Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2535








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2535
"ฐานะรัตน์ ภูมิพาณิชย์พงษ์ วาณิชธนากรในกรุงไทย"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
ฐานะรัตน์ ภูมิพาณิชย์พงษ์
Banking and Finance




วาณิชธนากรสาวชาวสงขลาคนนี้เพิ่งเข้ามาสู่วงการเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา แต่สามารถสร้างผลงานจนได้รับความยอมรับเป็นอย่างดีว่าไปแล้วเธอลุยงานในวงการแบงกกิ้งที่สหรัฐฯ โดยเฉพาะย่านซานฟรานซิสโกและมารีนเคาน์ตี้มาอย่างช่ำชองหลายปี ถึงขนาดที่ว่าเธอสามารถกลับไปร่วมงานกับสุมิโตโมแบงก์ที่สำนักงานในซานฟรานฯ เมื่อไรก็ได้ เพราะธนาคารแห่งนี้ยินดีต้อนรับเธอตลอดเวลา !!

ฐานะรัตน์ ภูมิพาณิชย์พงษ์ ผู้จัดการฝ่ายวาณิชธนกิจธนาคารกรุงไทยเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ฝ่ายวาณิชธนกิจของแบงก์ตั้งมาตั้งแต่เมื่อปี 2531 ตอนนั้นยังไม่ค่อยมีรายละเอียดมากนักว่าจะทำอะไร ส่วนมากที่ทำเป็นเรื่องการให้กู้ร่วม (SYNDICATION) เช่น โครงการทางด่วนขั้นที่สอง พอมีนาคมปี 2532 ก็เข้ามาทำงานในฝ่ายนี้ก็มาดูว่าคงจะทำในเรื่องการให้กู้ร่วมนี่แหละ แต่จะเน้นไปทางโปรเจกต์ไฟแนนซ์"

ผลงานของฝ่ายวาณิชธนกิจในระหว่างปี 2532-2534 เป็นที่น่าพอใจมาก ปี 32 สามารถทำวงเงินได้ 5,869 ล้านบาท ปี 33 เพิ่มขึ้นเป็น 7,428 ล้านบาท และปี 34 ที่ผ่านมาลดลงเล็กน้อยเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ แต่ก็ยังอยู่ในอัตราสูงคือ 7,000 ล้านบาท (ดูตารางผลงานฝ่ายวาณิชธนกิจธนาคารกรุงไทย)

บทบาทที่วาณิชธนกิจแบงก์กรุงไทยเข้าไปร่วมส่วนมากเป็นหน้าที่ที่สำคัญทั้งสิ้นเพราะความที่เป็นแบงก์ใหญ่สุดของประเทศ ฐานะรัตน์เล่าว่า "ในปี 32 ส่วนมากเราทำหน้าที่เป็น CO-MANAGER พอปี 33 เราได้บทบาทที่เป็นที่รู้จักมากขึ้นอย่างในกรณีโครงการเคเบิลใต้น้ำของ บ. จัสมิน ซับมารีน เทเลคอมมิวนิเคชั่น เราทำหน้าที่เป็นทั้ง CO-ADVISER, ARRANGER และเป็น LEAD ด้วยซึ่งโครงการนี้เราจัดหาเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท เป็นเงินในประเทศทั้งหมด"

ปี 34 ต่อมาได้ทำหน้าที่เป็น FINANCIAL ADVISER, JOINT VENTURE ซึ่งฐานะรัตน์กล่าวว่า "ในปี 35 นี้มีโปรเจกต์เรื่อง M&A อยู่ 2 รายที่คิดว่ามีความเป็นไปได้สูงมาก อาจจะมีพาร์ตเนอร์ต่างประเทศเข้าร่วมด้วย M&A นี่ถือเป็นเป้าหมายที่เราพยายามจะทำในปีนี้ ส่วนการให้กู้ร่วมนั้นถือเป็นอาหารหลักซึ่งพนักงานของเราก็สามารถทำได้อยู่แล้ว"

นับเป็นนิมิตรหมายที่ดีสำหรับแบงก์ที่สามารถขยายงานวาณิชธนกิจให้เติบโตก้าวหน้าอย่างสม่ำเสมอ ฐานะรัตน์เปิดเผยด้วยว่า "ผลกำไรของฝ่ายนี้ก็เติบโตเพิ่มขึ้นทุกปีในตัวเลขหลายสิบล้านบาท เมื่อปีที่ผ่านมาก็ได้เฉียด 100 ล้านบาททีเดียว"

ผลงานขนาดนี้เมื่อมาดูกำลังคนแล้วก็สมน้ำสมเนื้อกันอยู่ ฝ่ายวาณิชธนกิจของแบงก์มีพนักงานรวม 22 คน แต่ปฏิบัติการจริง ๆ แค่ 13 คน อีก 9 คนเป็นของส่วนกลางที่ทำหน้าที่พิมพ์ดีด ทะเบียนและสารบัญ

