Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2535
"ปรีชาทำอะไรในกลุ่มซีพี"             
 


   
www resources

โฮมเพจ เครือเจริญโภคภัณฑ์

   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
เทเลคอมเอเซีย, บมจ.
ปรีชา ผลประเสริฐ
Telecommunications




เมื่อซีพีสามารถเข้าสู่การเป็นผู้ดำเนินการโทรศัพท์ 2 ล้านเลขหมายได้ นั่นหมายถึงการก้าวเข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคมอันเป็นเป้าหมายทางธุรกิจใหม่ของซีพีที่ไม่ได้มุ่งเฉพาะแต่เพียงในประเทศไทยเท่านั้น

ซีพีสามารถใช้ตลาดเมืองไทยเป็นฐานในการดึงของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกเข้ามาเป็นผู้ร่วมทุน เพื่อเจาะตลาดโทรคมนาคมเข้าสู่ประเทศใกล้เคียงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้

ขณะที่ภาพพจน์ในอดีตของซีพีคือ ธุรกิจการเกษตรนั่นคือ เหตุผลสำคัญที่ซีพีจะต้องหาผู้ร่วมทุนที่มีความสามารถดีที่สุดในโลกทางด้านธุรกิจโทรคมนาคมเข้ามา พร้อมไปกับการสร้างภาพพจน์ใหม่สู่การเป็นบริษัทไฮเทคในระยะเวลาอันสั้น

ปรีชา ผลประเสริฐคือผู้ที่ถูกคัดเลือกให้เข้ามารับผิดชอบงานด้านนี้ ในตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโส สายงานองค์กรกลางในบริษัท ซีพี เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด

ปัจจุบันปรีชาอายุ 50 ปีหลังจากเรียนจบอนุปริญญาเศรษฐศาสตร์บัณฑิตจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2503 แล้วปรีชาได้ทุนโคลัมโบไปศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยวิคตอเลีย กรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์จนจบปริญญาพาณิชยศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยม) และได้เรียนต่อปริญญาโทด้านการพาณิชย์และบริหาร (เศรษฐกิจ) จนจบ นับเป็นคนไทยคนแรกที่จบปริญญาจากนิวซีแลนด์

ในปี 2509 ปรีชากลับมาประเทศไทยและได้เข้ารับราชการในกรมวิเทศสหการในตำแหน่งเศรษฐกรโท ต่อมาในปี 2512 จึงได้เลื่อนเป็นเศรษฐกรเอก และหัวหน้ากองโคลัมโบในช่วงที่รับราชการอยู่นั้นปรีชาได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาให้เป็นผู้แทนไทยในการประชุมแผนโคลัมโบ ทั้งระดับเจ้าหน้าที่ชั้นสูงและระดับรัฐมนตรีถึง 14 ครั้ง ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างเช่น ที่พม่า เกาหลี แคนาดา ฟิลิปปินส์ อินเดีย ศรีลังกา เป็นต้น

หลังจากรับราชการอยู่นานถึง 6 ปี ปรีชาจึงได้ตัดสินใจลาออก และมาเข้าร่วมงานกับเชลล์เมื่อปี 2515 ในตำแหน่งนักเศรษฐศาสตร์ ฝ่ายวางแผนและจัดหา จากนั้นปรีชาก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เช่น ผู้จัดการวางแผนและเศรษฐกิจ ผู้จัดการควบคุมบัญชีสินค้า และผู้จัดการควบคุมรายจ่าย

และเมื่อบริษัทไทยเชลล์ฯ ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาเพื่อการสำรวจขุดเจาะน้ำมัน ปรีชาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการฝ่ายการเงินและบริหารของบริษัทไทยเชลล์ฯ จนกระทั่งได้รับตำแหน่งให้เป็นผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์และเป็นกรรมการคนหนึ่งในคณะบริหารของบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทยโดยดูแลงานประชาสัมพันธ์ของกลุ่มบริษัทเชลล์ในช่วงระหว่างปี 2525-2533 ก่อนที่ปรีชาจะตัดสินใจลาออกจากเชลล์โดยให้เหตุผลเพียงสั้น ๆ ว่า "ผมอยากดูว่าข้างนอกเป็นอย่างไร"

ทองฉัตร หงค์ลดารมภ์ในฐานะประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารของซีพีเทเลคอมฯ เป็นผู้ชักชวนปรีชาให้เข้ามาร่วมงานจากความคุ้นเคยกันสมัยที่อยู่ในวงการน้ำมัน

ปรีชาเล่าให้ฟังว่า "ดร. ทองฉัตรเข้ามาทาบทามผมเพราะคุ้นเคยกันในสมัยที่ท่านเป็นผู้ว่าฯ ปตท. ส่วนผมยังทำงานอยู่กับเชลล์ ท่านเห็นว่าผมเคยทำงานด้านนี้อยู่ โดยเฉพาะประสบการณ์ที่เชลล์ 18 ปีเป็นประสบการณ์ที่กว้างคือทำมาหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การบริหาร หรือวางแผน ดังนั้นงานที่นี่จึงไม่ใช่สิ่งที่ใหม่ทีเดียวแต่มันอาจแตกต่างกันบ้างกับเชลส์ และก่อนที่ผมจะตัดสินใจมาก็ได้มีการคุยกันถึงหน้าที่ความรับผิดชอบในหน่วยงานแห่งใหม่นี้ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นงานที่ท้าทายมาก"

