Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2535
"สีชังขอเป็นโครงการตัวอย่าง…?"             
โดย วิลาวัณย์ วิวัฒนากันตัง
 


   
search resources

สีชังทองเทอร์มินัล จำกัด
จิระ รัตนะรัต




สีชังฯ เป็นร่องน้ำธรรมชาติชายฝั่งทะเลอ่าวไทยในระดับ 18 เมตรด้านเหนือจะเป็นที่ตั้งชุมชนเกาะสีชังที่ค่อนข้างแออัดส่วนกลางของเกาะเป็นแหล่งที่มีคนอาศัยน้อย ซึ่งแบ่งได้ 2 ส่วน คือที่ตั้งสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย ในบริเวณเดียวกับพระราชวังจุฑาธุชราชฐาน และอีกส่วนหนึ่งเป็นที่ของตระกูลหงส์ลดารมภ์ใช้เป็นที่เพาะปลูกเล็กน้อย และมีบริษัท พรเพ็ญประทานจำกัดระเบิดหินไปจำหน่าย โดยบริเวณใกล้เคียงนี้จะใช้สร้างท่าเรือ

การสร้างท่าเรือ สีชังฯ ได้ศึกษาและกำหนดแผนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีจริยา บรอคเคลแมน น้องสาวของจิระเป็นผู้สำรวจร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดโดยศึกษา 3 ขั้นตอน จากที่ สวล. กำหนดไว้แค่ 2 ขั้นตอนเท่านั้นได้แก่ บริเวณป่า กระแสน้ำ ปะการัง และศึกษาพิเศษในเรื่องโอกาสที่น้ำมันจะรั่วลงสู่ทะเล การกำจัดขยะ พร้อมวิธีการป้องกันและแก้ไข

การออกแบบโรงงานและกระบวนต่าง ๆ จะมีมาตรการนำสารมลพิษออกจากวัตถุดิบเสียก่อน จะมีการติดตามคุณภาพน้ำของโครงการ ทั้งระยะก่อสร้าง ซึ่งได้แก่น้ำเสียจากบ้านพักคนงาน สำนักงานในเขตก่อสร้าง ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียครบถ้วน และระยะดำเนินโครงการ ต้องเพิ่มเติมถังเก็บกักสารที่รั่วไหลพร้อมระบบท่อปิดเพื่อมิให้มีการรั่วไหลของสารลงสู่พื้นดินหรือทะเล

ให้มีมาตรการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำทะเลโดยทำงานร่วมกับสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล และศูนย์ฝึกนิสิตเกาะสีชัง จุฬาฯ พร้อมทั้งมีแผนติดตามคุณภาพอากาศตามวิธีที่ สวล. กำหนด และรายงานการศึกษาผลกระทบเช่น บริเวณเตาเผาขยะ ถังเก็บน้ำมัน หรือโรงเก็บวัตถุดิบ รวมไปถึงย่านชุมชนสีชัง

ด้านสาธารณูปโภค ให้มีระบบกำจัดของเสียทั้งจากน้ำมันและคาบน้ำมัน ระบบกำจัดขยะ และมีมาตรการสร้างความปลอดภัย

ส่วนการพัฒนาชุมชน เสนอตั้ง "โครงการสีชังทอง" มีเป้าหมายที่จะพัฒนาและรักษาคุณภาพชีวิตบนเกาะสีชัง

โดยกำหนดพื้นที่สีเขียวเป็นสถานที่พักผ่อน ให้สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย พนักงานทุกคนจะมีพื้นที่อยู่อาศัยไม่น้อยกว่า 10 ตารางเมตรต่อคนหรือเฉลี่ย 10 คนต่อไร่ จะร่วมปรับปรุง พัฒนาและยกระดับโรงเรียนที่มีอยู่ 3 แห่ง คือ ระดับอนุบาล ประถมหก และ ม.3 ให้มีการสอนถึงมัธยมอย่างสมบูรณ์และส่งเสริมช่างฝีมือให้เกิดขึ้น

จริยากล่าวว่าจากการทำแบบสอบถามนักเรียน 75 คนจาก 82 คน ต้องการเรียนวิชาชีพเพื่อทำงานกับสีชังฯ เมื่อเรียนจบ ขณะเดียวกัน จะลดการจับปลาบริเวณเกาะที่นับวันปลาจะน้อยลง และพัฒนาคนที่มีความรู้เครื่องยนต์ให้เป็นช่างของโครงการต่อไป

นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะอนุรักษ์โบราณสถานบนเกาะ คือ พระราชวังจุฑาธุชราชฐานเกาะสีชังซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นพระราชฐานส่วนพระองค์โดยทางสีชังฯ ได้ยื่นจดหมายต่อกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2533 ที่จะเป็นผู้ร่วมบูรณะ โดยออกทุนเริ่มแรก 5 ล้านบาทใช้จัดตั้งกองทุนมูลนิธิฟื้นฟูพระอุโบสถและหามาตรการพิทักษ์รักษาให้อยู่ในสภาพดี และจะเปิดให้คนทั่วไปเข้าชมได้

สีชังฯ ยังได้เสนอตัวขอเป็นผู้ร่วมอนุรักษ์โบราณคดีใต้น้ำ เนื่องจากเกาะสีชังอยู่ในเส้นทางเดินเรือตั้งแต่สมัยอยุธยา และมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่ามีเรือสินค้าอับปางบริเวณเกาะโดยเฉพาะรอบเรือโบราณ ซึ่งเป็นหลักฐานบ่งชี้ประวัติศาสตร์ด้านคมนาคม ค้าขาย ชีวิตความเป็นอยู่ จึงกำหนดที่จะแสดงสิ่งเหล่านี้ในรูปของ "พิพิธภัณฑ์" ด้วยการตั้งมูลนิธิเพื่อพัฒนาส่วนนี้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ จิระได้ทำบันทึกความเข้าใจในข้อตกลงกับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่าในหลักการสำคัญว่า สีชังฯ จะไม่ขยายโครงการเกินขีดความสามารถการขยายตัวของชุมชนเกาะสีชัง จนชุมชนขยายตัวมากเกินไปและกระทบต่อสังคมเกาะสีชังในด้านลบ

จริยาและจิระกล่าวว่า เป็นการถือปรัชญา "ป้องกันดีกว่าจะมาแก้ไขทีหลัง" เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเมื่อเสียไปแล้วยากที่จะแก้ไข

อีกประการหนึ่ง นักธุรกิจควรจะลงทุนในด้านต้นทุนสิ่งแวดล้อมและสังคมไปด้วย

นโยบายการบริหารสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ศิลปกรรมที่สีชังฯ ทำไว้ จึงเป็นความภูมิใจอย่างเงียบ ๆ ดังที่จริยาเล่าว่า "มีหลายคนชมว่าทำดี ลงทุนเงินไปหลายล้าน"

จิระหวังว่าการเริ่มต้นอย่างถูกต้องจะเป็นการช่วยให้โครงการเดินไปอย่างราบรื่น แต่วันนี้คงได้คำตอบแล้วว่า "ยังคงไม่ใช่"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us