทต่อวัน

เมื่อใช้น้ำมัน B5 PLUS ในปริมาณ 50 ล้านลิตรต่อวันจะประหยัดเงินได้ถึง 17,000 ล้านบาทต่อปี โดยมีรัฐบาลรับภาระราคาน้ำมัน 50 สตางค์ต่อลิตรให้กับผู้ประกอบการและกระทรวงฯ ก็ยืนยันที่จะสนับสนุนให้มีการใช้ไบโอดีเซลต่อไป

ความชัดเจนที่รัฐบาลจะสนับสนุนพลังงานทดแทนนี้เอง ปตท.มีเป้าหมายขยายจาก B2 กลายเป็น B5 ทุกปั๊มทั่วประเทศภายใน 3 ปี หรือครอบคลุมให้ได้ภายในปี 2554

บทบาทของ ปตท.ในธุรกิจไบโอดีเซลจะครบวงจร หรือมีกระบวนการดำเนินงาน 3 ส่วน ตั้งแต่เป็นผู้ปลูกปาล์มผลิตไบโอดีเซล 100 เปอร์เซ็นต์และเป็นผู้จำหน่ายและทำตลาด

แต่มีสองส่วนแรกที่ดูเหมือนว่าเห็นชัดเจนมากขึ้นในปีนี้ก็คือ บทบาทในฐานะผู้จำหน่าย และทำตลาดควบคู่กันไป ซึ่งส่วนนี้ทำง่ายที่สุดเพราะ ปตท.เป็นบริษัทผู้ค้าน้ำมันที่มีชื่อเสียง และมีปั๊มน้ำมันกระจายอยู่ทั่วประเทศ

ส่วนที่สอง บทบาทในฐานะผู้ผลิตไบโอดีเซล โดยให้บริษัท TOL บริษัทลูกเป็นผู้ผลิตไบโอดีเซลป้อนให้กับ ปตท.เป็นหลัก

ส่วนที่สามในฐานะผู้ผลิตปาล์ม ปตท. กำลังร่วมกับกลุ่มซี.พี.และกระทรวงพลังงาน ทำการวิจัยปลูกปาล์มในบริเวณพื้นที่รังสิตตั้งแต่คลอง 11-13 จำนวน 1 พันไร่ โดยกลุ่ม ซี.พี.จะเป็นผู้สร้างโรงหีบ ส่วน ปตท.จะสร้าง โรงกลั่นในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวและกระทรวงพลังงานมีหน้าที่เป็นเจ้าภาพ

ไม่เพียงเท่านั้นขณะนี้ ปตท.กำลังหาพื้นที่ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อปลูกปาล์ม ซึ่งประเทศนี้เป็นประเทศชั้นนำที่ปลูกปาล์ม และว่ากันว่า ปตท.ได้ซื้อพื้นที่ไว้แล้วจำนวน 1 แสนไร่ เพื่อปลูกปาล์มแล้วในอินโดนีเซีย

เหตุผลหลักที่ ปตท.ต้องเข้ามาเล่นบทบาทเป็นผู้ผลิต อาจเป็นเพราะว่าแนวโน้มปาล์มที่จะนำมาทำไบโอดีเซล มีโอกาสที่จะขาดตลาด เพราะปาล์มในเมืองไทยส่วนใหญ่ 80 เปอร์เซ็นต์ ปลูกเพื่อใช้บริโภคและนโยบาย ของ TOL ที่มีต่อน้ำมันปาล์ม CPO (Crude Palm Oil) ที่จะนำมาใช้นั้นต้องเป็นน้ำมันที่เหลือใช้จากการบริโภคเท่านั้น ซึ่งไม่มีนโยบายเข้าไปแย่งตลาด

แต่สิ่งที่ ปตท.กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ TOL ยังไม่สามารถป้อนน้ำมันไบโอดีเซลให้กับ ปตท.ได้เพียงพอ เพราะ ปตท.ต้องการน้ำมัน ไบโอดีเซล 22 ล้านลิตรต่อวัน แต่ TOL ผลิต ให้ได้ 19 ล้านลิตร ทำให้ ปตท.ต้องซื้อน้ำมัน เพิ่มอีก 3 ล้านลิตรจากบริษัทน้ำมันพืชปทุม จำกัด และโรงงานอื่นๆ

เป้าหมายโรงงานของ TOL จะผลิตไบโอดีเซล 2 แสนตันต่อปี ซึ่งเป็นกำลังการผลิตใน 2-3 ปีข้างหน้า ในขณะที่ปีนี้กำลังการผลิตอาจจะไม่ถึง เพราะโรงงานจะก่อสร้าง แล้วเสร็จในเดือนเมษายนนี้

ปตท.ในฐานะผู้จำหน่ายย่อมไม่ต้อง การให้มีการขาดแคลนไบโอดีเซลอย่างแน่นอน ฉะนั้นการลงมาเล่นในบทบาทของผู้ผลิตจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

TOL แม้ว่าจะอยู่ในฐานะบริษัทในเครือของ ปตท.เคมิคอลก็ตาม แต่ในแง่การทำธุรกิจ TOL ต้องการกระจายความเสี่ยง โดยไม่ ยึดติดกับธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมากจนเกินไป หรือให้ความสำคัญเรื่องไบโอดีเซลเพียงอย่างเดียว

"ในธุรกิจ ปตท.เคมิคอล เรากระจายความเสี่ยง ตลาดดีหรือไม่ดี เรามองในระยะยาว และการตั้งโรงงานให้มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ เราควบคุมได้ ถ้าดูขนาดโรงงานตอนนี้น่าจะใหญ่เกือบที่สุดในโลกแล้ว ต้นทุนต่อหน่วยเราจะดีขึ้น เรามี size economy of scale" คงกระพัน อินทรแจ้ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด บอกเหตุผลเรื่องนี้

