Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2535
"ผู้อยู่เบื้องหน้าบัญชา ล่ำซำ"             
โดย ภัชราพร ช้างแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
บัญชา ล่ำซำ
บุญส่ง ชัยกิตติศิลป์
Banking and Finance
ธนาคารกสิกรไทย




ชายคนนี้อยู่ในวัยชราแล้ว แม้ตัวเลขอายุจะเลยวัยเกษียณไม่มาก แต่สุขภาพร่างกายทรุดโทรมเกินกว่าวัย สาเหตุมีประการเดียวคือการโหมทำงานหนักมาตลอดชีวิต แต่ผลงานที่ทุ่มเทชีวิตสร้างไว้ในแผ่นดินเป็นสิ่งที่วงการธนาคารจะไม่ลืมเลือน โดยเฉพาะพนักงานแบงก์รวงข้าว

บัญชา ล่ำซำปีนี้อายุ 68 เป็นโรคกระเพาะมาแต่หนุ่ม ระยะหลังทยอยตัดกระเพาะไปเรื่อย ๆ เมื่อเป็นมะเร็งที่กระเพาะ ตัดหมดไปเมื่อประมาณ 2 ปีแล้วใช้เครื่องช่วย

ว่าในด้านร่างกายทรุดโทรมเพราะโรคภัยไข้เจ็บ แต่ในด้านจิตใจนั้น เขาเป็นคนเข้มแข็งเด็ดขาดมาแต่ไหนแต่ไร และด้านกลยุทธ์ดารบริหารงานและบริหารคนนั้นเขาก็เป็นเลิศ

บัญชาจะมีสูตร ๆ หนึ่งใช้สำหรับการป้องกันแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในกลุ่มตระกูลซึ่งหลายคนเป็นผู้ถือหุ้นแบงก์กสิกรฯ รายใหญ่

สูตรที่ว่าคือบัญชาจะให้กรรมการผู้ถือหุ้นอาวุโสท่านหนึ่งชื่อบุญส่ง ชัยกิตติศิลป์เป็นผู้เสนอเรื่องราวต่าง ๆ ที่บัญชาต้องการให้มีการตัดสินพิจารณาในที่ประชุม หรือให้ผู้อาวุโสท่านนี้เป็นคนไกล่เกลี่ยประนีประนอม

ในการแต่งตั้งบัณฑูรครั้งนี้ บัญชาก็ใช้กลยุทธ์เดิมคือให้บุญส่งเอ่ยปากเสนอ

ความสัมพันธ์ของบัญชาและบุญส่งแนบแน่น เมื่อมีปัญหาอะไรใหญ่ ๆ บัญชาต้องให้บุญส่งช่วยอยู่เสมอ ไม่ว่าในการแต่งตั้งหรืออะไรต่าง ๆ เพราะในการประชุมกรรมการนั้นต้องใช้ฐานสนับสนุนมาก ต้องหาคนที่มีอาวุโสเป็นคนที่ผู้อื่นเชื่อถือ

บัญชาเองให้ความเคารพนับถือบุญส่งมาก ขณะที่ตัวเขาก็เป็นผู้ที่มีอาวุโสที่สุดในกลุ่มตระกูลเวลานี้ ธรรมเนียมการเคารพผู้อาวุโสของตระกูลล่ำซำทำให้ลูกพี่ลูกน้องทั้งหลายปฏิบัติตาม

แต่ว่าโดยเฉพาะตัวบุญส่งก็เป็นคนที่มีฝีไม้ลายมือน่าเคารพยำเกรงอยู่ไม่น้อย เขาเป็นคนใจเย็น พูดจามีเหตุผล พูดให้คนยอมรับได้ทุกฝ่าย แก้ปัญหาเก่งและวางแผนได้นิ่มนวลอย่างหาตัวจับยาก

ไม่เฉพาะกรรมการแบงก์กสิกรไทยเท่านั้นที่ให้การยอมรับนักการเมืองรุ่นเก่าและนายธนาคารอาวุโสอื่น ๆ ก็ยำเกรงกันอยู่ไม่น้อย

ชาตรี โสภณพนิชและอุเทน เตชะไพบูลย์ต่างรู้จักเขาเป็นอย่างดี!

