Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2551
ลงทุนอย่างไรยามเศรษฐกิจถดถอย             
 


   
search resources

Investment




ความตกต่ำของตลาดหมายถึงโอกาสอันงามหากคุณกล้าและอดทน

ชาวอเมริกันกำลังถูกกระหน่ำด้วยข่าวร้ายเกี่ยวกับเศรษฐกิจไม่เว้นแต่ละวัน ดัชนีอุตสาหกรรม Dow Jones แกว่งไกวขึ้นลงทีละนับร้อยๆ จุด ตลาดจวนเจียนจะเข้าสู่ภาวะตลาดหมี ขณะที่ราคาน้ำมันยังคงพุ่งสูงใกล้ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงอย่างน่าใจหาย แล้วยังเกิดกรณีเทรดเดอร์ขี้ฉ้อที่ทำให้ธนาคารยักษ์ใหญ่ในฝรั่งเศสขาดทุนมหาศาลจนทำให้เกิดการเทขายหุ้นทั่วโลก นอกจากนี้ ชาวอเมริกันยังได้รับคำเตือนทุกวันว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังจะถดถอย

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นในโลก ซึ่งมีทั้งที่ไม่อยู่นอกเหนือการคาดการณ์ เนื่องจากความเสี่ยงเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางอันขรุขระของการลงทุนในหุ้นอยู่แล้ว และสิ่งที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ เนื่องจากไม่มีใครจะบอกได้ว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ความจริงแล้ว การลงทุนในหุ้นจะให้ผลตอบแทนสูงในระยะยาวอย่างแน่นอน ทั้งนี้ก็เป็นผลมาจากการที่ราคาหุ้นมักจะเปลี่ยนแปลงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ในช่วงเวลาที่ผันผวนอย่างที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้นั่นเอง

นักลงทุนจึงควรขอบใจตลาดหมีมากกว่า เพราะหากไม่มีภาวะตลาดหมีเกิดขึ้น หุ้นก็คงจะให้ผลตอบแทนที่ต่ำเหมือนพันธบัตรเท่านั้น และแม้ว่าอาจทำใจได้ยาก ที่จะรู้สึกดี ในยามที่ตลาดกำลังปั่นป่วนอย่าง ทุกวันนี้และในยามที่ต้องมองดูเงินออมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหดตัวลงและมองเห็น ดัชนี S&P 500 ร่วงลง 13% จากจุดสูงสุดเมื่อเดือนตุลาคม รวมทั้ง Nasdaq ที่ร่วงลง 18% แต่อย่าลืมว่า เมื่อเกิดการเทขายหุ้นครั้งใหญ่ นั่นคือโอกาสที่หาได้ยากของการซื้อหุ้นราคาถูก ซึ่งรวมถึงครั้งนี้ด้วยเช่นกัน

นักลงทุนอาจจำเป็นต้องเพลาๆ ความกล้าลงบ้าง และเพิ่มความระมัดระวังเพื่อจะเลือกลงทุนในหุ้นที่ราคาถูกจริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่ราคาต่ำกว่าเมื่อ 1 ปีก่อนเท่านั้น เพราะขณะนี้มีหุ้นที่ราคาถูกแสนถูกอย่างแท้จริงจำนวนมาก โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่กำลังตกต่ำอย่างหนัก โดยสภาพของหุ้นเหล่านี้ เหมือนกับว่าได้ผ่านช่วงเวลาเศรษฐกิจถดถอยอย่างหนักไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น เวลานี้เป็นเวลาที่ดีในการที่จะคว้าหุ้นธนาคาร และบริษัทยาที่จ่ายปันผลสูง ขณะเดียวกันก็ควรเก็บเงินสดให้มากพอที่คุณจะกระโจนเข้าคว้าหุ้นที่ขณะนี้ราคายังสูงเกินไป ทันทีที่ราคาของ มันตก เช่นหุ้นในกลุ่ม tech sector ซึ่งคาดว่าราคาจะต้องตกลง ทั้งหมดนี้จึงเป็นเหตุผลว่า เหตุใดตลาดหมีจึงเป็นเหมือนของขวัญสำหรับนักลงทุนผู้ว่องไว

เพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจลงทุนอย่างฉลาด และสามารถทำ กำไรในสภาพตลาดที่กำลังปั่นป่วน อย่างทุกวันนี้ ก่อนอื่นควรเริ่มที่การ มองสภาพปัจจุบันก่อน แล้วจึงค่อย ดูว่ามีหุ้น พันธบัตร และกองทุนใด บ้างที่น่าซื้อในตอนนี้

สิ่งที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เห็นว่าอันตรายที่สุดในขณะนี้คือเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งหมายถึงการที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ตกลง 2 ไตรมาสติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่ถดถอยขนาดหนัก เพราะรัฐบาลสหรัฐฯ เร่งออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ของสหรัฐฯ ยังไม่มีสัญญาณใดๆ ของการถดถอยเลย GDP เพิ่มขึ้น 0.6% ในไตรมาส 4 หลังจากที่เติบโตถึง 4.9% ในไตรมาส 3 ซึ่งแสดงว่า ขณะนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่มีการหดตัวแต่อย่างใด การส่งออกก็เติบโต 13% เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนลง ส่วนตัวเลขการจ้างงานดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ ตัวเลขคนว่างงาน ซึ่งเป็นดัชนีชี้ภาวะ เศรษฐกิจถดถอยที่สำคัญตัวหนึ่ง เฉลี่ย 325,000 คนในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งต่ำกว่าจุดอันตรายอย่างมาก และไม่ได้เพิ่มขึ้นมากถึง 25% อย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจถดถอย 2 คราวก่อน

ปัจจัยที่กำลังฉุดดึงภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในขณะนี้คือ การใช้จ่ายของผู้บริโภคอ่อนตัว ราคาอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำและอัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้ทุกอย่างชะลอตัวตั้งแต่การซื้อรถไปจนถึงการสร้างธุรกิจใหม่ แต่ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่ฉุดรั้งฝั่งอุปสงค์ (demand) จะมีความเสี่ยงสูงสุดที่จะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้เพียงช่วง 2 ไตรมาสแรกหรือครึ่งปีแรกของปี 2008 นี้เท่านั้นและหากเกิด เศรษฐกิจถดถอยจริง ก็เชื่อว่าจะไม่รุนแรงและกินเวลาสั้น เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯ เอาจริงเอาจังกับปัญหานี้อย่างยิ่ง

โดยนับตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว Ben Bernanke ประธาน ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) ได้ลดเป้าหมายของอัตราดอกเบี้ย Fed funds rate ลง 2.25% และลดดอกเบี้ยครั้งใหญ่สุดถึง 0.75% เมื่อวันที่ 22 มกราคมปีนี้ รวมทั้งลดดอกเบี้ยลงอีก 0.5% ในวันที่ 30 เดือนเดียวกัน ทำให้อัตราดอกเบี้ย Fed funds rate ขณะนี้ อยู่ที่ 3%

ตามปกติแล้วจะต้องใช้เวลา 6-9 เดือน กว่าที่การลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed จะเห็นผลในการเพิ่มการใช้จ่ายของผู้บริโภคและธุรกิจ ดังนั้น ภายในกลางปีนี้สภาพคล่องก็จะเริ่มไหลเข้าสู่ตลาดในรูปของการปล่อยสินเชื่อใหม่ๆ ให้แก่บริษัทและผู้บริโภคจะเกิดการกลับมาของดอกเบี้ยถูกอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในทุกอย่างตั้งแต่ทีวีจอใหญ่ไปจนถึงการซื้อสินค้าทุน การใช้จ่ายของผู้บริโภคอเมริกันยังจะได้รับการกระตุ้นจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1 แสน 5 หมื่นล้านดอลลาร์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งจะคืนภาษีให้แก่ประชาชน ครอบครัวละ 1,000-2,000 ดอลลาร์ภายในกลางปีนี้เช่นกัน และ Fed ยังสัญญาว่าจะไม่หยุดลดดอกเบี้ยเพียงแค่นี้ ตลาดจึงคาดการณ์ว่า Fed funds rate จะลดลงเหลือ 2-2.5% ภายในสิ้นปีนี้และผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเอาจริงเอาจัง ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะกลับมาเติบโตที่ระดับ 3-3.5% ในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้

อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยต่ำอาจทำให้เกิดวิกฤติที่รุนแรงยิ่งกว่าและคือปัญหาที่แท้จริงมากกว่าเศรษฐกิจถดถอย นั่นคือปัญหาเงินเฟ้อ แต่ Fed กลับละเลยเรื่องเงินเฟ้อในแผนฟื้นเศรษฐกิจ รอบด้านของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ ปีที่แล้วดัชนีราคาผู้บริโภคในสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 4.1% ซึ่งมากที่สุดในรอบ 17 ปี เนื่องจากราคาน้ำมัน อาหาร และโลหะพุ่งสูง เมื่อบวกกับอัตราดอกเบี้ยต่ำและความต้องการบริโภคทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นแน่นอนว่าจะนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อ นักเศรษฐ-ศาสตร์คาดการณ์ว่า คงจะหลีกเลี่ยงเงินเฟ้อไม่พ้น โดยอันตรายที่แท้จริงจะเกิดขึ้นในปี 2009-2010 และเมื่อถึงเวลานั้น Fed คงจะถูก บีบให้ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อยับยั้งเงินเฟ้อ และผลก็คืออาจนำไปสู่เศรษฐกิจถดถอย

แม้ภาวะเศรษฐกิจจะไม่แน่นอน แต่ราคาหุ้นในสหรัฐฯ กลับยังคงแพงอยู่ โดยอัตรา ส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (price-earning ratio : P/E) ที่แท้จริงของหุ้นสหรัฐฯ ในขณะนี้ อยู่ที่ 24.5 เท่าของกำไร ซึ่งสูงกว่าระดับเฉลี่ย ระยะยาวซึ่งอยู่ที่เพียง 15 เท่า

ในฐานะนักลงทุน คุณจึงมีปัญหา 2 ข้อ สำหรับการลงทุนในตลาดที่กำลังปั่นป่วน อย่างทุกวันนี้ ข้อแรก คุณจะต้องเลือกหุ้นราคา ถูก ในขณะที่ต้องไม่ลืมว่าราคาเฉลี่ยของหุ้นทั้งหมดยังคงสูงอยู่มาก และยังมีโอกาสที่ราคา หุ้นจะตกลงได้อีกมาก ข้อสอง คุณจะต้องจัดพอร์ตลงทุนที่สามารถคุ้มครองคุณจากเงินเฟ้อ ได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องเก็บเงินสดไว้เพื่อจะซื้อได้ทันทีเมื่อเกิดการเทขายครั้งใหญ่ หากคุณ มีพอร์ตลงทุนที่มั่นคงและมีการกระจายความเสี่ยงอย่างดีอยู่แล้ว โดยมีการถือครองหุ้นขนาด ใหญ่ (large cap) อย่างหลากหลายทั้งหุ้นในสหรัฐฯ และนอกสหรัฐฯ หุ้นบริษัทขนาดเล็ก และหุ้นเน้นคุณค่า คุณก็อยู่ในฐานะที่สามารถจะยืนหยัด หรือแม้กระทั่งสามารถทำกำไรได้ในขณะที่ตลาดอยู่ในภาวะช็อก โดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรเลย แต่หากคุณกำลังเริ่มสร้างพอร์ต หรือติดอยู่ในกองทุนที่มีค่าใช้จ่ายสูง คำแนะนำต่อไปนี้อาจช่วยคุ้มครองเงินของคุณหรือกระทั่งช่วยให้คุณทำกำไรได้ในช่วงเวลา แห่งความผันผวนเช่นขณะนี้

ระวังค่าธรรมเนียม

ไม่ว่าตลาดจะดีหรือไม่ดี ความจริงอย่างหนึ่งคือ นักลงทุนที่เสียค่าธรรมเนียมสูงกว่า จะได้ผลตอบแทนที่แย่กว่านักลงทุนที่ซื้อเฉพาะกองทุนที่เสียค่าใช้จ่ายต่ำ ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า กองทุนรวมโดยทั่วไปเก็บค่าธรรมเนียมเฉลี่ย 2.5% (รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดคือค่าธรรม เนียมการขาย+ค่าบริหาร+ค่าใช้จ่ายในการซื้อขาย) ในขณะที่กองทุน ดัชนี (index fund) และกองทุน exchange-traded fund (ETF) ส่วนใหญ่เก็บค่าธรรมเนียมเพียง 1 หรือ 2 ส่วน 10 ของ 1% เท่านั้น ขณะที่ผลวิจัยยังชี้ว่า กองทุนดัชนีให้ผลตอบแทนดีเท่าๆ กับกองทุนรวมก่อนหักค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายของกองทุนจึงเป็นดัชนีชี้ผลตอบแทนของกองทุนที่ดีที่สุดอันหนึ่ง