ธุรกิจโอลีโอเคมีของ TOL เป็นธุรกิจที่ใช้วัตถุดิบจากไขมันพืชและสัตว์ สามารถต่อยอด สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทได้มากมาย โดยเฉพาะผลปาล์มสามารถสร้างสารโอลีโอเคมีพื้นฐานได้ 3 ชนิด คือ เมทิลเอสเตอร์ (Methy Ester) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไบโอดีเซล แฟตตี้แอลกอฮอล์ (Fatty Alcohols) และกลีเซอรีน (Glycerine)

ผลปาล์มใช้ประโยชน์จาก 2 ส่วน ส่วนที่เป็นผลปาล์มจะนำไปทำน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ที่นำไปผลิตเป็นไบโอดีเซล ส่วนที่สอง เมล็ดปาล์ม (CPKO : Crude Palm Kernel Oil) นำไปผลิตเป็นแฟตตี้แอลกอฮอล์

กลีเซอรีนเป็น by product ของทั้งแฟตตี้แอลกอฮอล์และเมทิลเอสเตอร์ ซึ่ง TOL เป็นรายเดียวในประเทศไทยที่ทำกลีเซอรีน ที่เรียกว่า pharmar fruitical grade เป็นระดับที่นำไปทำยารักษาโรคได้

"ในธุรกิจเคมีสารโอลีโอเคมียิ่งพัฒนาต่อเนื่องเท่าไร มูลค่าของผลิตภัณฑ์ก็ยิ่งสูงขึ้น เรื่อยๆ"

แฟตตี้แอลกอฮอล์เป็นผลิตผลที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้สูงสุดจากผลิตผลทั้งหมดที่สามารถนำไปผลิตเป็นสินค้าที่หลากหลายอาทิ แชมพู โลชั่น น้ำยาทำความสะอาดในบ้าน หรือเคมีภัณฑ์

ส่วนเมทิลเอสเตอร์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้พัฒนาไปเป็นไบโอดีเซลได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เมทิลเอสเตอร์สามารถพัฒนา ผลิตภัณฑ์เป็นผงซักฟอก หรือสินค้าอื่นๆ ได้อีก ส่วนกลีเซอรีนพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมยา และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ

โรงงานที่สร้างขึ้นจึงถูกออกแบบเพื่อภารกิจนี้โดยเฉพาะและได้เลือกใช้เทคโนโลยี จากประเทศเยอรมนี เทคโนโลยีผลิตไบโอดีเซลของบริษัท AT GRAR TECHNIK ส่วนเทคโนโลยีที่ผลิตแฟตตี้แอลกอฮอล์จากบริษัท Cognis Deutschland GmbH & Co.KG

กำลังการผลิตของโรงงานมีเป้าหมาย ผลิตเมทิลเอสเตอร์ 200,000 ตันต่อปี ผลิตแฟตตี้แอลกอฮอล์ 100,000 ตันต่อปี และผลิต กลีเซอรีน 31,000 ตันต่อปี

เมื่อมองโดยรวมแล้ว TOL มีแผนดำเนินงานที่ชัดเจน มีความพร้อมในการผลิตทั้งเมทิลแอลกอฮอล์ แฟตตี้แอลกอฮอล์ และกลีเซอรีน ไปจนถึงเทคโนโลยีที่พร้อมรองรับการผลิตอย่างเต็มกำลัง จะเหลือก็แต่วัตถุดิบที่นำมาใช้

วัตถุดิบของปาล์มส่วนที่เป็น CPO ที่นำมาผลิตไบโอดีเซล ปัจจุบันใช้ในประเทศ ทั้งหมด เพราะปริมาณการใช้ไบโอดีเซลทั้งประเทศจะอยู่ที่ 300,000 ตันต่อปี และที่เหลือเป็นน้ำมันที่นำไปใช้บริโภคจำนวน 1.1 ล้านตัน จากน้ำมันปาล์มโดยรวม 1.5 ล้านตัน

ในส่วนของ CPKO ที่จะนำไปผลิต เป็นแฟตตี้แอลกอฮอล์ ภายในประเทศมีไม่เพียงพอ TOL จึงแก้ปัญหาด้วยการขออนุญาตจากรัฐเพื่อนำเข้า จากปัจจุบันที่ใช้ภายในประเทศบางส่วน ฉะนั้นการทำตลาดในส่วนของแฟตตี้แอลกอฮอล์ ถ้าใช้วัตถุดิบในเมืองไทยก็จะขายในประเทศ แต่ถ้านำมาจากต่างประเทศ ก็ผลิตเพื่อส่งออกทั้งหมดเช่นเดียวกัน เพื่อรับการยกเว้นภาษี

แม้ว่าต้นทุน CPKO จะอยู่ที่ 1,200 เหรียญดอลลาร์ต่อตัน สูงกว่า CPO ที่จำหน่ายในราคา 1,000 ตันก็ตาม แต่ TOL ก็เลือกที่ผลิต CPKO ควบคู่ไปด้วยกัน

ด้วยบริษัทแม่ที่มีรากฐานจากธุรกิจเคมีภัณฑ์และปิโตรเคมีที่ผลิตภัณฑ์สามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้อีก TOL จึงกลายเป็นแขนขาที่จะพัฒนาในส่วนของอุตสาหกรรมโอลีโอเคมี เพื่อพัฒนาธุรกิจเคมิคอลให้ก้าวไกลไปทั้งในและต่างประเทศอย่างไม่หยุดยั้ง แต่ไบโอดีเซลยังเป็นพันธกิจหลักที่ต้องดำเนินต่อไปเพื่อป้อนให้บริษัทแม่อย่าง ปตท.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us