กล่าวได้ว่าแบงก์กรุงไทยประสบความสำเร็จพอสมควรในผลงานของฝ่ายนี้ที่แม้จะตั้งขึ้นมาเพียง 4 ปีแต่ก็สามารถทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำไม่แพ้วาณิชธนกิจที่อื่น ๆ

ความสำเร็จนี้ฐานะรัตน์กล่าวว่า "มันเกิดจากการที่ผู้ใหญ่เพื่อนร่วมงานในวงการให้การสนับสนุน อย่างการได้ลูกค้านี่ส่วนมากมาทางผู้ใหญ่หรือเพื่อน ๆ เช่นโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์เกิดมาตั้งแต่ตอนที่ ดร. ปัญญา ตันติยวรงค์เป็นรักษาการผู้จัดการฝ่ายอยู่ เป็นคนแนะนำให้รู้จักกับทาง WARDLEY CAPITAL ซึ่งเป็นที่ปรึกษาให้โครงการ ส่วนปัญจพลนั้นก็เป็นลูกค้าติดต่อกันมาก่อนทางบริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนลนั้นประธานฯ บริษัทคือ ดร. อดิศัย โพธารามิกก็เป็นรุ่นพี่ ดร. ปัญญา"

อาจกล่าวได้ว่าฝ่ายวาณิชธนกิจของกรุงไทยแบงก์ยังไม่มีส่วนงานที่เรียกว่าฝ่ายการตลาดอย่างจริงจังเพื่อทำหน้าที่หาลูกค้ามาป้อน ว่าไปแล้วงานการตลาดอาจจะยังไม่จำเป็นเวลานี้เพราะการให้กู้ร่วมที่เป็นอยู่ในตลาดปัจจุบันจำเป็นต้องอาศัยแบงก์พาณิชย์หลาย ๆ แห่งร่วมกันโดยเฉพาะกรณีที่เป็นการกู้จำนวนหลายพันล้านบาทขึ้นไป

นอกจากนี้บทบาทของวาณิชธนกิจที่นี่ยังไม่มีภาระที่สลับซับซ้อนจนเกินไปนัก อาจจะเพิ่งเริ่มในปีนี้ที่มีการทำ M&A

ฐานะรัตน์เล่าถึงบทบาทต่าง ๆ ที่จะดำเนินการในปี 2535 ว่า "กรณีโทรศัพท์ 1 ล้านเลขหมายของกลุ่มจัสมินฯ กรุงไทยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาร่วมทางการเงิน มีภัทรธนกิจและกสิกรไทยร่วมด้วยแต่ยังไม่ได้แบ่งหน้าที่กันชัดเจน ส่วนบริษัทไทยโอเลฟินส์นั้นเป็นการค้ำประกันวงเงินกู้ มีแบงก์พาณิชย์ร่วมเป็นอันเดอไรเตอร์อีก 5 แบงก์ มี PORTION ประมาณ 200 กว่าล้านเหรียญ กรณีนี้แบงก์ไทยร่วมกันการันตีให้เอ็กซิมแบงก์จากอเมริกาญี่ปุ่นและเกาหลี"

ส่วนโครงการขนส่งน้ำมันทางท่อของบริษัทขนส่ง น้ำมันทางท่อและบริษัทขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมไทยนั้นยังคุยกันอยู่ "เรากำลังเริ่มดู PACKAGE ยังคุยกันอยู่ แต่เราคงจะทำหน้าที่เป็น LENDER" ฐานะรัตน์กล่าว

บทบาทที่สลับซับซ้อน ซึ่งกรุงไทยจะเริ่มทำในปีนี้ว่าไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องยากลำบากสำหรับฐานะรัตน์ซึ่งมีประสบการณ์ด้านนี้มากพอสมควรกับวัย 37 ปีของเธอ

ฐานะรัตน์เดินทางไปเรียนสหรัฐฯ ตั้งแต่จบมัธยม 8 ในกรุงเทพฯ เหตุที่ไปนั้นเธอเล่าว่า "เพราะแม่ชวน และสอบเข้าคณะแพทย์ฯ ที่จุฬาฯ ไม่ได้ด้วย แต่เมื่อไปเรียนที่มหาวิทยาลัยซานฟรานซิสโกเข้าจริง ๆ ก็ไม่ได้เรียนแพทย์ กลับไปเรียนเรื่องการเงินการธนาคาร"

หลังจากเรียนจบปริญญาตรีด้วยเวลารวดเร็วเพียง 2 ปีครึ่ง ฐานะรัตน์ก็เรียนต่อปริญญาโทบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัย GOLDEN GATE ทันทีใช้เวลาเพียง 1 ปีก็สำเร็จ

