Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 กุมภาพันธ์ 2551
AREAวิตกคลื่นร้อนการเมืองไทยกระทบอสังหาฯแรงกว่าซับไพรม์             
 


   
search resources

โสภณ พรโชคชัย
Real Estate




เอเจนซี่ฯ ชี้ปัญหาซับไพรม์สหรัฐฯอาจไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อตลาดอสังหาฯไทย ตัวเลขทางการสหรัฐฯระบุชัด ราคาที่อยู่อาศัยสิ้นปี 50 ลบเพียง0.3%เตือนควรวิตกปัญหาการเมืองของไทย สถานการณ์ไม่นิ่ง โครงการลงทุนระบบสาธารณูปโภคล่าช้ามาก

นาย โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการ ศูนย์ข้อมูล วิจัยและประเมินค่าทรัพย์สิน บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) ในฐานะที่เป็นผู้ศึกษาภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์จากฐานข้อมูลภาคสนามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เปิดเผยถึงข้อวิตกกังวลกันว่า ปัญหาซับไพรม์ (sub-prime) หรือสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีหลักเกณฑ์การพิจารณาด้อยกว่ามาตรฐาน จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อตลาดอสังหาฯในประเทศไทยว่า จากการเปิดเผยข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา ของสำนักงานติดตามวิสาหกิจที่อยู่อาศัยของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา (Offie of Federal Housing Enterprise Oversight) สรุปผลการศึกษาราคาที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ ณ สิ้นไตรมาสที่ 4 พบว่า ราคาที่อยู่อาศัย ณ สิ้นปี 2550 ลดต่ำกว่าราคา ณ สิ้นปี 2549 อยู่เพียง -0.3% เท่านั้น ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯในรอบปีที่ผ่านมาคือ -4.3% แสดงว่าราคาบ้านที่แท้จริงลดลงไป -4.6% การลดลงของราคาบ้านในสหรัฐฯ เพิ่งแสดงให้เห็นชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 3 และที่ 4 ของปี 2550 ขณะที่ในปี 2549 ราคาบ้านยังเพิ่มขึ้น 4.1% และในช่วงปี 2545-2548 ราคาบ้านเพิ่มขึ้น 7.6% - 9.6% ต่อปี

พื้นที่ที่ราคาตกต่ำที่สุดมักเป็นพื้นที่ที่เคยขึ้นราคาสูงมากในช่วงก่อน โดยเฉพาะบริเวณของเมืองในมลรัฐที่อยู่ติดชายทะเลทั้งหลาย ในจำนวน 50 รัฐ มี 39 รัฐที่ราคายังเพิ่มขึ้น และ 11 รัฐที่ราคาลดลง ซึ่งแสดงนัยว่า สถานการณ์ไม่ได้ย่ำแย่หรือวิกฤติเช่นที่มีผู้วาดหวังไว้ ยิ่งกว่านั้น ยังมีอยู่ 9 รัฐที่ราคาเพิ่มขึ้นมากกว่า 5% ในรอบปีที่ผ่านมา (ยูทา 9.27%, ไวโอมิง 8.27% นอร์ทดาโกตา 7.87% เป็นต้น) และมีเพียง 2 รัฐที่ราคาลดต่ำเกินกว่า 5% ต่อปี (ได้แก่รัฐเนวาดา -5.86% และ แคลิฟอร์เนีย -6.65%)

สำหรับเมืองที่แย่ที่สุดคือ เมอร์เซ็ดในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งราคาลดลงถึง -19% ในรอบ 1 ปี เมือง 20 เมืองที่ราคาบ้านลดลงมากเป็นพิเศษ (ระหว่าง -7.79% ถึง -19%) ส่วนใหญ่อยู่มลรัฐแคลิฟอร์เนียและฟลอริดา เป็นสำคัญ นี่แสดงว่าในพื้นที่ ๆ มีการเก็งกำไรมากเป็นพิเศษ ราคาจะแกว่งแบบตกต่ำลงมากเป็นพิเศษนั่นเอง

การเมืองในไทยน่ากลัวกว่าซับไพรม์

นายโสภณ กล่าวว่าสิ่งที่ควรวิตกและเป็นปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อตลาดอสังหาฯในไทยนั้น จะเป็นประเด็นในเรื่องการเมือง ที่ยังไม่นิ่งมากนัก ทำให้นักลงทุนชะงักงัน และการพัฒนาสาธารณูปโภคที่จำเป็นต้องดำเนินการเพราะล่าช้าไปมาก รวมทั้งการบังคับการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น กฎหมายเอสโครว์ และอื่น ๆ เพื่อให้ตลาดที่อยู่อาศัยมีความมั่นคงสำหรับผู้ซื้อและนักลงทุน ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่น และทำให้เกิดการซื้อขายทรัพย์สินมากขึ้น สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในอีกด้านหนึ่งด้วย

" การที่คาดว่า วิกฤติสหรัฐอเมริกาจะกระทบต่อไทย จึงอาจเป็นการคาดการณ์ที่ผิดพลาด ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เนื่องจาก ที่อยู่อาศัยของไทยเป็นอสังหาฯที่ใช้สอยภายในประเทศ ไม่ใช่สินค้าเพื่อการลงทุนของนักลงทุนข้ามชาติ ภาวะการณ์ในสหรัฐฯยังไม่อาจถือว่าเป็นวิกฤติ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ได้ตกต่ำหนัก แต่เป็นเฉพาะในภาคที่อยู่อาศัยที่ราคาขึ้นมาอย่างยาวนานเกินไป และเมื่อพิจารณาวิกฤเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในไทย ปี 2540-2542 ราคาที่อยู่อาศัยลดลงจริงเพียง 20-25% เท่านั้น ยกเว้นราคาเรียกขายหรือราคาเก็งกำไรอาจลดลงประมาณครึ่งหนึ่งได้ ดังนั้นโอกาสที่ตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐฯที่มีการป้องกันความเสี่ยงดีกว่า ย่อมเกิดความเสียหายในวงจำกัด และประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจำกัดไปด้วย"นายโสภณกล่าวและว่าผู้ซื้อบ้าน นักลงทุน นักพัฒนาที่ดิน นักการธนาคาร ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง และภาคส่วนอื่น ๆ จึงไม่ควรวิตกในเรื่องนี้เกินไปนัก ยกเว้นผู้ที่ได้สร้างความผิดพลาดด้วยการไปลงทุนในสินเชื่อซับไพรม์ไว้เท่านั้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us