Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2535
"ที่ดิน 12 ไร่ ด่านมฤตยูที่ต้องฟันฝ่า"             
โดย วิลาวัณย์ วิวัฒนากันตัง
 


   
search resources

สีชังทองเทอร์มินัล จำกัด
จิระ รัตนะรัต
Real Estate




ปัญหาเรื่องสิทธิครอบครอบที่ดินในส่วนที่สีชังทองฯ จะสร้างเป็นท่าเรือน้ำลึกนั้นได้ก่อตัวและเป็นข่าวมานานนับปี ที่ดินผืนนี้มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์เป็นสิทธิครอบครองหรือ สค.1

เนื่องจากลักษณะพื้นที่ริมเกาะโค้งเว้าตลอดแนวเมื่อรังวัดจะกำหนดแนวที่ดินเพื่อเปลี่ยน สค. 1 ไปเป็นโฉนดที่ดิน เจ้าหน้าที่เสนอว่าจะวัดเป็นแนวเส้นตรงดีหรือไม่ จิระเห็นว่า "จะได้ไม่มีปัญหาในการวัดเขตและวัดแนวที่ดิน" เพราะเชื่อว่าตนมีสิทธิครองโดยถูกต้องอยู่แล้ว

ได้ตกลงกันว่าที่ดินจากแนวเส้นตรงไปถึงริมเกาะจะกันไว้เป็นระยะทาง 30 เมตรจากชายหาด รวมพื้นที่ 20 ไร่ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมถึงและต้องกันไว้เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์

เพื่อความแน่นอน ในฐานะที่กรมเจ้าท่าเป็นผู้ดูแลพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง จึงให้ไปชี้แนวเขต ปรากฎว่าที่ดินของกรมเจ้าท่ามีเพียง 8 ไร่เท่านั้นที่น้ำท่วมถึง ทำให้เหลือที่ดินอีก 12 ไร่เป็นหน้าผาซึ่งจิระคิดว่ากรมเจ้าท่าคงตีความรวมกันไปหมดว่าเป็นของเจ้าท่า ถือเป็นการยกสิทธิครอบครองของตนให้กับกรมเจ้าทาและคงจะเป็นความดีความชอบที่จะทำให้โครงการผ่านเร็วขึ้น

แต่จิระคิดผิด พื้นที่ 12 ไร่ตรงนั้นไม่ใช่อของกรมเจ้าท่าและก็ไม่ยอมรับด้วยว่าเป็นของสีชังทองฯ

จิระหวังว่าถ้ามีการตีความว่าเป็นของจังหวัดตนก็ยินดีขอเช่าจากจังหวัดเพื่อก่อสร้างต่อไป แต่ถ้าตีความว่าไม่รู้ของใคร ก็จะทำเรื่องขอคืนตามสิทธิครอบครองที่มีอยู่ก่อน

ขณะที่ข้าราชการระดับสูงในกระทรวงคมนาคมรายหนึ่ง ได้ให้ความเห็นใครต่อใครว่าที่ตรงนี้เป็นของราชการซึ่งทางเอกชนหรือสีชังทองฯ จะไม่มีสิทธิถูกต้องตามกฎหมายที่จะสร้างท่าเรือได้

ทางกระทรวงคมนาคมเองก็ทำหนังสือให้กรมที่ดินตีความ ระบุว่าเป็นที่ติดทะเลและเป็นของกรมเจ้าท่าทุกครั้งแต่ความจริงบริเวณดังกล่าวเป็นเนินเขา และน้ำท่วมไม่ถึงกรมเจ้าท่าเองก็ยืนยันและตอบไปว่าที่ดินเจ้าปัญหานี้ไม่ใช่ของตน ซึ่งมีการทบทวนกลับไปกลับมาตั้งแต่ปลายปี 2533

กระทั่งวันที่ 13 พฤศจิกายน 2534 ม.ล. เชิงชาญ กำภู รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสิ่งล่วงล้ำลำน้ำนัดพิเศษ ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นอีกชุดหนึ่งร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่ดิน อ. ศรีราชาเพื่อตรวจสอบที่ดินที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเป็นของใครอีกครั้ง หลังจากที่เคยยืนยันไปแล้วว่าเป็นของสีชังทองฯ

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้น คณะกรรมการฯเคยพิจารณาว่าเมื่อแก้ปัญหาเรื่องที่ดินไม่ได้ ก็ให้สีชังทองฯ ออกแบบท่าเรือใหม่ แต่ก็จะขัดกับสิ่งแวดล้อมที่อนุมัติไปแล้ว และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก จึงยกเลิกไป และกลับมาพิจารณาเรื่องที่ดินใหม่

ต่อมาถึงปลายเดือนธันวาคม ทางที่ดินศรีราชาโดยการตรวจสอบของกิ่งอำเภอสีชังได้สรุปอีกครั้งว่า ที่ดินนี้น้ำท่วมไม่ถึง และเป็นของตระกูลหงศ์ลดารมภ์หรือสีชังทองฯ เป็นผู้มีสิทธิครอบครองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2497 โดยไม่มีผู้คัดค้านหรือโต้แย้งสิทธิครองครอง

ดูเหมือนว่าจิระจะรู้สึกโล่งอกเมื่อสรุปออกมาอย่างนี้คณะกรรมการฯ เองก็ยอมรับผลตรวจสอบที่ยืนยันเหมือนเดิม

