Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2535
"การสร้าง MARKET POWER ให้กับนักลงทุน"             
 


   
search resources

Investment




ความพ่ายแพ้ของระบบสังคมนิยมและการล่มสลายของระบบ CENTRAL PLANNING ทำให้ทิศทางการเติบโตของระบบเศรษฐกิจโลก กำลังจะเคลื่อนที่เข้าสู่กลไกของระบบทุนนิยมมากขึ้น ส่งผลให้การเคลื่อนที่ของทุนมีความคล่องตัวไหลไปตามอุปสงค์และอุปทานที่เกิดขึ้นจริง

หมายความว่านับแต่นี้ไป โลกทั้งโลกกำลังจะกลายเป็นหนึ่งเดียว การเชื่อมต่อกันของสิ่งของต่าง ๆ จะเป็นไปอย่างรวดเร็วการเปลี่ยนแปลงของที่หนึ่งย่อมส่งผลกระทบไปยังอีกที่หนึ่งโดยใช้เวลาไม่นานนัก หรืออาจจะเพียงเสี้ยวนาทีหนึ่งด้วยซ้ำไป

เมื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดการเงิน (FINANCIAL MARKET) ในช่วงทศวรรษ 90 เกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากการเติบโตของระบบเศรษฐกิจโลก ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีของระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงการใช้นโยบายผ่อนปรน (DEREGULATION) แก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เคยเป็นอุปสรรคต่อตลาดการเงินสิ่งเหล่านี้นับได้ว่าเป็นกระแสการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ และจะต้องส่งผลกระทบมาถึงตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศต่าง ๆ ในที่สุด

การตอบสนองต่อความก้าวหน้าของตลาดเงินจากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ได้ก่อให้เกิด "นวัตกรรมทางการเงินใหม่" (FINANCIAL INNOVATION) ซึ่งเป็นเทคนิคทางการเงินที่คิดค้นขึ้นมาในต่างประเทศ อาทิ การเกิด DERIVATIVE SECURITIES อย่าง FUTURES, OPTIONS หรือ ASSET-BACKED SECURITIES และการเกิดกิจกรรม เช่น MERGER&ACQUISTIONS, SWAP และARBITRAGE เป็นต้น สิ่งเหล่านี้นับได้ว่าเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ และมีความยุ่งยากซับซ้อนต่อการที่จะเลือกลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดเราจึงจำเป็นต้องสร้าง MARKET POWER ทำให้เหนือกว่าผู้อื่น นั่นคือเราควรจะรู้เท่าทันนวัตกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้น ประเด็นความน่าสนใจในที่นี้จึงพุ่งไปที่กระบวนการเกิดนวัตกรรม ซึ่งจะเกี่ยวข้องปัจจัยหลัก ๆ 3 ประการด้วยกัน คือ

หนึ่ง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของระบบการซื้อขายที่รวดเร็ว มีความแม่นยำและสามารถรับข้อมูลได้ในปริมาณมาก หรือระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาลและมีความซับซ้อนได้ด้วยระยะเวลาเพียงเล็กน้อย ทั้งหมดได้กลายเป็นแรงผลักดันที่สำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้ตลาดการเงินเกิดการพัฒนาอย่างเด่นชัด ยกตัวอย่างเช่น ELECTRONICS TRADING SYSTEMS ทำให้เราอาจจะซื้อขายหุ้นที่ประเทศอเมริกาได้ ในขณะที่อยู่ในประเทศไทย เป็นต้น และเมื่อตลาดทั่วโลกกำลังเดินทางเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นตัวจักรที่จะเชื่อมตลาดการเงินของประเทศต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันอีกทางหนึ่ง

