Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 กุมภาพันธ์ 2551
เอกชนหนุนยกระดับตลาดทุน"ขุนคลัง"ชูเสาหลักพัฒนาศก.             
 


   
search resources

Investment




ขุนคลัง โปรยยาหอม ตลาดทุนไทยหัวใจในการพัฒนาประเทศ ชูการเชื่อมต่อรัฐบาลในระดับนโยบาย รวมถึงเชื่อมต่อสาธารณะเป็นเรื่องจำเป็น ตอบรับเร่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุน "บรรยง" กระทุ้งต้องก้าวให้ทันตลาดทุนโลก ขณะที่"ไพบูลย์" ชี้ตลาดหุ้นไทยโตแค่ 32% ส่วนตลาดหุ้นเอเชียโตเกือบ 800% ในช่วงเวลาแค่ 13 ปี ด้านก.ล.ต.วอนรัฐออกกฎปกป้องพนักงาน ส่วน "สันติ" หวังรัฐออกกฎให้บริษัทนอกต้องจดทะเบียนในตลาดก่อนมีสิทธิลงทุน

วานนี้ (27 ก.พ.) น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้แสดงปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาเรื่อง "ตลาดทุนไทย...ใครผ่าตัด" ว่า ตลาดทุนมีบทบาทและความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เห็นได้จากหลายประเทศทั่วโลกต่างพึ่งพิงการพัฒนาระบบเศรษฐกิจจากภาคตลาดทุน ซึ่งถือเป็นแหล่งออมเงินของประชาชนและเป็นช่องทางในการลงทุนของนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ

สำหรับองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่สำคัญประกอบด้วย 1. ความรู้ ความเข้าใจ ต่อสถานการณ์ต่างๆ ของผู้ที่คลุกคลีอยู่ในวงการ เพื่อสรุปเป็นแผนแม่บทที่จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตลาดทุน 2. การเชื่อมต่อ ในระดับนโยบายทั้งเชื่อมต่อรัฐมนตรีในกระทรวงที่มีความเกี่ยวข้อง รวมถึงการเชื่อมต่อในระดับรัฐบาลเพื่อให้เป็นการขับเคลื่อนอย่างเต็มรูปแบบ และ 3. การเชื่อมต่อในระดับสาธารณะ เนื่องจากปัจจุบันประชาชนยังมีทั้งกลุ่มที่เข้าใจในเรื่องการลงทุนไม่กลุ่มที่ยังไม่เข้าใจเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากทำให้ประชาชนเข้าใจมากขึ้นจะช่วยให้การพัฒนาทำได้อย่างมีระบบมากขึ้น

นอกจากนี้ การจัดตั้งองค์กร หรือคณะทำงานในเรื่องต่างๆ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เช่น คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุน ซึ่งในหลักการเป็นเรื่องที่น่าสนใจ โดยคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาอีกระยะในการจัดตั้ง ขณะที่การปรับโครงสร้างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงก็เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาอย่างจริงจัง รวมทั้งการเร่งพัฒนาด้านการซื้อขายในตลาดตราสารหนี้ และการสร้างประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการซื้อขายหลักทรัพย์ และการกำกับดูแลไม่ให้เกิดการปั่นหุ้น เป็นต้น

"เราต้องหมุนและเคลื่อนที่ให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในโลก เรื่องใดที่ยังทำให้เกิดข้อจำกัดจะต้องเร่งพิจารณาเพื่อปลดล็อก ขณะที่เรื่องใดที่สามารถจัดการได้ก็ต้องยิ่งเร่งดำเนินการในทันที" น.พ.สุรพงษ์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ตลาดทุนไทยโดยเฉพาะในส่วนของตลาดหุ้นซึ่งยังถือว่าขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค สะท้อนได้จากมูลค่าการซื้อขายที่น้อยมากโดยเฉลี่ยซื้อขายต่อวันเพียง 500 ล้านดอลลาร์ต่อวัน ขณะที่มาเลเซีย 700 ล้านดอลลาร์ต่อวัน และสิงคโปร์ 1,500 ล้านดอลลาร์ต่อวัน

ตลาดทุนหัวใจขับเคลื่อนศก.

นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความสำคัญของตลาดทุนไทยต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ว่า จากปัญหาในอดีตที่ผ่านมาสะท้อนได้อย่างชัดเจนว่า ตลาดทุนมีส่วนสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งระดมทุนให้กับเอกชน ขณะที่ตลาดเงินแม้ว่าจะสามารถเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาไม่ให้ลุกลามได้ แต่สุดท้ายต้องมาใช้กลไกตลาดทุนในการแก้ไข

ทั้งนี้ ยอดการระดมทุนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาสูงกว่าการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินถึง 1.8 เท่า โดยหากย้อน 18 ปีที่ผ่านมามียอดการระดมทุนมากถึง 4.6 ล้านล้านบาท ซึ่งหากไม่มีการพัฒนาตลาดทุนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลก สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ต้นทุนของทรัพยากรต่างๆจะยังคงอยู่ในระดับสูง ศักยภาพในการแข่งขันในเชิงธุรกิจก็จะลดลง ขณะที่ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ควบคุมก็จะมีปัญหาไปด้วย เป็นต้น

"ตลาดทุนถือว่าเป็นหัวใจของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมโลกาภิวัฒน์ จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของทุกประเทศ ซึ่งประเทศใดให้ความสำคัญต่อการพัฒนาตลาดทุนก็จะสะท้อนถึงการเติบโตของระบบเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ" นายบรรยง กล่าว

ตลาดหุ้นไทย 13 ปีโตแค่ 32%

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ขนาดของตลาดหุ้นไทยเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาค ถือได้ว่าเป็นตลาดหุ้นที่เกือบเล็กที่สุด โดยหากเทียบการเติบจากปี 1995 ซึ่งมีมาร์เกตแคปอยู่ที่ 1.4 แสนล้านดอลลาร์ ขณะที่ตลาดทุนในเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นมีมาร์เกตแคป 1.3 ล้านดอลลาร์ โดยอัตราการเติบโตเมื่อเทียบกับปัจจุบันซึ่งมาร์เกตแคปตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 1.85 แสนล้านดอลลาร์ เติบโต 32% ขณะที่มาร์เกตแคปตลาดหุ้นเอเชียรวมอยู่ที่ 11.72 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเติบโตเกือบ 800%

นอกจากนี้ หากพิจารณาจากน้ำหนักการลงทุนในดัชนี MSCI จะพบว่าเมื่อปี 1995 น้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับ 10.7% ขณะที่ปัจจุบันลดลงเหลือเพียง 1.6% ซึ่งเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นจีนที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาปัจจุบันน้ำหนักการลงทุนในดัชนีดังกล่าวสูงถึง 33%

ทั้งนี้ สาเหตุหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้บทบาทของตลาดหุ้นไทยลดลงเมื่อเทียบกับหลายๆประเทศในภูมิภาค เนื่องจากหากพิจารณาแยกบริษัทจดทะเบียนตามขนาดมาร์เก็ตแคป จะพบว่ามีเพียงไม่ถึง 40 บริษัทที่นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนได้ ขณะที่มีถึง 377 บริษัทที่ไม่ถือว่าอยู่ในกลุ่มที่ลดลงได้เนื่องจากมีขนาดเล็กจนเกินไปหรืออาจจะมีสภาพคล่องที่ต่ำเกินกว่าเกณฑ์

ก.ล.ต.วอนดูแลพนักงาน

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า จากการที่ก.ล.ต.มีหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำทุจริตของบริษัทจดทะเบียนจึงอยากให้รัฐบาลมีการออกกฎหมายที่คุ้มครองเจ้าหน้าที่ดูแลในการดำเนินการตรวจสอบทุจริตมากกว่านี้ เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพบว่าบริษัทจดทะเบียนมีการกระทำทุจริตและได้มีการส่งให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และทาง DSI พิจารณาเห็นว่ามีความผิดจริงจากนั้นมีการส่งฟ้องให้ศาลแต่ศาลพิจารณาไม่มีความผิด บริษัทนั้นก็มีการฟ้องคดีอาญาแก่เจ้าหน้าที่ของก.ล.ต.