บุญส่งเป็นผู้บุกเบิกแบงก์รวงข้าวรุ่นเดียวกับโชติ ล่ำซำพ่อของบัญชาสมัยก่อนกสิกรไทยมีเงินฝากไม่กี่สิบล้านบาท กรรมการแบงก์ต้องช่วยกันหาเงินฝากมาเข้าแบงก์ เฉพาะตัวบุญส่งนั้นว่ากันว่าสามารถหาได้ถึง 6 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นจำนวนที่มากอยู่ไม่น้อยในยุคแรก ๆ ของแบงก์

บุญส่งเป็นจีนแคระเหมือนตระกูลล่ำซำ

เป็นกรรมการฯ มาจนกรรมการรุ่นเดียวกันล้มหายตายจากไปหมด เขาก็ยังนั่งอยู่ที่เดิม

หากจะถือว่าเขาเป็นผู้ถือหุ้นอาวุโสที่สุดของแบงก์กสิกรไทยในเวลานี้ก็ไม่ผิดนัก ในแง่ของตัวบุคคลนั้นบุญส่งถือหุ้นแบงก์ฯ เป็นอันดับ 1 หรือ 2 !!

พื้นเพเดิมของบุญส่งน่าจะมีเทือกเถาอยู่ที่นครสวรรค์ แต่เขาก็เข้ามาทำธุรกิจค้าขายจนเติบใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ปัจจุบันมีอายุประมาณ 75 ปี

ธุรกิจที่บุญส่งจับทำเป็นชิ้นแรก ๆ คือการค้าน้ำตาลทราย

บุญส่งร่วมกับคนในกลุ่มตระกูลและผู้รู้จักมักคุ้นก่อตั้งบริษัทวีณาขึ้นในปี 2495 มีทุนจดทะเบียน 500,000 บาท ระยะแรกดำเนินการค้าน้ำตาลทรายเป็นหลัก เผชิญกับภาวะการค้าที่ผันผวนขึ้นลงมาตลอดเวลา จนในปี 2506 จึงเริ่มมีการส่งน้ำตาลดิบออกไปจำหน่ายในต่างประเทศด้วย และมีภาวะการค้าที่ดีขึ้นมาก

ว่ากันว่าบริษัทวีณาเป็นผู้ผูกขาดจำหน่ายน้ำตาลให้องค์การรัฐวิสาหกิจด้วยในยุคหนึ่งเพราะเหตุที่บุญส่งเป็นคนทำอะไรได้ดีมาก ๆ

ปัจจุบันบริษัทวีณาก็ยังทำธุรกิจน้ำตาลอยู่ แต่ไม่มีการผูกขาด บุญส่งไม่ได้ดูแลกิจการนี้แล้ว มีลูกหลานรับช่วงดูแล แต่ดูเหมือนกิจการจะไม่คึกคักเหมือนเมื่อก่อน

งบดุลเมื่อสิ้นปี 2533 มีสินทรัพย์ 1.36 ล้านบาท รายได้ 23.97 ล้านบาท และขาดทุนสะสม 40,017 บาท

เทียบกับบริษัทวีณา อินเตอร์เนชั่นแนลที่ก่อตั้งเมื่อปี 2517 เป็นบริษัทนำเข้า-ส่งออกสินค้าเคมี สินค้าเกษตร มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ดูเหมือนบริษัทนี้จะมีรายได้ดีและมีกิจกรรมคึกคักกว่ามาก

วีณาอินเตอร์ฯ มีสินทรัพย์เมื่อสิ้นปี 2533 รวม 9.17 ล้านบาท รายได้ 22.14 ล้านบาท และกำไรสะสม 4.29 ล้านบาท

ว่ากันจริง ๆ ลูกหลานส่วนมากของตระกูลนี้สนใจทำราชการมากกว่าทำธุรกิจ หลานหลายคนรับราชการเป็นอัยการ หมอ เภสัชฯ

บุญส่งมีหลานสาวคนหนึ่งทำงานที่ธนาคารกสิกรไทยด้วย ชื่อ อมรา วามะสุรีย์ เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาที่สะพานเหลือง ส่วนหลานเขยเป็นผู้จัดการสาขาที่พัฒน์พงศ์ชื่อวัชรินทร์ วามะสุรีย์

บุญส่งวันนี้ดูเหมือนจะวางมือจากธุรกิจต่าง ๆ โดยสิ้นเชิง เพราะอายุมากและมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน อ่อนเพลียง่าย แต่เขาก็มาประชุมสำคัญ ๆ ของธนาคารไม่ได้ขาดถึงขนาดต้องนั่งรถเข็นมาก็ตาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us