สำหรับกองทุนดัชนีและ ETF มาในทุกรูปแบบ โดยครอบคลุม ทั้งหุ้นขนาดใหญ่และขนาดเล็ก หุ้นเน้นการเติบโตและเน้นคุณค่า หุ้นในและต่างประเทศ และหุ้นอื่นๆ ทุกรูปแบบ กองทุนดัชนีและ ETF ที่นิยมมากที่สุดคือ กองทุนที่ครอบคลุมหุ้นขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ทั้งหมด สำหรับกองทุน ETF ก็คล้ายกับกองทุนดัชนี เพียงแต่จะซื้อขายหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนมือได้อย่างเช่นหุ้น

เงินปันผลช่วยรองรับความเสี่ยง

การเทขายหุ้นครั้งใหญ่สร้างโอกาสที่หาได้ยาก ในการไล่ซื้อหุ้นบริษัทที่จ่ายปันผลงามมากชนิดที่เราไม่เคยเห็นกันมาหลายปีแล้ว เพราะหุ้นที่มีนโยบายจ่ายปันผลจะเพิ่มการจ่ายเงินปันผลเมื่อราคาต่ำลง ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในกลุ่มธุรกิจหลายกลุ่มในสหรัฐฯ รวมถึงภาคการเงิน อุตสาหกรรมยาและยาสูบ เงินปันผลยังเสียภาษีเพียง 15% ในสหรัฐฯ อย่างน้อยก็จนถึงปี 2010 เงินปันผลยังดีกว่าพันธบัตรซึ่งจ่ายดอกเบี้ย คงที่ เพราะเงินปันผลจะเติบโตตามกำไรของบริษัท ดังนั้น หุ้นที่จ่าย ปันผลจึงเป็นตัวป้องกันความเสี่ยงที่ดีในยามที่ราคาพุ่งสูง นอกจากนี้ บริษัทที่สามารถจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ ยังเป็นสัญญาณแสดงสุขภาพการเงินที่ดี เพราะแสดงว่าผู้บริหารเชื่อมั่นในอนาคตของบริษัท อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังคือ บริษัทที่จ่ายปันผลสูงผิดปกติก็อาจเป็น สัญญาณเตือนได้เหมือนกัน

หน้าที่ของนักลงทุนก็คือ ค้นหาบริษัทที่เข้มแข็งที่ยังไม่มีใครสน ซึ่งแสดงความมั่นใจว่า บริษัทจะมีผลกำไรงามที่สามารถคาดการณ์ได้ เพราะบริษัทเหล่านี้จะยังคงจ่ายเงินปันผลต่อไปและยังจะเพิ่มเงินปันผล ให้สูงขึ้นเรื่อยๆ บริษัทที่น่าสนใจในขณะนี้คือบริษัทยา ซึ่งจ่ายปันผล ประมาณ 4.5-มากกว่า 5% รองลงมาคือบริษัทสาธารณูปโภค ซึ่งแม้ราคาหุ้นจะแพงกว่า แต่บางบริษัทจ่ายปันผลมากกว่า 5% บริษัทสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่เชี่ยวชาญด้านการจัดจำหน่ายพลังงานและจ่ายปันผลงามเหล่านี้ยังเป็นบริษัทที่มีรายได้ที่แข็งแกร่ง เพราะรายได้ของบริษัทจะไม่ถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากมีการ กำหนดอัตรารายได้ที่บริษัทจะได้รับ วิธีลงทุนในหุ้นจ่ายปันผลที่ฉลาด คือกระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนผ่านกองทุน ETF และกองทุนดัชนี ซึ่งกระจายการลงทุนอย่างหลากหลายในหุ้นหลายๆ ตัว ที่เพิ่มการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ

ซื้อหุ้นที่ตกต่ำขนาดหนัก หากคุณกล้า

กลุ่มธุรกิจ 2 กลุ่มที่บาดเจ็บหนักที่สุดในตลาดสหรัฐฯ ขณะนี้ คือธนาคารและบริษัทสร้างบ้าน สำหรับหุ้นธนาคารที่น่าซื้อที่สุดตอนนี้ ไม่ใช่บรรดายักษ์ใหญ่ แต่เป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่มีความหลากหลาย สูง โดยมีผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่ครอบคลุมตั้งแต่บัตรเครดิตถึงบัญชี กระแสรายวัน ธนาคารประเภทหลังนี้ก็เจ็บตัวเช่นเดียวกัน จากปัญหา สินเชื่อด้อยคุณภาพในตลาด subprime แต่ช่วงเวลาเลวร้ายที่สุดของพวกเขาได้ผ่านพ้นไปแล้ว และการลดดอกเบี้ยของ Fed จะทำให้ ส่วนต่างกำไรในการปล่อยกู้ของธนาคารเหล่านี้เพิ่มขึ้น ราคาหุ้นของ ธนาคารที่น่าสนใจบางแห่งซื้อขายกันต่ำกว่า 12 เท่าของกำไรในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และจ่ายปันผลตั้งแต่เกือบ 4% ไปจนถึงมากกว่า 6%

และอย่าลืมว่า หุ้นมักจะทำ rebound ก่อนหน้าที่จะมีข่าวดีเกิดขึ้นในภาคธุรกิจที่ตกต่ำ ไม่ใช่หลังจากที่มีข่าวดีเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น เวลานี้จึงเป็นเวลาดีที่จะเริ่มสะสมหุ้นบริษัทสร้างบ้านที่กำลังบาดเจ็บ เพราะแม้ว่าจะเกิดปัญหาวุ่นวายขนาดไหนในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ แต่ชาวอเมริกันยังคงไม่หยุดซื้อบ้านในอนาคต และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ก็คือปัจจัยสำคัญในการพิจารณาลงทุนของนักลงทุน บริษัทที่น่าสนใจก็เช่นบริษัทที่เชี่ยวชาญตลาดบ้านสำหรับลูกค้ารายได้สูง ซึ่งพร้อมจะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์สูงสุดทันทีที่ตลาดฟื้นตัว และบริษัทที่มีนวัตกรรมเทคโนโลยีการสร้างบ้านสำหรับตลาด ขนาดใหญ่ที่มีภาระหนี้ต่ำ

มองหุ้นนอกสหรัฐฯ

หากต้องการเพิ่มผลตอบแทนการลงทุน แต่ไม่ต้องการเพิ่มความเสี่ยง คำตอบหนึ่งคือ เอียงพอร์ตลงทุนของคุณเข้าหาหุ้นนอกสหรัฐฯ แม้ว่ากว่าจะได้ผลตอบแทนอาจต้องใช้เวลาหลายปี ซึ่งเป็นเรื่องปกติของพอร์ตลงทุนที่มั่นคง ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หุ้นนอกสหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนดีกว่าหุ้นในสหรัฐฯ อย่างมาก หุ้นยุโรปราคาเพิ่มขึ้น 23% ต่อปีในปี 2006 และ 2007 ส่วนหุ้นในตลาดเกิดใหม่กระโดดขึ้น ไปถึง 35% ต่อปี อย่างไรก็ตาม ในปี 2008 นี้ หุ้นในตลาดนอกสหรัฐฯ ทั้งสองแห่งต่างต้องพบกับการปรับฐานครั้งใหญ่ เช่นเดียวกับหุ้นทั่วโลก แต่ดัชนีหุ้นขนาดใหญ่ทั่วโลกยังดูมีราคาถูก โดยมีค่า P/E ต่ำกว่า 14 เท่า ซึ่งต่ำกว่าในสหรัฐฯ หลายเท่า

