Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 กุมภาพันธ์ 2551
สภาพัฒน์โวศก.ฟื้น-ไม่สนใช้จ่ายครัวเรือนวูบ             
 


   
www resources

โฮมเพจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

   
search resources

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
Economics




“สภาพัฒน์” ฟันธงเศรษฐกิจไทยฟื้นแล้ว ขยายตัวตลอดปี 50 ที่ร้อยละ 4.8 ด้านไตรมาสสุดท้ายโตร้อยละ 5.7 ระบุภาคก่อสร้าง ท่องเที่ยว ส่งออกโตรับรัฐบาลใหม่ งง!!ทั้งปี 51 คาดเศรษฐกิจรอฟื้นถึงร้อยละ5.5 แต่ยังไม่รวมประชานิยม-งบกลางปี ขณะที่เลขาฯสภาพัฒน์ แถลงไร้เศรษฐกิจพอเพียง

วานนี้ (25 ก.พ.) นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไตรมาสสุดท้าย ปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 5.7 สูงกว่าการขยายตัวของทุกไตรมาส ขณะที่รวมทั้งปีเศรษฐกิจไทย ขยายตัวที่ร้อยละ 4.8

ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวในไตรมาสสุดท้ายมีปัจจัยที่ดี ในด้านการก่อสร้าง ขยายตัวที่ร้อยละ 5.1 การท่องเที่ยว ขยายตัวร้อยละ 7 โดยเฉพาะภาคการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม แม้ว่าเศรษฐกิจโลกโดยรวมจะชะลอตัวและค่าเงินบาทแข็งขึ้น แต่เมื่อรวมทั้งปีภาคการส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 151,147 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 โดยราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 และปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 แต่ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นทำให้มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทเพียงร้อยละ 7.7 โดยที่ราคาในรูปเงินบาทลดลงร้อยละ 3.7 โดยกลุ่มสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนรถยนต์ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา อัญมณีและเครื่องประดับ

ขณะที่การลงทุนภาครัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 4 มีการเบิกจ่ายงบประมาณ จำนวน 358,157.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.6 และด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 ทำให้ในไตรมาสสุดท้าย คาดการณ์ได้ว่า ภาคเอกชนมีความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น ถือว่าแรงขับเคลื่อนที่จะต้องจับตา

อย่างไรก็ตามการใช้จ่ายภาคครัวเรือนยังไม่กระเตื้อง เนื่องจากมีการชะลอตัว แต่ก็คาดว่าจะเป็นโดยชั่วคราวเท่านั้น โดยมีอัตราใช้จ่ายเพิ่มเพียงร้อยละ 1.6 ซึ่งทั้งปีมีการใช้จ่ายเพียงร้อยละ 1.4 ตรงนี้ก็ต้องจับตามองเช่นกัน อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าภาคการส่งออกยังเข้ามาสร้างดุลให้กับเศรษฐกิจของประเทศไทย

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจปี 2550 สภาพัฒน์ พบว่า อัตราว่างงานในไตรมาสสุดท้ายยังต่ำที่ร้อยละ 1.1 และเฉลี่ยทั้งปี อัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.4 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีเท่ากับร้อยละ 2.3 โดยที่ไตรมาสสุดท้ายนี้ อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.9 จากร้อยละ 2 ในสามไตรมาสแรก ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 6,182 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และรวมทั้งปี 2550 เกินดุล 14,922 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คือ เป็นร้อยละ 6.1 ของจีดีพี ขณะที่หนี้สาธารณะ อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ของจีดีพี และหนี้ต่างประเทศ อยู่ที่ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 22% ของจีดีพี

“เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เงินเฟ้อเราก็ยังสามารถที่จะคอนโทรลต่อไปได้ ตลอดปีที่ผ่านมามีปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การส่งออกที่สำคัญๆขยายตัว มีการร่งรัดการเบิกจ่ายงบรัฐ และรัฐวิสาหกิจ อัตราดอกเบี้ยต่ำลงในครึ่งแรกของปี ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจเกิดต่อเนื่องต้องจับตามอง”

เลขาธิการสภาพัฒนาคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจปี 2551 จะขยายตัวร้อยละ 4.5-5.5 จากเดิมประมาณการที่ร้อยละ 4-5 โดยเฉพาะปัจจัยบวกจากการลงทุนของภาคเอกชน ทั้งจากภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคอุตสาหกรรม เห็นได้จากหลังการเลือกตั้งทั่วไปปี 2550 พบปัจจัยบวกในเรื่องการส่งออกในช่วงปลายปีและในเดือนมกราคม 2551 ยังแสดงถึงแนวโน้มที่ดีจากสินค้าเช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา อิเล็คทรอนิกส์ และรถยนต์ ซึ่งเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตโรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2550 อยู่ที่ระดับเฉลี่ย ร้อยละ 76.1 เพิ่มขึ้นจากปี 2549และ 48 ที่ร้อยละ 73.9 และร้อยละ 72.1 ตามลำดับ นอกจากนี้แผนการลงทุนของเอกชนที่ทางสำนักงานส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ พิจารณาเห็นชอบแล้ว 1,342 ราย วงเงินลงทุน 744.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.5

ทั้งนี้ จะสอดคล้องตามนโยบายที่รัฐบาลที่แถลงโดยเน้นไปที่โครงสร้างฐานราก เช่น นโยบายกองทุนเอสเอ็มแอล ศักยภาพหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน กองทุนหมู่บ้าน ที่เป็นเงินในนโยบายอยู่ดีมีสุข ของรัฐบาลเดิม 1.5 หมื่นล้านบาท โดยมีเงินที่ค้างอยู่กับผู้ว่าราชการจังหวัดประมาณ 9 พันล้านบาท ขณะที่รัฐบาลก็พร้อมที่จะทยอยงบประมาณอีก 4 พันล้านบาทเข้าไปส่งเสริมโครงการต่างของชุมชน เพื่อเป็นการกระจายลงสู่โครงสร้างพื้นฐานของรากหญ้า ตลอดจนความเชื่อมั่นของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ทั้งระบบขนส่ง รถไฟรางคู่ ระบบน้ำ การลงทุนการบิน และการลงทุนในนโยบายสาธารณสุข

“ประมาณการณ์ปี 2551 ที่ร้อยละ 4.5-5.5 ยังไม่รวมเม็ดเงินที่รัฐบาลชุดนี้จะกระจายลงไปยังโครงการต่าง ๆที่เป็นนโยบายรัฐบาล รวมทั้งยังไม่รวมงบกลางปีที่คาดว่ารัฐบาลจะทำขึ้น การคำนวณต่าง ๆยังไม่รวมถึงกองทุน แต่เป็นการประเมินจากตัวเลขการส่งออกและการลงทุนที่คาดว่ามีความความต่อเนื่องจากเดือนมกราคม 2551”นายอำพน กล่าว

อย่างไรก็ตาม สภาพัฒน์ยังกังวลราคาน้ำมันในตลาดโลกซึ่งเป็นข้อจำกัดและเป็นปัจจัยเสี่ยงจากราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสภาพัฒน์ พยากรณ์ว่า ความต้องการน้ำมันในตลาดโลกจะชะลอตัวอยู่ที่ 70-75 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ซึ่งหากรัฐบาลสามารถดูแลปัจจัยราคาสินต้าอุปโภคบริโภคได้ เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงไม่เกินร้อยละ 3.2-3.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดยังเกินดุลประมาณ 7,500-10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือร้อยละ 3 ของจีดีพี รวมทั้งอัตราว่างงานจะต่ำที่ระดับร้อยละ 1.5-2 แต่อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทที่แข็งค่ากว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม และการกำหนดมาตรการในการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้า จะช่วยบรรเทาแรงกดดันต่อต้นทุนการผลิตและอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่ภาคการลงทุน ปี2551 จะขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 และภาคการบริโภค ขยายตัวที่ร้อยละ 4

นายอำพนไม่ปฏิเสธว่าภาคการส่งออกและภาคการผลิตรายย่อยได้รับผลกระทบมากในภาวะเศรษฐกิจที่ผ่านมา แต่หากรัฐเข้ามาเร่งปรับโครงสร้างการผลิตและภาคส่งออกรายย่อย ให้มีการปรับตัวเช่นเดียวกันผู้ส่งออกและผู้ผลิตรายใหญ่ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด จะเห็นได้จากนโยบายขยายระยะเวลาในการใช้เงินกองทุนเอสเอ็มอีที่ยังคงเหลือ 3,779 ล้านบาท เป็นต้น

รายงานข่าวแจ้งว่า การแถลงข่าวครั้งนี้เลขาฯสภาพัฒน์ กลับไม่อ้างถึงนโยบายรัฐบาล หรือภาวะที่ส่งผลดีกับเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแต่อย่างใด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us