ระหว่างเรียนที่มหาวิทยาลัยซานฟรานฯ ปีสุดท้าย ฐานะรัตน์สมัครเข้าทำงานอยู่ด้านปฏิบัติการ (OPERATION) กับธนาคารครอกเคอร์ เนชั่นแนล จนได้เป็นผู้จัดการเมื่อเรียนปริญญาโท

ครั้งสำเร็จการศึกษาเธอกลับมาเมืองไทยปี 2526 เข้าทำงานกับฝ่ายพัฒนาธุรกิจที่ธนาคารกสิกรไทย ทำอยู่ได้ปีเดียวก็กลับไปสหรัฐฯ ด้วยความตั้งใจที่จะเรียนต่อปริญญาเอกแต่ความตั้งใจนั้นเป็นหมันเมื่อสุมิโตโมแบงก์ ออฟ แคลิฟอร์เนีย เริ่มตั้ง LOAN PRODUCTIONCENTER ที่ซานโฮเซ่ ฐานะรัตน์ได้ไปสมัครและเข้าทำงานที่นั่นแทน

ฐานะรัตน์ให้เหตุผลว่า "เคยดูงานแบงก์ทางอเมริกามาแล้ว ก็อยากจะดูของแบงก์ญี่ปุ่นบ้าง และช่วงนั้นแบงก์ญี่ปุ่นก็ติดทอปเทนเป็นอันดับหนึ่งในโลกด้วย"

ฐานะรัตน์ทำงานกับสุมิโตโมแบงก์ 4 ปี เธอเล่าว่า "2 ปีแรกเป็นเจ้าหน้าที่เครดิตส่วนช่วง 2 ปีหลังเป็นช่วงที่ทำงานสนุกมาก คือย้ายเข้ามาอยู่ที่ OFFICE OF THE PRESIDENT ทำทั้งสอนหนังสือคือสอนเรื่องเครดิตให้กับพนักงานที่จะไปเป็นผู้จัดการแล้ว ก็ทำ CORPORATE BANKING ด้วยโดยไปเปิดตลาดใหม่ให้ธนาคารทางแถบ MARINE COUNTY"

มารีนเคาน์ตี้เป็นถิ่นที่อยู่ของคนรวยผิวขาว ซึ่งอยู่คนละฝั่งกับซานฟรานซิสโก ต้องข้ามสะพานโกลเด้น เกทไป ในถิ่นนี้ไม่มีสาขาของสุมิโตโมแบงก์ แต่ทางแบงก์เช่าออฟฟิศให้ฐานะรัตน์แห่งหนึ่งเพื่อทำเป็นศูนย์แล้วให้รถยนต์ น้ำมัน เงินเดือน เพื่อที่จะมาขยายงานที่นี่

ฐานะรัตน์เล่าว่า "ทางประธานฯ เลือกคนมา 3 คนจากทั้งแบงก์ เพื่อที่จะส่งไปอยู่ที่มารีนเคาน์ตี้ ที่เฮย์เวิร์ดและที่ สนง. ใหญ่ งานที่มารีนเคาน์ตี้หนักหน่อยคือต้องไปเปิดตลาดไปหาโครงการ เงินฝาก เงินกู้แต่ทางเฮย์เวิร์ดนั้นไปหาเฉพาะเงินกู้เพราะเขามีสาขาอยู่แล้ว"

การทำงานปีสุดท้ายกับสุมิโตโมแบงก์ที่มารีนเคาน์ตี้ของฐานะรัตน์ เป็นสิ่งที่เธอภูมิใจมาก เพราะสามารถทำงานได้ทะลุตามเป้าหมายที่แบงก์กำหนด เธอขับรถวันหนึ่ง 300-400 ไมล์เพื่อที่จะไปหาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าบางครั้งไปไกลถึงซาคราเมนโต

เมื่อบุกเบิกงานได้สำเร็จฐานะรัตน์ก็ลาออกกลับเมืองไทยเธอเล่าว่า "ผู้จัดการฝ่ายบุคคลพาไปเลี้ยงแล้วบอกว่า สำหรับฐานะรัตน์จะกลับไปทำงานที่สุมิโตโมอีกเมื่อไหร่ก็ได้"

คำพูดนี้เป็นสิ่งน่าภาคภูมิใจสำหรับคนที่ชอบทำงานและสนุกกับงานอย่างฐานะรัตน์

เมื่อกลับมาเมืองไทยครั้งที่สอง เธอเริ่มสมัครงานกับแบงก์กรุงไทยเป็นแห่งแรก และก็ได้มาเป็นผู้บุกเบิกงานวาณิชธนกิจจนทุกวันนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us