ทั้งนี้ ก.ล.ต.ต้องการให้รัฐบาลออกกฎในเรื่องการฟ้องเจ้าหน้าที่นั้นไม่ควรที่จะให้มีการฟ้องโดยตรงต่อศาล แต่ควรที่จะต้องฟ้องแก่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) และปปช.ควรที่จะต้องหาทีมงานขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้ จึงอยากให้รมว.คลังมีการพิจารณาเรื่องนี้ โดยขณะนี้ก.ล.ต.ได้มีการติดตามดูและในเรื่องการทุจริตของบริษัทจดทะเบียนมากขึ้น เช่น การไซฟ่อนเงินออกจากบริษัทอย่างต่อเนื่องซึ่งขณะนี้ได้มีการติดตามดูในเรื่องงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนอยู่ 50-60 บริษัท ทุกไตรมาส ซึ่งหากพบว่ามีความผิดปกติก.ล.ต.ก็จะมีการสอบถามไปยังบริษัท

เสนอตั้งเงื่อนไขก่อนลงทุน

นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ ประธานและบรรณาธิการ วารสารการเงินธนาคาร กล่าวว่า ตลอด 31 ปีของตลาดหุ้นไทยไม่มีบริษัทข้ามชาติเข้ามาจดทะเบียน ทั้งที่ประเทศไทยมีบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่จำนวนเข้ามาลงทุนจำนวนมาก ซึ่งเรื่องดังกล่าวรัฐบาลควรที่จะกำหนดเงื่อนไขบางอย่าง เช่น เมื่อบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทยควรจะให้ต้องนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย เพื่อคืนกำไรให้กับประเทศไทย ไม่ใช่แต่เข้ามาเพื่อรับประโยชน์ทางภาษีจากการขอรับสิทธิส่งเสริมการลงทุนเพียงอย่างเดียว

ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจนั้นก็ไม่เข้ามาเทรดในตลาดหุ้นไทยเนื่องจากที่ไม่มีความรู้ในเรื่องการใช้ตลาดทุนเป็นแหล่งระดมทุน ซึ่งจากที่ได้มีการไปจัดงานมหกรรมการเงินได้มีการพบกับผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่ถึง 10,000 ล้านบาท ซึ่งไม่สนใจที่จะเข้ามาจดทะเบียนเพราะ ไม่มีความรู้เรื่องดังกล่าว โดยเรื่องดังกล่าวถือว่าเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ที่จะต้องมีการดำเนินการให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของตลาดทุน

"ตลท.จัดตั้งมา31ปี แต่ไม่มีการเติบโตน้อยมาก นักลงทุนมีเพียง 5-6 แสนคน ขณะที่ซื้อขายแอกทีฟเพียง1-2 แสนคน สาเหตุเป็นเพราะนักลงทุนยังไม่รู้จักตลาดทุน นอกจากนี้บริษัทใหญ่เข้ามาจดทะเบียนน้อย และไม่มีบริษัทเข้าชาติเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นเลยแม้เราจะเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ของค่ายรถยนต์ทุกค่ายจึงทำให้ความน่าสนใจน้อยลง"นายสันติกล่าว

จี้รัฐวิสาหกิจระดมทุน

นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหารบล.เอเชียพลัส จำกัด (มหาชน)หรือ ASPกล่าวว่า การให้สิทธิประโยชน์ภาษีแก่บริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะขณะนี้มีบริษัทขนาดเล็กจำนวนมากที่ไม่ได้จดทะเบียนซึ่งหากเข้ามาจดทะเบียนภาครัฐก็จะได้ประโยชน์จากการจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น และจะสะท้อนถึงความโปร่งใสในบริษัทดังกล่าวเนื่องจากต้องมีการจัดทำบัญชีที่มีมาตรฐาน

ส่วนบริษัทรัฐวิสาหกิจนั้นก็ควรที่จะมีการปรับปรุงสิทธิภาพการบริหารงานโดยการเข้ามาระดมทุน ซึ่งรัฐวิสาหกิจนั้นถือว่าเป็นทรัพย์สินของประชาชน ทุกคนควรที่จะมีสิทธิในการรับรู้ข้อมูล ซึ่งหากไม่เข้ามาจดทะเบียนก็จะมีการตรวจสอบที่ลำบากซึ่งหากมีการบริหารไม่ดี

เชียร์ซื้อหุ้นกระจายความเสี่ยง

นายสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.)วรรณ จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในกองทุนในปี2550นั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น 27%หรือ ประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นเพราะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ คือได้ประโยชน์ทางภาษีต่างๆ จึง ให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในกองทุนมากขึ้น ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาการลงทุนในหุ้นนั้นให้ผลตอบแทน 13% ผลตอบแทนจากการฝากเงิน3% และผลตอบแทนตราสารหนี้ 5.7% ซึ่งแม้ตลาดหุ้นจะมีความผันผวนบ้างแต่นักลงทุนก็ควรที่จะเข้ามาลงทุนเพื่อเป็นการกระจายการลงทุน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us