แต่กำแพงขวางกั้นการสร้างท่าเรือยังไม่สิ้นสุด เกิดมีคำถามใหม่อีกว่า พื้นที่สร้างท่ามีหาดทรายหรือไม่

ที่จริงถ้าดูผลสำรวจพื้นที่ตั้งแต่ครั้งแรกก็สรุปได้แล้วว่าไม่มีแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องจากกระทรวงคมนาคมกล่าว "คนทำงานเองก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมถึงถามย้อนไปย้อนมาเหมือนกับไม่เชื่อใจหน่วยราชการด้วยกัน"

ยิ่งไปกว่านั้น ที่ตลกก็คือบางคนมองพื้นที่ที่ระเบิดหินอยู่ข้าง ๆ เป็นหาดทรายตอนหลังมีคณะทำงานไปเก็บภาพอย่างละเอียดของบริเวณที่จะสร้างท่าเรือสุดท้ายก็สรุปได้ว่า ไม่มีหาดทราย

แม้แต่ที่ประชุม ครม. เมื่อวันที่ 15 มกราคมศกนี้มีการสอบถามว่า ทำไมใบอนุญาตยังไม่ออกเสียที

แต่ก็มิได้หมายความว่าจะออกใบอนุญาตได้แล้ว

เพราะล่าสุด มีเสียงโจษขานกันว่า ข้าราชการระดับสูงคนนั้นได้ทำหนังสือสอบถามไปยังกรมที่ดินโดยตรงในประเด็นเดิมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้กรมที่ดินรับรองว่าสีชังทองฯ มีสิทธิครอบครองโดยถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งที่ปกติแล้วจะไม่มีการรับรองบุคคลสิทธิ

กรมที่ดินได้ตอบโดยมีใจความว่า ไม่อาจรับรองได้อย่างไรก็ตาม ก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การวินิจฉัยของที่ดินอำเภอศรีราชาได้ศึกษา ตรวจสอบและสรุปไปแล้ว ซึ่งน่าจะทำให้พิจารณาปัญหาได้ในเบื้องต้น

กระแสเล่าลือออกมาหลายทาง จึงทำให้เกิดคำถามและข้อสันนิษฐานจากคนไม่น้อยว่า มีเบื้องหลังอะไรหรือไม่

เพราะการถามไปถามมาต่อหลายหน่วยงาน การนำไปตีความแล้วย่อมจะไม่มีข้อสรุปที่แน่นอนตายตัวตรงกัน ก็เหมือนจะบอกได้ว่า ยังไม่มีข้อสรุปที่สมบูรณ์ ใบอนุญาตก็ออกไม่ได้

ถึงเวลานี้กระทรวงคมนาคมน่าจะสรุปได้แล้วว่า จะเอายังไงกับโครงการนี้

การจะสรุปตีความ สมมติถ้าเป็นประเด็นกฎหมายหากสรุปในระดับกระทรวงไม่ได้ ก็ยังมีรองนายกที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอย่างมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งน่าจะช่วยตัดสินปัญหาได้

ไม่ควรที่จะปล่อยให้คาราคาซัง ซึ่งกลับกลายจะเป็นข้อครหาต่อหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเองมากกว่าจะเป็นผลดี ขณะที่สงครามการค้าระหว่างประเทศก็เข้มข้นอย่างต่อเนื่อง

จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่ CAPTAIN M.W.L. TOZER ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท โอเรียน ในกลุ่มเอ็นโอแอลให้ความเห็นต่อ "ผู้จัดการ" เมื่อพูดถึงสีชังฯ อย่างทีเล่นทีจริงว่า "จะแข่งกับท่าเรือสิงคโปร์หรือ" แต่แล้วเขาก็กล่าวเพิ่มอย่างจริงจังว่า "ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เพราะสิงคโปร์ยังมีแผนพัฒนาและขยายข่ายธุรกิจออกไปอีกมา"

เนื่องจากไทยมีปัญหามากมาย กว่าจะพัฒนาได้ สิงคโปร์ก็ไปโลดแล้ว อาจจะเหลือเพียงกระดูกที่ไทยจะได้ไปเท่านั้น

การที่เอ็นโอแอลจะไปร่วมพัฒนาท่าเรือไฮฟองย่อมเป็นประจักษ์พยานได้ดีกว่าอะไรทั้งหมด ขณะที่ไทยติดอยู่กับปัญหาที่ดินเพียงไม่กี่ไร่

การณ์ครั้งนี้ คงกลายเป็นบทเรียนใหญ่สำหรับจิระด้วยเช่นกันว่า การที่มีแต่ใจ และพลัง โดยคิดไปว่าความตรงไปตรงมาจะเป็นเกราะคุ้มกันและช่วยกรุยทางธุรกิจนั้น สำหรับเมืองไทยอาจจะไม่ใช่

แต่จำเป็นที่จะต้องมีทีมเจรจามืออาชีพและทีมประชาสัมพันธ์มือโปรที่จะสร้างเข้าใจและคุณค่าการตลาดทางสังคม แม้ว่ากิจกรรมจะเป็นสิ่งที่ดีก็ตาม

วันนี้ จิระยอมรับว่า "ผมอาจจะเข้าผิดช่องทาง"

แม้จิระจะเชื่อว่าฟ้าลิขิตให้เขามาทำโครงการนี้ แต่ก็ดูเหมือนว่า "บุญมีแต่กรรมบัง"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us