อย่างไรก็ตาม หากต้องการสร้างความ หลากหลายในพอร์ตลงทุนของคุณด้วยการลงทุนในบริษัทนอกสหรัฐฯ ควรมองข้ามบริษัท ข้ามชาติยักษ์ใหญ่ และควรหันไปมองหุ้นที่อาจมีสภาพคล่องน้อยกว่า คือหุ้นขนาดเล็ก ที่เน้นยอดขายในตลาดท้องถิ่นนอกสหรัฐฯ ซึ่ง เป็นตลาดที่มีความแตกต่างจากสหรัฐฯ มาก เพราะตลาดเหล่านั้นมักรุ่งเรืองในยามที่ตลาด สหรัฐฯ มีปัญหา ผลดีที่จะได้ก็คือการลงทุน ในหุ้นในตลาดอื่นๆ นอกสหรัฐฯ และการเลือก ลงทุนในหุ้นที่เน้นคุณค่า จะสามารถเพิ่มผลตอบแทนให้แก่นักลงทุน โดยที่ไม่เพิ่มความผันผวน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำนักลงทุนในสหรัฐฯ ว่า อาจลงทุนในหุ้นนอกสหรัฐฯ ประมาณ 35% โดย 2 ใน 3 ลงทุนในหุ้นขนาดเล็กและหุ้นเน้นคุณค่า ผ่านกองทุนที่ลงทุนในหุ้นที่หลากหลาย ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 3 ให้นำไปลงทุนในกองทุน ETF ที่ลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ และกองทุนที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่

ระวังพันธบัตร

ปัญหาของพันธบัตรส่วนใหญ่คือ ให้ผลตอบแทนไม่พอชดเชยเงินเฟ้อ พันธบัตรอายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ขณะนี้ให้ผลตอบแทนเพียง 3.6% แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้ไม่แน่นอน นักลงทุนจึงยอมรับ ผลตอบแทนที่น้อยลงจากการลงทุนในพันธบัตร เพื่อแลกกับความปลอดภัยระยะสั้น ความจริงแล้วการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีผลตอบแทน คงที่นี้ มีเพียง 2 อย่างเท่านั้นที่น่าสนใจคือพันธบัตรคลังที่คุ้มครองเงินเฟ้อ หรือ TIP และพันธบัตรที่ออกโดยรัฐหรือทางการท้องถิ่นในสหรัฐฯ อย่าง เช่น พันธบัตรที่ออกโดยรัฐนิวยอร์กและแคลิฟอร์เนีย ซึ่งจ่ายดอกเบี้ยประมาณ 3.3% และได้รับยกเว้นภาษี ซึ่งเท่ากับเป็นพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนก่อนหักภาษีมากถึงเกือบ 5% ซึ่งสูงกว่าพันธบัตรคลังมากและเพื่อสร้างความหลากหลายให้พอร์ตลงทุนพันธบัตรของคุณ คุณจึงควรลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรที่หลากหลาย ซึ่งให้ผลตอบแทนพอๆ กัน และเสียค่าธรรมเนียมถูก

ส่วนพันธบัตรคลังแบบคุ้มครองเงินเฟ้อเป็นสิ่งจำเป็นในขณะนี้ เนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์เชื่อแน่ว่า เงินเฟ้อจะพุ่งสูงขึ้น เพราะ TIP เป็นการลงทุนเดียวในขณะนี้ที่คุ้มครองผลตอบแทนการลงทุนของคุณจากภาวะเงินเฟ้อ โดยราคาหน้าตั๋วของ TIP จะปรับทุก 6 เดือน เพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

สำหรับเงินสดที่เก็บที่ดีที่สุดคือบัตรเงินฝากหรือ CD เนื่องจากธนาคารในสหรัฐฯ ยังแข่งขันกันอย่างรุนแรงในการระดมเงิน โดยเฉพาะ ในขณะนี้ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวกำลังจะเพิ่มขึ้น คำแนะนำคือ ลงทุนใน CD ที่มีอายุ 6 เดือนหรือต่ำกว่า ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนประมาณ 4% หากดอกเบี้ยขึ้น คุณควรรีบเปลี่ยนเงินสดเป็น CD หรือพันธบัตรที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า

การจะเอาชนะช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนนี้ต้องอาศัยใจพอๆ กับการเล่นตามกฎ ต้องใช้ความกล้าเมื่อตลาดกำลังหลอมละลาย เพราะ นั่นคือคุณสมบัติของนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ เหมือนที่ Warren Buffett เคยกล่าวว่า "จงกลัวเมื่อคนอื่นๆ ละโมบ จงละโมบเมื่อคนอื่นๆ กลัว" และ ขณะนี้ถึงเวลาแล้วที่คุณควรจะละโมบ อย่างที่ Buffett บอกไว้ เพียงแต่ต้องให้แน่ใจว่า คุณไม่ได้ละโมบอย่างไม่เลือก

เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์ แปลและเรียบเรียง
ฟอร์จูน 18 กุมภาพันธ์ 2551   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us