มีเหตุผลสำคัญ 2 ประการที่ทให้ปรีชาใช้เวลาตัดสินใจไม่นานในการร่วมงานกับซีพีเทเลคอมฯ

ประการแรก ซีพีเทเลคอมฯ เป็นบริษัทใหม่ที่มุ่งไปทางด้านธุรกิจโทรคมนาคมดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จำต้องเกิดขึ้น นั่นหมายถึงธุรกิจของบริษัทฯ ที่ต้องพัฒนาไปอีกไกลรวมทั้งโอกาสที่คนไทยจะได้รับผลประโยชน์จากการบริการด้านนี้อย่างเต็มที่

ประการที่สอง ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์เป็นคนที่ปรีชาให้ความเคารพนับถือ โดยเฉพาะความสามารถในการก่อตั้งสถาบันใหม่ ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นจนได้รับความสำเร็จมากยกตัวอย่างเช่นการทางฯ ปตท. ปตทสผ. ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ปรีชาต้องการเข้ามาเรียนรู้ด้วย

สายงานองค์การกลางเป็นสายงานใหม่ที่ขึ้นตรงต่อทองฉัตร หงค์ลดารมภ์ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทฯ นอกเหนือจากสายงานจากโครงสร้างที่มีอยู่เดิมคือสายงานด้านบริหารและการเงินซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของวีรวัฒน์ กาญจนกุลและสายงานทางด้านบริหารเครือข่ายซึ่งมีวัลลภ วิมลวณิชย์เป็นผู้ดูแล

ในขอบข่ายสายงานองค์กรกลางที่ปรีชารับผิดชอบดูแลอยู่นั้นจะแบ่งออกเป็น 6 ฝ่ายด้วยกันคือ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และราชการสัมพันธ์ ซึ่งทำหน้าที่ในการติดต่อกับหน่วยราชการและองค์กรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาคม มูลนิธิ ประชาชน หรือสื่อมวลชน

ฝ่ายสำนักงานเลขานุการจะทำหน้าที่ในการดูแลเรื่องการประชุมของคณะกรรมการบริหาร รวมถึงงานรวบรวมเอกสารต่าง ๆ ของบริษัท

ฝ่ายลงทุนและร่วมทุนมีหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องการลงทุน และร่วมทุนกับบุคคลภายนอกหรือซัพพลายเออร์ที่จะเข้ามาสนับสนุนในโครงการโทรศัพท์ 2 ล้านเลขหมาย ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนหลายหมื่นล้าน เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายและในระยะเวลาที่กำหนด

ฝ่ายพิธีการ จะทำหน้าที่ในการต้อนรับบุคคลภายนอกอย่างกรณีเช่นแขกจากต่างประเทศ รวมทั้งการจัดทำปฏิทินหรือการ์ดอวยพร

ฝ่ายวิจัยและพัฒนา จะวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับสินค้าและบริการของบริษัทฯ รวมถึงสินค้าใหม่ ๆ ทางด้านโทรคมนาคมที่จะนำเข้ามาในอนาคตอย่างเช่นโทรศัพท์เคลื่อนที่แฟกซ์ หรือวีดิโอโฟน

ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ จะรับผิดชอบในการศึกษาหาธุรกิจใหม่ ๆ ประเภทอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโทรคมนาคม แต่เป็นกิจการพิเศษที่น่าสนใจที่สามารถทำให้บริษัทเจริญก้าวหน้าต่อไป

ถ้าดูจากขอบข่ายความรับผิดชอบแล้ว งานในสายงานองค์กรกลางสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสายงานอื่น โดยเฉพาะเรื่องของภาพพจน์และแผนงานสร้างธุรกิจใหม่ให้กับบริษัท

มันเป็นความฉลาดของซีพี ที่ทราบดีว่าธุรกิจการให้บริการกับคนผู้ใช้บริการอันมหาศาลตนเองไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน โอกาสพลาดมันมีได้เสมอ แม้ระบบจะมีประสิทธิภาพสูงเพียงใด

"ผมว่าทางซีพีตระหนักในบทเรียนภาพพจน์ของตัวเองในธุรกิจอุตสาหกรรม จึงได้ดึงปรีชามาจากเชลล์" แหล่งข่าววิเคราะห์การมาของปรีชาในกลุ่มซีพี

สิ่งแรกที่ปรีชาพิจารณาร่วมกับคณะบริหารของบริษัทฯ หลังจากเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโสในเดือนธันวาคมคือการเปลี่ยนชื่อบริษัทจาก "ซีพีเทเลคอมมิวนิเคชั่น" เป็น "เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น"

ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายสู่การเป็นบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล พร้อมทั้งการสร้างภาพพจน์ใหม่ให้บริษัทฯในขณะที่ไม่มีชื่อของซีพีเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เน้นถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางด้านโทรคมนาคมโดยมีจุดแข็งทางด้านการเงินของซีพี เป็นหน่วยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง

นั่นหมายถึงภาระสำคัญของปรีชาในการสร้างภาพพจน์ของเทเลคอมเอเซียฯ ให้ก้าวเข้าสู่การเป็นผู้นำในธุรกิจไฮเทคในอนาคตอันสั้นให้จงได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us