สอง การเกิดเครื่องมือในการลงทุนใหม่ ๆ (TRADING VEHICLE) ซึ่งจะเป็นพาหนะในการลงทุนในตลาดการเงิน ว่าไปแล้วเครื่องมือที่เกิดขึ้นใหม่นี้ จะมีความซับซ้อนมาก จึงมีความเกี่ยวกันกับเทคโนโลยีและระบบฐานข้อมูลที่ดี เพื่อใช้ในการดำเนินการซื้อขาย หรือในการวิเคราะห์เมื่อต้องการจะลงทุน

สาม ระบบข่าวสารข้อมูล (INFORMATION) นับได้ว่าเป็นรากฐานที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาการเงินไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปัจจัย 2 ที่กล่าวมาข้างต้น ข้อมูลและข่าวสารที่มีอิทธิพลต่อตลาดเงินและตลาดทุนจะถูกรวบรวม และวิเคราะห์ โดยใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้ได้ผลของการวิเคราะห์ที่ลึกขึ้นและเป็นระบบระเบียบมากขึ้น ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มา จะนำไปใช้สนับสนุนการเลือกกลยุทธ์ที่จะลงทุนในแบบต่าง ๆ

ปัจจัยทั้งสามประการนี้จะผสมปนเปกันจนกลายเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เกิด "MARKET POWER" ขึ้นในการลงทุน โดยเฉพาะในส่วนของระบบข่าวสารข้อมูล นอกจากจะมีความสำคัญในตัวของมันเองแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อเทคโนโลยี และการสร้างเครื่องมือทางการเงิน ซึ่งต้องอาศัยแหล่งข้อมูลไปใช้ในการศึกษาหาเครื่องมือใหม่ ๆ ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ ต่อไป

ถ้าหากเรามองย้อนกลับมาที่เมืองไทย จะเห็นได้ว่าพัฒนาการของตลาดไทยเองก็ก้าวขึ้นมาได้ระดับหนึ่งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคโนโลยี เช่น การซื้อขายหุ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้เครื่องมือในการลงทุนใหม่ ๆ ที่นอกเหนือไปจากหุ้นสามัญ เริ่มเข้ามาให้เป็นที่รู้จักกันบ้างแล้ว เช่น การออก ADR ในอเมริกาของบริษัทเอเซียไฟเบอร์ และบริษัทกลุ่มชินวัตร คอมมิวนิเคชั่นและคอมพิวเตอร์

นอกจากนั้นยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาลในการพัฒนาตลาดการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนคลายเงินตราปริวรรต การเกิดกฎหมาย SIB ทำให้การบริโภคข่าวสารข้อมูลของนักลงทุนที่เป็นการอาศัยข่าววงใน ข่าวลือต่าง ๆ หรือไม่ก็เป็นข้อมูลพื้นฐานแบบง่าย ๆ ที่ยังไม่มีมาตรฐานเช่นแต่ก่อน ดูเหมือนว่าจะไม่เพียงพอแล้วต่อการสร้าง "MARKET POWER" ให้กับนักลงทุน

ต่อไปพฤติกรรมการใช้ข้อมูลของนักลงทุนกำลังจะถูกแทนที่ด้วย ลักษณะข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพด้วยจำนวนที่มากขึ้น มีความหลากหลายขึ้น และจะผ่านกระบวนการวิเคราะห์และการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยจะผ่านคนกลางที่คอยรวบรวมจัดเก็บและนำเสนอให้กับผู้ลงทุน อย่างเช่น นายธนาคารข้อมูล (INFORMATION BANKER) ส่งผลให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร (INFORMATION BUSINESS) ในลักษณ์นี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้ โดยอาจจะเริ่มจากเหล่านักวิชาการ หรือ ผู้ที่อยู่ในวงการสื่อสารมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์สำนักวิจัยต่าง ๆ แต่ไม่ว่าจะเกิดจากใครก็ตาม ทิศทางของธุรกิจที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารและผู้ที่เป็นนายธนาคารข้อมูล จะกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้และจะเติบโตเคียงคู่ไปกับตลาดทุนไทยในอนาคตอันใกล้นี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us